ปั๊มน้ำกู้ชาติ

อ่าน: 23129

น้ำท่วมใหญ่ นอกจากเสียหายในวงกว้างแล้ว ยังเป็นไปตามสภาพภูมิประเทศด้วย แผ่นดินไทยไม่ได้เรียบแบนแต๊ดแต๋ แต่มีความลาดเอียงแม้ในเขตที่ราบลุ่ม มีคันนา ถนน คูคลอง เนินเขา ภูเขา มีอาคารบ้านเรือนขวางทางน้ำอยู่ ทำให้น้ำไหลไม่สะดวก การที่น้ำปริมาณมากไหลไปไม่สะดวก ทำให้น้ำยกตัว เอ่อขึ้นล้นตลิ่ง ท่วมเทือกสวนไร่นานและบ้านช่องของชาวบ้าน

น้ำท่วมจะผ่านไปในที่สุด แต่บริเวณที่น้ำท่วม โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นแอ่ง เป็นกะทะ จะยังมีน้ำขังอยู่ ซึ่งจะต้องระบายออก นอกจากนี้ เมื่อน้ำไหลผ่านจากพื้นที่หนึ่งไปยังปลายน้ำ พื้นที่ตามเขื่อนดิน เขื่อนกระสอบทราย ที่ใช้ป้องกันน้ำท่วม จะมีรั่วซึมได้บ้างเป็นธรรมดา บ้านเรือนร้านค้าที่ทำเขื่อนกั้นน้ำเอาไว้ ก็อยู่ในสถานการณ์เดียวกันครับ

เวลาพูดถึงการสูบน้ำออก เรามักจะนึกถึงเครื่องยนต์ ถ้ามีอยู่แล้ว จ่ายค่าพลังงาน/มีพลังงานให้ซื้อได้ ก็ไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าไม่มี ลองทำปั๊มกำลังคนดูไหมครับ ใช้ท่อพีวีซีกับวัสดุเหลือใช้ก็พอ

อ่านต่อ »


อิฐกระดาษ อิฐต้นไม้

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 16 October 2010 เวลา 0:09 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 8389

บ้านดินนั้น ใช้เนื้อดิน(เหนียว) พอกไฟเบอร์ซึ่งหาได้ง่ายและเป็นโพลีเมอร์ที่มีอยู่มากที่สุดในโลก (คือเซลลูโลส) อาทิ หญ้าแห้ง เยื่อไม้ กก ต้นข้าว อ้อย ฯลฯ เมื่อพอกดินลงบนไฟเบอร์ รอจนแห้ง ไฟเบอร์ก็จะยึดดินไว้ด้วยกันด้วยพันธะไฮโดรเจนในเซลลูโลส… เออ อธิบายไป ก็เท่านั้นแหละ

เอาเป็นว่าเราเอาดินพอกพวกหญ้าแห้ง ก็จะยึดดินให้รวมกันได้ เอาไปสร้างเป็นผนังได้ครับ เป็นหลักการธรรมดาของการสร้างบ้านดิน

ทีนี้ถ้าเราไม่ใส่ไฟเบอร์/เซลลูโลสลงไปเลย ก็ยังโอเคนะครับ แต่ว่าต้องปรับนิดหน่อยเพราะความแข็งแรงต่ำลง ถึงกระนั้น เราก็ยังสามารถปั้นเป็นก้อนอิฐ  แล้วจึงเอาก้อนอิฐมาเรียงเป็นบ้านอีกทีได้เหมือนกัน

อ่านต่อ »


NEO ในสัปดาห์โป๊ะเช๊ะ

อ่าน: 3007

Neo แปลว่าใหม่ ก็ได้ แต่ในที่นี้เป็นตัวย่อมาจาก Near Earth Object ซึ่งหมายถึงเทหวัตถุในอวกาศที่โคจรมาใกล้โลก คำว่าใกล้โลกนี้ มีความหมายสัมพัทธ์ คือใกล้เมื่อพิจารณาด้วยหน่วยทางดาราศาสตร์ แต่ถ้าวัดเป็นกิโลเมตรแล้ว ยังยาวกว่าระยะทางรอบโลกหลายเท่านัก

วัตถุต่างๆ ที่ล่องลอยไปในอวกาศ ต่างเกิดขึ้นและดับไปตามกาลเวลา เพียงแต่ในขณะที่สังเกตเห็นนั้น นักดาราศาสตร์ได้วัดขนาด คำนวณวงโคจร และพบว่าโคจรเข้ามาใกล้โลกมาก เมื่อเทียบกับเทหวัตถุที่เรารู้จักดีอื่นๆ เช่นดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ต่างๆ ดวงอาทิตย์ ดาวหาง ฯลฯ และเมื่อพบเทหวัตถุ+ตรวจสอบวงโคจรแล้ว ก็ใส่ไว้ในตาราง

ตามวงโคจรนั้น ไม่ชนโลกหรอกครับ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถตรวจพบเทหวัตถุที่โคจรเข้าใกล้โลกได้ทั้งหมด และไม่ได้หมายความว่าวงโคจรจะไม่เปลี่ยนหากเกิดถูกชน หรือถูกเหวี่ยงโดยเทหวัตถุที่ไม่เคยรู้ว่ามีอยู่จริง ต่อให้คำนวณออกมาแม่นยำเพียงใด ก็ยังมีสมมุติฐานแนบไปคู่กันอยู่ด้วยเสมอ และคนเราไม่รู้ทั้งหมดหรอกนะครับ

ระยะทาง AU คือ หน่วยดาราศาสตร์ ซึ่งคือระยะทางเฉลี่ยระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ ประมาณ 93 ล้านไมล์ หรือประมาณ 150 ล้านกิโลเมตร

ส่วนระยะทาง LD คือ ระยะห่างเฉลี่ยของดวงจันทร์ คือประมาณ 384,000 กิโลเมตร

อ่านต่อ »


Global Disruption

อ่าน: 3316

Dr. John Holdren นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐ (ปัจจุบันเป็นผู้อำนวยการสำนักนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำเนียบขาว และเป็นประธานร่วมของคณะที่ปรึกษาประธานาธิบดีโอบามา ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) ในสมัยที่ยังอยู่ในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ให้สัมภาษณ์กับเครือข่าย DemocracyNow.org เรื่อง Global Disruption ดังนี้ครับ

อ่านต่อ »


“350 ppm” ขีดปลอดภัยสำหรับมนุษยชาติ

อ่าน: 6325

บน Facebook คืนนี้ อ.วรภัทร์ โพสต์ลิงก์ไปที่บทความจากกรุงเทพธุรกิจ เป็นเรื่องที่ อ.อาจอง ชุมสาย อยุธยา บรรยายพิเศษในงาน สัมมนาโลกร้อน : ผลกระทบของชาวเชียงใหม่ ที่โรงเรียนพายัพเทคโนโลยีและบริหารธุรกิจ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่

ข่าวนี้เป็นข่าวที่ผมกำลังหาอยู่พอดี นอกจากงานทางสังคมที่ทำอยู่แล้ว ก็มีความสนใจส่วนตัวอยู่ด้วย และมีข้อมูลเรื่องนี้อยู่พอสมควร ดูได้จากบันทึกเก่าๆ ที่เคยเขียนตลอดหลายปีที่ผ่านมา

เมื่อมองในแง่ข้อมูลนะครับ ถึงแม้เป็นข้อมูลทุติยภูมิ ก็มีเหตุผลอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นน่าฟังและเข้าเค้า ส่วนเรื่องการทำนายเวลา อาจจะต้องอ้างอิงสถิติ ยังไม่น่าจะแม่น (สงครามเย็นเลิกไปโดยไม่ได้ทำลายโลกหรือเกิดสงครามโลกครั้งที่สาม ปี 2000 Y2k โลกไม่แตก ปี 2012 ยังมาไม่ถึง ฯลฯ) แต่ถ้าถามว่ามีปัญหาโลกร้อนจริงหรือไม่ ผมเชื่อว่าจริงครับ เพียงแต่ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะถึงระดับวินาศ จะมีผลรวดเร็วรุนแรงแค่ไหน แต่คงแรงแน่

เมื่อเชื่อแนวโน้มแล้ว ไม่ควรตั้งอยู่ในประมาท พยายามแก้ไข+เตรียมตัว ถ้าโลกไม่แตกก็ดีไป แก้ไขอัตราการทำลายโลกเสียวันนี้ ลูกหลานคงจะลำบากน้อยลง เรื่องอย่างนี้ ไม่มีประโยชน์ที่จะบอกว่าเสียใจซึ่งในตอนนั้นไม่มีใครอยู่ฟังแล้ว มีแต่ทำในตอนนี้หรือไม่ทำเท่านั้น

จากบันทึกเหลืออีกเท่าไหร่ ปริมาณน้ำจืดต่อหัวประชากรของโลก จะต่ำกว่าระดับที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในปี 2025 อีก 15 ปีเท่านั้น พืชผักอาหารจะทำอย่างไรกัน แล้ววันนี้ทำอะไรกัน

อ่านต่อ »


ปล่อง

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 September 2010 เวลา 16:33 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4730

ช่วงหน้าหนาวแต่ร้อน ที่ผ่านมา ผมไปสวนป่า มีการปรับปรุงห้องอบสมุนไพร ให้งานแก่ลุงอะไรจำชื่อไม่ได้ แต่รู้ว่าเป็นเพื่อนนักเรียนกับครูบา

เกิดสงสัย ก็เลยเรียนถามครูบาว่า

ครูบาจะเอาไว้ทำอะไรครับ
เอาไว้คุยกัน
แต่ห้องนี้มันไม่มีหน้าต่างนะครับ เดิมเป็นห้องอบสมุนไพร
อ๋อ ง่ายนิดเดียว เดี๋ยวจะต่อปล่องไม้ไผ่ ถ้าไม้ไผ่ยิ่งสูง ก็ยิ่งเย็น นี่เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน

ตั้งแต่ช่วงต้นปี ผมก็ไปค้นข้อมูลมาแล้วล่ะ เก็บไว้ในคลังข้อมูลจนลืมไปเลย เรื่องนี้มีหลักทางวิทยาศาสตร์ เรียกว่า stack effect ครับ เป็นหลักการของปล่องควัน (chimney ที่บางทีเรียกผิดว่าปล่องไฟ)

ลองคิดถึงปล่องที่มีรูปร่างเป็นทรงกระบอกกลวง ตั้งตรงขึ้นฟ้า เมื่อเอาควันไฟใส่ทางด้านล่าง ควันไฟมีความร้อน จึงลอยขึ้นสูงโดยธรรมชาติ ไปไล่อากาศในปล่องออกไปทางด้านบน ในขณะเดียวกัน ก็ดูดอากาศจากด้านล่าง(ซึ่งมักจะเป็นควันไฟนั่นแหละ) ขึ้นมาแทนที่ตัวเองเมื่อตัวเองลอยขึ้นสูง

ตรงนี้ถ้าดูให้ดี ก็จะสังเกตเห็นว่ามีการดูดอากาศจากด้านล่างไปปล่อยออกทางด้านบน การดูดนี้เกิดจากการเคลื่อนตัวของอากาศ ทำให้ความดันด้านล่างของปล่องน้อยกว่าความดันบรรยากาศนอกปล่อง ทำให้อากาศพยายามไหลเข้ามาในปล่อง เกิดเป็นแรงดูด

อ่านต่อ »


น้ำมาก ก็เป็นปัญหาอีก

อ่าน: 4816

ตอนแรกคิดว่าเขียนบันทึกที่แล้วเรื่องเดียวก็พอแล้ว แต่มาคิดอีกที เรื่องนี้มีประโยชน์เกินกว่าจะปล่อยผ่านไปเฉยๆ ครับ ซึ่งถ้าได้ฟังการนำเสนอแล้วจะรู้สึกสนุกมาก ตื่นเต้น-เร้าใจ-น่าติดตาม แม้เนื้อหาออกเชิงวิชาการ จึงขอย่อยมาเล่าให้ฟังนะครับ

ทีมงานของ ดร.สุทัศน์ วีสกุล AIT นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับระบบทำนายน้ำท่วม (มีการพยากรณ์ฝนซึ่งแปลความหมายจากเรดาร์ตรวจอากาศ ซึ่งจะไม่เล่าล่ะครับ)

งานชิ้นนี้เป็นการต่อยอดปรับปรุงขยายผลจาก AIT River Network Model ซึ่งเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากดุษฎีนิพนธ์ เพื่อทำนายปริมาณน้ำไหลในลุ่มเจ้าพระยา นำมาประยุกต์กับการปิดเปิดประตูระบายน้ำและปัมป์น้ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำ งานชิ้นนี้มีประโยชน์มากเมื่อพิจารณาดูประโยคที่ว่า

ที่นาสามารถนำมาให้เป็นพื้นที่แก้มลิงได้ หากไม่ทำให้ข้าวเสียหาย

กรณีน้ำท่วมกรุงเทพซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญ เก็บภาษีได้ครึ่งหนึ่งของภาษีทั้งประเทศ จะสร้างความเสียหายมหาศาล ตามสถิติ ก็มักจะมีน้ำท่วมใหญ่ทุก 5 ปี

อ่านต่อ »


เปลี่ยนคาร์บอนเป็นน้ำมันดิบ

อ่าน: 4165

อยากให้ดูวิดีโอคลิปอันหนึ่งครับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการดูดคาร์บอนจากอากาศ แล้วใช้กระบวนการซึ่งมีชื่อว่า Thermal Depolymerization Process หรือ TDP เปลี่ยนคาร์บอนที่ดูดมาไปเป็นน้ำมัน(ดิบ) เศษที่เหลือฝังกลบไว้

อย่าเพิ่งกลัวว่าเป็นเรื่องเทคนิคแล้วจะไม่รู้เรื่องนะครับ มันเป็นเรื่องเทคนิคแน่! แต่ไม่ยากเกินเข้าใจหลักการ เพราะ TDP เป็นกระบวนการเลียนแบบธรรมชาติในการสร้างน้ำมันดิบ อาศัยความร้อน-ความกดดัน แยกสลายสารประกอบต่างๆ ลงเป็นระดับอะตอม เมื่อรวมตัวกันอีกครั้ง จึงเกิดสารประกอบไฮโดรคาร์บอนหลายชนิด ทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ มีคุณสมบัติเหมือนที่เกิดขึ้นในบ่อน้ำมัน

อ่านต่อ »


เปลี่ยนพลาสติกกลับเป็นน้ำมันดิบ

อ่าน: 3930

เมื่อปีที่แล้ว มีข่าวนักประดิษฐ์ชาวญี่ปุ่น ประดิษฐ์เตาที่เปลี่ยนพลาสติกให้กลับเป็นน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ง่ายจนน่าทึ่ง

คลิปเรื่องนี้ กลับไปปรากฏอีกครั้งหนึ่งใน United Nations University ซึ่งได้รับความสนใจมากอีกครั้งหนึ่ง

อ่านต่อ »


เหลืออีกเท่าไร

อ่าน: 3681

วารสาร Scientific American เดือนกันยายน ตีพิมพ์ข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรของโลกที่ “เหลืออยู่” ในบทความชื่อ How Much Is Left? The Limits of Earth’s Resources, Made Interactive เป็นการแสดงข้อมูลซับซ้อนด้วยภาพ (Visualization)

เป็นที่ทรัพยากรเป็นสิ่งมีค่าและมีอยู่จำกัด ซึ่งเมื่อหมดก็คือหมดครับ

แต่ผมไม่คิดว่าการทำนายว่าทรัพยากรต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงเผ่าพันธุ์มนุษย์ในปัจจุบันจะหมดลงเมื่อไหร่ เรามักเข้าใจว่าจะเกิดปัญหาเมื่อทรัพยากรหมด ซึ่ง(หวังว่า)คงจะอีกนาน ที่จริงแล้ว ปัญหาต่างๆ จะทวีความรุนแรงขึ้นเมื่อการนำทรัพยากรไปใช้(ผลิต)ในระดับสูงสุดต่างหาก ปัจจุบันโลกมีประชากรเกือบเจ็ดพันล้านคนแล้ว มีแต่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นอัตราการใช้ทรัพยากรจึงเพิ่มขึ้นด้วยอัตราก้าวหน้า ซึ่งเร่งให้ใช้หมดไปด้วยอัตราที่เร็วขึ้น กรณีประเทศที่มีแหล่งน้ำมันดิบ ถูกบุกรุกโดยประเทศที่มีอำนาจในทางทหารแข็งแกร่ง ซ้ำแล้วซ้ำอีก คงเป็นสัญญาณสำคัญว่าการแย่งชิงทรัพยากรจะทวีความรุนแรงมากขึ้น

อ่านต่อ »



Main: 0.055054903030396 sec
Sidebar: 0.16279006004333 sec