เตากระป๋องแบบ down draft gasifier

อ่าน: 6803

เตาแบบนี้ก็ง่ายดีครับ ไม่ต้องเชื่อมด้วย เสียงบรรยายอู้อี้ไปหน่อย ดูแล้วเข้าใจดี แต่ก็ไม่รู้จะหากระป๋องขนาดเหมาะได้หรือเปล่า

อ่านต่อ »


ทดลอง gasifier กระป๋อง

อ่าน: 5948

จากบันทึก [แบบสำหรับสร้างเตา Gasification แบบ Updraft] อ.ทวิชให้ความเห็นว่า

…แต่ว่าเตานี้มี secondary air มาช่วยลด CO ลง (CO เป็นสารพิษในการเผาไหม้ บางทีมีมากบางทีมีน้อย และยังทำให้เตามีปสภ. ต่ำ ถ้าเอา 2nd air เข้ามาทำให้เป็น CO_2 ก็จะได้สองต่อคือ ลดมลพิษ และ เพิ่ม ปสภ.การเผาไหม้ครับ)

กะกะดูด้วยตา ผมยังเห็นว่า 2nd air อาจมากเกินจำเป็น ซึ่งจะมีข้อเสียคือ ทำให้เปลวไฟมีอุณหภูมิต่ำ ทำให้ลดปสภ.การหุงต้ม (ถ้านี่จะเอาไปใช้ในการหุงต้ม)…

เรื่องนี้น่าคิดครับ ถ้า secondary air มากเกินไป ก็จะเป็นอย่าง อ.ทวิชว่าไว้ ดังนั้นผมก็จะลองดัดแปลงแบบของเตาเสียใหม่ ยังไม่รู้เหมือนกันว่าจะเป็นอย่างไรนะครับ

กระบอกใน (burn chamber) ใช้กระป๋องน้ำอัดลมเพื่อให้ผิวกระป๋องนำความร้อนจากภายใน ออกมาอุ่นอากาศที่อยู่ระหว่างผิวของกระป๋องทั้งสอง กระป๋องในเจาะรูขนาด 4 มม.รอบกระป๋องตามแบบเก่า

ส่วนกระป๋องนอกเป็นดินเหนียว เผอิญได้กระป๋องขนาดพอเหมาะ แต่ของข้างในยังไม่หมด ก็เลยเอากระดาษห่อ แล้วเอาดินเหนียวมาพอก จะได้เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดพอดี จากนั้นก็เอาดอกส่วนขนาด 13 มม. แทงทะลุดินเหนียว

อ่านต่อ »


ผนังที่เป็นฉนวน

อ่าน: 6217

เมื่อตอนเด็กๆ จำได้ว่าเคยมีการระดมทำผ้าห่ม โดยการเอากระดาษหนังสือพิมพ์ ทาแป้งเปียก มาต่อกัน เย็บขอบเป็นผืนใหญ่

หลักการก็คืออากาศ(นิ่ง) ระหว่างชั้นของหนังสือพิมพ์ กลายเป็นฉนวนความร้อน ป้องกันความเย็นจากภายนอก และรักษาความอบอุ่นของร่างกายไว้ภายใน แต่ผ้าห่มแบบนี้ ไม่ได้รับความนิยม เนื่องจากหมึกพิมพ์เลอะเทอะเสื้อผ้า ซักออกยาก แถมมีตะกั่วผสมอยู่ในหมึกพิมพ์อีกด้วย ในสมัยนั้น ผมก็ไม่รู้หรอกนะครับว่า เด็กในเมืองที่ครูสั่งให้หากระดาษหนังสือพิมพ์(เก่าๆ)ทำกันยังไง เพราะหนังสือพิมพ์ก็ไม่ได้มีมากมายเหมือนปัจจุบัน

แต่ผมยังคิดว่าหลักการของฉนวนอากาศ ยังใช้ได้อยู่ โดยแทนที่จะเอามาห่ม ก็ใช้แผ่นกระดาษปะฝาผนัง เพิ่มค่า R ให้ผนัง ซึ่งนอกจะป้องกันความเย็นจากนอกบ้าน เก็บรักษาความอบอุ่นไว้ในบ้านแล้ว ก็ยังกันลมเย็นจากรอยแยกตามช่องผนังไม้ (นึกถึงบ้านชาวเขา ซึ่งเป็นไม้ขัดกัน ฯลฯ) เวลาใช้กระดาษเป็นฉนวนติดผนังแล้ว ก็สามารถลดการสัมผัสผิวหนังลงไปได้ ช่วยป้องกันความหนาวเย็นแก่ผู้สูงอายุ ซึ่งอาจจะลงไปผิงไฟไม่ไหว

ตามโรงเรียน สามารถใช้กระดาษหลายชั้นปิดผนัง (ระวังน้ำหนัก) ปิดทับหน้าต่างกระจกซึ่งเป็นจุดที่ห้องสูญเสียความร้อนมาก

  • Plastic sheeting ฝรั่งใช้พลาสสิกแผ่นทำแบบเดียวกัน
  • Cold Climate Emergency Shelter Systems ที่พักฉุกเฉินสำหรับอากาศหนาว เป็นเหมือนเต้นท์แบบครึ่งทรงกระบอก ใช้ท่อพีวีซีขนาดเล็ก มางอให้โค้งเป็นครึ่งวงกลมใช้เป็นโครงหลังคา (งอได้ง่ายๆ) แล้วเอาผ้าเต้นท์ ไยไฟเบอร์ หรืออย่างกรณีไม่มีงบสร้างจริงๆ ก็ใช้กระดาษเก่าหลายชั้นคลุมเป็นหลังคาแทนได้

อ่านต่อ »


เที่ยวนานๆ ปีละครั้ง

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 January 2011 เวลา 0:26 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 2916

เรื่องนี้ส่วนตั๊ว…ส่วนตัวครับ เมื่อสองปีก่อน พาพ่อกับแม่ไปฉลองครบรอบแต่งงานห้าสิบปีที่หัวหิน ปีที่แล้วไปเที่ยวน่าน ปีนี้ไปดอยอ่างขาง ก่อนหน้านั้นเที่ยวต่างประเทศกันหลายรอบแล้ว จนเมื่อสักห้าหกปีก่อน ผมเริ่มพาเที่ยวเมืองไทย เลาะริมโขงตั้งแต่อุบลยันหนองคาย แล้วมีตามเก็บรอบในอีกสองรอบ ซึ่งดีไม่แพ้กันเลย… แต่ด้วยสุขภาพของพ่อ ปีนี้ลดระยะเวลาเหลือ 4 วันครับ

แล้วทำไมต้องฉลอง ในเมื่อทุกวัน ดีอยู่แล้ว? ถ้าทำอะไรให้ได้ ก็ควรรีบทำให้เต็มที่ พ่อแม่อายุมากแล้ว อยู่บ้านทุกวัน มีเบื่อบ้างเป็นธรรมดานะครับ ไปเที่ยวไม่ลำบาก(เกินไป) มีพาหนะใช้ มีคนขับให้ด้วย มีที่หมาย โปรแกรมสอดแทรกเปลี่ยนแปลงได้ตามใจ เหนื่อยก็พัก

ที่เชียงใหม่นั้น เที่ยวมาเยอะแล้ว จึงเก็บเอาบางส่วนที่อยากดูเป็นพิเศษ… ยกเว้นวัดสวนดอก ซึ่งเมื่ิอห้าสิบปีที่แล้ว พ่อกับแม่เคยไปขอน้องผมมาจากพระเจ้าเก้าตื้อ เที่ยวนี้จึงตั้งใจไปกราบอีกครั้งหนึ่งเหมือนทุกครั้งที่มาเชียงใหม่ ส่วนลำพูนนั้น ตั้งใจจะไปดูเตาให้อาราม ซึ่งเดิมก็อยู่ในโปรแกรม แต่ว่าคุณพ่อเหนื่อยเกินไป ก็เลยต้องยกเลิกครับ ลำปางก็ยกเลิกเหมือนกัน

ส่วนรูปก็เก็บมาเรื่อยเปื่อย คงไม่ครบทุกที่ที่ไป เอารูปพ่อแม่ออกหมดตามคำขอแล้ว ในเมื่อป้าจุ๋มอยากดู ก็จัดให้ได้ครับ

อ่านต่อ »


จะเอาอะไรไปเลี้ยงโลก

อ่าน: 4112

เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2554 โลกมีประชากรกว่า 6,890 ล้านคน

ด้วยอัตราการเพิ่มของประชากร จะโตเป็นเจ็ดพันล้านคนในปี 2555 และเป็นเก้าพันล้านคนในปี 2587… เฮ้อ ตอนนั้นถ้าผมยังอยู่ ก็คงแก่หง่อมไม่รู้เรื่องแล้ว ดังนั้น มีอะไรจะพูดก็ควรรีบพูดซะก่อนจะเลอะเลือน

น้ำจืด

อากาศแปรปรวน อากาศร้อนตับแตกสล้บหนาวเย็น ฝนแล้งสลับท่วมหนัก เอาแน่เอานอนไม่ได้ เมืองไทยไม่มีภูเขาสูงที่จะคอยดักจับเมฆ ความชื้น และหิมะ พูดง่ายๆ ก็คือเราพึ่งน้ำฝนอย่างเดียวครับ แต่พอฝนตกหนัก เรากลับเร่งระบายปล่อยทิ้งไปเฉยๆ

น้ำท่วมเกิดมาจากปริมาณน้ำผิวดินมีมากเกินไป เมื่อฝนตกในที่สูง เราเก็บกักน้ำจืดเอาไว้ไม่ได้ สร้างเขื่อนขนาดใหญ่ก็ไม่ได้ ที่ดินมีราคาแพง จะเอาไปทำแก้มลิงก็ทำไม่ไหว ที่สำคัญคือต้นไม้ตามภูเขาก็ตัดเสียโกร๋นหมด เมื่อไม่มีต้นไม้ไว้ชะลอน้ำ น้ำก็ไหลลงมาที่ต่ำอย่างรวดเร็ว

จริงอยู่ที่การชะลอน้ำก็แค่ถ่วงเวลาไว้ ไม่ได้ทำให้ปริมาณน้ำมากมายหายไป แต่ถ้าน้ำไหลช้าลง ดินมีโอกาสดูดซึมน้ำไว้มากขึ้นนะครับ

เมื่อฝนตกลงมา ชะลอน้ำหลากเอาไว้ เอาน้ำส่วนนี้ไปเติม [น้ำใต้ดิน] น้ำใต้ดินในที่สูง จะกลายเป็นน้ำผุด เป็นต้นน้ำลำธาร ที่ค่อยๆ ปล่อยลงมา (ค่อนข้าง) สม่ำเสมอตลอดทั้งปี ทำให้หน้าฝนไม่มีน้ำหลากมากนัก ส่วนหน้าแล้งยังมีน้ำอยู่

ผู้กำหนดนโยบายอาศัยอยู่ตามเมืองใหญ่ ใช้น้ำประปากันทั้งนั้น อาจจะไม่ค่อยรู้สึกถึงความสำคัญของน้ำใต้ดิน แต่ประปาชนบทจำนวนมาก ต้องพึ่งน้ำบาดาล เวลาเราใช้น้ำบาดาลกันเยอะๆ คิดจะเติมแหล่งน้ำใต้ดินกันบ้างหรือเปล่าครับ

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล

อ่านต่อ »


น้ำตาลลองกอง ได้หรือไม่

อ่าน: 3964

เมื่อปลายปี 2549 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ประกาศงานวิจัยเรื่องน้ำตาลลำไย [ผลไม้ราคาตกต่ำ (ลำไย)] เป็นการแปรรูปลำไยซึ่งขณะนั้นมีปริมาณล้นตลาด ไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงขึ้น

มีอีเมลแจ้งข่าวมาเมื่อคืน ว่าตอนนี้การฟื้นฟูจากอุทกภัยและวาตภัยทางใต้ยังไม่เสร็จสิ้น ชาวบ้านชายฝั่งที่ปัตตานีทำประมงไม่ได้มาสองเดือนกว่าแล้ว เพราะว่าเรือเสียหาย เมื่อไม่มีเรือ ก็ไม่มีรายได้มาซ่อมแซมบ้านซึ่งเสียหายเหมือนกัน ฝนก็ยังตกอยู่ ความช่วยเหลือก็เข้าไม่ถึง มีชาวบ้านที่ไม่ได้เป็นหัวคะแนนเป็นจำนวนมาก ตกสำรวจได้เป็นเอกฉันท์ซะทุกครั้ง ชาวบ้านเครียดจัดเพราะไม่มีอะไรทำ ไม่มีความหวัง ไม่มีอนาคต แล้วก็อาจจะเกิดเป็นเงื่อนไขแบบที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นมา

ที่ปัตตานี มีการประกันราคาลองกอง โดยมีราคาประกัน เกรดเอ 24 บาท เกรดบี 16 บาท และเกรดซี 8 บาท/กก. ข่าวไม่ได้พูดถึงค่าเก็บซึ่งอยู่ที่ 3 บาท/กก. แบบนี้ชาวสวนที่มีลองกองเกรดต่ำก็คงไม่ได้อะไรเท่าไหร่หรอกนะครับ ตอนนี้ไม่ใช่หน้าลองกองเสียด้วยซิ

แต่ถึงอย่างไรก็ยังน่าคิด ว่าถ้าหากทดลองนำลองกองเกรดต่ำมา ปอกเปลือกลองกอง(เพราะมียาง) แล้วเอามาปั่นคั้นน้ำหวาน(ด้วยเครื่องปั่นน้ำผลไม้) กรองกากออก(กากผสมน้ำแล้วคั้นเอาความหวานได้อีก) ไล่น้ำ ตกตะกอน ด้วย yield สัก 50% — ตัวเลขสมมุตินะครับ — ลองกอง 1 กก. ได้น้ำตาลลองกอง 0.5 กก. ดังนั้นน้ำตาลลองกอง จะมีต้นทุน 16 บาท/กก. ในขณะที่น้ำตาลขาดตลาดและมีราคาแพงกว่านั้น กำไรที่อาจจะได้มา ก็เอามาแบ่งให้ชาวบ้านอีกเด้งหนึ่ง นอกเหนือจากค่าแรงที่ได้ไปก่อน

อ่านต่อ »


แบบสำหรับสร้างเตา Gasification แบบ Updraft

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 January 2011 เวลา 4:50 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 6814

ไม่อยากเรียกว่าเป็นสูตรเลยนะครับ แต่เตา gasification หากปรับส่วนผสมของอากาศไม่ดี ก็จะเกิดการเผาใหม้ที่ไม่สมบูรณ์ มีควัน มีเขม่าได้ [ไต้ไม่มีควัน] [Biochar ปรับปรุงดินและลดโลกร้อน] [ก๊าซเชื้อเพลิงจากเศษไม้ ตอน 1-4]

อย่างไรก็ตาม ด้วยกระบวนการ gasification เหลือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศเพียง 70 ppm จากปัจจุบัน 388.15 ppm — แต่มันมีเงื่อนไขสำคัญว่า (1) ใช้ไม้แห้งเป็นเชื้อเพลิง (2) ต้องมีพื้นที่ให้อากาศผสมกับก๊าซที่ออกมาจากกระบวนการ gasification และมีพื้นที่ให้เผาไหม้อย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ทีี่สมบูรณ์

เรื่องนี้ ว่ากันจริงๆ น่าจะขึ้นกับชนิดของไม้ที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงด้วยนะครับ ถ้าเป็นไม้เนื้อแข็งก็ผสมอากาศด้วยสัดส่วนหนึ่ง ถ้าไม้เนื้ออ่อนก็อีกสัดส่วนหนึ่ง

แต่ถ้าหากจะทำเพื่อทดลอง อาจจะยุ่งยากที่จะทำลิ้นปรับ secondary air ที่วิ่งระหว่างกระป๋องทั้งสองชั้น ดังนั้นก็เอาอย่างนี้ล่ะครับ

1. กระป๋องนอกพร้อมฝาปิด ใหญ่กว่าประป๋องในซึ่งไม่ต้องมีฝาปิด ประมาณ 1 ซม.
2. เมื่อเอากระป๋องใน ใส่ไปในกระป๋องนอก กระป๋องในจะเตี้ยกว่าประมาณ 1 ซม.
3. ถ้าเตี้ยเกินไป หากระป๋องในใหม่ ถ้าสูงเกินไป ตัดออกจนได้ระดับ
4. ฝาของกระป๋องนอก เจาะรูกลมขนาดครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางของกระป๋องใน
5. ที่ขอบล่างของกระป๋องนอก เจาะรูขนาด 1.2-1.5 ซม. (ขนาด d ซม.) แล้วแต่ว่ามีดอกสว่านขนาดไหน
6. สำหรับกระป๋องใน ใช้ดอกส่วนขนาด 4 มม. เจาะที่ระยะ d+½เส้นผ่าศูนย์กลางของกระป๋องนอก เจาะรูให้เยอะเท่าที่จะเยอะได้ ให้รอบกระป๋อง
7. ใส่เศษไม้แห้ง จนห่างขอบบนของกระป๋องในเป็นระยะ d+½เส้นผ่าศูนย์กลางของกระป๋องนอก
8. จุดไฟจากด้านบน โดยใช้น้ำมันหรือแอลกอฮอล์สัก 1-2 ช้อนชา หรือว่าเทียนเล่มจิ๋ว พอช่วยให้เชื้อเพลิงไม้ติดไฟ
9. พอไฟติดแล้ว ปิดฝา
10. (ถ้าสองกระป๋องเลื่อนไปมา ไม่อยู่ตรงกลาง เจาะรูร้อยน๊อตที่ก้นกระป๋องได้)

อ่านต่อ »


ครอบครัวทอกแทก

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 January 2011 เวลา 20:09 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3825

ทอกแทกเป็นหมาข้างถนนที่มาอาศัยอยู่ข้างบ้านผม บ้านผมมีถนนด้านนอกสามด้าน มีหมู่หมาหลายแก๊งเฝ้าอยู่ด้านนอก

ทอกแทกเปลี่ยนมาหลายชื่อแล้ว รวมทั้งชื่อขี้กลัวกว่าด้วย คือมีตัวหนึ่งชื่อขี้กลัว แต่ทอกแทกขี้กลัวกว่า มีสภาพสกปรก หนังเกรียน กระดำกระด่าง เคลื่อนไหวช้ามาก พูดรู้เรื่องแต่กลัวไปหมด ไม่เคยถ่ายรูปไว้ได้เลย

ทอกแทกมีลูกมาหลายครอกแล้ว ตายไม่เหลือเลย ครอกล่าสุดนี้ ออกมาสามตัว เพิ่งตายไปตัวหนึ่ง เข้าใจว่าเพราะโดนพิษคางคกทำให้อักเสบแล้วน้ำท่วมปอดตายในช่วงปีใหม่ ช่วงที่คลอดออกมาใหม่ๆ ทอกแทกซ่อนลูกๆ ไว้ในพงหญ้า ด้วยความกลัวหมาอื่นที่เลี้ยงอยู่นอกบ้าน ซึ่งเป็นหมาฝูงใหญ่มาก แย่งตำแหน่งหมาเจ้าถิ่นแทนกลุ่มเจ้าถิ่นเดิมไปแล้ว

เวลาให้อาหารทอกแทกโดนกัดอยู่เนืองๆ มีเด็กในบ้านคอยเลี้ยงแยกจากหมาเจ้าถิ่นอื่นๆ อันมีโสรยาเป็นหัวหน้าแก๊ง ลูกหมาโตประมาณคืบกว่า กำลังน่ารัก แม้บางทีผมเปิดประตูบ้าน ลูกหมาจะเดินตามหลุดเข้ามาในบ้าน เจ้าตัวที่เลี้ยงในบ้านก็ไม่ว่าอะไร

ตั้งแต่บ่ายเมื่อวาน ทอกแทกกับลูกๆ หายตัวไป ก็เกิดอาการ เ ห ว อ กันทั้งบ้าน เพราะว่าห่างไปจากบ้านสักครึ่งกิโล มีงานก่อสร้าง ซึ่งว่าที่ผู้ใหญ่บ้านมาเตือนว่าให้ระวังหมาที่เลี้ยงนอกบ้านเอาไว้ มีคนงานมาตีหมาเอาไปย่างกิน หมาแถวริมทะเลสาปหายไปหลายตัวแล้ว

อ่านต่อ »


หากเดินทางไปซื้อของไม่ได้…

อ่าน: 4106

ดีทรอยต์ เมืองใหญ่ที่สุดของมลรัฐมิชิแกน เป็นสัญลักษณ์ของอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐ เกิดมีข่าวประหลาดว่าเมืองดีทรอยต์ทั้งเมือง ไม่มีร้านขายอาหารสด/ร้านขายของชำ/ซูเปอร์มาร์เก็ตมาสามปีแล้ว!!! ทั้งนี้ตั้งแต่อุตสาหกรรมรถยนต์เกิดตกต่ำ ตามด้วยวิกฤตทางการเงินครั้งร้ายแรง กิจการขนาดใหญ่ล้มละลายกันแทบทั้งหมด คนตกงาน

Detroit lost its last chain grocery store three years ago when the last two Farmer Jack’s groceries closed. This seems incredible—a city of nearly 1 million people without a supermarket—but it’s true. No A&P. No Meijer’s. Not even a Wal-Mart. Any Detroiters who want fresh store-bought fruits and vegetables or wrapped meats have to get in their car and drive to the suburbs. That is, if they have a car.

In this food desert, some Detroiters have taken to growing their own produce. This has received a great deal of good press from advocates of local food movements, opponents of factory farming, back-to-the-land activists and others who see urban and small-scale farming as the future of American agriculture.

ใครจะซื้ออาหารสด ก็ต้องขับรถไปเมืองใกล้ๆ; ชาวเมืองทางฝั่งใต้ (จน) ต้องหันมาปลูกพืชกินเอง ส่วนทางด้านเหนือ (รวย) ก็เรียกร้องซูเปอร์สโตร์

ทีนี้ลองคิดถึงเมืองไทยนะครับ จากการศึกษาขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) เมื่อหลายปีก่อน ร้อยละ 25 ของราคาสินค้าไทย เป็นค่าโลจิสติกส์! ในขณะที่สินค้าจากประเทศพัฒนาแล้ว มีสัดส่วนแค่ครึ่งเดียวหรือน้อยกว่าไทย… ถ้าขืนยังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ ราคาสินค้าซึ่งถูกกำหนดโดยราคาตลาด ขายแพงนักก็ส่งออกไม่ได้ ส่วนค่าขนส่งก็ลดไม่ได้เหมือนกัน อย่างนี้อุตสาหกรรมต้นน้ำก็โดนกดราคา เหมือนกับที่เป็นมาน่ะซิครับ

อ่านต่อ »


บ่ายหนึ่งกับ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น

อ่าน: 4481

บ่ายวันนี้ @iwhale เชิญ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น มาใน closed group meeting เพื่อมาบรรยายเกี่ยวกับภูมิอวกาศ (Space Weather) และข้อสังเกตเกี่ยวกับผลกระทบต่อโลก

ผมเห็นว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้ฟังคำอธิบาย แม้ว่าจะเห็นข้อมูลบางส่วนแล้ว ก็เลยชวนผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือสองท่านไปฟังด้วย คือ @htk999 และ @romhiranpruk ไปเริ่มศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ต่อจากความสนใจส่วนตัวของ ดร.ก้องภพ

การบรรยายครั้งนี้ (ผม)ไม่ได้ถือเรื่องการทำนายเป็นสาระสำคัญ แต่พบว่าการตรวจวัดหลายอย่างที่เข้ามาจากอวกาศ ไกลกว่า magnetosphere ของโลก มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงบางอย่างบนโลก เช่นแผ่นดินไหว ลมฟ้าอากาศแปรปรวน ฯลฯ

เพื่อทดสอบสมมุติฐาน จึงมีการระบุวันให้สังเกต ซึ่งบางส่วนของผู้ที่ได้รับข้อมูล อาจเกิดการตีความว่าเป็นการทำนายภัยพิบัติ ซึ่งโดยนิยามแล้วไม่ใช่นะครับเนื่องจากไม่ได้ระบุสถานที่และเวลา — อย่างไรก็ตาม ที่ระบุวันล่วงหน้ามาก็ถูกมากกว่าผิด เมื่อศึกษาย้อนกลับไปในอดีต พบ correlation อย่างมีนัยสำคัญเหมือนกัน

อ่านต่อ »



Main: 0.048403978347778 sec
Sidebar: 0.14676690101624 sec