การสื่อสารฉุกเฉิน (2)

อ่าน: 3045

เขียนต่อจากตอน 1 สำหรับสถานการณ์อุทกภัยทางใต้นะครับ

มันไม่มีประโยชน์ที่จะบอกว่าการสื่อสารฉุกเฉินเตรียมเอาไว้นั้นเป็นอย่างไร เวิร์คหรือไม่เวิร์คก็เห็นๆ กันอยู่ แล้วมันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะบอกว่าเห็นไหมบอกแล้ว ภัยพิบัติเกิดขึ้นแล้วโดยเราไม่พร้อม

ข้อเท็จจริงอันโหดร้ายก็คือ

  1. การสื่อสารถูกตัดขาด การคมนาคมก็ถูกตัดขาด
  2. ผู้ประสบภัยอยู่กันกระจัดกระจาย ถึงรวมกลุ่มกันได้ ก็ติดต่อขอความช่วยเหลือไม่ได้
  3. ผู้ประสบภัยอยู่ในพื้นที่ก็ช่วยตัวเองไม่ได้ อพยพออกมาก็ไม่มีที่พักพิงชั่วคราว
  4. เมื่อข้อมูลหลั่งไหลออกมา อาจจะแปลกใจในความย่อยยับ
  5. ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่เพิ่งจะมาเป็น แต่เป็นมานานหลายรัฐบาลแล้ว

หลักการจัดการภัยพิบัติ มีอยู่ง่ายๆ ว่า Hope for the best, prepare for the worst ญี่ปุ่นมีแผ่นดินไหวระดับ 6-7 ริกเตอร์อยู่บ่อยๆ เขาเตรียมการสำหรับแผ่นดินไหวขนาด 8 ริกเตอร์ แต่ไหวจริงระดับ 9 ริกเตอร์ ดังนั้นจึงเป็นระดับที่เตรียมการไว้ไม่พอ

อ่านต่อ »


ความไม่รู้เป็นภัยอันยิ่งยวด

อ่าน: 3121

เวลาเราพูดถึงการจัดการภัยพิบัติ ก็มักจะเข้าใจไขว้เขวไปถึงการบรรเทาทุกข์ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดการภัยพิบัติเท่านั้น

มนุษย์กระจ้อยร่อย ไม่สามารถต่อกรกับภัยขนาดใหญ่เช่นภัยธรรมชาติได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าควรจะปล่อยไปตามยถากรรม — จะอ้างว่าอะไรจะเกิดก็เกิด เหมือนเป็นผู้สูงส่งที่ปล่อยวางได้หมด ก็โอเคนะครับ ส่วนจะเป็นผู้สูงส่งของจริงหรือไม่ ตัวท่านผู้กล่าวคำนี้ รู้เอง

ผมไม่ใช่ผู้สูงส่ง ยังไม่หลุดพ้น ไม่เคลมอะไรทั้งนั้น และยังมีคนที่ห่วงใยอยู่พอสมควร แต่ผมพอมีเบื้องลึกของการจัดการภัยพิบัติเป็นกรณีศึกษาบ้าง การจัดการภัยพิบัติแบ่งคร่าวๆ ได้เป็น 4 ช่วง

ก่อนเกิดภัย

ช่วงก่อนเกิดภัย อาจจะเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องเข้าใจความเสี่ยงของตัวเอง *ล่วงหน้า* ในยามสงบ เตรียมทางหนีทีไล่เอาไว้ เตรียมพื้นที่ปลอดภัย ฝึกซ้อมอย่างจริงจัง เมื่อเกิดภัยชึ้นแล้ว จะหวังให้ใครมาบอกว่าจะต้องทำอะไรนั้น ไม่เวิร์คหรอกครับ คำแนะนำที่ประกาศออกมาผ่านสื่อ จะเหมาะกับทุกพื้นที่ได้อย่างไร ในเมื่อแต่ละพื้นที่นั้นไม่เหมือนกันเลย แล้วใครจะมารู้ทางหนีทีไล่ดีกว่าคนในพื้นที่

อ่านต่อ »



Main: 0.32110500335693 sec
Sidebar: 0.65471601486206 sec