เกลือกับแผ่นดินอีสาน
จากบันทึกเรื่องเกลือ ซึ่งเป็นข้อกังวลเรื่องการกระจายตัวของเกลือ ทำให้ดินเค็ม เพาะปลูกไม่ได้ แต่ก่อนที่จะหาทางจัดการเรื่องนี้ให้ได้ ก็ต้องเข้าใจสาเหตุที่เกิดขึ้นเสียก่อน
ในอดีตกาลนานมาแล้ว อีสานเคยเป็นทะเลมาก่อน เมื่อแผ่นดินยกตัวขึ้น/ระดับน้ำลดลง น้ำทะเลก็ถูกขังอยู่ใน “แอ่ง” และเมื่อน้ำระเหยไปเรื่อยๆ จึงเหลือแจ่เกลือตกตะกอนอยู่บนแผ่นดินอีสาน แล้วก็มีซากพืชซากสัตว์มาทับถม กลบฝังเกลือปริมาณมหาศาลเอาไว้ใต้แผ่นดิน ใต้แอ่งโคราช และแอ่งสกลนคร
จากคำถามในบันทึก
อีสานมีฝนเฉลี่ย 1000 มม. (เกือบ)ทุกพื้นที่ แต่มีปัญหาเก็บกักน้ำไม่อยู่ เมื่อฝนตกลงมา ก็ซึมลงไปใต้ดินหมด หากชั้นของเกลืออยู่ตื้น น้ำที่มีความเค็ม ก็จะทำให้ดินเค็ม ใช้เพาะปลูกไม่ได้
กรมทรัพยากรธรณี อธิบายไว้ว่า
![]() รูปแสดงภาพตัดขวางแสดงชั้นเกลือหิน จาก อ.พล จ.ขอนแก่น ถึง จ.หนองคาย (จาก นเรศ สัตยารักษ์, 2533)
|
||
![]() พื้นที่ดินเค็ม บริเวณอำเภอจตุรัส จังหวัดนครราชสีมา ปรากฎคราบเกลือสีขาวพบผิวดิน ไม่สามารถทำการเกษตรได้
|
![]() พื้นที่ห้วยคอกช้าง บ.ท่าเรือ อ.นาหว้า จ.นครพนม เป็นพื้นที่ดินเค็ม ซึ่งแม้จะ ไม่มีคราบเกลือให้เห็น แต่ก็ไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรมได้
|
![]() พื้นที่ หนองบ่อ อ.บรบือ จ.มหาสารคาม แสดงความแตกต่างของระดับพื้นที่พื้นที่ใกล้ ระดับน้ำใต้ดินจะมีคราบเกลือบนผิวดิน ปลูกพืชไม่ได้พื้นที่เนินที่อยู่ด้าน หลัง อยู่สูงกว่า มีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น
|