ทฤษฎีการเรียนรู้

อ่าน: 10090

วิกิพีเดียภาษาไทยให้นิยามไว้ว่า

ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่ เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

บทความเต็มฉบับออนไลน์

ส่วน Wikipedia ภาษาอังกฤษ ให้คำนิยามไว้ว่า

In psychology and education, a common definition of learning is a process that brings together cognitive, emotional, and environmental influences and experiences for acquiring, enhancing, or making changes in one’s knowledge, skills, values, and world views (Illeris,2000; Ormorod, 1995). Learning as a process focuses on what happens when the learning takes place. Explanations of what happens constitute learning theories. A learning theory is an attempt to describe how people and animals learn, thereby helping us understand the inherently complex process of learning. Learning theories have two chief values according to Hill(2002). One is in providing us with vocabulary and a conceptual framework for interpreting the examples of learning that we observe. The other is in suggesting where to look for solutions to practical problems. The theories do not give us solutions, but they do direct our attention to those variables that are crucial in finding solutions.

There are three main categories or philosophical frameworks under which learning theories fall: behaviorism, cognitivism, and constructivism. Behaviorism focuses only on the objectively observable aspects of learning. Cognitive theories look beyond behavior to explain brain-based learning. And constructivism views learning as a process in which the learner actively constructs or builds new ideas or concepts.

Full Wikipedia article

เท่าที่ประเมินดู คิดว่าวิกิพีเดียภาษาไทย แปล/อ้างอิงจากบทความเดียวกันใน Wikipedia รุ่นเก่าซึ่งข้อความปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปเยอะมากแล้วครับ

ที่น่าสนใจคือข้อความในย่อหน้าที่สองของ Wikipedia — การเรียนรู้ อาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างอย่างน้อยอย่างหนึ่ง ในสามอย่าง คือ

  1. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม: การเรียนรู้ช่วยให้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้ เช่นบุหรี่เป็นสิ่งไม่ดี ถ้าเรียนรู้มาจริง ก็ต้องพยายามเลิกให้ได้ หรือว่าความหยาบคาย เป็นการยึดสันดานดิบของตนเป็นใหญ่ เป็นการละเมิดต่อผู้อื่นซึ่งเป็นสิ่งไม่ดี ถ้าเรียนรู้ได้ กริยาอย่างนี้ก็ต้องเลิกไป; แต่ถ้ายังมีพฤติกรรมเหมือนเดิม เรียกว่ารับรู้ (และไม่เห็นด้วยกับความรู้ที่ได้มา)
  2. การเปลี่ยนแปลงความคิด: ความเข้าใจที่เกิดจากการเรียนรู้ นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความคิดได้ ทำให้รู้ว่ายังมีมุมมองอื่น นอกเหนือจากมุมมองเดิมอีก สมองประเมินเอาว่าเชื่อมุมไหน; มนุษย์ไม่ได้รู้อะไรทั้งหมด รู้ทีหลังแล้วเปลี่ยนความคิดก็ยังดีกว่าทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว เรียนรู้อะไรไม่ได้; การเปลี่ยนแปลงความคิดไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ทำให้มนุษยชาติ “ก้าวหน้า” ขึ้น มีความซับซ้อนมากขึ้น
  3. การสังเคราะห์ความรู้: เป็นทฤษฎีการเรียนการสอนสมัยใหม่ ว่าคนเรียนรู้โดยสังเคราะห์ความรู้ขึ้นจากความรู้/ประสบการณ์ ในปัจจุบันหรือในอดีต เกิดเป็นความรู้ใหม่ เป็นเรื่องภายในของแต่ละปัจเจกบุคคล แต่โดยเหตุที่ความรู้/ประสบการณ์ของแต่ละคนแตกต่างกัน ในห้องเรียนห้องเดียวกัน จึงมีทั้งคนที่รู้เรื่องและไม่รู้เรื่อง ทั้งที่ผู้สอนคนเดียวกัน ฟังการบรรยายพร้อมกัน อ่านหนังสือเล่มเดียวกัน (ซีร็อกซ์เลคเชอร์มาจากคนเดียวกัน) แต่มีคนได้ A และมีคนได้ F

แต่ก็มีคนประเภทที่เรียกหาแต่ความชัดเจน เพราะสมองแบบนั้น คุ้นเคยกับความคิดแบบสองขั้ว [Principle of bivalence] (ใช่-ไม่ใช่ ถูก-ผิด ขาว-ดำ) เวลาเจออะไรที่ไม่ชัด หรือว่ามีตัวแปรหลายตัวแล้ว [Fuzzy logic] ทำให้ประสิทธิภาพของการเรียนรู้ลดลงมาก

การมีประสิทธิภาพลดลง ไม่ใช่การไม่มีประสิทธิภาพ แล้วความคิดอย่างนี้ ก็ไม่ผิดหรอกครับ เค้าเป็นคนอย่างนั้นเอง แล้วเราล่ะเป็นใคร มีสิทธิ์อะไรจะไปบอกว่านี่ใช่ นั่นไม่ใช่ หรืออะไรๆ จะต้องเป็นไปอย่างที่เราต้องการ

เพียงแต่คนแต่ละคน มีวิธีเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ก็จะเรียนรู้ได้ไม่เท่ากัน และเหมาะกับปัญหาในลักษณะที่แตกต่างกันออกไป

มีกลุ่มคนถูกขังอยู่ในห้อง ข้างนอกมีเสียงเอะอะ ทุกคนอยากรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น บางคนเปิดประตูดู บางคนโทรศัพท์ไปถามคนข้างนอก บางคนแอบดูตามรอยแตกของกำแพง ทุกคนเรียนเรื่องเดียวกัน แต่ได้ภาพที่ต่างกัน — การที่จะมาตัดสินว่าวิธีไหนรู้เรื่องมากที่สุดเป็นเรื่องเล็กครับ แต่การตระหนักว่ามีวิธีการหลายวิธีที่เลือกได้ต่างหาก ที่สำคัญกว่า

บางคน ต่อให้ความรู้/โอกาสมากองอยู่ข้างหน้า แถมมีคนบอกให้อีกว่ามันอยู่ตรงนี้ ก็ยังมองไม่เห็น (ถึงมองเห็นก็ไม่เข้าใจ) ถนัดแต่รับความรู้แบบทุติยภูมิ เป็นการเรียนแบบเด็กเล็ก ซึ่งถ้ากระบวนการ “ถ่ายทอด” ทำไม่ได้ 100% แถมเมื่อโตแล้ว ยังเรียนแบบอื่นไม่เป็น โลกนี้ก็จะมีแต่โง่ลงเรื่อยๆ ครับ

ในโบราณกาล ผู้เรียนเสาะแสวงหาสำนักของครูบาอาจารย์ ถ้าสอนไม่รู้เรื่อง ก็กราบลาไปหาเอาที่อื่น ปัจจุบัน มีการยัดเยียดการศึกษาถึงทุกคน ตีตราประทับที่หน้าผากด้วยว่ามีมาตรฐานทางการศึกษา ไม่ต้องขวนขวาย จบออกมา ทำอะไรไม่เป็นเหมือนเดิม

ตามพุทธประวัติ เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา เรียนจนถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติ ในสำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร ยังไม่พบทางพ้นทุกข์ จึงกราบลาไปเข้าสำนักอุทกดาบส รามบุตร เรียนจนเนวสัญญานาสัญญายาตนสมาบัติ ก็ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์อีก อาจารย์ก็หมดไส้หมดพุงแล้ว จึงกราบลาไปค้นหาเอง จนได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ [อนุโมทนากับพระอาจารย์มหาชัยวุธที่แจ้งมาครับ ค้นแล้วพบความในพระไตรปิฎกโดยละเอียด]

รูปฌาณไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ท่านรู้ได้อย่างไร? อรูปฌาณไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ท่านรู้ได้อย่างไร? การบำเพ็ญทุกกรกิริยาไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ ท่านรู้ได้อย่างไร? ท่านตรัสรู้ ได้อย่างไร?

ผมไม่รู้หรอกครับ ว่าท่านรู้ได้อย่างไร แต่ผมรู้ว่าท่านไม่ได้นั่งนิ่งรอให้ใครมาบอกจนชัดเจนหรอกนะครับ

« « Prev : เกี่ยวกับลานซักล้าง

Next : ไม่มีเวลา? » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 Lin Hui ให้ความคิดเห็นเมื่อ 7 May 2009 เวลา 8:20

    สาธุ สาธุ สาธุ ไม่มีใครสามรถหยุดความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น บนโลกใบนี้ได้ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นมันเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และจากฝีมือมนุษย์ สิ่งที่พอมีหนทางที่พอจะทำได้คือ มนุษย์ควรหยุดตัวเองด้วยตัวเอง ซึ่งอย่างน้อยก็มีแล้วให้เห็นเป็นตัวอย่าง การแสวงหาความรู้สามารถทำได้หลายๆวิธี ไม่มีข้อจำกัด เพราะมนุษย์เกิดมาด้วย ต้นทุนทางสติปัญญาที่ไม่เท่ากัน อย่าไปตีกรอบปัญญาของมนุษย์ แค่กฏเกณฑ์ที่มนุษย์กลุ่มหนึ่งสร้างขึ้น เพื่อตีตราความสำเร็จของการเรียนรู้

  • #2 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 7 May 2009 เวลา 11:42
    • เมื่อถูกพาดพิง ใคร่จะเพิ่มเติมอีกหน่อย

    ฌาน แบ่งเป็น รูปฌานมี ๔ ระดับ และ อรูปฌานมี ๔ ระดับ รวมกันเรียกว่า สมาบัติ ๘ … ซึ่งมีชื่อดังต่อไปนี้
    รูปฌาน ๔ คือ

    1. ปฐมฌาน (ฌานที่หนึ่ง)
    2. ทุติยฌาน (ฌานที่สอง)
    3. ตติยฌาน (ฌานที่สาม)
    4. จตุตถฌาน (ฌานที่สี่)

    อรูปฌาน ๔ คือ

    1. อากาสัญญายตนะ (สำคัญหมายเอาที่ว่างเป็นอารมณ์)
    2. วิญญานัญจายตนะ (สำคัญหมายเอาความรู้สึกเป็นอารมณ์)
    3. อากิญจัญายตนะ (สำคัญหมายว่ามีความรู้สึกเพียงนิดหนึ่ง)
    4. เนวสัญญาณาสัญญายตนะ (สำคัญหมายว่ามีความรู้สึกก็มิใช่ ไม่มีความรู้สึกก็มิใช่)

    เฉพาะประเด็นนี้ นักเรียนธรรมศึกษาหรือนักธรรมตรี จะจำกันว่าฟ้าชายสิทธัตถะ ไปเรียนสำนักอาฬารดาบสได้มา ๗ อย่างข้างต้น แล้วไปเรียนเพิ่มจากสำนักอุทกดาบสได้มาอีกอย่างในข้อสุดท้าย … และประเด็นนี้มักออกสอบเกือบทุกปี.

    เจริญพร


แสดงความคิดเห็น

บันทึกนี้ไม่อนุญาตให้แสดงความคิดเห็น!!!

Main: 0.79796814918518 sec
Sidebar: 0.12972688674927 sec