π เพื่ออะไร?
อ่าน: 3382ค่าไพ (Pi π) เป็นค่าคงที่ที่รู้จักกันดีทั่วโลก π เป็นสัดส่วนระหว่างเส้นรอบวงของวงกลมกับเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมวงเดียวกัน สำหรับคนทั่วไป ใช้ค่า 3.14 หรือ 22/7 ก็พอแล้ว ในการคำนวณทางเทคนิคที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง ก็ใช้ค่า 3.14159
อาร์คีมิดีส (287-212ก่อนคริสต์กาล) เคย “วัด” ค่า π ไว้ที่ 3.1419 เมื่อเขาศึกษาวงกลม; ต่อมาในปี ค.ศ. 480 ปราชญ์จีนชื่อ Zu Chongzhi ได้คำนวณค่า π ไว้ที่ 3.1415926 ซึ่งเป็นค่าที่เที่ยงตรงที่สุดในโลกต่อมาเป็นเวลา 900 ปี; จำนวนทศนิยมของ π ยาวขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการช่วยเหลือของคอมพิวเตอร์ ทะลุพันล้านตำแหน่งในปี ค.ศ.1989 สองแสนล้านตำแหน่งในปีถัดมา และไปถึง 1.24 ล้านล้านตำแหน่งในปี 2005 ด้วยสูตรการประมาณค่า
สำหรับมนุษย์ สถิติโลกการจำค่า π ได้ตามที่หนังสือกินเนสบันทึกไว้ เป็นของนักศึกษาชาวจีน อายุ 24 ซึ่งจำได้เลขหลังจุดทศนิยมได้ 67,890 ตำแหน่ง ใช้เวลาท่องออกมา 24 ชั่วโมง 4 นาที โดยไม่ผิดเลย
มีการกล่าวอ้าง แต่ไม่มีผู้ยืนยันว่า Akira Haraguchi อายุ 60 ปี ชาวญี่ปุ่น ได้ท่องค่า π ได้ 83,431 ตำแหน่งระหว่างวันที่ 1-2 กรกฎาคม 2005 — ข่าวบางกระแสอ้างว่าเขาท่องได้ถึงหนึ่งแสนตำแหน่งในปีถัดมา
สถิติของประเทศไทยเป็นของ James Brennan อายุ 10 ปี ท่องได้ 410 ตำแหน่ง ใช้เวลา 4 นาที อยู่ที่ลำดับ 74 ของโลก
เขียนมาตั้งนาน ผมไม่รู้ว่าเขาท่องกันไปทำไม (และผมเขียนเรื่องนี้ทำไม)