ถ่านแกลบ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 March 2009 เวลา 0:14 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 21951

พืชใช้ธาตุ 16 ชนิดในการเจริญเติบโต โดยได้รับคาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจนจากน้ำและอากาศ ส่วนอีก 13 ธาตุได้จากดินซึ่งดูดผ่านระบบราก

จากบันทึกชุดปุ๋ยสั่งตัดที่ผ่านมา เป็นเรื่องของธาตุอาหารหลักสามตัวคือไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และโปแตสเซียม(K) ส่วนธาตุอาหารอื่นๆ เป็นธาตุรอง

อธิบายจากโปสเตอร์ ในกรณีของข้าวโพด

  • ไนโตรเจน (N) ใช้สร้างใบ ลำต้น ถ้าขาดไปผลผลิตจะต่ำ ถ้าเกินพืชจะอวบน้ำ ล้มง่าย ให้ผลผลิตเมล็ดเล็กลง
  • ฟอสฟอรัส (P) ใช้ในการเจริญเติบโตของราก ออกดอก ออกผล ถ้าขาด ลำต้นจะเล็ก ผอม แกร็น ออกดอกช้า ติดผลต่ำ
  • โปแตสเซียม (K) ใช้ปรับปรุงคุณภาพผลผลิต ถ้าขาด เมล็ดจะลีบ น้ำหนักเบา แป้งน้อย ฝักติดเมล็ดไม่เต็ม
  • ถ้าพืชขาดธาตุหนึ่งธาตุใด ธาตุนั้นจะเป็น “ตัวจำกัด” การเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของพืช

ปุ๋ยสั่งตัด จึงเป็นการเกษตรแบบเป็นวิทยาศาสตร์ เติมเฉพาะในส่วนที่ขาด ไม่ให้มากไป ไม่ให้น้อยไป ทำให้พืชมีสารอาหารที่จำเป็นต่อการให้ผลผลิตที่สูงตามศักยภาพ

แต่ผนังเซลของพืชคือเซลลูโลส (Cellulose) ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ประกอบด้วยคาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน ซึ่งพืชได้จากการ “หายใจ” เอาอากาศไปใช้ในการสังเคราะห์แสง บวกกับการดูดสารอาหารผ่านระบบราก

เมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อประหยัดแรงงานและเวลา ชาวนา-ชาวสวน-ชาวไร่ มักเผาซากพืช เมื่อเปิดการเผาไหม้ในอากาศ เซลลูโลสแปรสภาพเป็นก๊าซคาร์บอกไดออกไซด์ ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจก ก่อปัญหาโลกร้อนทับถมทวีคูณ อันจะเป็นเหตุให้ประเทศที่พัฒนาแล้ว อาจอ้างเป็นเหตุกีดกันผลิตผลทางการเกษตรของไทยได้

ซ้ำร้ายกว่านั้น ซากพืชเป็นเซลลูโลสอันมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก เมื่อเผากลายเป็นก๊าซ คาร์บอนในดิน ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ ทำให้คาร์บอนในดินเหลือน้อยลง พืชจึงเจริญเติบโตได้ยากขึ้นในฤดูการเพาะปลูกถัดไป

อ่านต่อ »



Main: 0.02532696723938 sec
Sidebar: 0.16954708099365 sec