เตากระป๋องแบบ down draft gasifier

อ่าน: 6815

เตาแบบนี้ก็ง่ายดีครับ ไม่ต้องเชื่อมด้วย เสียงบรรยายอู้อี้ไปหน่อย ดูแล้วเข้าใจดี แต่ก็ไม่รู้จะหากระป๋องขนาดเหมาะได้หรือเปล่า

อ่านต่อ »


ทดลอง gasifier กระป๋อง

อ่าน: 5958

จากบันทึก [แบบสำหรับสร้างเตา Gasification แบบ Updraft] อ.ทวิชให้ความเห็นว่า

…แต่ว่าเตานี้มี secondary air มาช่วยลด CO ลง (CO เป็นสารพิษในการเผาไหม้ บางทีมีมากบางทีมีน้อย และยังทำให้เตามีปสภ. ต่ำ ถ้าเอา 2nd air เข้ามาทำให้เป็น CO_2 ก็จะได้สองต่อคือ ลดมลพิษ และ เพิ่ม ปสภ.การเผาไหม้ครับ)

กะกะดูด้วยตา ผมยังเห็นว่า 2nd air อาจมากเกินจำเป็น ซึ่งจะมีข้อเสียคือ ทำให้เปลวไฟมีอุณหภูมิต่ำ ทำให้ลดปสภ.การหุงต้ม (ถ้านี่จะเอาไปใช้ในการหุงต้ม)…

เรื่องนี้น่าคิดครับ ถ้า secondary air มากเกินไป ก็จะเป็นอย่าง อ.ทวิชว่าไว้ ดังนั้นผมก็จะลองดัดแปลงแบบของเตาเสียใหม่ ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะเป็นอย่างไรนะครับ

กระบอกใน (burn chamber) ใช้กระป๋องน้ำอัดลมเพื่อให้ผิวกระป๋องนำความร้อนจากภายใน ออกมาอุ่นอากาศที่อยู่ระหว่างผิวของกระป๋องทั้งสอง กระป๋องในเจาะรูขนาด 4 มม.รอบกระป๋องตามแบบเก่า

ส่วนกระป๋องนอกเป็นดินเหนียว เผอิญได้กระป๋องขนาดพอเหมาะ แต่ของข้างในยังไม่หมด ก็เลยเอากระดาษห่อ แล้วเอาดินเหนียวมาพอก จะได้เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดพอดี จากนั้นก็เอาดอกส่วนขนาด 13 มม. แทงทะลุดินเหนียว

อ่านต่อ »


ผนังที่เป็นฉนวน

อ่าน: 6225

เมื่อตอนเด็กๆ จำได้ว่าเคยมีการระดมทำผ้าห่ม โดยการเอากระดาษหนังสือพิมพ์ ทาแป้งเปียก มาต่อกัน เย็บขอบเป็นผืนใหญ่

หลักการก็คืออากาศ(นิ่ง) ระหว่างชั้นของหนังสือพิมพ์ กลายเป็นฉนวนความร้อน ป้องกันความเย็นจากภายนอก และรักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ภายใน แต่ผ้าห่มแบบนี้ ไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากหมึกพิมพ์เลอะเทอะเสื้อผ้า ซักออกยาก แถมมีตะกั่วผสมอยู่ในหมึกพิมพ์อีกด้วย ในสมัยนั้น ผมก็ไม่รู้หรอกนะครับว่า เด็กในเมืองที่ครูสั่งให้หากระดาษหนังสือพิมพ์(เก่าๆ)ทำกันยังไง เพราะหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้มีมากมายเหมือนปัจจุบัน

แต่ผมยังคิดว่าหลักการของฉนวนอากาศ ยังใช้ได้อยู่ โดยแทนที่จะเอามาห่ม ก็ใช้แผ่นกระดาษปะฝาผนัง เพิ่มค่า R ให้ผนัง ซึ่งนอกจะป้องกันความเย็นจากนอกบ้าน เก็บรักษาความอบอุ่นไว้ในบ้านแล้ว ก็ยังกันลมเย็นจากรอยแยกตามช่องผนังไม้ (นึกถึงบ้านชาวเขา ซึ่งเป็นไม้ขัดกัน ฯลฯ) เวลาใช้กระดาษเป็นฉนวนติดผนังแล้ว ก็สามารถลดการสัมผัสผิวหนังลงไปได้ ช่วยป้องกันความหนาวเย็นแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะลงไปผิงไฟไม่ไหว

ตามโรงเรียน สามารถใช้กระดาษหลายชั้นปิดผนัง (ระวังน้ำหนัก) ปิดทับหน้าต่างกระจกซึ่งเป็นจุดที่ห้องสูญเสียความร้อนมาก

  • Plastic sheeting ฝรั่งใช้พลาสสิกแผ่นทำแบบเดียวกัน
  • Cold Climate Emergency Shelter Systems ที่พักฉุกเฉินสำหรับอากาศหนาว เป็นเหมือนเต้นท์แบบครึ่งทรงกระบอก ใช้ท่อพีวีซีขนาดเล็ก มางอให้โค้งเป็นครึ่งวงกลมใช้เป็นโครงหลังคา (งอได้ง่ายๆ) แล้วเอาผ้าเต้นท์ ไยไฟเบอร์ หรืออย่างกรณีไม่มีงบสร้างจริงๆ ก็ใช้กระดาษเก่าหลายชั้นคลุมเป็นหลังคาแทนได้

อ่านต่อ »


น้ำตาลลองกอง ได้หรือไม่

อ่าน: 3977

เมื่อปลายปี 2549 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ประกาศงานวิจัยเรื่องน้ำตาลลำไย [ผลไม้ราคาตกต่ำ (ลำไย)] เป็นการแปรรูปลำไยซึ่งขณะนั้นมีปริมาณล้นตลาด ไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงขึ้น

มีอีเมลแจ้งข่าวมาเมื่อคืน ว่าตอนนี้การฟื้นฟูจากอุทกภัยและวาตภัยทางใต้ยังไม่เสร็จสิ้น ชาวบ้านชายฝั่งที่ปัตตานีทำประมงไม่ได้มาสองเดือนกว่าแล้ว เพราะว่าเรือเสียหาย เมื่อไม่มีเรือ ก็ไม่มีรายได้มาซ่อมแซมบ้านซึ่งเสียหายเหมือนกัน ฝนก็ยังตกอยู่ ความช่วยเหลือก็เข้าไม่ถึง มีชาวบ้านที่ไม่ได้เป็นหัวคะแนนเป็นจำนวนมาก ตกสำรวจได้เป็นเอกฉันท์ซะทุกครั้ง ชาวบ้านเครียดจัดเพราะไม่มีอะไรทำ ไม่มีความหวัง ไม่มีอนาคต แล้วก็อาจจะเกิดเป็นเงื่อนไขแบบที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นมา

ที่ปัตตานี มีการประกันราคาลองกอง โดยมีราคาประกัน เกรดเอ 24 บาท เกรดบี 16 บาท และเกรดซี 8 บาท/กก. ข่าวไม่ได้พูดถึงค่าเก็บซึ่งอยู่ที่ 3 บาท/กก. แบบนี้ชาวสวนที่มีลองกองเกรดต่ำก็คงไม่ได้อะไรเท่าไหร่หรอกนะครับ ตอนนี้ไม่ใช่หน้าลองกองเสียด้วยซิ

แต่ถึงอย่างไรก็ยังน่าคิด ว่าถ้าหากทดลองนำลองกองเกรดต่ำมา ปอกเปลือกลองกอง(เพราะมียาง) แล้วเอามาปั่นคั้นน้ำหวาน(ด้วยเครื่องปั่นน้ำผลไม้) กรองกากออก(กากผสมน้ำแล้วคั้นเอาความหวานได้อีก) ไล่น้ำ ตกตะกอน ด้วย yield สัก 50% — ตัวเลขสมมุตินะครับ — ลองกอง 1 กก. ได้น้ำตาลลองกอง 0.5 กก. ดังนั้นน้ำตาลลองกอง จะมีต้นทุน 16 บาท/กก. ในขณะที่น้ำตาลขาดตลาดและมีราคาแพงกว่านั้น กำไรที่อาจจะได้มา ก็เอามาแบ่งให้ชาวบ้านอีกเด้งหนึ่ง นอกเหนือจากค่าแรงที่ได้ไปก่อน

อ่านต่อ »


แบบสำหรับสร้างเตา Gasification แบบ Updraft

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 January 2011 เวลา 4:50 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 6826

ไม่อยากเรียกว่าเป็นสูตรเลยนะครับ แต่เตา gasification หากปรับส่วนผสมของอากาศไม่ดี ก็จะเกิดการเผาใหม้ที่ไม่สมบูรณ์ มีควัน มีเขม่าได้ [ไต้ไม่มีควัน] [Biochar ปรับปรุงดินและลดโลกร้อน] [ก๊าซเชื้อเพลิงจากเศษไม้ ตอน 1-4]

อย่างไรก็ตาม ด้วยกระบวนการ gasification เหลือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศเพียง 70 ppm จากปัจจุบัน 388.15 ppm — แต่มันมีเงื่อนไขสำคัญว่า (1) ใช้ไม้แห้งเป็นเชื้อเพลิง (2) ต้องมีพื้นที่ให้อากาศผสมกับก๊าซที่ออกมาจากกระบวนการ gasification และมีพื้นที่ให้เผาไหม้อย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ทีี่สมบูรณ์

เรื่องนี้ ว่ากันจริงๆ น่าจะขึ้นกับชนิดของไม้ที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงด้วยนะครับ ถ้าเป็นไม้เนื้อแข็งก็ผสมอากาศด้วยสัดส่วนหนึ่ง ถ้าไม้เนื้ออ่อนก็อีกสัดส่วนหนึ่ง

แต่ถ้าหากจะทำเพื่อทดลอง อาจจะยุ่งยากที่จะทำลิ้นปรับ secondary air ที่วิ่งระหว่างกระป๋องทั้งสองชั้น ดังนั้นก็เอาอย่างนี้ล่ะครับ

1. กระป๋องนอกพร้อมฝาปิด ใหญ่กว่าประป๋องในซึ่งไม่ต้องมีฝาปิด ประมาณ 1 ซม.
2. เมื่อเอากระป๋องใน ใส่ไปในกระป๋องนอก กระป๋องในจะเตี้ยกว่าประมาณ 1 ซม.
3. ถ้าเตี้ยเกินไป หากระป๋องในใหม่ ถ้าสูงเกินไป ตัดออกจนได้ระดับ
4. ฝาของกระป๋องนอก เจาะรูกลมขนาดครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางของกระป๋องใน
5. ที่ขอบล่างของกระป๋องนอก เจาะรูขนาด 1.2-1.5 ซม. (ขนาด d ซม.) แล้วแต่ว่ามีดอกสว่านขนาดไหน
6. สำหรับกระป๋องใน ใช้ดอกส่วนขนาด 4 มม. เจาะที่ระยะ d+½เส้นผ่าศูนย์กลางของกระป๋องนอก เจาะรูให้เยอะเท่าที่จะเยอะได้ ให้รอบกระป๋อง
7. ใส่เศษไม้แห้ง จนห่างขอบบนของกระป๋องในเป็นระยะ d+½เส้นผ่าศูนย์กลางของกระป๋องนอก
8. จุดไฟจากด้านบน โดยใช้น้ำมันหรือแอลกอฮอล์สัก 1-2 ช้อนชา หรือว่าเทียนเล่มจิ๋ว พอช่วยให้เชื้อเพลิงไม้ติดไฟ
9. พอไฟติดแล้ว ปิดฝา
10. (ถ้าสองกระป๋องเลื่อนไปมา ไม่อยู่ตรงกลาง เจาะรูร้อยน๊อตที่ก้นกระป๋องได้)

อ่านต่อ »


บ้านกระสอบทราย

อ่าน: 7169

ก่อนอื่นต้องกราบขอบพระคุณป้าจุ๋มสำหรับหมวกและผ้าพันคอครับ เมื่อปลายปี ลูกสาวป้าจุ๋มแวะมาจากอังกฤษ ป้าจุ๋มคิดจึงถักหมวกให้ แล้วยังเผื่อแผ่มาถึงผมซึ่งอายุเท่ากับน้องชายคนเล็กด้วย แกกล่องออกมาดู โอ้โห หมวกใหญ่โตมโหราฬจริงๆ แต่พอใส่ กลับพอดีอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนตัดหมวกมาเลย — จะไม่พอดียังไงล่ะครับ ก็คืนนั้นกลางเดือนตุลาคม ผมวัดหัวผม ส่ง dimension ไปให้นี่ครับ

พูดถึงอากาศหนาวแล้ว ผมคิดว่าวิธีที่สร้างที่หลบภัยหนาวที่กินแรงน้อยที่สุด คือขุดรูนอนครับ บันทึก [หลุมหลบภัยนิวเคลียร์] มี KAP (Kearny Air Pump) สำหรับระบายอากาศด้วย… แต่ก็นั่นล่ะครับ คนเคยอยู่บนบ้าน อยู่ดีๆ จะไปบอกให้ลงไปนอนกับพื้น ไม่รู้จะคิดอย่างไร

วันนี้จึงเสนอวิธีสร้างบ้านดินเป็นรูปโดม โดยใช้กระสอบทรายและลวดหนามครับ

กระสอบทราย เป็นเทคโนโลยีการสงครามจากสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่เอามาสร้างที่พักพิงชั่วคราว ก็เหมาะไปอีกแบบหนึ่ง

ที่จริงเราสร้างบ้านดินรูปเหลี่ยมได้ไม่ยาก ถ้าเป็นโดมก็จะวุ่นวายหน่อย แต่ว่าโดมใช้ดินน้อยกว่า เพราะมันสอบเข้าในส่วนที่อยู่สูง ไม่ใช้ไม้ในการมุงและเสริมความแข็งแรงของหลังคา ทั้งสองแบบเก็บความร้อนและป้องกันลมเย็นบนเนินเขาได้ดี ที่สำคัญคือบ้านกระสอบทรายเหมาะสำหรับพื้นที่สูงที่หาน้ำได้ยากครับ

การที่โดมมีปริมาตรน้อยกว่าบ้านเหลี่ยม ทำให้ห้องความอบอุ่นได้เร็วกว่า

อ่านต่อ »


สึนามิปี 2547 เกิดจากการระเบิดในอวกาศ?

อ่าน: 4606

เมื่อเวลา 0:58 UTC ของวันที่ 26 ธ.ค. 2547 เกิดสึนามิจากอภิมหาแผ่นดินไหว ความแรง M9.3 เริ่มต้นที่หัวเกาะสุมาตรา ไล่ขึ้นเหนือไป 1,200 กม. ทำให้คนตายไปสองแสนกว่าคน เป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก และทำให้เกิดสึนามิที่มีความรุนแรง ทำลายล้างสูงที่สุดนับตั้งแต่ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิดในปี 2426 แผ่นดินไหวครั้งนั้น รุนแรงกว่าแผ่นดินไหวครั้งใดๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า 25 ปีอยู่ไม่ต่ำกว่า 10 เท่า

แต่ในเวลาเพียง 44.6 ชั่วโมงหลังจากเกิดสึนามิ 21:36 UTC วันที่ 27 ธ.ค.2547 ดาวเทียมตรวจวัดรังสีแกมมาหลายดวง ตรวจจับการแผ่รังสีแกมมาที่มีความรุนแรงได้จากการระเบิดในอวกาศได้ รังสีแกมมาที่วัดได้ในครั้งนั้น มีความรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยวัดได้มา

การระเบิดของรังสีแกมมาที่ตรวจจับได้ในครั้งนั้น มีความรุนแรงกว่าที่สูงที่สุดที่เคยวัดได้มาถึง 100 เท่า เทียบได้กับแสงจันทร์เต็มดวง แต่ปล่อยพลังงานส่วนใหญ่ออกมาในช่วงความถี่ของรังสีแกมมา รังสีแกมมาที่วัดได้มีลักษณะขึ้นๆ ลงๆ ส่งสัญญาณมาเป็น pulse ทุก 7.5 วินาที เหมือนกับหมุนไฟฉายไปรอบๆ ทุก 7.5 วินาที จะมีแสงกวาดมาเข้าตาเราแล้วก็หายไป อีก 7.5 วินาทีมาใหม่อีก — การระเบิดของรังสีแกมมาที่ตรวจจับได้ในครั้งนั้น ทำให้บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียของโลก “เบี้ยว” ไป รบกวนคลื่นวิทยุในโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คลื่นยาว” มีรายงานปรากฏในสื่อประมาณเดือน ก.พ.2548 เช่น Space.com BBC NYTimes (ภายหลัง มีการแก้ไขตัวเลขต่างๆ ในข่าว เมื่อมีข้อมูลมากขึ้น)

รังสีแกมมานี้ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์คาดว่าเกิดจากการระเบิดของดาวนิวตรอน SGR 1806-20 ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 กม. อยู่ห่างไป 20,000 ถึง 32,000 ปีแสง (ประมาณศูนย์กลางของกาแลกซี่) ปล่อยพลังงานออกมาใน 0.1 วินาที มากกว่าพลังงานที่ดวงอาทิตย์ปล่อยออกมาทุกทิศทางในแสนปี SGR 1806-20 หมุนรอบตัวเองทุก 7.5 วินาที ซึ่งตรงกับสัญญาณของการระเบิดของรังสีแกมมา (GRB) ว่ากันจริงๆ การระเบิดของรังสีแกมมาอื่นๆ ที่วัดได้ อาจจะมีความรุนแรงมากกว่านี้ แต่ว่าเพราะมันมาจากกาแลกซี่อื่น ซึ่งอยู่ห่างไกลมาก จึงมี “ความสว่าง” น้อยกว่าการระเบิดจาก SGR 1806-20 ซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่า และเกิดขึ้นภายในกาแลกซี่ทางช้างเผือกนี้เอง

อ่านต่อ »


รังสีคอสมิค

อ่าน: 4602

บันทึกนี้ เป็นเรื่องที่ผมไม่รู้และไม่มีข้อมูลละเอียด แต่ก็จะเขียนครับ เช่นเดียวกับบันทึกทั้งพันเรื่องในบล็อกนี้ ซึ่งไม่ได้เขียนให้เชื่อ แต่เขียนให้พิจารณาเอง

ใช้เวลาเขียนน๊าน…นาน ตั้งแต่บ่ายแล้ว ติดภาระกิจไปอัพเดตสมุดบัญชีธนาคาร เพื่อดูว่าเงินบริจาคสำหรับซื้อผ้าห่มแบบที่ทหารใช้ ไปบริจาคให้ผู้ประสบภัยตกสำรวจ มีพอหรือยัง (ตอนนี้ยังขาดอีกเยอะครับ) แล้วฝูงหมารอบบ้าน ก็เรียกร้อง เลยออกไปทักทายกับให้อาหารเสียอีก

ดวงอาทิตย์แผ่รังสีใส่โลกตลอดเวลา มากบ้าง น้อยบ้าง โลกมีสนามแม่เหล็กโลกปกป้องอยู่ มีบรรยากาศหนา 300 กม. มีชั้นโอโซน คอยลดทอนความรุนแรงของรังสีจากดวงอาทิตย์ — รังสีต่างๆ เป็นอนุภาคพลังงานสูง ส่วนใหญ่มีประจุ (มักเป็นโปรตอนของไฮโดรเจนหรือฮีเลียม) จึงเบี่ยงเบนได้ในสนามแม่เหล็ก แล้วเมื่ออนุภาคพลังงานสูงเหล่านี้เกิดหลุดเข้ามาในบรรยากาศของโลก ก็จะเกิดชนกับอากาศอุตลุด ลดความรุนแรงลงบ้าง พลังงานจากดวงอาทิตย์มาถึงสุดของของบรรยากาศโลก มีค่าประมาณ 1367 วัตต์/ตร.ม. และบรรยากาศหนา 300 กม.ของโลก ก็ดูดซับพลังงานไป เหลือตกลงมาถึงพื้นโลกเพียง 40% เท่านั้น

แสงเหนือ-แสงใต้ (Aurora)

แสงเหนือเกิดขึ้นเมื่ออะตอมของอากาศในบรรยากาศชั้นสูง ถูกอนุภาคที่มีพลังงานสูงชน ทำให้อะตอมเข้าสู่ excited state ซึ่งอยู่อย่างนั้นได้ชั่วขณะ เมื่ออะตอมจะกลับสู่สภาวะปกติ ก็จะคายโฟตอนออกมาเป็นแสงสว่าง

แสงเหนือ มักปรากฏแถวขั้วโลกมากกว่าที่ละติจูดต่ำๆ ทั้งนี้ก็เพราะโลกมีสนามแม่เหล็กโลกคอยปกป้อง เมื่ออนุภาคพลังงานสูงวิ่งมาจากดวงอาทิตย์ ก็จะถูกสนามแม่เห็กโลกเบี่ยงเบนออกไปทางขั้วโลก แต่ถ้าเบนไม่พ้น ก็อาจเฉียดไปกระทบบรรยากาศชั้นสูงแถวขั้วโลก (ที่ละติจูดสูงๆ)

โดยทั่วไป ชั้นล่างของแสงเหนือจะอยู่ที่ระดับ 100 กม.เหนือผิวโลก (เครื่องบินข้ามทวีป บินที่ความสูง 10 กม.) และระดับบนของแสงเหนืออาจอยู่ที่ระดับ 200-300 กม. [Aurora FAQ]

อ่านต่อ »


พลังงาน: เอาจริงแบบเล่นๆ

อ่าน: 3600

ปลายปีที่แล้ว นายกรัฐมนตรีไปโคเปนฮาเกน (ชาวยุโรปแถวนั้นเค้าออกเสียงอย่างกันนี้) ได้กล่าวไว้ในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุม UNFCCC 2009 ว่าเมืองไทยกำลังอยู่ในแผนพัฒนาพลังงานทดแทนระยะ 15 ปี พ.ศ. 2551-2565 ว่าจะใช้พลังงานทดแทนให้ได้ 20% ของการใช้พลังงานทั้งประเทศ และจะเพิ่มพื้นที่ป่าจาก 30% ในพ.ศ. 2549 ไปเป็น 40% ในพ.ศ. 2563 (จาก 96.4 ล้านไร่ เป็น 128.5 ล้านไร่) ดังนั้นมาตรการทั้งสองจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มาก

สารภาพตรงๆ นะครับ ถึงตอนนี้ ยังมองไม่เห็นเลยว่าจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไร ถ้าหากจะเพิ่มการใช้พลังงานทดแทนให้ได้ถึง 20% ของพลังงานที่ใช้ทั้งประเทศ จะหวังให้รัฐทำเองทั้งหมดนั้น คงเลื่อนลอยมาก ทุกคน ทุกบ้าน ต้องช่วยกัน แต่ก็ยังไม่เห็นมาตรการอะไรของรัฐที่โดนใจเลย ค่า Adder [เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน] ที่ กฟภ.รับซื้อไฟฟ้าที่มีแหล่งกำเนิดจากพลังงานทดแทน เหมือนเป็นป้ายเชิญชวน ให้เดินไปสู่ประตูที่ปิดแล้วล็อคกุญแจไว้ ชาวบ้านเดินเข้าไปไม่ได้อยู่ดี ทำไมไม่ออกแบบ grid-tie inverter ที่ปั่นไฟฟ้าแล้ว sync กับไฟฟ้าของ กฟภ. มีฮาร์โมนิกต่ำ แก้ไข power factor ให้ต่ำ ทดสอบให้ผ่านมาตรฐาน แล้ว open source เปิดการออกแบบนี้ให้ใครก็เอาไปทำได้ล่ะครับ

เมื่อต้นปี 2537 ตอนนั้นเมืองไทยยังไม่มีอินเทอร์เน็ตแบบที่เราใช้กันอยู่ ผมเคยโพสต์ประเด็นที่น่าสังเกตไว้ใน soc.culture.thai USENET newgroup ยกประเด็นว่าศูนย์การค้า 5 แห่งที่กำลังจะเปิด (ในเวลานั้น) คือ เสรีเซ็นเตอร์ ซีคอนสแควร์ ฟิวเจอร์พาร์ครังสิต อิมพีเรียลลาดพร้าว และแฟชั่นไอซ์แลนด์ ทั้ง 5 แห่งมีพื้นที่รวมกัน 1.835 ล้านตารางเมตร ถ้าใช้ไฟฟ้าสำหรับเครื่องปรับอากาศ แสงสว่าง และการใช้ไฟฟ้าอื่นๆ ตารางเมตรละ 250 วัตต์ โดยเปิดทำการวันละ 12 ชั่วโมง จะใช้พลังงานไฟฟ้าวันละ 5.505 GWh ซึ่งนั่นคิดเป็น 49% ของกำลังไฟฟ้าที่ กฟผ.ผลิตไฟฟ้าเพิ่มได้ ในช่วงปี 2535-2539 หมายความว่าศูนย์การค้า 5 แห่ง ใช้ปริมาณไฟฟ้าสำรองของประเทศในช่วงนั้นไป 49% แล้ว กฟผ.จึงต้องแจ้นไปซื้อไฟฟ้าจากลาว

อ่านต่อ »


โลกที่ปราศจากอินเทอร์เน็ต

อ่าน: 4314

เมื่อวานอ่านรีวิวหนังสือ Armageddon Science: The Science of Mass Destruction ก็น่าตื่นเต้นดีครับ ผู้เขียน Brian Clegg เป็นนักฟิสิกส์ เขียนรายการออกมาหลายอย่างที่มีความเป็นไปได้ทางวิทยาศาสตร์ (ในมุมมองของเขา) ว่าโลกแบบที่เรารู้จัก จะไปไม่รอด เช่น

  1. นักวิทยาศาสตร์ที่มีความเฉลียวฉลาด แต่ขาดสามัญสำนึกเรื่องความปลอดภัย
  2. Large Hadron Collider (LHC) เครื่องเร่งอนุภาคความเร็วสูงที่พยายามจะจำลองสภาพการเกิดบิ๊กแบง เพื่อศึกษาอนุภาคพื้นฐาน อาจสร้างบิ๊กแบงหรือหลุมดำขนาดเล็กๆ ที่หลุดจากการควบคุมแล้วทำลายล้างทุกสิ่งรอบตัว หรือการระเบิดของซูเปอร์โนวาในอวกาศอันไกลโพ้น ซึ่งเรามองไม่เห็นเพราะแสงเดินทางมาเร็วเท่ากับความเร็วแสงเท่านั้น อันหลังนี่ ถ้าเจอเข้าก็เป็นแจ็คพอตแตกคือไม่รู้ตัวเลยล่ะครับ
  3. การทำลายล้างทางนิวเคลียร์
  4. สภาวะอากาศเปลี่ยนแปลง โลกร้อน ยุคน้ำแข็ง อากาศเป็นพิษ พายุรุนแรง แห้งแล้งยาวนาน ฯลฯ
  5. เชื้อโรคล้างโลก พื้นที่ที่มนุษย์ไม่เคยไป วันนี้กลับอยู่ไม่ “ไกล” เหมือนเคย เช่นป่าอเมซอนถูกบุกรุกเข้าไปเรื่อยๆ น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ธารน้ำแข็งละลาย อากาศที่ถูกน้ำแข็งจับไว้หลายแสนปี ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศอีกครั้งหนึ่ง
  6. Gray Goo หุ่นยนต์จิ๋ว (nanobot) ที่สร้างตัวเองได้ หลุดจากการควบคุมแล้วไม่หยุดสร้างตัวเอง จนในที่สุดก็ทำลายทุกอย่างไร
  7. INFORMATION MELTDOWN

โดยรวมผมไม่ได้มองหนังสือนี้เป็นคำทำนาย แต่ก็น่าสังเกตว่าเกือบทั้งหมดนี้มนุษย์ทำ จะด้วยความไม่รู้ ความประมาท ความโง่ หรืออารมณ์ก็ตาม ความเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย อาจก่อให้เกิดผลใหญ่หลวง [Butterfly effect] [Tragedy of the anticommons] [การรับมือสิ่งท้าทายอุบัติใหม่] ผมมองเรื่องนี้เป็นประเด็นที่เตือนว่าจุดใดเสี่ยง แล้วจะ “ทำ” อะไรกับมัน

บันทึกนี้ หยิบมาเฉพาะข้อ 7 นะครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.41276621818542 sec
Sidebar: 1.4072439670563 sec