สะท้อนชีวิต
เน็ตที่บ้านผมใช้ไม่ได้มาอาทิตย์กว่าแล้ว แม้จะยังเข้ามาอ่านและเขียนได้บางครั้งบางครา แต่ก็ไม่สะดวกเหมือนเดิม วันนี้ก็ยังไม่มีเน็ตเหมือนเดิมครับ แต่ถ้าจะทำอะไรแล้วมัวแต่รอ คงไม่ได้ทำ
ตั้งแต่ตั้งลานปัญญาขึ้นมา ผมเขียนบันทึกติดต่อกันมาทุกวันเป็นเวลาปีกว่า มีห้าร้อยกว่าบันทึก จนปลายเดือนที่แล้ว อุปกรณ์โทรคมนาคมระหว่างบ้านผมกับไอเอสพี “ไหม้” ไป จึงทำให้ใช้เน็ตแบบที่คุ้นเลยไม่ได้ ก็เลยหยุดเขียนชั่วคราว ประกอบกับได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่ยังย่อยไม่หมด เมื่อตัดสินใจพัก ก็จะมีเวลาได้ทำในสิ่งที่อยากทำ
เคยถามตัวเองเหมือนกันว่าจำเป็นต้องเขียนทุกวันหรือไม่ แล้วก็ตอบตัวเองอย่างหนักแน่นว่าไม่จำเป็น ไม่เห็นจำเป็นต้องพิสูจน์หรือสร้างสถิติอะไร แต่ที่เขียนไปเรื่อยๆ ก็เพราะมีเรื่องราว/มีประเด็นที่เห็นทุกวัน อยากเล่าให้ฟัง อยากชี้ประเด็นเผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้ที่เห็นว่ามีประโยชน์ และจะได้เห็นมุมมองที่แตกต่างจากผู้ที่ไม่เห็นด้วย
ขณะนี้ผมอายุก็ไม่น้อยแล้ว ตลอดหมื่นแปดพันกว่าวันตั้งแต่เกิดมา เคยป่วยเจียนตายซึ่งเขียนสะท้อนเอาไว้ในหนังสือ เจ้าเป็นไผ ๑ ว่า
…ความเจ็บป่วยในครั้งนั้น ทำให้เห็นว่าสิ่งที่คิดว่ามีนั้นไม่มี สิ่งที่คิดว่าเป็นของเรา ไม่เห็นช่วยอะไรได้เลย หน้าที่ความรับผิดชอบก็สำคัญ แต่ไม่สำคัญไปกว่าชีวิต หากไม่มีชีวิตอยู่ หรือกลายเป็นมนุษย์ผักไป จะทำประโยชน์อะไรได้ ชีวิตจะมีค่าอะไร เริ่มเข้าใจในโลกธรรมมากขึ้น รู้ซึ้งถึงคำว่า พ่อ แม่ และครอบครัว…
โลกมีแต่ความวุ่นวาย มีความอยากไม่ว่าจะเกิดจากความประสงค์ดีหรือเจตนาคิดร้าย แต่ตัวเราสามารถเปลี่ยนแปลงผู้อื่น สังคม ประเทศชาติให้เป็นไปตามใจเราปรารถนาได้หรือ? ถ้าตั้งจิตอธิษฐานแล้วคนอื่นเป็นไปตามที่เราคิด ตัวเราคงกลายเป็นพระเจ้าที่ดลบันดาลได้หมดทุกอย่าง แล้วถ้าคนอื่นอธิษฐานแล้วเราเป็นไปอย่างที่เขาอยากให้เป็น ตัวเรามิกลายเป็นอะไรต่อมิอะไรที่ไม่ใช่ตัวเราหรือ? — อันนี้รวมถึงผู้หวังดีที่ไปสั่งให้ใครทำอะไรอย่างที่ตนคิดด้วย — กับเพื่อนมนุษย์ เราให้ได้แต่หลักคิดเท่านั้นครับ ตามพระไตรปิฎก พระพุทธเจ้าไม่สามารถสั่งสอนหรือทำให้ทุกคนเป็นอริยบุคคลได้หมด ใครจะได้แค่ไหนนั้น ขึ้นกับตัวเขาเอง
ความวุ่นวายของโลก เกิดจากความได้หรือไม่ได้ดั่งใจ ทุกข์เกิดในใจ ก็ต้องดับในใจ ไม่ว่าจะพอใจหรือไม่พอใจ ก็ไม่ได้เปลี่ยนความจริงที่เกิดขึ้น
เราไม่สามารถจะมีชีวิตแบบที่คุ้นเคยได้ด้วยตัวคนเดียว; มีคนเดียว รวยคนเดียว สั่งคนเดียว ฯลฯ ไปไม่รอดหรอกครับ ไม่เชื่อลองออกจากบ้านไปอยู่ป่า หากินเอง ทำทุกอย่างเอง ไม่พบปะติดต่อพูดคุยกับใครดูสักเดือนหนึ่งซิครับ
การมีหรือการมีมากกว่าคนอื่นไม่ใช่ความผิด ที่สำคัญคือต้องได้มาอย่างสุจริตถูกต้องตามธรรมนองคลองธรรม เมื่อมีแล้วก็อย่าเบียดเบียนคนอื่น
ไม่รู้ว่าทำไมสังคมไทยในปัจจุบันถึงให้คุณค่ากับการเสียสละ ทั้งๆ ที่ความเข้าใจเกี่ยวกับคำนี้ กลับฟังดูแปลกๆ โครงสร้างคำไทย วางคำหลักไว้ข้างหน้า คำว่า “เสียสละ” จึงให้ความรู้สึกเหมือน “เสีย” อะไรไปบางอย่าง เมื่อเป็นดังนี้ จึงหาผู้ที่เสียสละได้ยากเหลือเกินในสังคมปัจจุบัน มีผู้บริจาคโภคทรัพย์เป็นทานอยู่ตลอดมา มากบ้างน้อยบ้างตามแต่กำลัง แต่จะหาผู้ลงมือทำเรื่องเพื่อผู้อื่นได้ยากขึ้นเรื่อยๆ; คำนี้น่าจะตรงกับคำว่า “จาคะ” แปลว่าสละ ส่วนการให้สิ่งของ เรียกว่า “ทาน”
การเสียสละ ตามความเห็นของผม เป็นเหมือนการแลกมากกว่าการเสีย จริงอยู่ที่อาจจะรู้สึกเหมือนเสียอะไรไปบางอย่าง แต่สิ่งที่เสียไปนั้นเป็นสิ่งที่ยอมได้ เช่นมีอยู่มากเกินไป ให้ไปแล้วผู้อื่นได้รับประโยชน์มากกว่า ให้ไปแล้วไม่เดือดร้อน ไม่ได้เบียดเบียนใครรวมทั้งตัวเองด้วย ถึงเหนื่อยเดี๋ยวก็หาย ฯลฯ การเสียสละเริ่มจากใจที่เห็นประโยชน์(ของผู้อื่น)บวกกับความต้องการของตน
วันนี้ วันที่ 09/09/09 รัฐบาลเชิญชวนพสกนิกรถวายราชสดุดี บางคนก็ร้องเพลง บางคนก็ทำอย่างอื่น ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คิดว่าตนรักพระเจ้าอยู่หัว รักเมืองไทย แต่ก็ควรจะตั้งคำถามกับตนเองบ่อยๆ ว่านอกจากรักแล้ว ทำอะไรบ้าง
« « Prev : เฮระลึกชาติ ที่เลย (3)
8 ความคิดเห็น
เอ๊ะ เขียนจากมือถือก็ได้นี่นา อิอิอิ (แต่ดีอย่างตรงที่ตอบยาว ๆ ไม่ได้ 555555555)
แม่ชีศันสนีย์เคยบอกว่าทานที่ยิ่งใหญ่คือการมอบหนทางที่สงบเย็น และเป็นประโยชน์ให้กับตัวเราและเพื่อนมนุษย์ทั้งหลายบนโลกนี้ค่ะ
ที่โรงเรียนวันนี้เน็ตก็เสีย 1เลขหมายครับ เช็คไปเช็คมาเจอมดแดงทำรังอยู่เต็มตู้สายสัญญาณ ฉี่ใส่สาย ช่างเลยใช้ไบกอนฉีด แล้วตัดต่อสายใหม่ใช้ได้ปกติแล้วครับ
“ไม่ว่าจะพอใจหรือไม่พอใจ ก็ไม่ได้เปลี่ยนความจริงที่เกิดขึ้น” เห็นด้วยค่ะ เปลี่ยนไม่ได้ ก็ได้แต่ทำใจ แล้วก็ทำใจ ปลงไปเยอะ วัฏจักรของชีวิต บางครั้ง บนความลำบากย่อมมีข้อดีเสมอ เช่นมีครอบครัวที่ดี หันมามองกันมากขึ้น มีเพื่อนที่ดี คอยไตถามสารทุกข์สุขดิบ ฯลฯ เหมือนพี่ที่ ไม่มีเน็ต หรือสัญญาณไม่ดี ก็ได้เวลาไปทำอย่างอื่น เช่นกัน อย่างราณี ก็ได้เรียนรู้ และมองมุมอีกมุมของชีวิตได้บ้าง แถมต้องฝึกความอดทน อดกลั้น ไปด้วย อิอิ
The incident that the Internet connection at home is “down” could have been a sign telling us that a digital life line as Internet cable that feeds “information” good and bad and is seen to be “on” 24 hours a day, 7 days a week .. all year round and actually the Internet was built and designed to be “indestructible” when its time comes .. can eventually and will go down..
Yes, just like us .. we feed information as well as food into ourselves every day …. Some information and food managed to stay in our bodies, and some manged to escape.. This body or the Internet cable when it got corrupted/damaged.. will never function the same.. no matter how hard we try or want it to be. Things happen for us to reflect on them such that WE are like THEM, WE are one and the SAME as THEM. In this incident .. WE are the Internet cable/equipment/network.
Thanks for the opportunity..
On “sacrifice”, IMO it’s overrated and could be an excuse to do things that we thought we’re doing for others.. Sacrifice denotes the concept of giving in and not wanting things in return - doing the best deed we can .. and in the process we should to/ought to get good things in return ..
Nah .. what if it did not turn out to be what we EXPECT it to be huh ? Yes.. we will continue to sacrifice to the best of our knowledge and ability … and if it doesn’t turn up good .. we do what we can .. and that’s what we can do.
#2 เพิ่งรู้ว่าที่โรงเรียนมงคลวิทยาคิดว่าฉี่มดแดงเป็นสิ่งอัปมงคลง่ะ ทำไมใช้โมเด็มล่ะครับ ถ้าเปลี่ยนเป็น ADSL ใช้ได้เท่าไหร่เท่ากัน เดือนละไม่กี่ร้อยบาท ค่าใช้จ่ายคงที่ด้วย
#3 เห็นใจ แต่ไม่คิดว่าการทำใจจะเป็นสิ่งที่ดีนะครับ ทำใจมากๆ เกิดแรงกดดันที่รอวันระเบิด เข้าใจเขาดีกว่าไหมครับ การจ้างงานเป็นความพอใจด้วยกันทั้งสองฝ่าย เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนใจ การร่วมหัวจมท้ายก็ไม่เกิดขึ้น แน่ล่ะว่าเมื่อจะจากไปก็ควรมีความรับผิดชอบบ้าง ในเมื่ออยู่ดีๆ เขาก็ไป คิดอีกทีก็ดีแล้วนะครับ ในเมื่อใจเขาไม่อยู่กับเราแล้ว ถึงดึงตัวเขาไว้ก็ไม่มีประโยชน์
#4 เรื่องนี้เป็นเรื่องของความเข้าใจว่าเราไม่สามารถอยู่ตัวคนเดียวได้ มนุษย์ต้องพึ่งพากันและกัน จิตใจเรามักคิดว่างานของส่วนรวมมักเป็นภาระของคนอื่น บางทีก็คิดว่าเราคนเดียวทำไม่ได้หรอก หรือบางทีก็มีข้ออ้างข้อแม้สารพัดที่จะไม่ทำ แต่ถ้าขืนทุกคนไม่ทำกันหมด สังคมจะอยู่ได้อย่างไร แล้วขืนมีใครบ้าทำขึ้นมาคนหนึ่ง คนนั้นรับเละ แทนที่จะยกย่องเขาอย่างเดียว เรามาช่วยกันทำไม่ดีกว่าหรือครับ
Your reflection gave ways for my own .. that’s why it went off in that tangent. But is there something more than “No man is an island” or “sacrifice”? Who knows ? you know. But we are social beings whose actions were motivated by our own not of the society’s.
How do we motivate people to act on a shared value and make them think it’s their own ? That is a different issue.
มีแง่คิดในมุมกลับ คือถ้าหากไม่มี shared value จะเรียกคนกลุ่มนั้นว่าสังคมได้หรือไม่
“ถ้าหากไม่มี shared value จะเรียกคนกลุ่มนั้นว่าสังคมได้หรือไม่” I would think “คนกลุ่มนั้น” would have a different value that probably is not shared by the whole/segment of the society that you were referring to. It makes me think of “survival of the fittest.”
In the days of hunting and gathering - the shared value was just like that to survive so as to meet the 4 basic necessities in life. But with modern life, people perceive necessities in life differently, and so it goes with their values - shared or not.. I tend to speak in circle and will stop :-O