อีกแว๊บหนึ่งที่เต้นท์อาสาดุสิต

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 April 2011 เวลา 0:07 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4640

วันนี้เป็นวันสุดท้ายที่เต้นท์อาสาดุสิตเปิดรับบริจาคข้าวของ และจัดส่งลงไปช่วยผู้ประสบภัยทางใต้วันละหลายคันรถเทรลเลอร์

ตลอดระยะเวลาเปิดเต้นท์ ตั้งแต่ 31 มีนาคม จนถึง 10 เมษายน ได้รับความอนุเคราะห์เป็นอย่างดียิ่งจากโรงแรมดุสิตธานี เหล่าอาสาบ้าพลังทั้งหลาย ถ้าบ้ามาก-มาทุกวัน บ้าตามสะดวก-มาหลายวัน บ้าดูแห่-ก็โผล่มาดู มีบางคนนึกว่าเต้นท์ขายของราคาถูก(ที่ดุสิตธานีเนี่ยนะ!)ก็ไม่ว่าอะไร งานอาสาเกิดที่ใจ ไม่ใช่การบังคับขู่เข็ญ

จะเป็นใคร รู้จักกับใครหรือไม่ ใหญ่โตแค่ไหน มีคนนับหน้าถือตาหรือไม่ ไม่สำคัญหรอกครับ มันอยู่ที่ว่าจะช่วยอะไรได้หรือไม่ แล้วจะลงมือทำหรือไม่ งานอาสาแบบนี้ไม่ใช่งานสบายนะครับ ถ้าใครๆ ทำได้ แล้วทำไมตัวเราทำไม่ได้ (เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับทำกับข้าว!)

ถ้าจุดมุ่งหมายคือส่งของไปช่วยผู้ประสบภัย ลงมือรับของ แยก จัด ห่อ ยก บนบานไม่เอาฝน เหนื่อยก็พัก หิวก็กิน งานก็จบลงได้ ที่ถ่ายรูปมานี้ งานยังไม่จบนะครับ วันนี้จะมีรถมาขนของ 3 4 คัน ตอนถ่ายรูปยังไม่มาเลยสักคันนะครับ

อ่านต่อ »


พลวัตของการบรรเทาทุกข์

อ่าน: 3451

เมื่อเกิดภัยพิบัติขึ้นในพื้นที่ ไม่ว่าบ้านเราจะโดนหรือไม่ สิ่งที่จะตามมาคือภาวะข้าวยากหมากแพง (ทุพพิกภัย) ถ้าเป็นเมื่อก่อน อาจจะมีโรคระบาดตามมาด้วยครับ แต่ปัจจุบันนี้ การสาธารณสุขของเราดีขึ้นมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา มีทั้งการเตรียมตัวล่วงหน้า การป้องกัน การรักษา และการระดมกำลังควบคุมการระบาด ฯลฯ

เป็นห่วงอยู่อย่างเดียว คือการเยียวยาสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งเกินกำลังของจิตแพทย์ นักจิตวิทยา และนักสังคมสงเคราะห์ที่มีอยู่ — จากการสำรวจเมื่อปี 2547 ไทยมีผู้ป่วย PTSD สูงที่สุดในโลก (สึนามิ? จะจากอะไรก็ช่าง สถิติโลกอันนี้ไม่น่าครองหรอกครับ)

เมื่อเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ขึ้น จะมีผู้ประสบภัยมากมาย ที่ไม่สามารถดำเนินชีวิตไปในแบบที่เคยทำมาได้ จะต้องใช้เวลาพักใหญ่กว่าจะฟื้นฟูวิถีชีวิตกลับมา ในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ ผู้ประสบภัยต้องการความช่วยเหลือและกำลังใจเป็นอย่างมาก

นิยามของภัยพิบัตินั้น หมายถึงเหตุการณ์หรือสถานการณ์ ที่เกินกำลังการจัดการของท้องถิ่น จำเป็นต้องมีการร้องขอความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะจากในประเทศหรือต่างประเทศ

ลำดับของการช่วยเหลือ ต่างคนอาจจะคิดไปต่างๆ กัน สำหรับผมแล้ว จัดลำดับความสำคัญดังนี้ (คิดไม่เหมือนกันก็ไม่เป็นไร)

อ่านต่อ »


เหตุเกิดที่กรุงชิง-นบพิตำ

อ่าน: 4752

กรุงชิงมีสภาพเป็นที่ราบผืนเล็กที่ล้อมรอบด้วยภูเขาสูงทุกทิศทาง เคยเป็นฐานการก่อความไม่สงบมาก่อนเนื่องจากเข้าถึงได้ลำบาก — นบพิตำเป็นที่ราบสุดท้ายก่อนเข้าไปกรุงชิง โดยต้องเลาะไปตามโตรกเขา ซึ่งมีทางน้ำไหลอยู่

อ่านต่อ »


ระวัง-ยิง-เล็ง

อ่าน: 4203

ชื่อบันทึก ระวัง-ยิง-เล็ง ไม่ได้เรียงผิดหรอกครับ แล้วไม่ได้คิดเองด้วย มาจากของฝรั่ง Ready, Fire, Aim

เวลาจะยิงปืนนะครับ “ลำดับ” มักจะเป็น ระวัง-เล็ง-ยิง (Ready, Aim, Fire) ก็ต้องเล็งก่อนยิงใช่ไหมครับ? สามัญสำนึกบอกว่าอย่างนั้นนะ; แล้วยิงโดยไม่ได้เล็ง จะไม่มีโอกาสถูกเลยหรือ…ผมว่าก็คงไม่ใช่หรอก เพียงแต่โอกาสคงไม่มาก

“Not everything that can be counted counts, and not everything that counts can be counted.” — Albert Einstein

ไม่ทุกสิ่งที่นับได้ จะมีความหมาย และไม่ทุกสิ่งที่มีความหมาย จะนับได้ — อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์

ไอน์สไตน์ไม่ได้พูดถึงฟิสิกซ์ดาราศาสตร์หรอกครับ เขาชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่สำคัญนั้น ไม่แน่ว่าจะวัดเป็นจำนวนได้

อ่านต่อ »


เพราะมองข้ามความปลอดภัย

อ่าน: 3175

เมื่อตอนหัวค่ำ คุยกับ ผอ.ศูนย์ข้อมูลและการจัดการความรู้ สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย (@MunicipalLeague) บนทวิตเตอร์ ร้อยข้อความเป็นเรื่องให้แล้ว ถ้าห้วนไปบ้าง ก็เพราะข้อจำกัดของความยาวแต่ละข้อความนะครับ

@iwhale: เรื่องเศร้าคือยังไม่ได้ถุงยังชีพ เรื่องเศร้ากว่าคือได้ถุงยังชีพจนล้น ดีที่สุดคือป้องกันให้ไม่ต้องส่งถุงยังชีพอีก #thaiflood

@superconductor: ปัญหา last miles? ชาวบ้านกระจัดกระจายอยู่ตรงไหนบ้างก็ไม่รู้ ขนส่งลำบาก เรือ-รถไม่มี ขนส่งของลำบาก #thaiflood ถ้าไม่รู้ ทำไมไม่รู้

@MunicipalLeague: @superconductor @iwhale ชาวบ้านกระจัดกระจายอยู่ตรงไหนบ้างก็ไม่รู้ขนส่งลำบาก  #thaiflood / ติดต่อเทศบาล อบต.สิคะรู้ทุกหลืบของพท.(มีเบอร์โทรค่ะ)

@superconductor: ควรจะเป็นอย่างนั้นล่ะครับ แต่เห็นเรียกชาวบ้านมารับแจกของ+ซองทุกที… เฮ้อ ว่าจะไม่บ่นแล้วเชียว :)

@MunicipalLeague: แล้วแต่พท.นะคะ ท้องถิ่นก็คนเหมือนกับเรา มีดีบ้างเลวบ้างเป็นธรรมดา แต่ส่วนมากจะโอเคนะคะ เรื่องไหนเป็นประโยชน์ก็ประสานกันนะ

@superconductor: ถนนขาด-ท่วม-เสีย เข้าพื้นที่ลำบาก เรือทานแรงน้ำไม่ไหว ชาวบ้านออกมาลำบาก เสบียงส่งเข้าพื้นที่ลำบากเหมือนกัน คอปเตอร์ไม่พอ — ถ้าจะให้ความช่วยเหลือกระจายได้ แก้ปัญหาโลจิสติกส์+คมนาคมก่อนครับ หรืออพยพชาวบ้านไปที่ปลอดภัย (ที่ไหน? พอไหม?)

@MunicipalLeague: ปัญหาหนึ่งที่สำคัญคือชาวบ้านไม่ยอมย้ายออก หลายพท.ท้องถิ่นแจ้งเตือนหรือเอาเรือเข้าไปรับ ชาวบ้านรวมถึงพระตามวัด — ไม่ยอมอพยพออกมาเพราะห่วงข้าของ พอตกดึกน้ำขึ้นสูงและเชี่ยว ไฟดับ ไปช่วยเพราะอันตรายมาก ปัญหาออกสื่อว่าไม่มีหน่วยไหนไปช่วย — บางแห่งทางขาดชาวบ้านออกมาลำบาก นายกอบต.หรือผู้ใหญ่เป็นตัวแทนออกมารับ แต่คนบริจาคก็อยากเอาไปมอบให้ถึงมือ #ละเหี่ยใจ — ถุงยังชีพมากมาย ต่างคนต่างเอาไปให้ใครๆก็อยากเอาไปให้ถึงมือชาวบ้าน บางแห่งมี500หลัง300หลังแรกได้หลายรอบอีก200ได้1รอบจากเทศบาล

@superconductor: จริงครับ แต่ชาวบ้านเดือดร้อนก็ต้องเข้าไปช่วย ชิมิ สังคมไทยยึดแต่มุมมองของตัวเอง จึงขาดความเข้าใจความจริงจากอีกมุมหนึ่ง

@MunicipalLeague: จริงค่ะ ตอนนี้ที่น่าสงสารที่สุดคือเทศบาลหรืออบต.ที่ไม่รู้จักใคร ขอกาชาดหรือ ปภ.ก็รอขั้นตอน แทบไม่มีถุงยังชีพมาเลย — บางแห่งคอนเนกชั่นดี มีทั้งช่องนู้นนี้ขนมาให้กันเพียบ อย่างทันท่วงที/ ไม่รู้จักคนโทรไปเบอร์กลางก็รอแล้วรออีก

อ่านต่อ »


การ์ตูนร่วมด้วยช่วยป้องกันดินถล่ม

อ่าน: 8691

กรมทรัพยากรธรณี จัดทำการ์ตูนร่วมด้วยช่วยป้องกันดินถล่มเอาไว้สักพักหนึ่งแล้ว เว็บของกรมอยู่ที่ www.dmr.go.th แต่ผมเตือนผู้อ่านที่ชอบค้นไว้ก่อนนะครับ ว่าเว็บนี้ เต็มไปด้วย dead link อย่าหงุดหงิด (เตือนแล้วนะ)

ภาพการ์ตูนที่แสดงในบันทึกนี้ ก็ต้องเล่นกายกรรมแก้ช้าหน่อยครับ ความจริงชี้ไปที่เว็บของกรมก็ได้ครับ แต่ตัวภาพและหนังสือสำคัญขาดหายไป (และช้า)

อ่านต่อ »


มาตรการทางภาษีเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปี 2554

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 April 2011 เวลา 1:29 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4770

สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2554 ในเรื่องที่ 25. มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ปี 2554 คณะรัฐมนตรี ได้ออกมาตรการช่วยเหลือหลายอย่าง

เป็นที่น่าสังเกตว่า ครม.ใจกว้าง ขยายความช่วยเหลือทางภาษี จากการให้อย่างเฉพาะเจาะจงในเหตุภัยพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็น การบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ (อุทกภัย วาตภัย อัคคีภัย หรือภัยธรรมชาติอื่น) ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป และเพื่อให้ผู้บริจาคได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีบริจาคเงินและสิ่งของโดยมีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นเป็นตัวแทนรับบริจาคเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติดังกล่าว… นี่เป็นการเห็นความสำคัญของภาคประชาชนนะครับ

แต่ทว่าการยกเว้นภาษี ไม่ใช่อยู่ดีๆ ก็ยกเว้น จะต้องตราพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษาเสียก่อน จึงจะมีผล แต่เนื่องจากเป็น พรฎ.ซึ่งอยู่ในอำนาจของ รมต.คลัง และมีมติ ครม.กำกับอยู่ ดังนั้นเรื่องนี้จึง(ยัง)ไม่ต้องผ่านสภา แม้จะมีการเลือกตั้งก็ไม่กระทบเช่นกัน — ต้องเรียนย้ำว่า ต้องมี พรฎ.ก่อน จึงจะมีผลใช้บังคับ แต่แนวทางที่แน่นอน อาจดูได้ตามประกาศของกรมสรรพากรได้ (ซึ่งยังไม่ออก เพราะ ครม.เพิ่งประชุมกันเมื่อวานเอง)

ผู้สนใจรายละเอียด หาอ่านได้จากสรุปข่าวการประชุม ครม. ที่ www.thaigov.go.th ซึ่งผมจะย่อเอาแต่ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาทุกข์และการฟื้นฟูในภาคประชาชนมา

อ่านต่อ »


แว๊บหนึ่งที่เต้นท์อาสาดุสิต

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 April 2011 เวลา 21:04 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3951

วันนี้ไปหาหมอตามนัด เสร็จแล้วก็คิดจะเถลไถลแอบไปเยี่ยมเต้นท์อาสาดุสิต ใจหนึ่งก็จะไปช่วยครับ อีกใจหนึ่งอยากไปตรวจสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ ถึงความอลหม่านในการบรรเทาทุกข์ อิอิ

คนอายุเกินกึ่งศตวรรษแล้วร่างกายไม่สมประกอบ ทำอะไรก็เกะกะ แต่ก็ขนเท่าที่ช่วยได้ครับ น้องๆ คงเห็นความเก้งก้าง เลยเรียกไปปรึกษาเสียหลายเรื่อง ซื้อเสื้ออาสาดุสิตมาตัวหนึ่ง ไม่ต้องเลือกเลยครับ เพราะเหลือตัวสุดท้าย (ที่ไม่มีใครเอา)

เต้นท์อาสาดุสิต อยู่ตรงทางลง BTS สถานีศาลาแดง เยื้องกับตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาฯ ผมถ่ายรูปมาบ้าง แต่ไม่เยอะ เกรงใจ น้องๆ อาสาเค้าทำงานกัน นับถือน้ำใจจริงๆ

อ่านต่อ »


คนหนึ่งคน จะทำอะไรได้

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 April 2011 เวลา 12:59 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3808

“คนหนึ่งคน จะทำอะไรได้” ประโยคนี้จะมองเป็นประโยคคำถามก็ได้ หรือจะมองเป็นประโยคบอกเล่าชนิดประโยคความซ้อน(เชิงตัดพ้อ)ก็ได้เช่นกัน

แต่คนหนึ่งคน ไม่สามารถจะทำอะไรเกินกำลังสติปัญญาของคนหนึ่งคนไปได้แน่นอน ไม่ว่ามีเครื่องมือดีขนาดไหน ไม่ว่าจะมีอำนาจขนาดไหน คนแต่ละคน มีชีวิต มีข้อจำกัดเป็นของตัวเอง คนแต่ละคนแตกต่างกัน เพราะแต่ละคนไม่ใช่ผลผลิตทางอุตสาหกรรม มีความสนใจ มีความรู้ความชำนาญแตกต่างกันไป

สำหรับท่านที่ไม่ได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยทางใต้อย่างใกล้ชิด ต้องเรียนว่าสถานการณ์วิกฤตจริงๆ นะครับ ผู้ประสบภัยกระจัดกระจายกันอยู่ในถิ่นฐานของตน ทำให้การเข้าไปช่วยเหลือยากลำบาก เพราะการคมนาคมและระบบโทรคมนาคมถูกตัดขาด แล้วเหตุก็เกิดมาสักอาทิตย์หนึ่งแล้ว แพทย์อาสา พยาบาลอาสา ลงพื้นที่แล้วบอกอ่วม น้ำขาดแคลน อาหารขาดแคลน ยาขาดแคลน สิ่งของประทังชีวิตขาดแคลน เรือขาดแคลน รถขนส่งความช่วยเหลือจากส่วนกลางลงไปในพื้นที่ขาดแคลน และกำลังของอาสาสมัครก็ขาดแคลนเช่นกัน

งานนี้ถ้าทหารไม่ช่วย จะเละยิ่งกว่านี้เยอะ ทางภาครัฐก็ช่วยนะครับ แต่ว่าช้าตามระเบียบราชการ (คือต้องเข้าใจระเบียบราชการด้วย จึงจะรู้ว่ายุ่งยากวุ่นวายขนาดไหน)

รายงานจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ) “๒. พื้นที่ประสบภัย: ๑๐ จังหวัด (จังหวัดนครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี ตรัง ชุมพร สงขลา กระบี่ พังงา สตูล และจังหวัดนราธิวาส) ๑๐๐ อำเภอ ๖๔๑ ตำบล ๕,๑๖๙ หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน ๕๗๙,๐๖๒ ครัวเรือน ๒,๐๐๔,๓๕๐ คน” ขณะที่เขียนนี้ ยังไม่มีมาตรการทางภาษีออกมาช่วย หวังว่าจะมีข่าวดีเร็วๆ นี้

อ่านต่อ »


กระแสพระราชดำรัสพระราชทานหลังภัยธรรมชาติ

อ่าน: 5277

เมื่อคืนวันที่ 25 ต่อกับวันที่ 26 ตุลาคม 2505 ได้เกิดพายุโซนร้อนชื่อ “แฮเรียต” พัดผ่านทางตอนใต้ของประเทศไทย ยังความเสียหายให้เกิดแก่จังหวัดภาคใต้ถึง 12 จังหวัด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถานีวิทยุ อส.พระราชวังดุสิต ประกาศโฆษณาเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ และสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยทรงรับและพระราชทานสิ่งของด้วยพระองค์เอง ความช่วยเหลือได้หลั่งไหลเข้าสู่สถานีวิทยุ อส. ชั่วระยะเวลา 1 เดือน มีผู้บริจาคทรัพย์ถึง 11 ล้านบาท และสิ่งของประมาณ 5 ล้านบาท นับเป็นเงินและสิ่งของบริจาคปริมาณมหาศาลเมื่อเทียบกับค่าของเงินในขณะนั้น

จังหวัดที่ได้รับความเสียหายมาก คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับ กรมประชาสงเคราะห์ได้แจกอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค จัดซ่อมแซมบ้าน ที่พัก และสร้างที่พักชั่วคราว ให้ผู้ประสบภัยอยู่อาศัยตลอดจนเครื่องมือประกอบอาชีพ ได้แก่ อวน และช่วยเหลือสิ่งสาธารณประโยชน์ คือ มอบเงินให้เป็นทุนประเดิมแก่วัดวาอาราม มัสยิด ศาลเจ้าและสถานสงเคราะห์เด็กที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อรับบุตรหลานของผู้ประสบภัย ที่กำพร้าบิดามารดาหรือผู้ปกครองเสียชีวิต โดยอยู่ในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์

นอกจากนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเงินให้กระทรวงศึกษาธิการ สร้างโรงเรียนประชาบาลที่ถูกพายุพัดพัง รวม 12 โรงเรียน ใน 6 จังหวัดภาคใต้ และภายหลัง พระราชทานชื่อว่า โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1,2,3,4,5 ถึง 12 ตามลำดับ

เมื่อได้ช่วยเหลือประชาชนในระยะแรกแล้ว ยังเหลือเงินอีก 3 ล้านบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า เงินสามล้านบาทนี้ ควรตั้งเป็นทุนเพื่อหาดอกผลสำหรับสงเคราะห์เด็ก ซึ่งครอบครัวต้องประสบวาตภัยภาคใต้ และขาดผู้อุปการะเลี้ยงดูประการหนึ่งและสำหรับสงเคราะห์ช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศอีกประการหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานเงิน 3 ล้านบาท ให้เป็นทุนประเดิมก่อตั้งมูลนิธิ และพระราชทานนามว่า “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ใน “พระบรมราชูปถัมภ์” กับทรงดำรงตำแหน่ง พระบรมราชูปถัมภกแห่งมูลนิธินี้ด้วย ชื่อของมูลนิธินี้หมายความว่า “พระราชา” และ “ประชาชน” อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน เป็นการแสดงน้ำพระทัยว่า เวลาทำงานควรจะได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย

อ่านต่อ »



Main: 0.04732608795166 sec
Sidebar: 0.1388258934021 sec