ตายน้ำตื้น (ปะการัง)

อ่าน: 3945

ด้านใต้ของเกาะสุมาตรา มีปะการังน้ำตื้นอยู่ใน genus Porites

ปะการังนี้ เติบโตได้ใต้น้ำทะเล (แหงล่ะ) ตามรูป A มันก็ค่อยๆ โตออกรอบทิศทาง

ในรูป B เมื่อส่วนของปะการังโผล่พ้นน้ำ มันไม่สามารถจะโตต่อไปได้ และจะมีผิวอยู่ในระดับเพียงแค่ระดับน้ำทำเล ในขณะที่ส่วนอื่นๆ ที่ยังอยู่ใต้น้ำ ยังคงโตต่อไป

ถ้าหากว่าพื้นจมลงอีกเหมือนในรูป C ประการังสามารถกลับมาโตทางด้านสูงได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยจะเห็นรูแหว่งอยู่ตรงกลางหัวกะโหลก

แล้วเมื่อแผ่นดินยกตัวขึ้น การเติบโตจะมีเพียงที่ด้านข้าง (โตเกินระดับน้ำไม่ได้)

เฮ้ย…จะมีอะไรพิสดารขนาดนี้เชียวหรือ… ก็มีน่ะซิครับ!!!

รูปทางซ้าย คือการเติบโตของปะการังทางด้านใต้ของเกาะสุมาตรา ซึ่งการยกตัวครั้งสุดท้าย (46 ซม.) เกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหวใหญ่และสึนามิในวันที่ 26 ธันวาคม 2547

ปะการังในรูปทางซ้ายนี้ เราเห็นทั้งขั้นตอน A B C และ D

อ่านต่อ »


แผ่นดินบิด

อ่าน: 5801

@DrJoop ให้ลิงก์ของเอกสารสนุกชื่อ The Science behind China’s 2008 earthquake พร้อมทั้ง e-book วิชาฟิสิกส์ดาราศาสตร์อีกกระบิหนึ่ง แต่ตอนนั้นกำลังอลหม่านกับน้ำท่วมทางภาคใต้ จึงเก็บไว้ก่อน ปลายสัปดาห์นี้จะไปต่างจังหวัดหลายวัน จึงพยายามเคลียร์งานที่คั่งค้างให้ได้มากที่สุด

เอกสารดังกล่าวข้างบนมาจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งคาลิฟอร์เนีย (คาลเทค) ซึ่งที่นี่ล่ะครับ บีโน กูเทนเบิก และ ชาลส์​ ริกเตอร์ เป็นผู้บัญญัติ Local Magnitude scale (ML) ที่ใช้วัดความแรงของแผ่นดินไหวมาตั้งแต่ปี 2478 เรามักเรียกกันติดปากว่าริกเตอร์สเกล แต่ ML ก็วัดได้ไม่ค่อยดีในกรณีที่แผ่นดินไหวมีความแรงสูงๆ ดังนั้น ในปี 2522 นักธรณีวิทยาของคาลเทคอีกสองคน คือทอมัส แฮงส์ และฮิรู คานาโมริ ได้พัฒนา Moment Magnitude scale (Mw) ขึ้นมาใช้วัดพลังงานที่แผ่นดินไหวปลดปล่อยออกมา เรายังเรียกเหมารวมกันว่าริกเตอร์สเกลเช่นเดิม ทั้งที่ไม่เหมือนกันทีเดียวหรอกครับ

เอกสารในย่อหน้าแรก เป็นงานวิจัยของคาลเทคเหมือนกัน แต่เป็นการมองในภาพที่ใหญ่กว่าสึนามิปี 2547 มาก (อันหลังผมเล่าไว้นิดหน่อย ท้ายบันทึก [แผ่นดินไหวขนาด 10 ริกเตอร์])

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 7.9 ริกเตอร์ในแคว้นเสฉวน ประเทศจีน แคว้นนี้อยู่ติดกับที่ราบสูงทิเบต ภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงบ่อย เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น รายงานอย่างเป็นทางการปลายปีนั้น ยืนยันว่ามีเด็กนักเรียนตาย 19,065 คน และมีคนอีก 90,000 ตายหรือสูญหาย ในตอนปลายปี ทางการสร้างบ้านใหม่ไปแล้ว 200,000 หลัง และยังกำลังสร้างอีก 685,000 หลัง แต่ว่ายังมีอีก 1.94 ล้านครอบครัวที่ยังไม่มีที่อยู่อาศัยถาวร มีการสร้างโรงเรียนใหม่ 1,900 โรง จำเป็นต้องอพยพ(ปิดตาย)เมือง 25 เมือง

ความเสียหายครั้งนั้นรุนแรงมาก บรรดาผู้เชี่ยวชาญ (และผู้เสมือนเชี่ยวชาญ) ต่างก็บอกว่าแผ่นดินไหวครั้งนี้ เกิดจากแผ่นดินไหวปลายเกาะสุมาตราที่ทำให้เกิดสึนามิปี 2547…แฮ่… ผมสงสัยครับ ถ้าแผ่นดินไหวที่สุมาตรา (ซึ่งรุนแรงมากจริงๆ) ทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่เสฉวน ทำไมรอยแยกมีพลังในพม่าจึงไม่ออกฤทธิ์ในระหว่างปี 2548-2551​ (มีแผ่นดินไหวบ้างแต่ไม่รุนแรง)

เอกสารของคาลเทคในย่อหน้าแรก อธิบายอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งฟังดูสมเหตุผลกว่ามากนะครับ ถ้าอยากอ่านแบบละเอียดโดยไม่ผ่านการตีความของผม ก็เชิญคลิกที่ลิงก์นั้นได้เลย

อ่านต่อ »


กำแพงดินอัด

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 April 2011 เวลา 17:08 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 8511

เมื่อสองวันก่อน ผมโทรไปหาโสทร ผู้ใหญ่บ้านแห่งบ้านสวนพอเพียง ขอให้ช่วยทดลองการผสมยางกับดินเพื่อทำวัสดุก่อสร้างชั่วคราว อยากหาข้อมูลว่ายางซึ่งมีอยู่ในภาคใต้ จะใช้ยึดดินแทนซีเมนต์ได้หรือไม่ คงไม่ต้องใช้น้ำยางมากมายหรอกครับ เพราะน้ำยางมีราคาแพง

เรื่องของดินอัดบล็อค (Compressed Earth Block CEB) สามารถค้นหาความรู้ได้ตามอินเทอร์เน็ต พวกฝรั่งเอง เดี๋ยวนี้ก็หันกลับมาใช้วัสดุธรรมชาติกันมากแล้ว CEB อาศัยดินป่นละเอียด ผสมซีเมนต์หรือวัสดุเพื่อยึด คานโยก อัดดินเป็นก้อน ทิ้งให้แห้ง ก็จะมีความคงทนพอสมควร พอที่จะเอาไปก่อเป็นกำแพงรับแรงได้บ้าง แม้ไม่ดีเท่ากำแพงซีเมนต์ แต่จะมีราคาถูกกว่ามาก

ในสถานการณ์อุทกภัยทางใต้ ซึ่งหาวันที่อากาศแห้งได้ยาก การผลิต CEB คงจะลำบากเหมือนกัน ส่วนบ้านดินนั้น คงไม่เหมาะเพราะฝนแรงมาก จะทำให้ผนังเปียกครับ

บันทึกนี้ เสนอวิธีการก่อสร้างกำแพงอัดดิน (Rammed Earth) ซึ่งก่อไม้แบบเรียบสองข้าง เว้นช่องตรงกลางไว้สักฟุตหนึ่ง เอาดินป่นแบบหมาดๆ ใส่ลงไปในช่องว่างตรงกลางให้หนาสักฟุตหนึ่ง (แล้วแต่คุณภาพของดิน ถ้าดินไม่ดีเลย อาจผสมปูนซิเมนต์สักเล็กน้อย 3-5% โดยปริมาตร ให้คอยยึดดินได้) แล้วย่ำ เหยียบ กระทุ้ง อัดดินให้แน่น จนความหนาฟุตหนึ่งเหลือแค่ประมาณครึ่งเดียว แล้วก็เทดินป่นชั้นใหม่ลงไป ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนเกิดเป็นกำแพงขึ้นมา ถอดไม้แบบออก แล้วย้ายที่ไปก่อกำแพงที่อื่น

ดินป่นแบบหมาดๆ หมายความว่าดินละเอียด ปั้นเป็นก้อนกลมขนาดมือ ทิ้งจากระดับอกลงบนพื้นแข็ง ก้อนดินกลมจะกลายเป็นก้อนดินครึ่งทรงกลม โดยไม่แตก

กำแพงในลักษณะนี้ มีความหนา แข็งแรง รับน้ำหนักได้ เจาะช่องประตูหน้าต่างได้ น้ำไม่ซึม ทำให้กันเชื้อราและกันปลวก

อ่านต่อ »


แผ่นดินไหวขนาด 10 ริกเตอร์

อ่าน: 4145

บันทึกนี้ เขียนก่อนที่สารคดี Megaquake 10.0 จะฉายทาง History Channel ในตอนค่ำนี้ เพื่อที่จะให้แง่คิดอีกด้านหนึ่งสำหรับผู้ชมในวงเล็กๆ ที่อ่านบันทึกนี้ แต่เนื่องจากมันเป็นเพียงแง่คิด ผมไม่รับรองความถูกต้องนะครับ เพราะไม่มีความสามารถใดๆ ในการทำนายทายทักอนาคต แต่ถ้าถามถึงความเสี่ยง…พอตอบได้

มีโอกาสไหมที่จะเกิดแผ่นดินไหวขนาด 10 ริกเตอร์

ตอบ: ไม่รู้ครับ เท่าที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์…มันยังไม่เคยเกิดขึ้นมา

แผ่นดินไหวที่แรงที่สุด ประมาณ 9.5 ริกเตอร์ เกิดบนบกที่ชิลีในเดือนพฤษภาคม 2503 เกิดเพราะแผ่นเปลือกโลกนาซคามุดใต้แผ่นเปลือกโลกอเมริกาใต้ แล้วเกิดดีดขึ้นมา (มุดกันมานานๆ เกิดความเค้นที่รุนแรง เรียกว่า Megatrust จนแผ่นดินแตกหัก แล้วดีดขึ้น) เกิดที่ความลึกเพียง 33 กม. จึงรุนแรง

ในอดีต นักธรณีวิทยาศึกษาแผ่นเปลือกโลก ไม่พบว่ามีแผ่นเปลือกโลกมุดตัวอันไหน ที่น่ามีพลังงงานมากพอจะทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 10 ริกเตอร์ — อันนี้ ผมคิดว่ามีข้อโต้แย้งได้เหมือนกัน คือ (1) โลกวันนี้ไม่เหมือนกับโลกเมื่อวาน (2) แผ่นดินไหวไม่จำเป็นต้องเกิดจากแผ่นเปลือกโลกมุดตัวหรือเกยกันเท่านั้น (3) แผ่นดินไหวขนาดที่เล็กกว่า 10 ริกเตอร์ หากเกิดใกล้บริเวณที่มีคนอาศัยอยู่หนาแน่น สามารถสร้างความเสียหายได้มากกว่าครั้งที่เกิดรุนแรงแต่เกิดในบริเวณห่างไกล

อ่านต่อ »


อย่างนี้เมืองไทยไม่มี

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 17 April 2011 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 2994

ในสหรัฐมีหน่วยงานวิจัยหลายหลายรูปแบบ ของรัฐ ของเอกชน ของมหาวิทยาลัย วิจัยส่วนตัวตามความสนใจ

แต่พอเป็นเรื่องที่สำคัญต่อประเทศชาติแล้ว จะเป็นของรัฐครับ แต่รัฐไม่ยุ่ง นักการเมืองไม่ยุ่ง ระเบียบราชการก็ไม่ต้องมายุ่ง ปล่อยให้เป็นเรื่องของมืออาชีพที่ทำเพื่อชาติจริงๆ — อันนี้เป็นโครงสร้างที่ดีมาก เพราะจะให้คนไม่รู้เรื่อง และระเบียบที่ไม่ไว้ใจใครเลยเข้ามายุ่มย่ามได้อย่างไร

Mitre Corporation เป็นหน่วยงานวิจัยที่รับเงินทุนวิจัยจากรัฐ เขาบริหารผ่าน Board of Trustees ซึ่งมีขนาดใหญ่พอที่การล็อบบี้/block vote จะไม่มีผล บอร์ดของเขาไม่ใช่ผู้รู้ไปหมด ไม่ต้องเป็นเซเล็บผู้มีชื่อเสียง แต่เลือกสรรมาจากนักบริหารเทคโนโลยี (คนที่จะไม่ถูกความซับซ้อนของงานวิจัยหลอกต้มเอาง่ายๆ และรู้ว่าเป้าหมายคืออะไร ต้องเอื้ออะไรบ้างจึงจะเดินถึงเป้าหมายนั้น ถึงเป้าหมายแล้วจะทำอะไรต่อ)

The MITRE Corporation is a not-for-profit organization chartered to work in the public interest. As a national resource, we apply our expertise in systems engineering, information technology, operational concepts, and enterprise modernization to address our sponsors’ critical needs.

MITRE manages Federally Funded Research and Development Centers (FFRDCs): one for the Department of Defense (known as the DoD Command, Control, Communications and Intelligence FFRDC), one for the Federal Aviation Administration (the Center for Advanced Aviation System Development), one for the Internal Revenue Service and U.S. Department of Veterans Affairs (the Center for Enterprise Modernization), and one for the Department of Homeland Security (the Homeland Security Systems Engineering and Development Institute). MITRE also has its own independent research and development program that explores new technologies and new uses of technologies to solve our sponsors’ problems in the near-term and in the future.

อ่านต่อ »


คนเมืองแบบคนป่า คนป่าแบบคนเมือง

อ่าน: 5550

เมื่อวานนี้ เนื๊อยเหนื่อย เพื่อนของน้องชายชื่อคุณน้องและคุณหน่อยสองสามีภรรยาที่ไม่มีลูก ชวนไปดูที่มาครับ เป็นที่แถววังน้ำเขียวและปักธงชัย ผมน่ะไม่ได้คิดจะอยู่ในเมืองอยู่แล้ว ยังติดขัดอยู่แต่พ่อแม่ที่แก่เฒ่า แม้น้องๆ ก็ดูแลครอบครัวของตัวเองกันได้ทุกคน แต่ก็ต้องเตรียมที่ทางเผื่อไว้ให้เหมือนกัน

นัดกันออกจากบ้านตีห้าครึ่ง เฮอะ…อย่างนี้ก็แปลว่าไม่ได้นอน เพราะว่าคงจะตื่นไม่ทันนะซิ แล้วก็ไม่ได้นอนจริงๆ แต่ไม่เป็นไรเนื่องจากไม่ได้ขับรถเอง ขาไปรถไม่ติดเพราะยังเช้าอยู่ แวะกินข้าวเช้าแถวหมูสี แล้วก็ผ่านไปดูที่สองแปลงของเพื่อนน้องแถวเขาแผงม้า ซึ่งเคยวิจารณ์ที่แถวนี้เอาไว้แล้วว่าชาวบ้านถางจนโกร๋นไปหมด เมื่อไม่มีต้นไม้ใหญ่ ไม่มีร่มเงาบังดิน ดินจะเสื่อมและเก็บความชุ่มชื้นไม่ได้ อีกหน่อยอากาศคงจะไม่เย็น เหมือนแถวน้ำหนาวในปัจจุบันซึ่งไม่หนาวเหมือนในอดีตแล้ว โชคดีที่เขาซื้อไว้ตั้งแต่ราคายังถูกอยู่ ที่ดินแถวนี้ราคาเพี้ยนไปมากแล้ว จนกลายเป็นราคาที่ดินที่ตั้งไว้สำหรับไปทำรีสอร์ตอย่างเดียว แต่จะเป็นรีสอร์ตกันทุกที่ไปได้อย่างไร มีอาการตีหัวเข้าบ้าน คือพัฒนาไปนิดหน่อยแล้วขายทิ้งเอากำไรซะมากกว่า ความยั่งยืนเป็นปัญหามาก แหล่งน้ำพอมีเป็นพวกลำธารลำคลองที่ไหลมาจากภูเขา แต่พวกน้ำซับนี่ผมสงสัยครับ เพราะแถวนี้มีการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าหญ้ากันเยอะมาก อาจจะเป็นปัญหากับคุณภาพน้ำก็ได้

จากนั้นก็ไปอีกฝั่งของวังน้ำเขียว ไปเยี่ยมผู้ใหญ่บ้านซึ่งรู้จักชอบพอกันมานาน อยู่แถวสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช เธอเป็นคนตรงแบบที่ไม่กลัวอิทธิพลที่จะมาเบียดบังประโยชน์ของชาวบ้านด้วย ผู้ใหญ่บ้านขอให้สามีพาบุกป่าขึ้นเขาไปดูเส้นทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันใหม่ เป็นห้าเขา ห้าเขื่อน สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าธรรมชาติ บางส่วนก็ปลูกแต่ดูกลมกลืนดี มีเห็ดขึ้นในหน้าร้อนนี่แหละ (ยายฉิมไม่แห้วแน่) ยอดไม้สูงลิบ หินบนภูเขาเป็นหินตะกอนขนาดใหญ่ ชาวบ้านขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นมาหาของป่ากัน พอมีเสียงรถผ่านมา ก็ทำเนียนชมนกชมไม้ไปเรื่อย เมื่อเห็นว่าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ก็หาของป่ากันต่อไป

อ่านต่อ »


แก้ไขไม่ทันใจ

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 April 2011 เวลา 0:41 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3303

ผมคิดว่าเป็นเรื่องไม่ยากที่จะตำหนิการบรรเทาทุกข์ (ซึ่งมีทั้งความไม่ถูกต้องและความไม่ทันใจ) แต่ก็คิดว่าเป็นปฏิกริยาธรรมดาของอารมณ์ ที่ไม่อยากเห็นชาวบ้านเดือดร้อนนะครับ — การบ่นว่า ก็ไม่ได้ช่วยให้การบรรเทาทุกข์เร็วขึ้นมาเช่นกัน ได้แต่ระบายความคับข้องใจของตัวเอง โดยไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นมา

แต่ถึงจะบรรเทาทุกข์ได้อย่างถูกต้องตามข้อจำกัดของระบบราชการ และทำได้ทันการณ์ ภัยพิบัติก็ยังเกิดขึ้นอยู่ดี — ที่มีผลร้ายแรงก็เพราะว่าไม่ได้มีการเตรียมพร้อมเอาไว้อย่างที่ควร ทรัพยากรกระจัดกระจาย มีหลายหน่วยงานที่อยู่กันคนละกระทรวงทำงานประสานงากันอย่างมีเอกภาพ (คือต่างคนต่างทำ) เพราะต่างก็ต้องการ “ผลงาน” ซึ่งไม่มีผลงานใดหรอกครับ ถ้าชาวบ้านเดือดร้อน;

แนวคิดที่จะตั้งกระทรวงภัยพิบัตินั้น ดูเผินๆ ว่าเป็นความพยายามจะให้งานเป็นเอกภาพ มีการจัดสรรงบประมาณเพื่อการเตรียมพร้อม แต่มีจุดหนึ่งซึ่งแก้ไม่ได้ คือระเบียบราชการครับ; ระเบียบราชการไม่ไว้ใจใครเลย ทำให้การทำงานล่าช้า ไม่เหมาะกับการจัดการภัยพิบัติเลย

ไอน์สไตน์เคยกล่าวไว้ว่า We can’t solve problems by using the same kind of thinking we used when we created them. เราไม่สามารถจะแก้ปัญหาด้วยวิธีการคิดแบบเดียวกับเมื่อเราสร้างปัญหานั้นขึ้นมา ถ้าหากการจัดการภัยพิบัติ มีปัญหาเนื่องจากการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ข้ามโครงสร้างของระบบ ตลอดจนระเบียบราชการซึ่งไม่คล่องตัวเป็นอย่างยิ่ง ก็ยากจะเชื่อได้ว่าการตั้งกระทรวงภัยพิบัติ จะแก้ปัญหาอะไรได้

อ่านต่อ »


ตกหล่น

อ่าน: 3086

บันทึกนี้ไม่ได้บ่นอะไร…เชื่อเถิดครับ…

คำว่าตกหล่น พจนานุกรมแปลว่าขาดตกไปโดยไม่ตั้งใจ — ซึ่งถ้าตั้งใจ ก็ไม่ใช่ตกหล่นนะครับ ขอให้เข้าใจตรงกัน

ตั้งแต่น้ำท่วมปลายปีที่แล้ว เสนอให้บินถ่ายรูปทางอากาศทำแผนที่สถานการณ์แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น (อย่างน้อยก็ไม่มีข้อมูลสาธารณะใดๆ) การวางแผนนำความช่วยเหลือเข้าสู่พื้นที่ประสบภัย เป็นไปอย่างยากลำบาก เช่นไม่รู้ว่าจะเลือกใช้ถนนไหนดี ไม่ได้เตรียมเรือไว้ หรือไม่มีเครื่องเรือ ฯลฯ

ด้วยความเห็นอกเห็นใจเป็นพิเศษ Google ช่วยอัพเดตภาพถ่ายดาวเทียมใน Google Maps ให้ถี่ยิบ ฟรีด้วย ตอนนั่นแหละจึงเริ่มเห็นขอบเขตของน้ำท่วม แต่ว่ามันแพงมากครับ ทำไม่ได้บ่อย; สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศได้ทำเว็บพิเศษขึ้นมา ผมคิดว่าเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม แต่ว่าภาพถ่ายจากดาวเทียมที่ใช้นั้น เป็นภาพที่มีความละเอียดไม่สูงนัก (1 pixel ~ 100 เมตร) ถ้าจะมองภาพใหญ่ก็เหมาะดี แต่ถ้าจะใช้สำรวจความเสียหายของบ้านเป็นหลังๆ คงลำบากเพราะมันไม่ละเอียดพอ พื้นที่ขนาด 100 x 100 เมตร เห็นเป็นจุดเดียว จะขยายแค่ไหน ก็คือการเอาจุดเดียวมาขยาย จะไม่ได้รายละเอียดที่ต้องการ

เป็นเรื่องง่ายที่พอสถานการณ์ดีขึ้นบ้างแล้ว จะมานั่งชี้นิ้วใส่กัน ยิ่งเราไม่ได้เตรียมพร้อมเอาไว้ในระดับที่เกิดภัย (แม้แต่ญี่ปุ่นยังแย่เลยครับ) การทำงานจะมีแต่ข้อจำกัด ต้องประยุกต์เอาแบบลูกทุ่งที่หน้างาน คนสั่งก็สั่งไปเรื่อยๆ คนทำซี๊แหงแก๋ คนเชียร์ก็แนะโน่นนี่ สับสนไปหมด ที่หนักที่สุดคือไม่มีการประสานงานกัน…ไม่เขียนแล้ว เดี๋ยวยาวเกินไป :-)

อ่านต่อ »


ประปาภูเขา

อ่าน: 4424

อยู่บนเขา ยังพอหาน้ำได้จากลำธารหรือตาน้ำครับ เพียงแต่ว่าลำธาร ตาน้ำ หรือน้ำตก ไม่ได้มีอยู่ทั่วไป

ข้อมูลจากอาสาดุสิต แจ้งว่าระบบประปาภูเขาในพื้นที่กรุงชิง ถูกน้ำป่าพัดเสียหายหมด จะต้องทำใหม่ ได้รับบริจาคท่อพลาสติกจากมูลนิธิซิเมนต์ไทยมาจำนวนหนึ่ง คงจะพอทำประเดิมได้สักหมู่บ้านหนึ่ง

เดิมทีเดียวประปาภูเขา เริ่มต้นจากการลำเลียงน้ำผ่านท่อไม้ไผ่ผ่าครึ่ง ซึ่งจะต้องไหลจากที่สูงลงที่ต่ำ แม้หมู่บ้านจะตั้งอยู่ในที่ที่ไม่มีแหล่งน้ำ ก็ยังใช้น้ำจากที่สูงได้ พื้นที่ภูเขาไม่ได้เรียบสนิท ดังนั้นรางน้ำอาจจะต้องลอยอยู่เหนือพื้น ซึ่งน้ำหนักจะทำให้เกิดความเค้น ทำให้ไม้ไผ่แตกหักเสียหาย หรือถ้าเจอน้ำป่าเข้า ก็ต้องซ่อมแซม

ต่อมามีการใช้ท่อพลาสติกซึ่งสะดวกกว่าไม้ไผ่ เนื่องจากท่อพลาสติกเป็นท่อปิด รักษาแรงดันได้ ประปาภูเขาที่ใช้ท่อพลาสติก จึงตกท้องช้างได้ ตราบใดที่ปลายท่อที่แหล่งน้ำ(ฝาย) อยู่สูงกว่าปลายท่อที่จะใช้น้ำ(ที่หมู่บ้าน) ตามหลักการของกาลักน้ำ ประปาภูเขาที่ใช้ท่อพลาสติกในลักษณะนี้ ยังใช้หลักของแรงโน้มถ่วงเช่นเดิม เนื่องจากท่อพลาสติกในขนาดใหญ่และมีความแข็งแรงกว่าไม้ไผ่ ประปาภูเขาในลักษณะนี้ สามารถนำน้ำเป็นปริมาณมาก มาจากที่ไกลๆ เช่นมาจากภูเขาลูกอื่นก็ได้ — ถ้าจะให้ดี ก็ควรฝังท่อพลาสติกในดิน จะได้ไม่มีปัญหากับน้ำป่า แต่ผมเข้าใจว่าไม่มีใครทำกัน และยอมซ่อมแซมระบบหากเกิดน้ำป่าขึ้น

อ่านต่อ »


ชัยภูมิมังกรน้ำ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 April 2011 เวลา 0:00 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3591

มนุษย์ตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้น้ำ เนื่องจากน้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่น้ำก็นำมาซึ่งความเสียหายได้เช่นกัน

ตามตำราฮวงจุ้ย ชัยภูมิศาสตร์ หรือภูมิลักษณ์ มีทำเลชัยภูมิมังกรน้ำ กระแสน้ำที่โค้งไปโค้งมา ดีกว่ากระแสน้ำที่ไหลตรง — อันนี้ผมคาดเดาเอาเอง ว่าแผ่นดินจีน มีความลาดเอียงสูงมาก ไปเที่ยวมาหลายครั้ง เห็นแม่น้ำมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก ชะเอาตะกอนหินและดินมาจนขุ่นคลัก แรกที่เดียว เสียดายโอกาสปั่นไฟฟ้าพลังน้ำ แต่เมื่อพิจารณาดูตะกอนที่น้ำพามาด้วยแล้ว การสร้างเขื่อนปั่นไฟฟ้าคงแก้ปัญหาตะกอนทับถมได้ลำบากมาก ตะกอนมีมากจนถึงขนาดที่ชาวบ้านทำเหมืองโดยกั้นฝายไว้ครึ่งแม่น้ำ ลดความเร็วของน้ำลงให้ตะกอนมานอนก้นอยู่หน้าฝาย แล้วเค้าก็ไปตัดเอาทรายและหินมาใช้ก่อสร้างได้ ภูมิประเทศ ที่น้ำโค้งไปโค้งมา จะลดความเร็วในการไหลของกระแสน้ำลง ทำให้สามารถนำน้ามาใช้ได้ง่ายกว่ากระแสน้ำที่ไหลตรง

ในกรณีที่น้ำท่วมหนักนั้น เรากลับต้องการให้น้ำระบายออกจากพื้นที่โดยเร็วที่สุด อะไรที่ขวางทางน้ำอยู่ เช่นผักตบชวา ต้องรีบเอาออกครับ (แม้ว่างบกำจัดผักตบชวาดูเหมือนจะไม่เกี่ยวกับแก้ไขน้ำท่วม)

อ่านต่อ »



Main: 0.090020179748535 sec
Sidebar: 0.21317100524902 sec