ความมั่นคงสามแนวทาง 1.1

โดย Logos เมื่อ 2 December 2011 เวลา 0:11 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 2911

บทเรียนและสถานการณ์ต่อเนื่องจากน้ำท่วมใหญ่คราวนี้ ทำให้ผมมานั่งเพ้อเจ้อต่อถึงบันทึกเก่า [ความมั่นคงสามแนวทาง เพื่อให้อยู่ได้]

น้ำท่วมใหญ่ความนี้ เห็นว่าคนช่วยเหลือตนเองไม่ได้เยอะครับ ไม่อย่างนั้นก็ไม่เรียกว่าภัยพิบัติหรอก แต่น้ำท่วมใหญ่ปี 54 นี้ ต่างกับปีก่อนที่เส้นทางความช่วยเหลือจากส่วนกลางถูกตัดขาด แหล่งผลิตอาหารเสียหายหนักเป็นวงกว้าง อุตสาหกรรมเสียหาย คนตกงาน หลังน้ำลดแล้ว เมื่อการคมนาคมขนส่งกลับมาใช้ได้ เราอาจจะพบความจริงของการขาดแคลน ว่าของที่เคยหาซื้อได้ อาจจะหาไม่ได้ หรือราคาแพงขึ้นมาก… ก็ดีไปอย่างที่จะได้แยกแยะกันได้ซะที ระหว่างความอยากกับความจำเป็น

แต่ในเรื่องของความอยู่รอดนั้น นอกจากปัจจัยสี่แล้ว ยังมี “อาหาร น้ำ พลังงาน” ซึ่งต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษ สิ่งเหล่านี้ ใช้เรื่อยๆ และไม่อาจเนรมิตมาได้ทันอกทันใจ เราไปติดกับความสะดวกสบายของการใช้เงิน มีเงินซะอย่าง ซื้ออะไรก็ได้ น้ำท่วมคราวนี้ คงได้บทเรียนกันว่าไม่แน่เสมอไป ว่าข้าวของแถวบ้าน แม้มีเงินจะซื้อ แต่ไม่มีของขายเพราะสินค้าเอามาส่งไม่ได้เนื่องจากน้ำท่วมถนน ท่วมโรงงาน หรือท่วมโกดังสินค้า

อาหาร

มีอยู่สองแนวครับ แบบแรกคือผลิตตามฤดูกาล เก็บไว้ในสต็อค แล้วทะยอยกิน ซึ่งขึ้นกับความมั่นคงของที่จัดเก็บ

อีกอย่างหนึ่งคือทะยอยปลูกพืชระยะสั้น (อายุเก็บเกี่ยว 60-110 วัน ขึ้นกับชนิดและพันธุ์) พืชชนิดหัว เก็บไว้ได้นาน แต่มีอายุเก็บเกี่ยวไม่ต่ำกว่า 8 เดือนหลังจากปลูก ข้าว 3-4 เดือน แต่ถั่ว ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน จะเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่านั้น แนวทางแบบนี้ ขึ้นกับลมฟ้าอากาศที่จะอำนวยให้ปลูกในช่วงเวลาต่างๆ ได้แค่ไหน

ไม่ว่าแนวใด ก็คงไม่ใช่คำตอบสำเร็จ อาจจะต้องใช้ทั้งสองแนว หรือทุกแนวที่นึกขึ้นมาได้ครับ ยังต้องมีกระบวนการแปรรูปอย่างง่ายๆ เช่นการหีบเย็น เอาไว้กลั่นน้ำมัน หรือการโม่แป้ง ฯลฯ

น้ำ

เรามองกันแต่น้ำผิวดิน ที่จริงแล้วน้ำใต้ดินมีมากกว่าน้ำผิวดินเสียอีก น่าเสียดายที่เราคิดแต่จะใช้น้ำบาดาล แต่ไม่ยอมลงทุนเติมน้ำใต้ดินเลย ฝนตกก็ปล่อยทิ้งไปเฉยๆ ปล่อยให้ไปท่วมที่อื่น ถ้าน้ำฝนกักเก็บไว้ใช้ได้ ในส่วนที่กักเก็บไว้ไม่ไหว ก็ปล่อยลงบ่อเปิด ซึ่งเป็นการเติมน้ำใต้ดินอีกด้วย

กระบวนการเกี่ยวกับน้ำ ก็ยังมีเรื่องของการทำความสะอาดจนอยู่ในระดับที่บริโภคได้อย่างมั่นใจ

พลังงาน

เดิมที มองเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ เพราะเป็นที่แน่ชัดว่าถ้าใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จะไม่ทำให้โลกร้อนขึ้น เนื่อจากโลกถูกดวงอาทิตย์เผาอยู่ครึ่งโลกทุกวันอยู่แล้ว แต่การนำเอาพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้นั้น ดูจะใหญ่โตเกินตัว ก็เลยเบนเข็มไปเป็นการเผา biomass ครับ

การหมักมูลสัตว์ผลิต biogas น่าจะเวิร์คสุด ไม่ว่าจะเอา biogas ปั่นไฟฟ้า หรือว่าเติมรถยนต์ ก็ต้องทดลองล่วงหน้าจนรู้จริงก่อนทั้งนั้น อีกอย่างหนึ่งคือ gasification ของซากต้นไม้ อันนี้ก็น่าสนมาก และต้องลองทำล่วงหน้า

« « Prev : ฟื้นฟูไม่ใช่แค่ทำให้เหมือนเก่า

Next : ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (4) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 Logos ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 December 2011 เวลา 14:27
    ไม่อยากเขียนเอง เม้นท์เองหรอกครับ แต่เพราะมีคนอ่านไปแล้วพอสมควร หากจะไปแก้บันทึก ก็กลัวว่าจะไม่รู้ว่ามีข้อมูลใหม่

    ผมลืมเรื่องความรู้มือสองที่สำคัญไปเรื่องหนึ่ง คือควรมี Wikipedia ภาษาอังกฤษพร้อมรูปไว้กับตัวด้วย

    ในส่วนของผมนั้น ใช้โปรแกรม Wiki Offline โหลดตัวหนังสือทั้งหมดมาไว้ในโน๊ตบุ๊ค ส่วนรูปนั้น เมื่อเปิดหาบทความด้วยโปรแกรม มันก็จะโหลดทั้งรูปและตัวหนังสือจาก Wikipedia ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ทำให้เราได้บทความล่าสุดสำหรับเรื่องที่สนใจเสมอ

  • #2 ลานซักล้าง » กลับสู่ความคุ้นเคยเก่าๆ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 December 2011 เวลา 18:12

    [...] [ความมั่นคงสามแนวทาง] ค่อยๆ ทำไปเรื่อยๆ [...]


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.10278177261353 sec
Sidebar: 0.122798204422 sec