การสื่อสารฉุกเฉิน (2)

อ่าน: 3219

เขียนต่อจากตอน 1 สำหรับสถานการณ์อุทกภัยทางใต้นะครับ

มันไม่มีประโยชน์ที่จะบอกว่าการสื่อสารฉุกเฉินเตรียมเอาไว้นั้นเป็นอย่างไร เวิร์คหรือไม่เวิร์คก็เห็นๆ กันอยู่ แล้วมันก็ไม่มีประโยชน์ที่จะบอกว่าเห็นไหมบอกแล้ว ภัยพิบัติเกิดขึ้นแล้วโดยเราไม่พร้อม

ข้อเท็จจริงอันโหดร้ายก็คือ

  1. การสื่อสารถูกตัดขาด การคมนาคมก็ถูกตัดขาด
  2. ผู้ประสบภัยอยู่กันกระจัดกระจาย ถึงรวมกลุ่มกันได้ ก็ติดต่อขอความช่วยเหลือไม่ได้
  3. ผู้ประสบภัยอยู่ในพื้นที่ก็ช่วยตัวเองไม่ได้ อพยพออกมาก็ไม่มีที่พักพิงชั่วคราว
  4. เมื่อข้อมูลหลั่งไหลออกมา อาจจะแปลกใจในความย่อยยับ
  5. ทั้งหมดนี้ ไม่ใช่เพิ่งจะมาเป็น แต่เป็นมานานหลายรัฐบาลแล้ว

หลักการจัดการภัยพิบัติ มีอยู่ง่ายๆ ว่า Hope for the best, prepare for the worst ญี่ปุ่นมีแผ่นดินไหวระดับ 6-7 ริกเตอร์อยู่บ่อยๆ เขาเตรียมการสำหรับแผ่นดินไหวขนาด 8 ริกเตอร์ แต่ไหวจริงระดับ 9 ริกเตอร์ ดังนั้นจึงเป็นระดับที่เตรียมการไว้ไม่พอ

อ่านต่อ »


ความไม่รู้เป็นภัยอันยิ่งยวด

อ่าน: 3284

เวลาเราพูดถึงการจัดการภัยพิบัติ ก็มักจะเข้าใจไขว้เขวไปถึงการบรรเทาทุกข์ ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งในกระบวนการจัดการภัยพิบัติเท่านั้น

มนุษย์กระจ้อยร่อย ไม่สามารถต่อกรกับภัยขนาดใหญ่เช่นภัยธรรมชาติได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าควรจะปล่อยไปตามยถากรรม — จะอ้างว่าอะไรจะเกิดก็เกิด เหมือนเป็นผู้สูงส่งที่ปล่อยวางได้หมด ก็โอเคนะครับ ส่วนจะเป็นผู้สูงส่งของจริงหรือไม่ ตัวท่านผู้กล่าวคำนี้ รู้เอง

ผมไม่ใช่ผู้สูงส่ง ยังไม่หลุดพ้น ไม่เคลมอะไรทั้งนั้น และยังมีคนที่ห่วงใยอยู่พอสมควร แต่ผมพอมีเบื้องลึกของการจัดการภัยพิบัติเป็นกรณีศึกษาบ้าง การจัดการภัยพิบัติแบ่งคร่าวๆ ได้เป็น 4 ช่วง

ก่อนเกิดภัย

ช่วงก่อนเกิดภัย อาจจะเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด จำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องเข้าใจความเสี่ยงของตัวเอง *ล่วงหน้า* ในยามสงบ เตรียมทางหนีทีไล่เอาไว้ เตรียมพื้นที่ปลอดภัย ฝึกซ้อมอย่างจริงจัง เมื่อเกิดภัยชึ้นแล้ว จะหวังให้ใครมาบอกว่าจะต้องทำอะไรนั้น ไม่เวิร์คหรอกครับ คำแนะนำที่ประกาศออกมาผ่านสื่อ จะเหมาะกับทุกพื้นที่ได้อย่างไร ในเมื่อแต่ละพื้นที่นั้นไม่เหมือนกันเลย แล้วใครจะมารู้ทางหนีทีไล่ดีกว่าคนในพื้นที่

อ่านต่อ »


ช่วย…ไม่ช่วย…ช่วย…ไม่ช่วย

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 1 April 2011 เวลา 0:44 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3692

วันนี้ ตื่นเช้ามาด้วยความสดชื่น แต่งเสื้อยืดกางเกงยีนส์กะจะไปช่วยอาสาดุสิต ซึ่งเปิดเต้นท์รับบริจาคช่วยผู้ประสบอุทกภัย ที่โรงแรมดุสิตธานีเป็นวันแรก (ยอดบริจาคที่เต้นท์วันแรก 102,453.50 บาท)… ปรากฏว่างานเข้าวุ่นวาย

ตอนเช้ามีงานของมูลนิธิอีกอันหนึ่งที่ไม่รู้ตัวมาก่อน คือมีการประชุม “ภัยพิบัติญี่ปุ่น อนาคตของไทย” ที่โรงพยาบาลภูมิพล เมื่อคืนก็ประสานให้เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิไปช่วย เผอิญว่าเพื่อนของเจ้าหน้าที่มูลนิธิฆ่าตัวตาย บ้านอยู่ต่างจังหวัด ภรรยาทำอะไรไม่ถูก เขาจึงต้องไปช่วยเรื่องขั้นตอนของทางราชการก่อน จะเรียกว่าเป็นภัยพิบัติในกำหนดการก็ได้ จากสิบโมง ดูเวลาอีกทีบ่ายโมงกว่าแล้ว ตอนบ่ายสองโมง ผมมีประชุมอีกอันหนึ่ง ซึ่งจับพลัดจับผลูไปเป็นกรรมการเข้า (ไม่รู้ว่าใครเสนอชื่อเข้าไป แต่ผมก็ไม่ได้ปฏิเสธเพราะคิดว่าช่วยคิดช่วยกวนได้) เลยต้องไปประชุมก่อน หวังว่าจะเลิกเร็วแล้วค่อยย้อนไปดุสิตธานี แต่กว่าจะเลิกประชุมก็ค่ำแล้ว ซินเดอร์เรลโล่หมดโควต้าของเวลา เนื่องจากไม่ชอบขับรถกลางคืนเป็นอย่างยิ่ง ต้องตรงกลับบ้าน

ในบรรดาผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับภัยพิบัติ เป็นที่รู้กันว่าการระดมความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาทุกข์ของภัยพิบัตินั้น เป็นภัยพิบัติในตัวของมันเองอีกอันหนึ่ง เพราะเต็มไปด้วยความอลหม่าน ต่างคนต่างช่วย ต่างคนต่างทำเนื่องจากความเร่งด่วนของสถานการณ์ และมักจะเต็มไปด้วยความไม่รู้ การไม่ประสานกัน ซ้ำซ้อน ยุ่งเหยิง

อ่านต่อ »



Main: 0.37207508087158 sec
Sidebar: 1.3588228225708 sec