ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทน (3)

อ่าน: 4845

ต่อจากตอนที่แล้ว เอาอย่างนี้ก็แล้วกันครับ ผมอยากเขียนอะไรก็จะเขียน ไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นมินิซีรี่ส์ เพียงแต่ใช้ชื่อเดียวกันเพื่อให้อยู่ด้วยกัน

ทบทวนความรู้พื้นฐานกันหน่อย ยกน้ำหนัก 1 กก. ขึ้นสูง 1 เมตร ภายใน 1 วินาที ต้องใช้พลังงาน 1 g วัตต์ (โดยที่ g เป็น gravitational constant แก้ไขตามความคิดเห็นที่ 1) — ถ้าปล่อยน้ำ 1 ลิตร (ซึ่งหนัก 1 กก) ลงจากความสูง (head) 1 เมตร ทุกๆ วินาที แล้วดักจับพลังงานได้สมบูรณ์ ก็จะได้พลังงาน g วัตต์ ถ้ากั้นลำธารที่มีอัตราไหลของน้ำวินาทีละ 1 ลูกบาศก์เมตร (1000 ลิตร) ไว้ด้วยฝายที่มีความสูง 1 เมตร แล้วดักจับพลังงานได้ทั้งหมด ก็จะได้พลังงาน g กิโลวัตต์ ซึ่งนั่นเป็นหลักการของไฟฟ้าพลังน้ำ

พื้นที่ที่เหมาะสำหรับไฟฟ้าพลังน้ำนั้น ผู้ใดได้ครอบครอง ถือว่าโชคดีมหาศาล ไม่ใช่แค่มีน้ำ แต่น้ำไหลเปรียบเหมือนพลังแห่งชีวิต ซึ่งภูมิประเทศที่มีน้ำไหลนั้น ขึ้นกับธรรมชาติว่าได้สร้างความลาดเอียงไว้ขนาดไหน แม่น้ำลำคลองลำธารก็เป็นน้ำไหล แต่เราไม่สามารถยกระดับน้ำขึ้นสูงได้ เพราะอยู่ดีๆ เราสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำไม่ได้ ถ้าเป็นฝายยังพอเป็นไปได้ (มีเงื่อนไขเยอะเหมือนกันแต่ยังพอเป็นไปได้)

สำหรับฝายเตี้ยนั้น เคยเขียนไว้หลายบันทึกแล้ว พอหาได้สองอันครับ

แต่บันทึกนี้เป็นเรื่องเกลียวของอคีมิดีส

อ่านต่อ »


ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทน (2)

อ่าน: 3829

ต่อจากตอนที่แล้ว ในบรรดาไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนนั้น ควรหรือไม่ควรจะใช้อะไร ขึ้นกับความเหมาะสมของพื้นที่

โลกได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์ทุกวัน เป็นสิ่งที่ถึงไม่ร้องขอก็ได้มาอยู่ดี การพยายามเอาพลังงานเหล่านี้มาใช้ (ซึ่งธรรมชาติได้แปลงไปเป็นรูปแบบต่างๆ แล้ว) เรากลับไปเรียกว่าพลังงานทดแทน

ถึงจะมีต้นทุนในกระบวนการ (A) บ้าง แต่ในระยะยาว เมื่อ Input ได้มา “ฟรี” Output ก็ควรจะ “ถูก” — ซึ่งถ้าหาก output “ไม่ถูก” ก็ไม่รู้จะทำไปทำไมนะครับ

อ่านต่อ »


ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทน (1)

อ่าน: 3590

เมื่อดูแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานแล้ว ก็รู้สึกหนักใจ

แผนนั้นเริ่มจากความเป็นจริงในปัจจุบัน แล้วขยายด้วยประมาณการการใช้ไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งก็เชื่อได้ว่าไตร่ตรอง+สอบทานมาเป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็เป็นที่รู้กันว่าการผลิตไฟฟ้าของเมืองไทยนั้น พึ่งพาก๊าซธรรมชาติถึงร้อยละ 70 จริงอยู่ที่ก๊าซในอ่าวไทยยังมีอยู่ ซึ่งเราก็ใช้มาหลายสิบปีแล้ว แถมไม่ว่าจะเป็นก๊าซจากแหล่งใด ก็ขายเป็นสกุลดอลล่าร์สหรัฐเสมอ หากอัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงไป ราคาไฟฟ้าก็จะผันผวนมาก กระทบต่อเศรษฐกิจ

ในเอกสารแนบของแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2553-2573 (PDP 2010) มีความพิลึกพิลั่นที่ทำให้ผมไม่สบายใจครับ

อันแรกก็คือ จากกำลังการจ่ายไฟฟ้า (ผลิตและซื้อ) ปี 2553 รวมทั้งสิ้น 23,249 MW เป็นพลังงานทดแทนเพียง 754 MW

อ่านต่อ »


กราบส่งคุณแม่สาคร ช่วงฉ่ำ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 May 2011 เวลา 20:17 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3063

ข้าวเปลือกกับความชื้น

อ่าน: 7842

ในเมื่อเมืองไทยมีคนทำเกษตรกรรมกันเป็นสิบล้านคน ทำไมระดับราคาสินค้าเกษตรจึงได้ต่ำเตี้ยขนาดนี้

ดูไปดูมาแล้ว สงสัยว่าสายป่านไม่ยาวพอ มีหนี้ค่าปุ๋ยอยู่ พอพืชผลออกมาก็ต้องรีบขาย ความชื้นก็ไม่ได้ ราคาจึกตกต่ำกว่าที่ควรจะขายได้ จะจำนำข้าวหรืออาศัยราคาประกัน ก็ต้องถูกหักค่าความชื้นอีก แล้วยิ่งฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ฝนแล้วพืชผลเสียหาย ฝนหนักพืชผลก็เสียหายอีก — ค่าบริการอบข้าวลดความชื้นอยู่ที่ 200 บาท/ตัน แต่หากลดความชื้นจาก 25% ลงได้เป็น 15% ราคาข้าวเปลือกก็จะเพิ่มขึ้นได้ 1,000 บาท/ตัน

FAO และ IRRI ประมาณการว่าปริมาณข้าวในฤดูกาลนี้ จะไม่ตกลงจากฤดูกาลที่แล้ว (เนื่องจาก “อากาศดี”) แต่ก็จะไม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกไม่ได้เพิ่มขึ้น — อากาศไม่ได้ดีหรอกนะครับ เมืองไทยน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้ว เวียดนามก็น้ำท่วมเช่นกัน ดังนั้นปริมาณข้าวในตลาดโลกก็ไม่น่าจะคงระดับไว้เท่ากับปีที่แล้วได้ แต่ที่น่าเจ็บใจกว่านั้นคือราคาถูกกดเอาไว้ด้วย “มาตรฐาน” ความชื้น

มีโรงสีที่สามารถอบแห้งได้อยู่ไม่มาก ถ้าข้าวชื้นก็จะสีได้ข้าวสารน้อย ราคาจึงตก หากจะแก้ไขเรื่องราคาข้าว ก็ต้องแก้สองเรื่องคือความชื้นของข้าวเปลือก และค่าขนส่งซึ่งปัจจุบันเราใช้รถบรรทุกขนซึ่งแพงเพราะน้ำมันแพง เรื่องการขนส่งเก็บเอาไว้ก่อน เดี๋ยวยาวไปครับ

อ่านต่อ »


การจัดการน้ำท่วม

อ่าน: 3926

ไม่ว่าจะเป็นการจัดการใดๆ ก็ต้องเริ่มที่ความเข้าใจที่ถูกต้องครับ

กรณีของน้ำท่วม มีหลายเรื่องประกอบกัน คือ

  1. มีปริมาณน้ำไหลมามาก ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดจากฝนตกหนักในเวลาไม่นาน หรือว่าฝนตกระยะยาวหลายวันในพื้นที่กว้าง เมื่อฝนตกแล้ว น้ำก็ไหลไปลงแม่น้ำลำธารซึ่งเป็นร่องน้ำตามธรรมชาติ แต่เมื่อการที่เกิดมีน้ำไหลมากขึ้นอย่างฉับพลัน เกินกำลังการระบายของร่องน้ำ น้ำก็จะยกตัวขึ้น หากยกตัวจนพ้นตลิ่ง ก็จะไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนซึ่งมักตั้งอยู่ริมร่องน้ำ — เขื่อนแตกก็มีสภาพเดียวกัน เพียงแต่ว่าเขื่อนในเมืองไทยมักเป็นเขื่อนแกนดินเหนียวดาดคอนกรีต ซึ่งมักจะไม่ระเบิดโพล๊ะเหมือนในหนัง แต่จะปริแทน

  2. เมื่อน้ำปริมาณมหาศาลไหลบ่าลงมาแล้ว ก็จะมาเจอแนวป้องกันซึ่งเป็นถนนหลวง ประเทศไทยมีระดับถนนสูงกว่าพื้นที่รอบข้างติดอันดับโลก (และอาจเป็นอันดับหนึ่งเลยทีเดียว) ไม่ว่าจะเอาถนนสูงไว้กั้นน้ำหลาก หรือเอาไว้ให้พวกถมดินได้มีงานทำก็ตาม ถนนสูงขวางทางน้ำธรรมชาติ หากกั้นไว้ไม่ได้แล้วน้ำข้ามถนนมาได้ ทีนี้การระบายน้ำออกจากพื้นที่กลับเป็นเรื่องยาก เนื่องจากถนนกลับเป็นกำแพงกั้นเอาไว้ น้ำไหลออกไม่ได้ — อาจจะเปรียบเทียบกันตรงๆ ไม่ได้ แต่ว่าเขื่อนกั้นสึนามิในญี่ปุ่นซึ่งสูงไม่พอนั้น ทำให้เกิดความเสียหายลึกเข้ามาในแผ่นดินมาก เพราะว่าเมื่อน้ำข้ามเขื่อนเข้ามาแล้ว ไหลย้อนกลับลงทะเลไปไม่ได้ ต้องไหลเข้าไปทางแผ่นดินเรื่อยๆ จนไปไม่ไหว น้ำจึงเข้าไปในแผ่นดินได้ถึงสิบกิโลเมตร

  3. แก้มลิง เป็นพื้นที่ที่พักน้ำเอาไว้ รอระบายในจังหวะที่เหมาะสม เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว แต่เป็นปลายเหตุนะครับ เรื่องของเรื่องคือน้ำไหลมาจากต้นน้ำในปริมาณมากจนเกินรับ

อ่านต่อ »


วันอัฐมีบูชา

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 May 2011 เวลา 0:15 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 2954

วันนี้เป็นวันพระ ตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือนวิสาขะ ซึ่งเป็นวันครบรอบวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 8 วัน มีชื่อเรียกเป็นการเฉพาะว่าวันอัฐมีบูชา

ประเพณีวันอัฐมีบูชา แทบจะสูญหายไปจากประเทศไทยแล้ว ยังเหลืออยู่เพียงที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง ต.ทุ่งยั้ง อ.ลับแล อุตรดิตถ์ ซึ่งจำลองเหตุการณ์การถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระขึ้น [คลังปัญญาไทย]

เหตุการณ์ช่วงเสด็จดับขันธปรินิพพาน ปรากฏในมหาปรินิพพานสูตรในพระไตรปิฎก ซึ่งยาวพอสมควร เริ่มตั้งแต่ข้อ [67] ไปจนข้อ [162]

ในข้อ [117] พระพุทธเจ้าทรงทราบว่าสุกรมัททวะ (เห็ดที่หมูชอบกิน) ที่นายจุนทะจัดถวายด้วยความประณีตนั้น จะทำให้อาพาธหนัก จึงขอให้นายจุนทะนำสุกรมัททวะถวายแก่พระองค์เท่านั้น โดยไม่ให้ถวายแก่ภิกษุรูปอื่นฉัน เมื่อพระองค์ฉันเสร็จแล้ว ก็ให้นายจุนทะนำไปฝังทำลายเสียจนสิ้น ซึ่งก่อนหน้านั้น พระพุทธองค์ได้ทรงปลงพระชนมายุสังขารล่วงหน้าแล้วประมาณสามเดือน ในข้อ [95]

อ่านต่อ »


รังสียูวี

9 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 May 2011 เวลา 15:55 ในหมวดหมู่ การแพทย์ สุขภาพ สุขภาวะ #
อ่าน: 3739

ผมไม่ได้เป็นคนที่รักสวยรักงามจนกลัวผิวเสีย และเมืองไทยก็เป็นเมืองร้อน มันเป็นอย่างนี้มาตั้งแต่เกิดแล้ว

แต่ช่วงนี้แดดร้อนจนแสบ ยูวีจากแสงแดดในปริมาณที่มาก สามารถทำอันตรายต่อผิวหนังและประสาทตาได้

รูปทางขวาเป็นการคาดการณ์ UV Index ของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งมีสเกลและสีตามรหัสสากล ดังนี้

UV Index สี ความเสี่ยง เวลาในแดด (นาที)
0-2 เขียว ปกติ มักไม่มีอันตรายต่อคนปกติ ใส่แว่นกันแดดในกรณีที่มีแสงจ้า/แสงสะท้อน 30-60
3-5 เหลือง เสี่ยงเสี่ยงต่ำ ใส่แว่นกันแดด ทาครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 เข้าที่ร่มช่วงเที่ยง 30
6-7 ส้ม เสี่ยงสูง ใส่แว่นกันแดด ทาครีมกันแดดที่มี SPF มากกว่า 30 เสื้อแขนยาว หมวกปีกกว้าง หลีกเลี่ยงแดดระหว่าง 10-15 น. ใช้ร่ม 20
8-10 แดง เสี่ยงสูงมาก เหมือนข้างบน หลีกเลี่ยงแดดและกีฬากลางแจ้ง (ผิวไหม้แล้ว) 15
11 ขึ้นไป ม่วง อันตรายมาก ทำทุกอย่างเท่าที่นึกออก น้อยกว่า 15

อาการที่ตามแดดมากเกินไป คือผิวไหม้ — แต่ไม่ใช่ว่าถ้าผิวไม่ไหม้แล้ว ถือว่ายังทนได้; ค่าข้างบน แนะนำตามผิวฝรั่ง คนไทยทนได้มากกว่านี้ เพื่อความปลอดภัย ก็ใช้คำแนะนำตามตารางก็แล้วกันครับ

ถ้าเมฆมาก UV Index อาจลดได้สัก 1-3 ระดับ

อ่านต่อ »


มายากล

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 23 May 2011 เวลา 20:25 ในหมวดหมู่ เรื่องทั่วไป #
อ่าน: 2633

มายากลควรจะเป็นมายา คือการแสดงที่ผู้แสดงทำให้เราคิดไปเอง (เหมือนคำสัญญาตอนเลือกตั้ง) แต่คลิปอันต่อไปนี้ เป็นของจริง…

อ่านต่อ »


หมู่บ้านโลก (2)

อ่าน: 2736

ปลายเดือนก่อน เขียนเรื่อง [หมู่บ้านโลก] ไป ปรากฏว่ามีผู้สนใจความคิดนี้คุยต่อหลังไมค์กันพอสมควรครับ

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (เดิมชื่อวิทยาลัยเกษตรกรรม) น่าจะเหมาะที่สุดเรื่องการใช้เทคโนโลยีชาวบ้าน สร้างเครื่องมือเอนกประสงค์สำหรับงานเกษตรกรรมและวิถีชีวิตของชาวบ้าน เพื่อให้มีเครื่องมือที่ใช้งานได้ในราคาที่ถูกมาก สร้าง ซ่อม และบำรุงรักษาได้เอง เลิกนิสัยซื้อแหลก อาจจะมีโอกาสตั้งตัวได้เสียที… แต่เอาเข้าจริง ไม่มีอะไรอย่างนั้นหรอกครับ

จากที่เคยไปเที่ยวดูที่แถวสะแกราช [คนเมืองแบบคนป่า คนป่าแบบคนเมือง] วันนี้มีโอกาสคุยกับคุณน้องคนที่พาไปเที่ยวอีก เขามีที่ดินที่ให้ชาวบ้านเช่าไปปลูกเป็นไร่มัน เป็นเนินเขา ¼ ลูกและเป็นที่ราบอีกส่วนหนึ่ง เป็นสัญญาเช่าปีต่อปี น่าเสียดายที่ดินนี้ แม้อยู่ในที่ที่อากาศดี มีลำธารไหลผ่านข้างที่ การคมนาคมสะดวก น้ำไฟหาได้ไม่ยาก และไม่ใช่โซนที่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าหญ้า — แต่ถ้ามองแบบคนเมืองแล้ว คงคิดว่าน่าจะทำรีสอร์ตมากที่สุด ซึ่งผมเห็นด้วยบางส่วนครับ ว่าที่นี้สวยจริงๆ แต่ยังคิดไม่ออกว่าจะทำรีสอร์ตกันทั้งอำเภอได้อย่างไรเหมือนกัน เหมือนทำอะไรก็ทำตามกันไปหมด

คราวที่แล้ว ไปยุให้คุณน้องและคุณหน่อยทำโรงปลูกเห็ด รายได้ดี มีคนมารับซื้อถึงที่ แถมผลิตไม่พอด้วยซ้ำไป มีรายได้ประจำเพิ่มขึ้นเดือนละหลายหมื่น ก็เอามาโปะเป็นค่าใช้จ่ายประจำในกรณีที่เขาจะทำที่พักแถวโน้น (ซึ่งเหมาะกว่าแถวนี้)

อ่านต่อ »



Main: 0.88411998748779 sec
Sidebar: 0.68484401702881 sec