กาลักน้ำ

อ่าน: 8195

น้ำท่วมมาเดือนกว่าแล้ว บางพื้นที่ของสุโขทัย+พิษณุโลกกว่าสองเดือนแล้ว แต่ยังมีพื้นที่ที่น้ำท่วมขังกระจายอยู่เป็นวงกว้าง

ความเดือดร้อนจากน้ำท่วมขัง เป็นข้อจำกัดสำคัญที่ทำให้การฟื้นฟูล่าช้า ตัวผู้ประสบภัยเองสภาพจิตใจยิ่งย่ำแย่ไปหมด น้ำไม่ลดเหมือนไม่มีความหวัง

เมื่อวานไปเปิดบัญชีตามบันทึก [วุ่นวายไปทำไม] เจอลุงเอก ประธานมูลนิธิ (ผอ.สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า) ลุงเอกงานยุ่งมากแต่เล่าว่าเพิ่งไป อ.บางบาล อยุธยามา น้ำยังปริ่มถนนอยู่เลย

ผมก็ปากหนักไป ดันไม่ได้ถามว่าลุงเอกไปมาเมื่อไหร่ พอกลับมาบ้าน ก็มาเช็คดูระดับน้ำ ปรากฏว่ามาตรวัด C36 (คลองบางหลวง อ.บางบาล) อยู่ต่ำกว่าตลิ่งตั้งหลายเมตร

ถ้าตัวเลขนี้ถูกต้อง ลองนึกถึงใจชาวบ้านแถวนั้นดูนะครับ เห็นอยู่ว่าน้ำท่วมบ้าน ท่วมหนัก และท่วมมานานแล้ว แล้วก็ยังไม่ยอมลดลงเสียที ในขณะที่ระดับน้ำในคลอง ต่ำกว่าตลิ่งตั้งเยอะ ก็ยังทำอะไรไม่ได้ (ก็มันติดถนนนี่หว่า! แค่ข้ามถนนไปก็ไม่ท่วมแล้ว!!!) เวลาน้ำบ่าเข้ามา มันข้ามถนนมาได้ แต่พอข้ามถนนมาแล้ว น้ำไหลกลับไม่ได้ครับ เพราะว่าถนนเมืองไทยเป็นถนนที่ยกสูง เอาไว้ป้องกันน้ำท่วม

อ่านต่อ »


ความช่วยเหลือแบบบูรณาการ

อ่าน: 3156

ไม่รู้จะเวิร์คหรือเปล่านะครับ แต่บันทึกนี้ เป็นเรื่องที่ 40 แล้วตั้งแต่น้ำท่วม ซึ่งตลอดเดือนที่ผ่านมา ผมเขียนแต่เรื่องน้ำท่วมอย่างเดียวเลย

มีข่าวว่าวัสดุก่อสร้างในพื้นที่ประสบภัยขึ้นราคาโดยเฉพาอย่างยิ่งทางใต้ อันนี้จะทำให้ความช่วยเหลือช่วยคนได้น้อยลง ดังนั้นด้วยความคิดพิสดาร ผมจึงเสนอ complex scheme ซึ่งค่อนข้างวุ่นวาย แต่

  1. น่าจะลดราคาวัสดุก่อสร้างลงได้
  2. สวนยางที่ประสบวาตภัย จะขายเศษไม้ได้ ซึ่งต้นใหญ่ๆ ทางราชการช่วยรับซื้ออยู่แล้ว
  3. จ้างงานผู้ประสบภัย
  4. ซื้อวัตถุดิบ มาสร้างมูลค่าเพิ่ม ขายให้แก่ผู้ประสบภัยที่ต้องการในราคาถูก กำไรมาจ้างผู้ประสบภัยผลิต ให้มีเงินหมุนเวียนในครอบครัว
  5. ตั้งแหล่งผลิตชั่วคราวในพื้นที่ ลดค่าขนส่ง

เรื่องเป็นอย่างนี้ครับ สืบเนื่องจากบันทึก [อิฐกระดาษ อิฐต้นไม้] ซึ่งเขียนเมื่อตอนฝนตกหนักบริเวณเขาใหญ่ แต่น้ำยังไม่ทะลักไปท่วมปากช่อง/ปักธงชัย บันทึกนั้นใช้เซลลูโลสผสมในปูนซีเมนต์ ทำให้ยังคงความแข็งแรงอยู่ได้ แต่ใช้ปูนน้อยลงครับ เหมือนกับเวลาสร้างบ้านดิน เขาเอาดินพอกฟาง ซึ่งฟางคือเซลลูโลสนั่นแหละ มันจะยึดดินให้เกาะอยู่ด้วยกันล่ะครับ [อิฐมวลเบา กันร้อน กันหนาว]

อ่านต่อ »


หลุมไฟดาโกต้า แก้หนาว

อ่าน: 7930

เรื่องหลุมไฟดาโกต้าที่เขียนมาหลายบันทึกในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา เป็นวิธีเอาตัวรอดในเขตมิดเวสต์ของสหรัฐซึ่งอากาศทารุณ

ผมเอาหลุมไฟดาโกต้ามาเล่นที่สวนป่า เพราะว่าเป็นเตาที่ให้ความร้อนสูง ใช้เชื้อเพลิงน้อย ไม่ใช้ฟืน แต่ใช้กิ่งไม้เล็กๆ เท่านั้น — เช่นเดียวกับเตาทั่วไป ถ้าไฟติดแล้ว ใช้กิ่งสดก็ได้ครับถ้าทนควันได้

หลุมไฟดาโกต้าจะมีสองรู รูแรกเป็นรูที่อากาศเข้าและใช้ใส่เชื้อเพลิง ส่วนอีกรูหนึ่งเป็นรูที่ความร้อนออกมา ซึ่งเราตั้งเตาหรือต้มน้ำ จะร้อนเร็ว เนื่องจากมีการบังคับทางลม บังคับให้เผาไหม้ได้ดีขึ้น และป้องกันการสูญเสียความร้อนจากการเผาไหม้ ผมก็นึกว่าเจ๋งแล้ว เจอท่าพิสดารของครูบาเข้า งงไปเลย

ครูบาดัดแปลงเพิ่มอีกสองแบบ (ดูรายละเอียดในลิงก์ข้างบน) คือเข้าหนึ่งรูแยกไปออกสองรู แบบนี้ประหยัดแรงขุด ใช้รูใส่เชื้อเพลิงร่วมกัน แต่ทำอาหารได้สองเตา อีกแบบหนึ่งเป็นสามใบเถา มีรูเตาเรียงกันสามรู ทีแรกผมไม่คิดว่าจะสำเร็จหรอกครับ แต่ได้กินข้าวที่หุงจากเตาสามใบเถานี้มาสองสามมื้อแล้วครับ เตาเหล่านี้ ฝีมือครูอาราม@มงคลวิทยา ณ ลำพูน กับ ครูอ้น ฤๅษีแห่งลำปลายมาศ เวลาเขาขุดเตากัน ผมหลังเดี้ยงไปแล้ว เนื่องจากซ่าไปซ่อมถนนคนเดียว ใช้จอบส่วนตัวที่เอาไปจากบ้านด้วย

หุงข้าวโดยอาจารย์หมอ
24042010221.jpg 24042010222.jpg

ท่ามกลางกำลังใจ และความโล่งใจจากนิสิตแพทย์ ว่าเย็นนี้มีข้าวกินแล้ว
24042010224.jpg

อ่านต่อ »


อีกด้านหนึ่งของน้ำ

อ่าน: 4564

มอร์นิ่งทอล์ควันนี้เจอประเด็นคุณภาพของน้ำ ผมก็ไม่รู้ว่าผู้ประสบอุทกภัยใช้น้ำจากที่ไหนกินหรือทำอาหารกันหรอกนะครับ รู้สึกหวาดเสียวมาก

เมื่อเร็วๆ นี้ มีข่าวว่าเฮติ เกิดอหิวาต์ ทั้งๆ ที่หายไปจากเฮติมาหลายสิบปีแล้ว กรณีน้ำท่วม อาจจะมีความเสี่ยงจากอหิวาต์หรือท้องร่วงอย่างแรงมากกว่าแผ่นดินไหวเสียอีก แต่บทเรียนจากเฮติเช่นกัน พูดถึง Oral Rehydration Therapy (ORT หรือ ORS Oral Rehydration Solution) เป็นการให้น้ำและเกลือแร่ เพื่อบรรเทาอาการสูญเสียน้ำจากอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง (อหิวาต์)

หากผู้ประสบภัย (หรืออาสาสมัครที่ออกไปช่วยเหลือ) มีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง จะต้องรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน แต่ถ้าหากไปไม่ได้ไม่ว่าด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม จะต้องระวังอาการช็อคจากการสูญเสียน้ำ ถ้ามีผงเกลือแร่กับน้ำสะอาด ก็ให้ผู้ป่วยดื่มในปริมาณตามฉลาก แต่ถ้าไม่มี อาจเตรียมสารละลายข้างล่างให้ดื่มทดแทนแล้วรีบนำส่งสถานพยาบาลโดยเร็วนะครับ

  • ผู้เตรียมสารละลาย ล้างมือให้สะอาด
  • เกลือแกง (เกลือทะเล ผสมไอโอดีนหรือไม่ก็ได้) 1 ช้อนชา — 1 ช้อนชา ประมาณ 1 ฝาเบียร์ครับ
  • น้ำตาลทราย 4 ช้อนชา
  • น้ำ 1 ลิตร หากไม่แน่ใจคุณภาพน้ำ ให้ต้มเสียก่อน หรือไม่ก็ใช้น้ำมะพร้าวอ่อนครับ
  • ผสมให้เข้ากัน แล้วให้ผู้ป่วยดื่มในอัตรา 5 ml/กก./ชม. เช่นผู้ป่วยน้ำหนัก 60 กก. ก็ให้ดื่มสารละลายนี้ 300 ml/ชั่วโมง (ประมาณ 1 กระป๋องน้ำอัดลม ซึ่งมีปริมาตร 325 ml)

อ่านต่อ »


ปั่นเพื่อชาติ

อ่าน: 3966

บันทึกนี้ ได้ไอเดียมาจากความคิดเห็นของครูบา และจากบันทึกสูบน้ำจากแหล่งลึกซึ่งเขียนไว้เมื่อสี่เดือนก่อน แต่ดัดแปลงไปนิดหน่อยครับ

ครูบาแนะให้ปั่นเอาซึ่งก็เหนื่อยน้อยดี ส่วนบันทึกสูบน้ำจากแหล่งลึก พูดถึงปั๊มน้ำแบบเชือก ใช้ปมเชือกที่ผูกผ้าเป็นปม ที่วิ่งขึ้นจากก้นบ่อขึ้นมาข้างบนผ่านท่อเล็กๆ ก็จะนำน้ำขึ้นมาจากบ่อลึกๆ ได้

ผมเล่าไอเดียหลักก่อน ถ้าเราจะยกน้ำขึ้นจากฝั่งที่ท่วมหนัก ข้ามสิ่งกีดขวางสูง 2 เมตร ไปปล่อยอีกข้างหนึ่งซึ่งจะไหลลงแหล่งน้ำธรรมชาติได้ ก็ใช้ท่อพีวีซีขนาด 2 เมตร ยิ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างมากก็ยิ่งดี

แล้วเราก็ใช้เชือก ยาวสัก 5-6 เมตร (ยาวกว่าสองเท่าของความสูงของสิ่งกีดขวาง — 2 เมตร) เชือกเส้นนี้ จะผูกกันเป็นวงกลม

แต่กว่าก่อนที่จะผูกเป็นวงกลม เรามัดเชือกเป็นปมสองปมอยู่ใกล้กัน (สีเขียวเข้มในรูปทางขวา)

ระหว่างปม ทำกระสวยรูปโคน (สีเขียวอ่อนในรูปขวา) อาจทำจากพลาสติก เย็บด้วยลวดเย็บกระดาษตามออฟฟิศก็ได้ ใส่กระสวยเพื่อให้กระสวยรับน้ำหนักของน้ำ

เหนือกระสวย เอาเศษผ้ามาถักเป็นเส้น (สีบานเย็น) เศษผ้าเป็น seal จะรั่งบ้างนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร ถึงอย่างไร เศษผ้าเปียกน้ำ ก็ยังเป็น seal ที่พอใช้ได้แล้วหาได้ไม่แพง — ถ้าแข็งแรงไม่พอ ก็เพิ่มกรวยรูปโคนประกบไว้เหนือเศษผ้าอีกชั้นหนึ่ง

อ่านต่อ »


ลดความเสี่ยงจากดินถล่ม?!

อ่าน: 4858

สิ่งปลูกสร้างที่อยู่ใกล้ทางน้ำหรือใกล้ภูเขา มีโอกาสจะเจอดินถล่มทั้งนั้นครับ

เวลาเราสร้างบ้าน ก็ไม่รู้หรอกว่าตรงไหนมีโอกาสเกิดดินถล่ม พื้นผิวโลก หากแห้งแล้วมีความลาดเอียงไม่เกินมุมลาดเอียงปลอดภัย (angle of repose) ซึ่งอาจสูงได้ถึง 30° แต่เมื่อไรที่เปียก เละเทะเป็นดินโคลน แค่เอียงเป็นมุม 1-2° ก็อาจจะเริ่มไถลเคลื่อนตัวได้แล้ว — น้ำเป็นเหมือนตัวหล่อลื่น ยิ่งถ้ามีเหตุการณ์ธรรมชาติเช่นแผ่นดินไหว ฝนตกหนักจนดินอุ้มน้ำจนอิ่มตัวแล้ว หรือเจอคลื่นกระแทกซ้ำๆ ก็อาจจะทำให้เกิดดินถล่มได้

และนั่นก็เกิดขึ้นมาแล้ว และยังมีความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ที่อยู่ใกล้พื้นที่ลาดชัน (ภูเขา)

คุณสมบัติทางวิศวกรรมของดินไม่อิ่มตัว

บทบาทของดินไม่อิ่มตัวต่อความมั่นคงของลาดดิน ลาดดินไหล่เขาโดยเฉพาะมวลดินที่อยู่ส่วนบนเหนือกว่าระดับน้ำใต้ดิน จะอยู่ในสภาวะไม่อิ่มตัว ดังนั้นจะมีความดันน้ำเป็นลบ (Negative Pore Pressure) เนื่องจากแรงตึงผิวของความชื้นที่เกาะอยู่ระหว่างเม็ดดินโดยเฉพาะในฤดูแล้ง ซึ่งจะเป็นตัวการที่เพิ่มความแข็งแรงของดิน ดังนั้นจะสังเกตเห็นว่าลาดดินตัดใหม่ จะยังมั่นคงอยู่ได้แม้จะมีความลาดชันมาก ดังแสดงในรูปที่ 2 แต่เมื่อมีฝนตกหรือระดับน้ำใต้ดินสูงขึ้น ความดันที่เป็นลบนี้ จะถูกทำลายไปและอาจกลับเป็นความดันที่เป็นบวก (Positive Pore Pressure) ดังนั้น ลาดดินดังกล่าวจะเกิดการพังทลายได้ในช่วงที่มีฝนตกหนักและความชื้นในมวลดินสูงขึ้น

อ้างอิง: วรากร ไม้เรียง และ นงลักษณ์ ไทยเจียมอารีย์. 2547. ความแข็งแรงของดินไม่อิ่มตัวเพื่อการวิเคราะห์ความมั่นคงของลาดเขา. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 9 ณ​โรงแรมรีเจ้นท์ ชะอำ จ.เพชรบุรี, 19-21 พฤษภาคม 2547

อ่านต่อ »


น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (1)

อ่าน: 5284

รู้สึกติดใจกับโศกนาฏกรรมอันโหดร้ายที่เหลียวมองไปรอบตัวมีแต่น้ำ แต่ดื่มไม่ได้ ต้องขนน้ำมาจากระยะไกลหลายสิบ หลายร้อยกิโลเมตร

คืนนี้พักจากการเขียนโปรแกรม ก็เลยค้นเน็ตดูว่ามีวิธีแก้ปัญหาน้ำดื่มในเขตภัยพิบัติในประเทศอื่นบ้างหรือไม่ เลยไปเจอวิธีหนึ่ง เรียกว่า Ceramic Water Filter ครับ เรียก Ceramic Filter ฟังดูดี มีชาติสกุล เหมือนใช้ความรู้สูงด้วยนะ ที่จริงแล้วสร้างได้ไม่ยากหรอกครับ เพราะ Ceramic Filter นี้คือดินเผานั่นแหละ รูปร่างเหมือนกระถางต้นไม้แต่ไม่เจาะรูระบายน้ำที่ก้น

หลักการก็ง่ายๆ ครับ ดินเผาไม่ได้แน่นเป็นเนื้อเดียวไปหมด มันมีช่องว่างเล็กจิ๋วขนาด 0.6-3 ไมครอนที่น้ำซึมผ่านได้  ดังนั้นก็จะกรองสารแขวนลอยต่างๆ เช่นดิน ซากพืช ซากสัตว์ที่มากับน้ำ

ใช้แกลบป่นละเอียด 20% กับดินเหนียว 80% ผสมกัน 10 นาทีจนเป็นเนื้อเดียวกัน จากนั้นผสมน้ำอีกเท่าตัวโดยปริมาตร ปั่นรวมกันไปอีก 10 นาทีก่อนนำไปปั๊มขึ้นรูป แล้วก็ผึ่งไว้ให้แห้งก่อนส่งเข้าเตาเผา

ขั้นตอนการเผา มีการไล่น้ำโดยเผาที่ 100°C ประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วก็ค่อยๆเร่งเป็น 866°C กระบวนการเผาทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 9 ชั่วโมง แล้วก็ต้องปล่อยให้เตาค่อยๆ เย็นลงเองอีกประมาณ 24 ชั่วโมง

ฟิลเตอร์รูปกระถางต้นไม้ที่ได้ เอาไปแช่น้ำไว้สามชั่วโมงให้ดินเผาอิ่มน้ำ จากนั้นทดลองเติมน้ำจนเต็ม ทิ้งไว้หนึ่งชั่วโมงเพื่อวัดว่ากรองน้ำได้โอเคไหม ถ้าหากว่ากรองน้ำได้ไม่อยู่ในช่วงมาตรฐาน (มากหรือน้อยเกินไป) ก็จะถูกทำลายทิ้ง จากนั้นก็เทน้ำออก ผึ่งให้แห้ง เตรียมตัวสำหรับขึ้นต่อไป

อ่านต่อ »


อย่ารอ: เครื่องอบแห้งข้าวเปลือกอนาถาเพื่อช่วยชาวนาที่น้ำท่วม

อ่าน: 3922

เทคโนโลยีชาวบ้าน ทำได้เองง่ายๆ ไม่ต้องพึ่งใคร ไม่ต้องรอใคร (ไม่ทำก็ไม่เป็นไรครับ)

อ่านต่อ »


อย่ารอ: การสร้างแพลอยน้ำเพื่อช่วยน้ำท่วมด้วยท่อพีวีซี…อีกหนึ่งทางเลือกที่ง่ายๆ

อ่าน: 6986

จดหมายส่งต่อครับ เมืองไทยมีคนที่คิดว่าตัวมีความรู้ตั้งมากมาย แต่ความรู้นั้นถ้าใช้ประโยชน์ไม่ได้ จะมีความหมายอะไรครับ มีความรู้แล้วควรช่วยคนอื่นด้วย

การสร้างแพลอยน้ำเพื่อช่วยน้ำท่วมด้วยท่อพีวีซี…อีกหนึ่งทางเลือกที่ง่ายๆ

อ่านต่อ »


สันติไมตรี

อ่าน: 7586

ครั้งหลังสุดที่ไปตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล คงจะเป็นตอนที่ไปฟังบิล เกตส์พูดอะไรสักอย่างเมื่อหลายปีก่อน มาวันนี้เข้าไปอีกครั้ง เพื่อไปแลกเปลี่ยนความรู้ ช่องทาง และประสบการณ์กับทีมข้อมูลของ ศูนย์ประสานงานช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบอุทกภัย ด้วยหวังว่าจะช่วยให้การตัดสินใจจากฝั่งของรัฐ เป็นไปด้วยความถูกต้อง ฉับไว เพื่อบรรเทาทุกข์ ประคับประคอง และฟื้นฟูชีวิตของผู้ประสบภัย

เขียนบ่นไว้ในบันทึกที่แล้ว เรื่องการกระจายอำนาจ กระจายทรัพยากรออกไปช่วยพื้นที่ต่างๆ ทั้งที่ประสบภัยแล้ว และกำลังจะประสบภัย พอไปคุยกันนี้ก็ได้ข้อมูลใหม่จาก “คนนอก” ที่เข้าไปช่วย (ไม่ใช่คนที่เกี่ยวข้องกับรัฐหรือรัฐบาล) ว่าที่จริงรัฐบาลพยายามทำอย่างนั้นอยู่แล้ว เพียงแต่ติดขัดระเบียบราชการ ซึ่งเขียนไว้แน่นปั๋งเหมือนกำแพง มีตัวอย่างจริงคือเทศบาลแห่งหนึ่งทางภาคเหนือ ส่งเครื่องมือมาช่วยสร้างคันดินในภาคกลาง กลับมีปัญหากับหน่วยงานตรวจสอบทันที เนื่องจากอยู่นอกขอบเขตอำนาจ เรื่องนี้มีวาระจะเข้าคณะรัฐมนตรีเพื่อผ่อนคลายระเบียบในการประชุมครั้งหน้า ทรัพยากรของทางภาครัฐ กระจายออกพื้นที่ที่ยังไม่กระทบเพื่อเตรียมรับสถานการณ์ การระดมทรัพยากรกลับมาช่วยพื้นที่ที่กำลังได้รับผลกระทบ จึงขลุกขลักอยู่บ้าง… เรื่องนี้เป็นบทเรียนว่าแม้แต่ความจริง ก็มีหลายมุมมอง หากไม่เข้าใจ ควรถาม ไม่ใช่คิดเอาเอง [แต่บันทึกที่แล้ว ผมไม่ลบหรอกนะครับ]

ปัญหาของการบูรณาการข้อมูลนั้น หลักๆ ก็คือเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการล่วงหน้า

การบูรณาการข้อมูลไม่ใช่การนำข้อมูลทุกอย่างมารวมไว้ในที่เดียวกัน แต่เป็นการนำข้อมูลที่มีความหมาย ไปสู่ผู้ตัดสินใจ เพื่อที่การตัดสินใจนั้น จะเกิดประโยชน์ต่อชาวบ้าน เรื่องนี้ไม่ยากแต่ค่อนข้างสับสน เนื่องจากข้อมูลกระจัดกระจายอยู่คนละกรมกอง มีกันคนละนิด ต่างคนต่างทำ จึงไม่มีภาพใหญ่ที่ควรจะมี (PMOC) พอเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉิน ต่างคนต่างระดมส่งข้อมูลมา ทำให้ย่อยไม่ไหว หาความหมายไม่ทัน กลายเป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง น้ำท่วมที่ศูนย์บรรเทาอุทกภัย

อ่านต่อ »



Main: 0.20382714271545 sec
Sidebar: 3.7646038532257 sec