ศ.แรนดี้ เพาช์: Time Management
อ่าน: 6649
- เป็นการบรรยายที่ยาว 1 ชั่วโมง 26 นาที เกิดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน 2550 สามเดือนหลังจากที่บรรยายเรื่อง The Last Lecture ไปแล้ว
- จะทำอะไรได้ในเวลาที่มีอยู่จำกัด
- สำหรับท่านที่ฟังไม่ทัน ผมยังหา transcript ไม่ได้ แต่มีเพื่อนๆ นำสไลด์ที่อาจารย์แรนดี้ใช้มาแสดง (เป็น text ธรรมดา)
- อาจารย์แรนดี้ เพาช์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2551
« « Prev : จบการศึกษา ไม่ใช่เรียนจบแล้ว
Next : น้ำมันแพงได้อย่างไร » »
6 ความคิดเห็น
ดูเหมือน เล็กเชอร์ครั้งสุดท้ายของเขา จะชื่อ “Really Achieving Your Childhood Dreams,” เสียชีวิตเมื่ออายุ 47
อายุน้อยเกินไปนะคะ
The Last Lecture เป็นเหมือนประเพณีที่อาจารย์ของ Carnegie-Mellon University บรรยายให้กับนักศึกษาในแต่ละปีการศึกษาครับ ปีที่แล้ว อาจารย์ Randy Pausch เป็นผู้บรรยายเมื่อเดือนกันยายน 2550 หลังจากรู้ว่าเป็นมะเร็งในสมองระยะสุดท้ายและจะมีชีวิตอยู่ได้อีกเพียง 3-6 เดือน ใช้ชื่อการบรรยายว่า “Really Achieving Your Childhood Dreams” ครับ
สมัยที่ GotoKnow ยัง embed video ได้ อาจารย์มัทนาได้เขียนบันทึกไว้ สามารถดูวิดีโอได้ที่นั่น แต่ตอนนี้ปะวิดีโอบน GotoKnow ไม่ได้มาหลายเดือนแล้ว (ไม่ได้บ่น) ผมเลยมาเขียนที่นี่
แต่การบรรยายในบันทึกนี้ บรรยายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 หลังจาก Really Achieving Your Childhood Dreams สามเดือนครับ
อาจารย์มัทนาให้ลิงก์ไปยังวิดีโอนี้ไว้ที่นี่ครับ เป็นการสัมภาษณ์เกี่ยวกับหนังสือ The Last Lecture
หลังจากมาอ่านบันทึกนี้ เพื่อนที่อเมริกาบอกว่า “there was Randy Pausch program on ABC last night, in his last hour, he left with a fainted smile on his face.” ยังไม่เห็นวิดีโออันหลังสุดนี้ครับ
ดูเป็นคนที่เหลือเชื่อจริงๆ
ชื่นชมที่ อาจารย์แรนดี้ฯ เป็นคนเข้มแข็งมากๆ ไม่ง่ายหรอกที่จะทำใจได้อย่างนี้ ดีค่ะ เวลาที่ กำลังใจตก จะได้มาดู เพิ่มกำลังใจได้
ชอบหนังสือเล่มนี้มาก
ซื้อให้หลาน ๆ (อายุไล่เรี่ยกัน) คนละเล่ม พร้อมตัวเอง
อ่านแล้วนำมาคุยกัน ได้หลายประเด็นน่าคิด ตามแต่ประสบการณ์ของแต่ละคนฃ
ส่วนตัวชอบ เพราะตรงกับสิ่งที่ชอบ ชอบอ่าน “ความคิด”
หลานบางคนอ่านแล้วร้องไห้เสียเป็นวรรคเป็นเวร… ทั้งที่เนื้อหาคนเขียนไม่ได้คร่ำครวญขอความเห็นใจ และไม่ได้มีสำนวนใดที่เศร้าสะเทือนใจ หากแสดงถึง…ความเข้มแข็ง กล้าเผชิญกับสภาวะของ “หลือเวลาจำกัดในชีวิต” อย่างกล้าหาญเด็ดเดี่ยว
แต่… การได้รู้ภูมิหลังของเรื่องราว นั่นคือหลังการบรรยายเขามีชีวิตอีกไม่ถึงปี การที่แรนดี้เขียนถึงลูก ๆ เพราะเกรงว่าจะไม่มีโอกาสได้ดูแล ได้คุย ได้แสดงความรู้ต่อลูก ๆ เมื่อลูกโตขึ้น … นั่นต่างหากที่แสดงถึง ความเศร้าที่เขาจำต้องยอมรับ
สรุปความเห็นในวงเสวนา ก็เลยทำให้ได้ “ตระหนักและตระหนก”ถึงความสำคัญของเวลาที่เราใช้ไป