การรับมือสิ่งท้าทายอุบัติใหม่

อ่าน: 4818

เมื่อต้นปี 2551 หรือปลายปี 2550 สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ได้จัดการสัมนาระดมความคิดเห็นหลายรอบ เพื่อพยายามกำหนดขอบเขตของ “สิ่งท้าทายอุบัติใหม่” (emerging challenges) เตรียมความพร้อมให้กับประเทศไทย

เผอิญผมได้มีส่วนไปร่วมด้วยหลายครั้ง เห็นว่าวิธีการแบบนี้ น่าสนใจครับ ต่างกับการประชุมสัมนาแบบการบรรยายซึ่งเชิญผู้รู้ไปหมดมาพูด ต่างกับการประชุมเชิงปฏิบัติการที่ตั้งธงไว้แล้วว่าจะต้องได้ข้อสรุปในแนวไหน แต่เป็นการประชุมโฟกัสกรุ๊ปของผู้เชี่ยวชาญในแขนงต่างๆ ที่เลือกเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหลายวงการ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และวิทยาการต่างๆ มาคุยกันเป็นกลุ่มย่อยๆ เพื่อระดมความคิด จัดเรียงลำดับความสำคัญ หาแนวทางเตรียมการรับมือเบื้องต้น ทุกคนได้พูดครับ ไม่อย่างนั้นจะเชิญมาทำไม

เก็บข้อมูลดิบไว้ทั้งหมด แต่นำข้อสรุปของแต่ละกลุ่ม มากลั่นกรองเป็นข้อสรุปของรอบ ของเรื่อง ของสาขา แล้วเข้าสภาที่ปรึกษาฯ อีกครั้งหนึ่ง ก่อนเสนอไปยังรัฐบาลเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ โดยสิ่งท้าทายอุบัติใหม่ที่มีลำดับความสำคัญสูงใน 5 ประเด็นได้แก่

  1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน
  2. เทคโนโลยีอุบัติใหม่ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม (GMOs)
  3. พลังงานทางเลือก: พลังงานนิวเคลียร์
  4. การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ในกระแสโลกาภิวัตน์
  5. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร และมิติสังคมวัยวุฒิ

อ่านต่อ »


เลนส์เฟรสเนล

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 April 2009 เวลา 0:06 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี #
อ่าน: 7711

เลนส์เฟรสเนล (Fresnel Lens) เป็นเลนส์นูน เหมือนแว่นขยาย ที่ตั้งชื่อตามนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศสชื่อ Augustin-Jean Fresnel ซึ่งศึกษาถึงการหักเหของแสง

เดิมทีเลนส์เฟรสเนลออกแบบมาเพื่อใช้ส่องไฟจากประภาคาร ซึ่งในสมัยที่ยังไม่มีไฟฟ้า ต้นกำเนิดของแสงเป็นเพียงโคมตะเกียง จึงต้องนำแสงจากจุดโฟกัสของโคม ส่องออกไปเป็นระยะทางไกลหลายๆ ไมล์

หากใช้เลนส์นูนตามปกติ ก็จะเปลืองเนื้อแก้วมาก แถมเพิ่มน้ำหนักให้กับครอบแก้วที่หมุนอีก

เลนส์เฟรสเนล กระจายแสงจากจุดโฟกัสด้านหนึ่ง ให้เป็นลำแสงขนานออกไปในระยะไกลได้ และรวมแสงขนาน (เช่นแสงอาทิตย์) เข้าสู่จุดโฟกัสได้เช่นกัน แล้วแต่ว่าแหล่งกำเนิดของแสง จะอยู่ด้านไหนของเลนส์

เราอาจเห็นเลนส์เฟรสเนลในชีวิตประจำวัน เช่นผิวบนของโปรเจคเตอร์แบบปิ้งสไลด์ จอโปรเจ็คชันทีวี สัญญาณไฟจราจรที่ใช้หลอด LED

เมื่อนำมาใช้กับแสงแดด มีอานุภาพมาก จะสามารรวบรวมพลังงานแสงที่ตกกระทบหน้าเลนส์ทั้งหมด ให้รวมที่จุดโฟกัส จนสามารถจุดไฟได้อย่างง่ายดาย ร้อนจนหลอมละลายโลหะได้ จึงมีประโยชน์มากในการดึงเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้

เฟรสเนลเลนส์ไม่ต้องสร้างด้วยแก้ว สามารถใช้พลาสติกใส หรือวัสดุใสที่รู้ดัชนีการหักเหของแสงแน่นอนมาสร้างได้


รีเซ็ตประเทศไทย (2)

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 April 2009 เวลา 0:10 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 3427

คนไทยควรเลิกดัดจริตกันเสียทีครับ อย่าพูดเลยว่าเป็นกลาง ถ้ามีคนอยู่สามคนยืนเรียงหน้ากระดาน คนอยู่ซ้ายจะว่าคนกลางอยู่ทางขวา ส่วนคนอยู่ขวาก็จะว่าคนกลางอยู่ซ้าย ความเป็นกลางนั้นไม่มี เพราะมนุษย์ไม่ใช่หุ่นเชิด มีความคิดเห็นต่อทุกเรื่อง ทุกประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ไม่ควรปล่อยผ่านไปเฉยๆ โดยไม่พิจารณาให้รู้ซึ้งถึงประโยชน์และโทษ ในโลกสามมิติ ไม่มีอะไรหรอกครับที่จะมีด้านเดียว

แม้แต่ในความวางเฉย ที่มักจะเรียกกันว่า “อุเบกขา” สมเด็จพระญาณสังวรทรงแสดงอรรถาธิบายไว้ว่า ไม่ใช่แยกตัวปลีกวิเวกไม่ยุ่งไปซะทุกอย่าง แต่เป็นการวางเฉยด้วยความรู้ คือหลังจากพิจารณาไตร่ตรองแล้ว เห็นดี เห็นชั่วแล้ว จึงค่อยวางเฉย

ในหลายปีที่ผ่านมา เรามีรัฐบาลที่ทำดีก็มาก ทำชั่วก็เยอะ (แต่หักล้างกันไม่ได้ ทำดีก็สนับสนุน แต่ถ้าทำผิดต้องรับผิด) แถมที่แทบไม่ทำอะไรเลยก็มีเหมือนกัน ทุกรัฐบาลที่ผ่านมา อ้างประชาธิปไตยกันทั้งนั้น แต่กระทำการแบบอัตตาธิปไตย กล่าวคือขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยองคาพยพของรัฐ ซึ่งมีกำลังเพียง 10% ของขนาดเศรษฐกิจเท่านั้น

รัฐบาลแถลงนโยบายในรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ แต่กลไกของสภา ก็เป็นเรื่องน่าขัน น้ำลายท่วมสภา สาระมีน้อยเต็มที ต่างฝ่ายต่างแย่ง prime time กันจนผมคิดว่าควรเลิกถ่ายทอดสดการประชุมสภากันดีไหม สภาที่มีสาระมาก แต่ได้รับความสนใจน้อย คือสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งให้คำแนะนำต่อรัฐบาล ในลักษณะที่มองรอบด้านกว่าข้อเสนอของกระทรวง ซึ่งถูกกฏหมายจำกัดขอบเขตอำนาจไว้

ทุกรัฐบาล แม้จะได้เสียงข้างมาก ก็ควรเคารพประชาชนมากกว่านี้ จะทำอะไรใน หนึ่งเดือน สองเดือน สามเดือนข้างหน้า ประกาศออกมาให้ชัดได้ไหมครับ เพื่อที่ทุกคนจะได้เห็นเป้าหมายเดียวกัน ขับเคลื่อนประเทศไทยไปในทิศทางที่โปร่งใสชัดเจน

ประกาศเป้าหมาย หลักชัย และกำหนดเวลาไว้ล่วงหน้าก่อนเลย ทำได้ไม่ได้ยังเป็นเรื่องรอง เรื่องหลักคือประเทศไทยควรเดินอย่างมีเป้าหมายครับ อันนี้เป็นหลักเบื้องต้นของการบริหารเลยทีเดียว


ก่อนจะมีอนาคตที่ดี จะต้องผ่านปัจจุบันให้ได้ก่อน

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 17 April 2009 เวลา 13:56 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3660

การที่เกิดการประท้วงทางการเมือง แล้วเกิดเหตุลุกลามนั้น เป็นเรื่องอุบาทย์ที่ไม่น่าเกิดขึ้นในเมืองไทยเลย ผลเสียหายร้ายแรงเกิดขึ้นกับทุกคนในประเทศ จะบอกว่ามีมือที่สามแทรกแซงนั้น กล่าวอ้างได้เสมอ แต่ผู้นำการชุมนุมรู้ถึงความเสี่ยงนี้อยู่แล้ว และยังดึงดันจะประท้วง ไม่สนใจว่าจะเสียหายขนาดไหน

อย่างไรก็ตาม การพูดถึงเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ได้ช่วยให้อะไรดีขึ้น ยกเว้นว่าสังคมไทยจะถอดบทเรียนนี้ แล้วป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกในอนาคต

ในภาวะที่จะมีคนตกงานเพิ่มขึ้นหลายแสนคน การส่งออกมีปัญหาเพราะประเทศผู้ซื้อมีปัญหาวิกฤติทางการเงินเช่นกัน ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา การไม่รู้แล้วนึกว่ารู้ เป็นโศกนาฏกรรม

จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะอนุญาตให้เบิกส่วนที่ข้าราชการหรือพนักงาน สมทบเข้าในกองทุนบำเหน็จปำนาญข้าราชการ หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ สักร้อยละห้าของยอดในปัจจุบัน เพื่อเร่งการใช้จ่ายในภาคเอกชน; ถึงเบิกออกมา กองทุนอาจจะมีทุนลดลงบ้าง แต่ปล่อยไว้เฉยๆ กองทุนก็เสียหายอยู่ดีเพราะเศรษฐกิจจะพังเพราะ private spendings มีน้อย ดังนั้นปล่อยเงินในกองทุนกลับไปสู่เข้าของ ให้เขาจับจ่ายใช้สอย กองทุนอาจจะเสียหายน้อยกว่าครับ

อีกอย่างหนึ่งที่ควรทำโดยเร็ว คือขึ้นภาษีการเดินทางไปต่างประเทศระหว่าง 1-14 วันทันที ในเวลานี้ ยิ่งไม่ควรเอาเงินไปทิ้งนอกประเทศเด็ดขาด มีเงินเหลือ ควรเที่ยวในประเทศ ซื้อของชาวบ้าน ยังไม่ต้องไปห่วงห้างสรรพสินค้า/ซูเปอร์สโตร์มากนักหรอกครับ


ตัดสิน

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 16 April 2009 เวลา 22:30 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 2805

คำว่าตัดสินแปลว่าลงความเห็นชี้ขาด

การอยู่ร่วมกัน ก็ต้องมีข้อตกลงกันว่าอะไรยอมรับได้ อะไรยอมรับไม่ได้ ในสังคมประเทศ เราเรียกข้อตกลงนั้นว่ากฏหมาย การเอาผิดและการตัดสินว่าใครผิดใครถูก เรียกว่ากระบวนการยุติธรรม ซึ่งเริ่มตั้งแต่ผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ สอบสวน/สืบสวน เจ้าพนักงานอัยการ ศาล ในทุกขึ้นตอนมีคนเกี่ยวข้อง และมีการลงความเห็นทั้งนั้น

ความเห็นในแต่ละขั้นตอน ไม่ได้เป็นการชี้ขาด ซึ่งรัฐธรรมนูญก็รองรับสิทธิ์ตรงนี้อยู่ — ศาลซึ่งตัดสินชี้ขาด ไม่ใช่ว่านึกจะตัดสินอะไรก็ตัดสินได้ การสู้คดีในศาลและตัดสินของศาล เป็นไปตามความผิดที่เกิดขึ้นจากการละเมิดกฏหมาย ซึ่งหมายความว่ามีการออกกฏหมายไว้ก่อนว่าทำอะไรแล้วผิด

ผู้กระทำผิด คงไม่คิดหรอกว่าตนกระทำผิด แต่คำพิพากษาอิงอยู่กับกฏหมาย และมีการฟังความทั้งสองด้าน — กฏหมายประกาศความฐานผิดไว้ล่วงหน้า ผู้ต้องหาละเมิดข้อห้ามในกฏหมาย แล้วผ่านกระบวนการสอบสวนสืบสวนของผู้รักษากฏหมายมาก่อนจะไปถึงศาล

ศาลจะต้องพิจารณาไปตามกฏหมาย ไม่สามารถเลือกปฏิบัติได้; ถ้าคนสองคนทำผิดแบบเดียวกัน คำตัดสินก็ต้องเหมือนกัน แต่ทว่าต้องเข้าใจอยู่อย่างหนึ่งว่า อยู่ดีๆ จะให้ศาลตัดสินไม่ได้ จะต้องมีกระบวนการก่อนหน้านั้น ส่งเรื่องให้ศาล

เมื่อศาลตัดสินให้ผิดแล้ว ทีนี้ผู้กระทำผิด เริ่มมีเหตุผลต่างๆ มากมายที่จะไม่ชอบใจคำตัดสินนั้น ลืมไปอย่างหนึ่งคือกฏหมายห้ามไว้ล่วงหน้า แต่ผู้กระทำผิดกลับทำลงไปตามพยานหลักฐาน


ข่าวลือ

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 April 2009 เวลา 18:02 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 3566

เหตุการณ์ก่อความสงบนี้ ไม่ใช่ว่าจะปราศจากเค้าลาง เชื่อว่าผู้ที่สนใจข่าวสาร คงทราบดี ส่วนผู้ที่ติดตาม อาจจะคาดเดาได้ด้วยซ้ำไป

ผมอยากบอกว่าทุกฝ่ายคาดการณ์ผิด เหตุการณ์ลุกลามเพราะข้อมูลถูกบิดเบือน จะโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม ผู้รับข่าวสาร คิดเอาเองโดยเชื่อข้อมูลที่ไม่ได้ตรวจสอบ ทำให้ต่างฝ่ายต่างคิดว่าเป็นผู้ถูกกระทำ ที่จริงแล้วผู้ถูกกระทำโดยความรุนแรงที่เกิดขึ้น คือสังคมไทยทั้งหมด

ในสถานการณ์อันซับซ้อนแบบนี้ ยากจะพูดว่าสาเหตุอันใดเป็นตัวจุดชนวน เหมือนมีผู้ยิงปืนแล้วมีคนเสียหาย กฏหมายจะต้องหาว่าใครเป็นผู้เหนี่ยวไก แต่ว่าในกรณีความไม่สงบนี้ สังคมไทยควรมองย้อนกลับไปนานกว่านั้น หาทางป้องกันไม่ให้ใครเอาลูกไปใส่ในปืนต่างหาก

  • คนฟังอยากฟังเรื่องที่อยากฟัง แต่คนพูดกลับพูดในเรื่องที่อยากพูด ดังนั้นเมื่อพูดออกมา คนบางส่วนจึงไม่ฟัง
  • ในเมื่อเรื่องที่พูด กับเรื่องที่อยากฟังเป็นคนละเรื่อง ความคิดจึงไปกันคนละแนว ยังแตกต่างกันโดยพื้นฐาน คุยกันไม่รู้เรื่อง เป็นประเด็นการจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องการสื่อ
  • ในเหตุการณ์ชุลมุน ไม่มีช่องทางการสื่อสารโดยตรงระหว่างกลุ่มที่ขัดแย้งกัน ฝ่ายก่อความไม่สงบปิดข่าวสารจากรัฐจากผู้ชุมนุม ใช้ข่าวสารของตนเองเท่านั้น ส่วนรัฐปิดช่องทางสื่อสารของอีกฝ่ายหนึ่งไปยังแนวร่วม
  • การที่สื่อข้อความทางเดียว ไม่ทำให้การสื่อข้อความสมบูรณ์ ผู้สื่อข้อความออกไป ไม่มีทางรู้ได้ว่าผู้รับรับข้อความนั้นได้หรือไม่ รับได้ถูกต้องหรือไม่ รับถูกต้องแล้วเข้าใจหรือไม่ เข้าใจแล้วจะเชื่อหรือไม่ เชื่อแล้วจะปฏิบัติตามหรือไม่
  • ข้อความที่น่าเชื่อถือ มักจะมีส่วนผสมระหว่างข้อเท็จจริง (ซึ่งต่างกับความจริง) กับสิ่งที่ผู้รับข่าวสารต้องการจะได้ยินและต้องการจะเชื่อ ฟังดูสมเหตุผล แล้วปล่อยให้ผู้ฟังคิดไปเอง
  • ข่าวลือที่พูดต่อๆกันไป คือการรับประกันความถูกต้องของข้อมูล ด้วยความน่าเชื่อถือของตัวผู้พูดเอง แล้วเมื่อปล่อยข่าววนไปวนมาในกลุ่ม ข่าวสารเรื่องเดียวกัน กลับมาซ้ำแล้วซ้ำอีก ยิ่งเพิ่มความน่าเชื่อถือ เพราะคือการยืนยันซ้ำข่าวสารที่ต้องการจะเชื่ออยู่แล้ว หน่วงเวลาตามธรรมชาติโดยการลืออ้อมไปอ้อมมา

อ่านต่อ »


สื่อโทรทัศน์ไทย ไม่เรียนรู้อีกแล้ว

อ่าน: 5644

หลายวันมานี้ มีเรื่องที่ไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้นในเมืองไทย เกิดขึ้นหลายเรื่อง ผมไม่เคยคิดว่าจะเขียนบันทึกวิจารณ์ใคร แต่คราวนี้ขอสักทีเถิดครับ

คนทำอาชีพสื่อ โดยเฉพาะผู้ประกาศทางทีวี ชอบคิดว่าอะไรๆ ก็โทษสื่อ แต่กลับไม่มองคำวิพากษ์เหล่านั้น เป็นเสียงสะท้อนและนำมาพิจารณาปรับปรุง ผมมีคำวิจารณ์ดังนี้

  1. ข่าวการก่อความไม่สงบ ไม่ใช่ข่าวบันเทิง หรือข่าวทั่วไป ไม่ควรใช้นักข่าวทั่วไป ซึ่ง(บางคน)แทรกมาทั้งความเห็น และการคาดเดา กระหืดกระหอบ ยักคิ้วหลิ่วตา
  2. ที่ไม่ชอบมากๆ คือการรายงานสดที่เต็มไปด้วย filler; ถ้าเรียนสื่อสารมวลชนมาก็คงทราบอยู่แล้วว่าไม่ควรอย่างไร สาระ 15 วินาที ก็รายงาน 15 วินาที ไม่ต้องพูด 3 นาที; ถ้าไม่รู้ก็บอกไม่รู้ ถ้าไม่เห็นก็บอกไม่เห็น
  3. คำแนะนำให้แยกแยะว่าเป็นภาพสด หรือภาพจากแฟ้มข่าว ก็ดีแล้ว แต่น่าจะมีวันเวลาที่บันทึกภาพนั้นแปะอยู่ด้วย
  4. ผู้ประกาศที่ประจำอยู่ที่สถานี ควรดึงนักข่าวในพื้นที่ให้กลับสู่ประเด็น คือความเป็นจริงตามที่เกิดขึ้น ไม่ต้องคาดคั้นให้เกิดการคาดเดา; ถ้าผู้ประกาศเหนื่อยหรือเครียด น่าจะเปลี่ยนตัว ถ้าไม่มีตัวก็นำรายการอื่นมาแทนบ้างก็ได้
  5. ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขยายความขัดแย้งระหว่างผู้ก่อการจลาจล กับชาวบ้านให้เลยเถิดไปกว่านี้ครับ รายงานความจริงตามเหตุการณ์เท่านั้นพอแล้ว ถ้าพยายามยืนยันข่าวที่ได้มาจากหลายแหล่งบ้างก็ดี เรียนรู้จากเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 บ้าง
  6. ในความเห็นของผม ในบรรดาผู้ที่ออกมาพูดเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้ทั้งหมดจนถึงขณะนี้ “ผู้ที่พูดได้ใจความที่สุด” คือโฆษกกองทัพบก และ “ผู้ที่พูดให้สาระประโยชน์ที่สุด” คือโฆษกกระทรวงสาธารณสุข
  7. ที่ผิดหวังมากคือผู้กำกับรายการ/ผู้กำกับภาพ ที่ปล่อย filler ออกมามาก - ภาพควัน การขว้างปา การเผาทำลาย การยิงปืนขึ้นฟ้า หรือภาพความรุนแรงอื่นๆ — ไม่มีรายการไหนเลยติดเรตตัวเองเป็น “ฉ” ทั้งที่มีภาพ เสียง และเสียงบรรยายความรุนแรง ซ้ำแล้วซ้ำอีก
  8. ควันไฟกองจริงหายไปหมดแล้ว แต่ภาพที่ท่านฉายแช่เอาไว้เป็นสิบนาที ยังอยู่อีกนาน ท่านคิดกันบ้างหรือเปล่า
  9. สำหรับผู้ชม งานนี้ท่านไม่ควรเชียร์ข้างไหนเลยนะครับ ความเสียหายเกิดแล้ว ร้ายแรงมากด้วย แต่ประเทศไทยแหลกราญทั้งประเทศ สังคมไทยแพ้ย่อยยับทั้งหมด ไม่ว่าจะอยู่ฝ่ายไหน
  10. สังคมไทยต้องการการรักษาหมู่เรื่อง PTSD
  11. สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ผู้วิจารณ์เลิกนิสัย Monday morning quarterback ได้แล้วครับ ตอนนี้ควรเริ่มคิดหาทางแก้ไขปัญหากันอย่างจริงจัง
  12. ก่อนแก้ไขปัญหา จะต้องให้สถานการณ์นิ่งก่อน  — แล้วก็ต้องรู้ว่าปัญหาคืออะไร ข้อจำกัดคืออะไร

อ่านต่อ »


กังหันน้ำก้นหอย (5)

อ่าน: 5522

บันทึกเรื่องสูบน้ำใช้ธรรมชาติกับฟิสิกส์ซึ่งผมเขียนไว้เมื่อวันที่ 9 มี.ค. 2551 ถูก reblog ครั้งหนึ่งไปยังฟิสิกส์ราชมงคล

เมื่อศึกษาเพิ่มเติม แล้วเขียนออกมาเป็นบันทึกชุดกังหันน้ำก้นหอย [1] [2] [3] [4] และบันทึกนี้ซึ่งเป็นบันทึกสุดท้าย ผมได้รับความคิดเห็น อีเมล และ SMS ขอข้อมูล และขอเว็บไซต์ที่ไปศึกษามา และแจ้งด้วยว่าอยากร่วมทดลองสร้างต้นแบบ เนื่องจากเห็นว่าเป็นประโยชน์กับชีวิตชาวบ้าน สร้างได้ด้วยราคาถูก และชาวบ้านบำรุงรักษาได้เอง ขออนุโมทนาด้วยครับ

ผมเองไม่ค่อย bookmark อะไรไว้ เมื่อจะศึกษาอะไรก็ค้นเอาในเวลาที่สนใจ เพียงแต่ว่าเวลาค้าจะต้องหาคำสำคัญ (keyword) ให้ถูกต้อง ในกรณ๊นี้ใช้ “spiral pump” “water wheel” “hydro power” ฯลฯ

สำหรับเว็บไซต์ที่ไปเอารูปมา อยู่ที่


กังหันน้ำก้นหอย (4)

อ่าน: 20554

ความรู้ที่แท้จริงนั้น จะต้องแยกความรู้สึกและความเห็นออก เหลือแต่แก่นของความรู้แท้ๆ

กังหันน้ำก้นหอย มีใช้มาตั้งแต่ยุคที่ไม่มีไฟฟ้า เป็นการเปลี่ยนพลังงานจลน์ (น้ำไหลหมุนกังหัน) เป็นพลังงานศักย์ (ยกน้ำขึ้นสูง) โดยวิธีการก็เป็นความรู้้ระดับมัธยม

แต่เครื่องมือใดๆ ในโลกนั้น ต่างก็มีข้อจำกัดด้วยกันทั้งนั้น บันทึกนี้กล่าวถึงข้อดี ข้อจำกัด และวิธีแก้ไขข้อจำกัด

  1. หัวตักน้ำที่อยู่ปลายท่อ มีขนาดใหญ่กว่าเส้นผ่าศูนย์กลางของท่อ เพื่อที่จะกรอกน้ำเข้าไปในท่อ แม้หัวตักน้ำยกตัวขึ้นพ้นน้ำไปแล้ว
  2. กังหันนี้หมุนช้าๆ ก็สามารถทำงานได้ ซึ่งเหมาะกับเมืองไทยที่พื้นที่ไม่มีความลาดเอียงมากนัก ลำธารจึงไม่ไหลเชี่ยว แต่หากลำธารมีน้ำไหลช้ามากหรือเกือบนิ่ง อาจใช้ฝายขนาดเล็ก ปล่อยน้ำออกในช่องที่เล็กกว่าความกว้างของลำธาร เพื่อเพิ่มความเร็วของน้ำ ให้ไปหมุนกังหัน
  3. เมื่อน้ำเข้าถึงขดในสุดแล้ว ความดันอากาศยังคงรักษาอยู่ได้โดยปล่อยน้ำออกที่ระดับสูง ตามที่คำนวณหรือทดลองไว้
  4. หากกังหันน้ำ ไม่สามารถส่งน้ำขึ้นไปยังระดับความสูงที่ต้องการได้ เราสามารถลดขนาดพื้นที่หน้าตัดของท่อที่ส่งน้ำขึ้นสูงนี้ลง (เมื่อพื้นที่ลดลง จะยกน้ำขึ้นได้สูงกว่าเดิม เช่นเดียวกับการบีบปลายสายยางรดน้ำต้นไม้)

อ่านต่อ »


กังหันน้ำก้นหอย (3)

อ่าน: 10398

จากบันทึกก่อน กังหันน้ำก้นหอยนี้ ทำงานด้วยการประยุกต์กฏของบอยด์ ซึ่งกล่าวโดยคร่าวๆ ว่า สำหรับก๊าซแล้ว เมื่ออุณหภูมิคงที่ ปริมาตรคูณกับความดัน มีค่าคงที่ ซึ่งอาจจะจำได้ในรูปของสูตร P1V1 = P2V2 สมัยเด็กๆ นัยของกฏของบอยด์บอกว่า ถ้าอุณหภูมิคงที่ เมื่อปริมาตรน้อยลง ความดันจะสูงขึ้น

  1. กังหันน้ำก้นหอย ตักน้ำเมื่อหัวตักจุ่มลงไปในน้ำ แต่เมื่อพ้นน้ำแล้ว มีอากาศตามเข้าไป
  2. น้ำและอากาศถูกส่งเข้าไปยังขดถัดไป ใกล้ศูนย์กลางมากขึ้นเรื่อยๆ
  3. แต่เมื่อเลื่อนไปยังขดถัดไป ปริมาตรน้ำเท่าเดิม แต่ปริมาตรอากาศลดลง
    • ปริมาตรของขด = พื้นที่หน้าตัดของสายยาง x เส้นรอบวงของแต่ละขด
    • พื้นที่หน้าตัดของสายยางคงที่้
    • เส้นรอบวงของแต่ละขด = 2πr โดยที่ r เป็นรัศมีของแต่ละขด
    • เมื่อเป็นขดในๆ มากขึ้น รัศมีก็ลดลงเรื่อยๆ ทำให้ปริมาตรของแต่ละขดลดลงเรื่อยๆ เช่นกัน
    • แต่ปริมาตรน้ำซึ่งเป็นของเหลว(เกือบ)คงที่ ช่องว่างที่เป็นที่อยู่ของอากาศ จึงลดลงในอัตราที่มากกว่าอัตราการลดลงของรัศมี ซึ่งทำให้ความดันในขดในๆ เพิ่มขึ้นในอัตรที่มากกว่าการลดลงของรัศมี
    • นี่เป็นเหตุผลว่ากังหันน้ำก้นหอย สร้างความดันขึ้นได้อย่างไร โดยอาศัยเพียงการหมุนของกังหัน ถ่ายเทน้ำและอากาศเข้าไปยังขดในๆ
  4. อากาศในขดนอกสุด มีค่าเท่ากับความดันบรรยากาศ (1 bar หรือดันน้ำขึ้นไปได้สูง 34 ฟุต/10.36 เมตร)

อ่านต่อ »



Main: 0.18903613090515 sec
Sidebar: 0.27629208564758 sec