ไม่ก้าวหน้า เพราะไม่กล้าคิด
อ่าน: 3740Dr. Mansour Javidan ได้ตีพิมพ์บทความ “Forward-Thinking Cultures” ใน Harvard Business Review ฉบับเดือน July/August 2007 ได้ยกเอาการศึกษาของ World Economic Forum โดยใช้ตัวเลขระหว่างปี 1998-2005 ของรายได้ประชาชาติต่อหัวประชากร ระดับของนวัตกรรม ความสุข และความเชื่อมั่นต่อสังคมและเศรษฐกิจ เป็นแกนตั้ง เรียกว่าแกน competitiveness — ส่วนแกนนอนเป็นผลจากการสำรวจผู้บริหารระดับกลางหมื่นเจ็ดพันตัวอย่างใน 61 ประเทศ แล้วจับมาพล๊อต ได้เป็นตารางนี้ครับ
Source: Mansour Javidan, “Forward-Thinking Cultures,”
Harvard Business Review (July/August 2007)
ประเด็นที่ผมสนใจ คือทำไมเมืองไทยจึงพยายามอย่างยิ่งยวดที่จะไม่มองไปข้างหน้า เรื่องของแผนงาน/ทิศทาง เป็นเรื่องที่มีไว้ประดับหน่วยงาน ทรัพยากรทั้งหลายต่างทุ่มเทไปแก้ไขปัญหาของอดีต เนื่องจากมีการเรียกร้องมากในปัจจุบัน แต่การแก้ไขนั้น กลับไม่กล้าแตะที่ต้นเหตุ จึงไม่เคยแก้ไขอะไรได้สำเร็จ เพราะมัวแต่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอยู่นั่นแหละ แผนงานสำหรับอนาคตจึงถูกละเลยไป และไม่ใช่ “ผลงาน” ที่วัดได้
3 ความคิดเห็น
คิดว่าน่าจะเป็นเพราะส่วนใหญ่ผู้บริหารไม่ใช่ผู้บริหารอาชีพค่ะ หลายคนได้เป็นผู้บริหารเพียงเพราะอยากเป็น แต่ไม่ได้คิดอยากจะพัฒนาองค์กรมากนัก มองไม่เห็นความสำคัญของแผนไปในอนาคต ถ้ามองในรูปของรัฐบาลก็ยิ่งชัดใหญ่ คนที่ดูแลรับผิดชอบเปลี่ยนบ่อย ไม่ได้มีการให้ความสำคัญกับ forward thinking แต่กลายเป็นแก้ปัญหาปัจจุบันแค่นั้นจริงๆ…ผู้บริหารมองไม่เห็นว่าทุกวันนี้ทำแต่ failure management อยู่ค่ะ ตัวเองเห็นทั้งในระดับรัฐบาล อุตสาหกรรมก่อสร้าง และแวดวงการศึกษาค่ะ
บางทีสร้างพันธกิจไว้อย่างหนึ่ง (สร้างเพราะมันดูดี) แต่ถึงเวลาลงรายละเอียดทำงานกันจริงๆ กลับไม่เคยเอางานในระดับปฏิบัติการมาดูเลยว่า สอดคล้องกับพันธกิจหรือวิสัยทัศน์ที่สร้างไว้หรือไม่..
ลปรร ค่ะ ^ ^
ถ้าถามว่าทุกวันนี้ทุกวันนี้ทนทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบหรือเปล่า ก็ต้องบอกว่าไม่ค่ะ เพราะที่ไม่ชอบทำ และทำแล้วไม่เกิดประโยชน์ เช่น งานบริหาร ก็ได้เลิกทำแล้วค่ะ ^ ^ งานที่เหลือคืองานสอน เป็นงานที่ดี เป็นงานสร้าง ทำแล้วยังพอเกิดประโยชน์อยู่ ก็ทำไปก่อนเพื่อหาเงินดูแลพ่อแม่..เมื่อทำภารกิจนี้สมบูรณ์แล้ว ก็ถึงคิวตัวเองไปปลูกผักกินอยู่บ้านนอกแน่ๆ ค่ะ ^ ^