เปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 April 2012 เวลา 12:04 ในหมวดหมู่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม #
อ่าน: 5475

ในงานเฮเก้า หมอจอมป่วนพูดถึงการจัดการขยะของสวนป่า ให้ความรู้เรื่องเปลี่ยนเศษใบไม้และขยะอินทรีย์ไปหมักเป็นปุ๋ยหมัก ซึ่งหมอทำเรื่องนี้มานาน ได้รับรางวัลและการยกย่องต่างๆ มากมาย รวมทั้งได้ทิ้ง powerpoint file ที่ใช้อบรมทั่วประเทศไว้กับครูบาทั้งชุด ผมคิดว่าครูบาคงทำไปตามนั้นละครับ เนื่องจากมีเศษไม้เศษใบไม้เยอะแยะเลย ขณะนี้สวนป่าใช้วิธีฝังกลบในที่ต่ำ (เลยโรงอัดอิฐไปอีก) บ่อหมักปุ๋ยต้องแก้ไขนิดหน่อยตามคำแนะนำของหมอ หมอแนะให้เอา biomass ไปทำ gasification ด้วย

ส่วน(อดีต)นายกเทศมนตรีท่านชอบไอเดียการเปลี่ยนขยะพลาสติกเป็นน้ำมัน บันทึกนี้เอาตัวอย่างของกระบวนการอย่างหลังมาให้ดูครับ เป็นคลิปที่มหาวิทยาลัยสหประชาชาติ (UNU) ผลิตขึ้นเผยแพร่

อ่านต่อ »


ร่อนแปลงปลูก

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 February 2012 เวลา 14:36 ในหมวดหมู่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม #
อ่าน: 3005

หากว่ารากพืชจะทำงานได้ ปลายรากก็ต้องชอนไชไปตามดินได้ โดยทั่วไปเราจะพรวนดินหรือใช้เครื่องตีดิน

แต่ในกรณีที่ดินแข็งมากจนเป็นดินดาน จนบางทีแม้จะขุดด้วยเครื่องมือก็ยังไม่ไหว แล้วรากพืชจะไชดินไหวได้อย่างไรครับ น้ำใต้ดินที่จะช่วยทำให้ดินอ่อนเพื่อที่ปลายรากพืชจะทำงานตามธรรมชาติได้ ก็ไม่สามารถจะขึ้นมาสู่บริเวณของปลายรากพืชได้ จึงต้องพึ่งการให้น้ำทางผิวดินอย่างเดียว ซึ่งการให้น้ำทางผิวดินนี้ น้ำส่วนหนึ่งจะระเหยไปในอากาศ และมีน้ำจำนวณน้อยที่ปลายรากพืชนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรงครับ

เช่นเดียวกับการแสวงหาคำตอบต่างๆ จะไม่มีคำตอบเดียวที่ใช้ได้ครอบจักรวาล การปลูกพืชก็เช่นกัน ไม่จำเป็นต้องเตรียมแปลงปลูกอยู่ในระดับผิวดินหรอกครับ

คลิปอันนี้เป็นวิธีร่อนดิน (ที่ผสมกับปุ๋ยหมัก) ให้ร่วน แล้วยกแปลงปลูกให้สูงขึ้นมาจากผิวดินเล็กน้อย เมื่อรดน้ำแล้ว น้ำซึมลงไปในผิวดินได้ดี ระเหยไปในอากาศน้อย

อ่านต่อ »


แนวคิดเกี่ยวกับป่าต้นน้ำ

อ่าน: 2936

ผมคิดว่าเป็นเรื่องปกติที่ต่างคนต่างพยายามป้องกันทรัพย์สินและท้องถิ่นของตนเอง ในเมื่อปลายปีที่ผ่านมาเกิดมหาอุทกภัยทำให้เสียหายหนัก ปีนี้ทั้งรัฐ ทั้งเอกชนก็เกิดความพยายามต่างๆ มากมายที่จะป้องกันสถานการณ์ในลักษณะดังกล่าว แต่ผมคิดว่ากระบวนการคิดนี้ รีบเร่งจนอาจจะคิดไม่จบนะครับ

การปลูกป่าที่ต้นน้ำนั้น ก็สมควรอยู่แล้วครับ (ที่จริงคือไม่น่าไปถางป่าเลยตั้งแต่ต้น) แต่ลงมือปลูกวันนี้ เมื่อไรจะเป็นป่า

หยดน้ำมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4 มม. คิดเป็นปริมาตรของหยดน้ำ 0.03 มิลลิลิตร ถ้าใบไม้หนึ่งใบมีน้ำฝนค้างอยู่หนึ่งหยด ต้นไม้เล็กหนึ่งต้นมีใบไม้พันใบ ต้นไม้เล็กสามหมื่นต้นก็จะมีใบไม้รวมกันสามสิบล้านใบ และสามารถหยุดน้ำไว้บนอากาศได้ 1 ลูกบาศก์เมตร (ไม่เยอะหรอกครับแต่ได้มาฟรี แล้วทำให้บริเวณนั้นเย็นสบายจาก evaporative cooling ดูน้ำหนาวที่โกร๋นไปหมดแล้วสิครับ ตอนนี้ไม่หนาวแล้ว) ต้นไม้เล็กสามหมื่นต้นนี่ เมื่อเทียบกับพื้นที่ภูเขาหนึ่งลูก เล็กมากครับ แต่ถ้าคิดจะ “ปลูก” จะเป็นมหกรรมใหญ่โตเลย

การปลูกป่าต้นน้ำ ควรหาต้นไม้โตเร็ว ใบเยอะ เพื่อปลูกเขื่อนไว้ในอากาศ อย่าเพิ่งไปปลูกไม้เบญจพรรณ ซึ่งโตช้า ใบใหญ่แต่ใบจำนวนน้อยเลยครับ ปลูกไม้พุ่มยังดีกว่า โตเร็ว ปลูกได้ถี่ ร่มไม้คลุมดิน ป้องกันดินจากแสงแดดเผา ลดแรงปะทะของเม็ดฝนซึ่งทำให้เกิดการกัดเซาะได้ด้วย

“ปลูกป่าแบบไม่ต้องปลูก” พระราชทานแนวคิดไว้ จำได้ไหมครับ

อ่านต่อ »


กระถางในดิน

อ่าน: 3991

กลับมาจากสวนป่า เกิดความคิดวิปลาสอีกแล้วครับ

ดินทางเหนือและอีสานนั้น แห้งแล้งมานานเนื่องจากการหักร้างถางป่า ทำให้แสงแดดเผาพื้นดิน ทำลายความอุดมสมบูรณ์ในดิน จุลินทรีย์มีชีวิตอยู่ไม่ได้ ใส่ปุ๋ยเคมี ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ทำให้หน้าดินแข็ง เมื่อฝนตกลงมา น้ำซึมลงไปในดินไม่ทัน ก็ไหลไปตามความลาดเอียง เป็นน้ำหลาก (run-off) ชะเอาหน้าดินลงไปด้วย ช่วยเร่งดินถล่ม

การที่จะนำความอุดมสมบูรณ์กลับมาสู่ดิน นอกจากแก้ไขเรื่องความร้อนจากแสงอาทิตย์โดยวิธีห่มดินแล้ว (ปลูกไม้ยืนต้นให้ร่มเงาก็ได้ แต่ว่าช้าหน่อย) ก็ยังต้องบำรุงน้ำใต้ดินอีกด้วย สภาพดินปนทราย หากว่าหน้าดินยังไม่แข็งนัก เมื่อฝนตกลงมา น้ำจะซึมหายไปหมด โอกาสทองของต้นไม้ มีอยู่ครู่เดียว ยกเว้นว่าฝนตกทุกวัน แต่เมื่อพ้นหน้าฝนไป ก็ลำบากเหมือนเดิม

ความคิดแรกคือปล่อยละอองน้ำไปในอากาศ แล้วให้ความชื้นเทียมเหล่านี้ ไปรวมตัวกับความชื้นในอากาศกลั่นตัวเป็นน้ำค้าง จะใช้พลังงานเท่าไรยังเป็นเรื่องรองลงไป แต่มีปัญหาอยู่สองอย่างคือ (1) เราไม่รู้ว่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีเพียงพอหรือไม่ (2) ละอองน้ำอาจจะระเหยไปในอากาศซะเอง ดังนั้นหากคิดว่าน้ำเป็นทรัพยากร ระบบน้ำหยดน่าจะให้ผลตรงกับระบบรากมากกว่า แต่ก็มีปัญหาต้องแก้ตรงที่สายยางมีราคาแพงครับ ถ้าจะตั้งสปริงเกอร์หรือหัวฉีดน้ำฝอย ก็ต้องให้ครอบคลุมระยะของร่มเงาไปจนถึงโคนต้น http://phytosphere.com/vtf/treewater.htm

อ่านต่อ »


ความมั่นคงสามแนวทาง 1.1

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 December 2011 เวลา 0:11 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2765

บทเรียนและสถานการณ์ต่อเนื่องจากน้ำท่วมใหญ่คราวนี้ ทำให้ผมมานั่งเพ้อเจ้อต่อถึงบันทึกเก่า [ความมั่นคงสามแนวทาง เพื่อให้อยู่ได้]

น้ำท่วมใหญ่ความนี้ เห็นว่าคนช่วยเหลือตนเองไม่ได้เยอะครับ ไม่อย่างนั้นก็ไม่เรียกว่าภัยพิบัติหรอก แต่น้ำท่วมใหญ่ปี 54 นี้ ต่างกับปีก่อนที่เส้นทางความช่วยเหลือจากส่วนกลางถูกตัดขาด แหล่งผลิตอาหารเสียหายหนักเป็นวงกว้าง อุตสาหกรรมเสียหาย คนตกงาน หลังน้ำลดแล้ว เมื่อการคมนาคมขนส่งกลับมาใช้ได้ เราอาจจะพบความจริงของการขาดแคลน ว่าของที่เคยหาซื้อได้ อาจจะหาไม่ได้ หรือราคาแพงขึ้นมาก… ก็ดีไปอย่างที่จะได้แยกแยะกันได้ซะที ระหว่างความอยากกับความจำเป็น

แต่ในเรื่องของความอยู่รอดนั้น นอกจากปัจจัยสี่แล้ว ยังมี “อาหาร น้ำ พลังงาน” ซึ่งต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ สิ่งเหล่านี้ ใช้เรื่อยๆ และไม่อาจเนรมิตมาได้ทันอกทันใจ เราไปติดกับความสะดวกสบายของการใช้เงิน มีเงินซะอย่าง ซื้ออะไรก็ได้ น้ำท่วมคราวนี้ คงได้บทเรียนกันว่าไม่แน่เสมอไป ว่าข้าวของแถวบ้าน แม้มีเงินจะซื้อ แต่ไม่มีของขายเพราะสินค้าเอามาส่งไม่ได้เนื่องจากน้ำท่วมถนน ท่วมโรงงาน หรือท่วมโกดังสินค้า

อ่านต่อ »


เจาะรูในดิน

อ่าน: 4041

เมื่อน้ำท่วม ผิวดินจะมีสภาพชุ่มน้ำ ทำให้น้ำซึมผ่านลงดินไปได้ยากขึ้น ดังนั้นน้ำที่ท่วมก็จะไหลไปตามความลาดเอียงไปท่วมที่อื่น หรือว่าหากพื้นที่ที่น้ำท่วมมีสภาพเป็นแอ่ง น้ำก็จะท่วมขังอยู่ในบริเวณนั้นเป็นเวลานาน เรื่องนี้มองอีกมุมหนึ่ง ก็เป็นการเสียโอกาสที่จะเติมน้ำใต้ดินหรือทำฝายใต้ดิน เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร

น้ำที่เราใช้กันและโวยวายว่ามากเกินไปหรือไม่พอใช้นั้น หมายถึงน้ำผิวดิน ซึ่งว่ากันที่จริงแล้วเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำจืดทั้งหมด สาเหตุส่วนหนึ่งของทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง ก็เป็นเพราะเราไม่รู้จักกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาเอาไว้ใช้นั่นเอง

อ่านต่อ »


ฝายใต้ดิน

อ่าน: 5532

ช่างพิลึกพิลั่นเสียจริง เมืองไทยฝนตกเยอะ (เฉลี่ย 1800 มม.; ปีนี้คงมากกว่านั้น) แต่น้ำไม่พอ ที่น้ำไม่พอเพราะไม่รู้จักเก็บกักไว้ใช้มากกว่าครับ

มีปัญหาซ้ำสองคือที่ดินราคาแพง นายทุนมากว้านซื้อไปหมด เอาไปขายต่อ ทำรีสอร์ต เอาไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวขายโรงงาน ส่วนคนใจแข็งที่ไม่ขายที่ ถ้าจะขุดสระน้ำพึ่งตนเอง เวลาแดดร้อนน้ำแห้งไปหมด จะกันพื้นที่ไปทำแก้มลิง ที่ดินก็แพงจับใจ

ยิ่งเป็นดินทรายเก็บน้ำไม่ได้แบบสวนป่า ยิ่งไปกันใหญ่… แต่อาจจะยังพอมีทางออกครับ เพียงแต่ใช้ไม่ได้ทุกพื้นที่ กล่าวคือแทนที่จะเก็บน้ำไว้ที่ผิวดิน เราเอาน้ำลงไปเก็บใต้ดินตื้นๆ ได้ จะเหมาะกับพื้นที่ที่มีชั้นของดินดานหรือหินอยู่ไม่ลึกนัก และห้ามทำในพื้นที่ที่ที่มีความลาดเอียงสูงหรือมีหินปูน

หลักการก็คือใช้ที่ดินนั้นเป็นพื้นที่รับน้ำฝน เราจะพยายามทำให้น้ำฝนที่ตกลงบนที่ดินนั้น ซึมลงใต้ดินให้มากที่สุด โดยชักน้ำฝนที่ตกลงบนพื้นที่มาหาบ่อซึม ซึ่งเป็นหลุมเล็กๆ อาจจะมีปริมาตรคิวหรือครึ่งคิวก็น่าจะพอ จากหลุมนี้ ต่อท่อใต้ดินออกไปเพื่อกระจายน้ำให้ซึมไปกับดิน (ถ้ายุ่งยากก็ไม่ต้องต่อท่อ แต่ว่าน้ำจะซึมออกได้ช้ากว่า)

อ่านต่อ »


ข้างบ้าน

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 June 2011 เวลา 0:25 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3198

วันนี้กล้องวิดีโอกันน้ำที่ซื้อเอาไว้มาส่งแล้ว กล้องนี้ผมซื้อตามคุณพิภพ @Panitchpakdi ณ. ตะกั่วป่า นักสร้างสารคดีมืออาชีพ — ไม่ได้ขอคำแนะนำจากคุณพิภพหรอกครับ เห็นภาพที่แกถ่ายลองกล้องแล้วก็ซื้อเลย เป็นเครื่องมือที่ไม่ยุ่งยากสำหรับการเรียนรู้ และการแบ่งปันประสบการณ์

หลังจากชาร์ตไฟ ก็เลยเอาไปถ่ายเล่น ขี่จักรยานออกไปนอกบ้าน พอลูกน้องเห็น ก็กรูกันเข้ามา จะมาขอขนมกิน ผมลองอะไรเล่นหลายอย่าง

คลิปแรกนี้ ลอง re-time ให้ภาพช้าลง 5 เท่า (ค่อนข้าง aggressive) เห็น vector estimation error ระหว่าง tweening คือมีภาพในบริเวณที่อยู่ไกล้เคียงกับส่วนที่เคลื่อนไหว ผิดเพียนไปบ้าง ในคลิปแรก มีหมา 9 ตัว โสรยา (ยาย) ลูกโสรยา 2 ตัว (แม่กับลุง) และหลานโสรยา 6 ตัว ทั้งหมดไม่ได้สนใจกล้องหรือจักรยานหรอกครับ เขามาขอขนมเพราะใกล้เวลาอาหารแล้ว

อ่านต่อ »


ให้น้ำที่ปลายราก

อ่าน: 7978

คำว่าแล้งนั้น นักอุตุนิยมวิทยาให้นิยามไว้ว่ามีฝนไม่เกิน 0.25 มม. ในรอบ 15 วัน

พูดง่ายๆ ก็คือฝนไม่ตกน่ะครับ ถ้าฝนไม่ตกแล้วมีเมฆบ้าง ก็ยังพอบรรเทาไปได้ แต่บ้านเราแดดจัดมาก ถ้าไม่มีเมฆมาบังแสงแดดอีก ดินถูกแดดเผาก็จะทำให้น้ำระเหยออกไปมาก จนดินแห้ง แตกระแหง แถมปุ๋ยอินทรีย์ก็สลายตัว จุลินทรีย์ในดินมีชีวิตอยู่ได้ลำบากหากอุณหภูมิของดินสูงขึ้นมาก หลายเด้งเหลือเกิน แต่ปัญหาใหญ่คือพืชพันธุ์ธัญหารเสียหาย จากการที่ระบบรากทำงานไม่ได้เนื่องจากน้ำใต้ดินหายไป

เรียนกันมาตั้งแต่เด็กว่ารากทำงานโดยกระบวนการออสโมซิส ตอบข้อสอบได้ก็โอเคแล้ว ที่เราไม่ค่อยคิดกันต่อคือออสโมซิสอะไร จริงอยู่ที่คำตอบตามตำราก็จะออกไปในทำนองที่ว่า ออสโมซิสคือกระบวนการดูดซึมสารละลายที่มีความหนาแน่นต่ำ ผ่านเนื้อเยื่อไปสู่ที่ที่มีความหนาแน่นสูง กระบวนการนี้ทำงานที่ปลายราก พืชต้องการน้ำใต้ดินไปละลายสารอาหารที่อยู่ในดิน เพื่อที่ปลายรากซึ่งเป็นเนื้อเยื่ออ่อน จะดูดซึมผ่านราก-ลำต้น-กิ่ง ส่งไปที่ใบเพื่อสังเคราะห์แสง

แต่ความหมายที่ไม่ค่อยคิดกันคือ เวลารดน้ำต้นไม้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่ต้องประหยัดน้ำ ก็ควรจะส่งน้ำไปที่ปลายรากครับ ไม่ใช่รดใบ รดโคนต้น หรือรดไปเรื่อยๆ เพียงเพื่อจะได้สบายใจว่ารดน้ำต้นไม้แล้ว

ที่เป็นปลายรากเพราะปลายรากเป็นเนื้อเยื่ออ่อน สารอาหารของพืชที่ละลายอยู่ในน้ำพอจะซึมผ่านได้ แต่ถ้าเป็นกลางราก น้ำซึมผ่านไม่ได้ครับ

แต่มันก็มีปัญหาใหญ่ คือรากอยู่ใต้ดิน แล้วจะไปรู้ได้อย่างไรว่าปลายรากอยู่ตรงไหนล่ะ? ตอบตรงๆ ว่าไม่รู้เหมือนกันครับ อันนี้อาจพอกะได้เหมือนกัน แต่ก็ขึ้นกับว่าจริงๆ แล้ว เรารู้จักต้นไม้ที่ปลูกมากแค่ไหน

อ่านต่อ »


ปลูกต้นไม้เอาใบ

อ่าน: 4579

บันทึกนี้เกี่ยวเนื่องกับบันทึกที่แล้วครับ ขอเอาภาพเดิมกลับมาดูกันใหม่อีกที

ดูตรงเส้นสีส้มซึ่งสะท้อนพลังงานของดวงอาทิตย์ออกไปนะครับ การสะท้อนนี้เกิดโดยปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างกัน และมีผลไม่เท่ากัน ตัวบรรยากาศของโลกเองสะท้อนพลังงานแสงอาทิตย์ออกไป 6% เมฆชั้นสูง/ชั้นกลาง/ชั้นต่ำ สะท้อนแสงอาทิตย์ออกไป 20% ส่วนที่เหลืออีก 4% นั้น แสงแดดตกกระทบพื้นแล้วแผ่ออกในรูปรังสีอินฟราเรด

เอาล่ะ เราคงผ่านความแห้งแล้งกันมาคนละหลายๆ ครั้ง ซึ่งนอกจากบ่นแล้ว ก็ไม่ได้ทำอะไรไม่ใช่หรือครับ… แน่นอน เวลาแล้งเป็นเพราะฝนไม่ตกต่อเนื่องเป็นเวลานาน… แต่ไม่รู้ว่าเคยสังเกตท้องฟ้าหรือเปล่าครับ ว่าเวลาที่แล้งนั้น มักหาจะหาเมฆเหนือหัวไม่เจอสักก้อน ไม่ว่าจะเป็นเมฆในระดับไหน

เมื่อไม่มีเมฆ การสะท้อนพลังงานจากดวงอาทิตย์กลับออกไปในอวกาศด้วยเมฆ (20%) ก็ไม่มีน่ะซิครับ อย่างน้อยก็ตรงที่เราอยู่ พอไม่มีอะไรกั้นแล้ว พลังงานจากดวงอาทิตย์ก็ตกลงมากระทบผิวโลกมากขึ้น (เป็น 51%+20%) ยิ่งร้อนหนักเข้าไปใหญ่ รังสียูวีก็เยอะ นอกจากผิวเสียแล้ว ฮิวมัสในดินก็จะสลายตัวเร็ว ดินเสื่อม พืชรับความซวยไป

เมื่อดินร้อน น้ำผิวดินหาย น้ำใต้ดินแห้ง พืชพันธุ์ธัญหารก็เสียหาย… เมื่อเมฆหายไป ก็ควรจะหาอะไรมาบังแดดแทนเมฆครับ ซึ่งนั่นคือใบไม้ไง!

พลังงานแสงที่ตกกระทบใบไม้ ใบไม้ก็สังเคราะห์แสงไป ดูดเอาน้ำและแร่ธาตุผ่านรากและลำต้น ดูดคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ ไปสร้างความเจริญเติบโตไปตามกระบวนการ… แสงที่ผ่านใบไม้ลงมาไม่ได้ ก็เกิดเป็นร่มเงาอยู่ข้างใต้ ดินไม่ร้อน น้ำใต้ดินไม่สูญเสียจากการระเหยเนื่องจากโดนแดดเผา ลดอัตราการเสื่อมของดิน (ดินดาน ดินแตกระแหง กลายเป็นทราย ฯลฯ)

ก็จริงอยู่ที่เวลาอากาศแล้งจัด ต้นไม้ผลิใบเพื่อลดการคายน้ำ ใบไม้ที่ร่วงลงดินก็ปล่อยมันไว้อย่างนั้นล่ะครับ เพราะว่ามันย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ คืนธาตุอาหารที่ต้นไม้ยืมมาสร้างใบกลับไปสู่ดินอีกทีหนึ่ง แต่ระหว่างที่ใบไม้ยังไม่ย่อยสลาย มันบังบังแดดให้แก่พื้นดินได้สักพักครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.80422401428223 sec
Sidebar: 0.36063289642334 sec