หลักศรัทธา
อ่าน: 3513พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลคำ ศรัทธา ว่า น. ความเชื่อ ความเลื่อมใส หรือ ก. เชื่อ เลื่อมใส
อย่างไรก็ตาม ตามหนังสือพุทธธรรม (ฉบับเดิม) โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต) นั้น ศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นในสัมมาทิฏฐิ และจะต้องเป็นศรัทธาที่นำไปสู่ปัญญา ไม่เช่นนั้นก็ไม่ต่างกับการศรัทธาเจ้าลัทธิ คนทรง ต้นไม้หรือสัตว์พิการแปลกประหลาด
สรุปคุณสมบัติและหน้าที่ของศรัทธาที่ถูกต้อง
ศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับคนทั่วไป ที่จะเข้าสู่มัชฌิมาปฏิปทา จึงเป็นธรรมสำคัญที่จำเป็นต้องเน้นให้มาก ว่าจะต้องเป็นศรัทธาที่ถูกต้องตามหลักที่จะเป็นสัมมาทิฏฐิ ในที่นี้ จึงขอสรุปคุณสมบัติและการทำหน้าที่ของศรัทธาที่จะต้องสัมพันธ์กับปัญญา ไว้เป็นส่วนเฉพาะอีกครั้งหนึ่งว่า
- ศรัทธาต้องประกอบด้วยปัญญา และนำไปสู่ปัญญา
- ศรัทธาเกื้อหนุนและนำไปสู่ปัญญา โดย
- ช่วยให้ปัญญาได้จุดเริ่มต้น เช่น ได้ฟังเรื่องหรือบุคคลใด แสดงสาระ มีเหตุผล น่าเชื่อถือหรือน่าเลื่อมใส เห็นว่าจะนำไปสู่ความจริงได้ จึงเริ่มศึกษาค้นคว้าจากจุดหรือแหล่งนั้น
- ช่วยให้ปัญญามีเป้าหมายและทิศทาง เมื่อเกิดศรัทธาเป็นเค้าว่าจะได้ความจริงแล้ว ก็มุ่งหน้าไปทางนั้น เจาะลึกไปในเรื่องนั้น ไม่พร่า ไม่จับจด
- ช่วยให้ปัญญามีพลัง หรือช่วยให้การพัฒนาปัญญาก้าวไปอย่างเข้มแข็ง คือ เมื่อเกิดศรัทธามั่นใจว่าจะได้ความจริง ก็มีกำลังใจเพียรพยายามศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง วิริยะก็มาหนุน