บ่อน้ำทะเลร้อน

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 27 December 2010 เวลา 18:03 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4394

เรื่องนี้เป็นเรื่องของ Solar pond ครับ เป็นบ่อเก็บกักความร้อนจากพลังานแสงอาทิตย์ มีประสิทธิภาพต่ำ แต่ว่าแทบไม่มีต้นทุนเลยเนื่องจากบ่อได้รับความร้อนมาจากแสงอาทิตย์ซึ่งไม่มีต้นทุน

น้ำทะเลนอกจากมีความเค็ม แล้วยังมีอีกลักษณะหนึ่งคือน้ำที่เค็มกว่า มีความหนาแน่นมากกว่า ก็จะจมลงข้างล่าง ในขณะที่น้ำที่จืดกว่าจะลอยอยู่ที่ผิวหน้า ดังนั้นเมื่อเอาน้ำทะเลใส่ลงในบ่อทิ้งไว้ ก็จะเกิดการแยกตัวเป็นชั้นๆ โดยความเค็มจะเพิ่มขึ้นตามความลึก

ถึงอย่างไรก็ตาม แม้น้ำทะเลจะมีเกลือและสิ่งเจือปนอื่นๆ ละลายอยู่ แต่ก็ยัง “ใส” พอที่ให้แสงแดดผ่านลงไปได้ เมื่อแสงผ่านลงไปกระทบน้ำหรือกระทบก้นบ่อ จะเกิดความร้อนขึ้น ตากไปตามมา น้ำก็ร้อนขึ้นมาก

พอน้ำร้อน มักจะลอยตัวขึ้นข้างบน ถ้าเป็นบ่อน้ำปกติ พอน้ำลอยขึ้นมาถึงผิวหน้า ก็จะปล่อยความร้อนให้อากาศ แล้วจมลงไปใหม่ แต่ในบ่อ solar pond น้ำทำอย่างนั้นไม่ได้เนื่องจากน้ำมีความเข้มข้นของเกลือละลายอยู่ จึงมีน้ำหนักมาก น้ำเกลือเข้มข้นจากก้นบ่อไม่สามารถจะลอยขึ้นมาถึงผิวหน้าเพื่อปล่อยความร้อนได้ ความร้อนจึงสะสมอยู่ที่ก้นบ่อเป็นจำนวนมาก — ถ้าน้ำพร่องไปจากการระเหยที่ผิวหน้าหรือรั่วซึมที่ขอบบ่อ ก็เติมนำทะเลลงไปครับ

ในกรณีที่แดดดีๆ น้ำที่ก้นบ่ออาจมีอุณณหภูมิถึง 80-90°C (ขึ้นกับความลึกของบ่อและความเค็มของน้ำเกลือ) — ในขณะที่น้ำที่เค็มน้อยกว่าที่ผิวหน้า สามารถปล่อยความร้อนให้อากาศได้ดี จึงมีอุณหภูมิที่ต่ำกว่า อาจจะสัก 30°C

อ่านต่อ »


ความมั่นคงสามแนวทาง เพื่อให้อยู่ได้

อ่าน: 4061

นอกเหนือจากปัจจัยสี่ (อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค) ซึ่งเป็นความจำเป็นขั้นต่ำสุดต่อการดำรงชีวิตแล้ว มีปัจจัยสำคัญสามอย่าง ที่จำเป็นต้องใส่ใจเป็นพิเศษ คือความมั่นคงสามแนวทางได้แก่ อาหาร น้ำ และพลังงาน ทั้งสามมีนัยสำคัญต่อ “สภาพ” ของสังคมมนุษย์ หากขาดไปอย่างใดอย่างหนึ่ง อาจเกิดความวุ่นวายขนานใหญ่จนลุกลามเป็นสงครามได้

อาหาร

เป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ เป็นสิ่งที่ทุกคนควรได้รับอย่างพอเพียงต่อการเจริญเติบโต และครบถ้วน เมืองไทยมีดิน(บางส่วน)อุดมสมบูรณ์ จากน้ำท่วมที่ลุ่มภาคกลาง แต่ในพื้นที่อื่นๆ เรากลับทำลายดินกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เริ่มด้วยการถางป่า ทำให้ดินถูกแดดเผา เร่งให้ความอุดมสมบูรณ์​ (humus) สลายไปหมด ซึ่งโดยธรรมชาติ มันก็ค่อยๆสลายที่อุณหภูมิสูงกว่า 25°C อยู่แล้ว เมื่อไม่มีร่มเงาของต้นไม้ ดินที่ถูกแดดเผา อาจมีอุณหภูมิสูงกว่า 70°C กลายเป็นดินทรายไปหมด ใส่ปุ๋ยเท่าไหร่ ความอุดมสมบูรณ์ก็ถูกทำลายไปอีกซ้ำซาก เพราะว่าไม่ได้แก้ที่สาเหตุ

ยิ่งทำการเกษตร ก็ยิ่งจน ที่ดินของปู่ย่าตายายก็รักษาไว้ไม่ได้ เห็นแก่เงินเฉพาะหน้า พอนายทุนมากว้านซื้อ ก็รีบขายไปหมด เมื่อไม่มีที่ทำกิน ก็ไปบุกรุกพื้นที่ป่า ทำลายต้นไม้หนักเข้าไปอีก เมื่อพื้นที่ป่าหายไปมากเข้า ความชื้นไม่มี ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ผลผลิตต่ำเป็นหนี้เป็นสิน เป็นวังวนไม่รู้จบสิ้น

เมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2542 โลกมีประชากรเกินหกพันล้านคน และจะมีเกินเจ็ดพันล้านคนในปี 2555… ถึงมีคนมากขึ้น แต่กลับมีพื้นที่เพาะปลูกน้อยลง พื้นที่เพาะปลูกที่มีก็ไม่รู้จักบำรุงรักษา

โดยนิยาม ทรัพยากรเป็นสิ่งที่ทีค่า แต่มีอยู่อย่างจำกัด หากถลุงใช้กันตามสบายโดยเอาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งแล้ว ทรัพยากรมีแต่จะหมดไปอย่างรวดเร็วและเปล่าประโยชน์ [tragedy of the commons ] [tyranny of small decisions]

อ่านต่อ »


กิจกรรมบนดวงอาทิตย์ ทำลายโลกได้หรือไม่

อ่าน: 4775

คำถามแบบชื่อบันทึกนี้ ไม่อยากตอบเลยครับ…

การปฏิเสธว่า “ไม่” นั้น ไม่สมเหตุผลทั้งปวงเพราะว่าผมไม่รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง; ส่วนการตอบว่า “ได้” ก็ไม่มีหลักฐานใดๆ เท่าที่รู้ — แต่ว่าถ้าถามว่า ในห้าสิบปีที่ผ่านมา กิจกรรมบนดวงอาทิตย์ทำลายโลกหรือไม่ อันนี้ตอบได้ว่าไม่ เพราะผมมีชีวิตอยู่ตลอดช่วงเวลาในคำถาม ถ้าโลกถูกทำลายผมมีชีวิตอยู่ไม่ได้ ถ้าถามว่าเป็นไปได้หรือไม่ อย่าคาดหวังคำตอบสั้นๆ ที่ฉาบฉวยว่าได้หรือไม่ได้เลยครับ อะไรๆ ที่ยังไม่เกิดก็เป็นไปได้ทั้งนั้นล่ะ ประเด็นมันอยู่ที่ว่าความเสี่ยงของสาเหตุแบบต่างๆ นั้น มีอยู่เท่าไหร่ต่างหาก

ดวงอาทิตย์อยู่ห่างโลก 150 ล้านกิโลเมตร หรือ 93 ล้านไมล์ แต่ดวงอาทิตย์เช่นกัน เปล่งพลังงานมาหล่อเลี้ยงโลกมาตั้งแต่ต้น พลังงานของดวงอาทิตย์เกิดจากปฏิกริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นที่แกนกลาง ก่อให้เกิดความร้อนมหาศาล ความร้อนภายในเนื้อของดวงอาทิตย์นี้ ถูกถ่ายเทจากแกนกลางออกมาสู่ผิวหน้า วนเวียนไปมาช้าๆ ในรูปของพลาสมา (ก๊าซร้อนยิ่งยวด) แผ่เป็นพลังงานหล่อเลี้ยงโลกมาตั้งแต่กำเนิด

ไม่แต่รังสีความร้อน กระบวนการไหลของพลาสมาในพื้นผิวของดวงอาทิตย์ เกิดการปะทุปล่อยก๊าซร้อนยิ่งยวดออกสู่อวกาศ สร้างสนามแม่เหล็กความเข้มข้นสูง เกิดลมสุริยะ (ถ้ารุนแรง เรียกพายุสุริยะ) เกิดจุดดับบนดวงอาทิตย์ ฯลฯ เหล่านี้เรียกว่ากิจกรรมของดวงอาทิตย์​ซึ่งนักดาราศาสตร์เฝ้าศึกษามา 400 ปี พบว่ากิจกรรมบนดวงอาทิตย์ เกิดเป็นช่วงๆ บางปีสงบ-บางปีอลหม่าน ในปีที่อลหม่าน (Solar Maximum) ก็จะมีการเกิดจุดดับมากผิดปกติ มีการปะทุที่ผิวปล่อยสนามแม่เหล็กและลมพายุสุริยะมากผิดปกติ

อ่านต่อ »


Biochar ปรับปรุงดินและลดโลกร้อน

อ่าน: 7237

Biochar เป็นถ่านที่เกิดจากการเผาไหม้แบบควบคุมปริมาณออกซิเจนที่อุณหภูมิต่ำ — แปลเป็นไทยก็คือถ่านไม้จาก [ไต้ไม่มีควัน] นั่นล่ะครับ — Biochar ต่างกับ Activated carbon (ถ่านกัมมันต์) ที่ activated carbon เผาที่อุณหภูมิสูง แต่ biochar เผาที่อุณหภูมิต่ำ

ถ่าน biochar เป็นถ่านที่เกิดจากกระบวนการ pyrolysis ของไฮโดรคาร์บอน เช่น ไม้ มูลสัตว์ หรือพลาสติก) แต่ถ่าน biochar ไม่ได้ใช้เพื่อเป็นเชื้อเพลิง แต่ใช้ดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ

ทุกอะตอมของคาร์บอนไดออกไซด์ CO2 มีออกซิเจนอยู่สองอะตอม เมื่อเกิดกระบวนการ pyrolysis อากาศปริมาณน้อยที่ผ่านเข้าไปในเตา มีคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ในปริมาณเกือบ 390 ppm (ส่วนในล้านส่วน) เมื่อกระบวนการ pyrolysis ทำงาน เตาจะปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาประมาณ 66 ppm (เหลือแค่ 17% ของ 390 ppm) เทียบกับการเผาไหม้ในอากาศเช่นเผาไร่เผานา จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 1000 ppm (เพิ่มเป็น 256% ของ 390 ppm)

กระบวนการ pyrolysis ใช้ความร้อนยิ่งยวด ทำลายพันธะทางเคมีของคาร์บอนไดออกไซด์ ปลดปล่อยอะตอมของออกซิเจนออกมาหล่อเลี้ยงไฟ ส่วนคาร์บอน ถูกไม้จับไว้ ถ่าน biochar จึง ดำ-เปราะ-เบา ซึ่งเป็นลักษณะของคาร์บอนที่มีความบริสุทธิ์สูง … คาร์บอนไดออกไซด์ จึงถูกดักจับจากอากาศมาเก็บไว้ในรูปคาร์บอนในถ่านด้วยวิธีการนี้ครับ เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์หายไปจากบรรยากาศ จึงเป็นการลดก๊าซเรือนกระจก

แต่ไม่ใช่แค่นั้นหรอก…

อ่านต่อ »


ไต้ไม่มีควัน

อ่าน: 8156

ไม่ได้เขียนเรื่องภาคใต้หรอกนะครับ เมื่อคืนไปดูคลิปใน Youtube อันหนึ่ง เพราะว่ากำลังหาวิธีสร้างความร้อนที่มีประสิทธิภาพสูง ต้นทุนต่ำ แล้่วไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก ก็ควรจะใช้วิธี gasification แต่มันดูยุ่งยากจังเลย! ผมก็เลยลองทำดู จะพิสูจน์ให้เห็นว่าไม่ได้ยากหรอกครับ ใครๆ ก็ทำได้

บันทึกนี้เป็นเรื่องการทดลองทำแหล่งความร้อน ที่ใช้กิ่งไม้ห่อด้วยอะลูมินัมฟอยล์ (ที่ใช้ห่ออาหาร) งานนี้แม่ร่วมสนับสนุนการทดลอง โดยฉีกฟอยล์ให้สามฟุต (ฟอยล์เป็นของแม่ จึงยกให้แม่เป็นผู้อำนวยการสร้าง)

อุปกรณ์

  1. อะลูมินัมฟอยล์ กว้าง 1 ฟุต สองแผ่น ความยาวไม่ต้องยาวเท่านี้ก็ได้
  2. กระป๋องนั้นไม่ได้เกี่ยวเลยทีเดียว มีขนมที่อร่อยมาก ซึ่งหายหมดไปอย่างรวดเร็ว
  3. กิ่งไม้ขนาดน่าเอ็นดู เล็กกว่านิ้วก้อยอีก ยาวสามฟุต (แผ่นฟอยล์กว้าง 1 ฟุต)

ค่ นี๊ ! ? ! ?

ที่จริงมีอย่างอื่นอีกครับ แต่แสวงเครื่องได้ง่ายๆ

ก่อนทดลอง ก็มีคำถามอันใหญ่เลยว่าไม้เห่ยๆ อันแค่นี้ จะไปได้สักกี่น้ำ แล้วเศษไม้ที่เก็บมานี่ ก็เป็นไม้สดด้วย ถ้าจะให้ถูกต้องตามประเพณีทฤษฎี ก็ควรจะใช้ไม้แห้ง… แต่ผมว่าอย่ามาลีลาเลยครับ ทฤษฎีก็เรื่องหนึ่ง ถ้าอยากจะรู้จริง ต้องลองทำซิ ไม่ต้องตั้งเงื่อนไขอะไร

อ่านต่อ »


ปลูกต้นไม้เท่าไรจึงพอ

อ่าน: 4358

คำตอบแบบรวดเร็วฉาบฉวย คือปลูกไปเรื่อยๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ครับ ถ้าพอใจคำตอบนี้ ก็ไม่ต้องอ่านข้างล่างแล้ว บ๊าย บาย

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป ว่าระดับของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศขณะนี้ สูงกว่าระดับที่โลกเคยประสบมาตลอดประวัติศาสตร์ของโลก ตั้งแต่มีสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นต้นมา

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีปริมาณสูงขึ้นมากตามลำดับหลังจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน ระดับคาร์บอนไดออกไซต์ในบรรยากาศขณะที่เขียนนี้ อยู่ที่ 388.59 ส่วนในล้านส่วน ในขณะที่เมื่อยี่สิบสองปีก่อน อยู่ที่ 349.99 ส่วนในล้านส่วนเท่านั้น [รายละเอียด]

ตลอดยุค “ความก้าวหน้า” ของมนุษย์ เราขยันปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาอย่างต่อเนื่องและมากมาย ซึ่งน่าเชื่อได้ว่าจะทำให้โลกต้องปรับตัวอย่างรุนแรง เนื่องเพราะอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ความชื้นก็เพิ่มตาม ทำให้พายุมีความรุนแรงขึ้น น้ำแข็งละลาย ปริมาณน้ำจืดสำรองมีน้อยลง ในขณะที่ประชากรของโลกเพิ่มขึ้นทุกวัน น้ำจะขาดแคลน อาหารจะไม่พอ (ไม่นับที่เสียหายจากความแปรปรวนของภูมิอากาศ)

เมืองไทยให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว แล้วว่ากันที่จริงก็มีความคืบหน้าที่น่ายินดีเหมือนกันครับ พิธีสารเกียวโตกำหนดขั้นตอนวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไว้หลายอย่าง เช่น JI ET และ CDM ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก./TGO อนุมัติโครงการ CDM 111 โครงการ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในไทยได้ 6.95 ล้านตันต่อปี ทำให้เมืองไทยกระโดดขึ้นมาอยู่ใน Top 10 เรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกผ่าน CDM [ข่าว] นานๆ ครั้ง จะเห็นหน่วยงานของรัฐทำอะไรที่ถูกใจนะครับ ขอปรบมือให้เลย

อ่านต่อ »


จะบิน

อ่าน: 7961

ถ้าจะบิน ก็แค่หาแรงยกให้ได้มากกว่าน้ำหนักตัวเท่านั้นเองครับ

ไม่ยากเกินไปที่จะบิน แต่บินให้ปลอดภัย ยากกว่าเยอะเลย

อ่านต่อ »


ของเล่นผู้ใหญ่

อ่าน: 4926

อะไรเป็นเส้นแบ่งระหว่างความเป็นผู้ใหญ่กับความไม่ใช่ผู้ใหญ่ก็ไม่รู้ จะว่าอายุ การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่การงาน ความรับผิดชอบ อำนาจวาสนา ความนับหน้าถือตา ทรัพย์สินเงินทอง หรือจะใช้ความเป็นอำมาตย์มาแบ่งดี ?

จะแบ่งอย่างไร ก็เป็นเรื่องของคนแบ่งครับ การจัดกลุ่มเพียงแต่ทำให้สมองของคนแบ่งเข้าใจได้ง่ายขึ้นเท่านั้น ไม่ได้ทำให้คนที่ถูกจัดกลุ่มเปลี่ยนแปลงไปเลย

ระหว่างที่ทำเรื่องน้ำท่วม (ตอนนี้ก็ยังทำอยู่นะ ยังมีคนเดือดร้อนอีกมากมาย) ผมให้ไอเดียผ่านบล็อก และผ่าน @iwhale บ่อยเพราะว่า @iwhale มีวิธีประสานความร่วมมือ (และพูดกับผู้ใหญ่) ที่นุ่มนวลกว่า ต่างกับวิธีพูดแบบตรงๆ ของผม ฮี่ฮี่ฮี่

วันนี้ชวนกันไปหาเพื่อนเก่าของผมคนหนึ่ง เป็นชาวฟินแลนด์ชื่อยานิ Jani พลเมืองฟินแลนด์บ้าวิจัยกันทั้งประเทศ อะไรที่ไม่รู้เขาค้นคว้าจนรู้ ยานิเคยเล่นคอปเตอร์บังคับวิทยุ ต่อมาเขาเล่น Arduino เล่น I2C bus เอามาขยำรวมกันกลายเป็น ArduCopter — โครงการ Opensource Software เพื่อเขียนโปรแกรมควบคุมคอปเตอร์แบบหลายใบพัด ยานิเป็นส่วนของ core team ที่ทำเรื่องนี้ แล้วเค้าทำจากกรุงเทพด้วย เริ่มทำ air frame + ระบบอิเล็กทรอนิกส์ขายเมื่อเดือนที่แล้ว ในเดือนแรก ส่งออกไปทั่วโลกแล้วประมาณ 200 ชุด และกลายเป็น partner ของ DIYdrones ดูแลเรื่องนี้โดยตรง

อ่านต่อ »


ลดความเสี่ยงจากดินถล่ม?! ตอนต่อมา

อ่าน: 4526

ต่อจากนี้ไป เราจะได้ยินคำเตือนเรื่องดินถล่ม ทุกครั้งที่คาดว่าจะมีฝนตกหนัก แล้วในที่สุดก็จะรู้สึกเฉยๆ ไปในที่สุด… ความรู้สึกแบบนี้อันตรายครับ ถึงเตือนแล้วไม่เกิด หรือว่าเตือนแล้วไม่มีทางออกให้ก็ตาม

บ้านเรือนที่ตั้งอยู่เชิงเขามีความเสี่ยงต่อดินถล่มเสมอ ไม่ว่าฝนจะตกหนักหรือไม่ และไม่ว่าจะมีใครเตือนภัยหรือไม่

FEMA อธิบายไว้ว่า

A landslide is defined as “the movement of a mass of rock, debris, or earth down a slope”. (Cruden, 1991). Landslides are a type of “mass wasting” which denotes any down slope movement of soil and rock under the direct influence of gravity. The term “landslide” encompasses events such as rock falls, topples, slides, spreads, and flows, such as debris flows commonly referred to as mudflows or mudslides (Varnes, 1996). Landslides can be initiated by rainfall, earthquakes, volcanic activity, changes in groundwater, disturbance and change of a slope by man-made construction activities, or any combination of these factors. Landslides can also occur underwater, causing tsunami waves and damage to coastal areas. These landslides are called submarine landslides.

Failure of a slope occurs when the force that is pulling the slope downward (gravity) exceeds the strength of the earth materials that compose the slope. They can move slowly, (millimeters per year) or can move quickly and disastrously, as is the case with debris-flows. Debris-flows can travel down a hillside of speeds up to 200 miles per hour (more commonly, 30 - 50 miles per hour), depending on the slope angle, water content, and type of earth and debris in the flow. These flows are initiated by heavy, usually sustained, periods of rainfall, but sometimes can happen as a result of short bursts of concentrated rainfall in susceptible areas. Burned areas charred by wildfires are particularly susceptible to debris flows, given certain soil characteristics and slope conditions.

อ่านต่อ »


แก้มลิงใต้ดิน

อ่าน: 4692

ผมเขียนที่บล็อกลานซักล้างนี้มาเกือบหนึ่งพันบันทึกแล้ว ย้อนกลับไปดูบันทึกเก่าๆ เจอเรื่องราวที่เอามาผูกกันเป็นเรื่องใหม่แล้วอาจจะเวิร์คครับ

  1. แก้มลิงต้องการพื้นที่แปลงใหญ่ แต่ในหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่มีราคาแพงขึ้นมากเนื่องจากมีนายทุน(ไทยและต่างชาติ)กว้านซื้อ องค์กรจัดการภัยพิบัติสหรัฐ​ FEMA ซึ่งบังคับให้ทุกชุมชนทำแก้มลิง ได้กำหนดความหมายของแก้มลิง (floodway) ไว้ว่า A “Regulatory Floodway” means the channel of a river or other watercourse and the adjacent land areas that must be reserved in order to discharge the base flood without cumulatively increasing the water surface elevation more than a designated height. Communities must regulate development in these floodways to ensure that there are no increases in upstream flood elevations. For streams and other watercourses where FEMA has provided Base Flood Elevations (BFEs), but no floodway has been designated, the community must review floodplain development on a case-by-case basis to ensure that increases in water surface elevations do not occur, or identify the need to adopt a floodway if adequate information is available.
  2. ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปีนี้มีแล้งจัด ร้อนจัด จนน้ำเกือบหมดเขื่อน! จากนั้นต่อด้วยเปียกจัด เกิดอุทกภัยขึ้นใน 51 จังหวัด มีคนได้รับผลกระทบประมาณ 9 ล้านคน คิดเป็น 13.4% ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มว่าจะต่อด้วยหนาวจัดด้วย
  3. โดยสถิติ ถึงฝนจะมาไม่ตรงเวลา ปริมาณฝนเฉลี่ยก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง — หมายความว่า เวลาฝนทิ้งช่วงจะเกิดการขาดแคลนน้ำ ส่วนเวลาฝนมาก็จะท่วม

อ่านต่อ »



Main: 0.056694030761719 sec
Sidebar: 0.16496610641479 sec