ถ้าจะมีอนาคต ต้องผ่านปัจจุบันให้ได้ก่อน

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 January 2011 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 4051

ในทางพระ บอกให้อยู่กับปัจจุบัน แต่ชาวโลกมักจะยกเหตุผลต่างๆ มากมายมาอ้างเสมอ “ทำไม่ได้หรอก… ถ้าไม่มีอนาคตแล้วฉันจะอยู่อย่างไร… อนาคตทำให้ฉันมีความหวัง…”

ใครจะคิดอะไร จะไปบังคับได้อย่างไรล่ะครับ ไม่ว่ากันอยู่แล้ว! บันทึกนี้เพียงแต่อยากตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องการมุ่งสู่อุดมคติของแต่ละคน

อุดมคติคือจินตภาพของความสมบูรณ์แบบ คนเรามีอุดมคติเพราะชีวิตเราไม่สมบูรณ์แบบ แต่เราดันอยากจะสมบูรณ์แบบ อยากอยู่ในความสมบูรณ์แบบ… อยู่ในวิมาน… อยู่ในความบรมสุข… หลงอยู่กับความ(อยากจะเป็น)สุขอย่างสมบูรณ์แบบ

แต่สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นนั้น ตัวเราเองก็ทำไม่ได้ (ถ้าทำได้ก็สมบูรณ์แบบไปแล้ว) — เวลาคนอื่นทำให้แล้วไม่ถูกใจ ไม่พอใจ แต่กลับไม่ได้ตระหนักว่าตัวเองก็ไม่ได้ทำอะไร

จะไปหวังอนาคตที่ดีได้อย่างไรล่ะครับ ในเมื่อวันนี้ยังไม่ได้ทำอะไรเพื่ออนาคตที่ดีเลย บางทียังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอะไรดี เรื่อยเจื้อยไปตามกระแส

วันนี้เป็นวันเด็กแห่งชาติประจำปี 2554 วันเด็กไม่ใช่วันเที่ยว ไม่ใช่วันที่เด็กจะทำอะไรก็ได้ เด็กๆ สำคัญทุกวันนะครับ ทุกวันจึงเป็นวันเด็กโดยธรรมชาติอยู่แล้ว

เด็กเป็นอนาคตของชาติ แล้ววันนี้ชาติเราเป็นอย่างไร??

ผู้ใหญ่ในวันนี้ เคยเป็นเด็กมาก่อนทั้งนั้น เคยใสซื่อบริสุทธิ์มาก่อน เคยรู้สึกถึงความกระจ้อยร่อยดูแลตนเองไม่ได้ แต่พอโตขึ้นกลับกลายเป็น… ทำครอบครัวเป็นอย่างนี้ ทำสังคมให้เป็นอย่างนี้ ทำประเทศชาติซะจนเป็นอย่างนี้

อ่านต่อ »


รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์กับการจัดการภัยพิบัติ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 January 2011 เวลา 0:04 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3298

เมื่อวานนี้ สำนักส่งเสริมและพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (บอ.) กระทรวงไอซีที ได้มีการประชุมร่วมกับมูลนิธิโอเพ่นแคร์ เพื่อเรียนรู้แนวคิดและระบบงานของแต่ละฝ่าย สืบเนื่องจากคณะกรรมการอำนวยการ กำกับ และติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำมาตรฐานข้อมูลและการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ

ทาง บอ. นำทีมมาโดย ดร.สมนึก คีรีโต ที่ปรึกษา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเอาจริงเอาจังในเรื่องนี้ แม้ว่ากรอบแนวทางการเชื่อมโยงรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติซึ่งเพิ่งทำเสร็จไป จะยังไม่มีรายละเอียดเรื่องข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติ แต่ว่าอาจเพิ่มได้ไม่ยากนักตามความจำเป็น

แนวทางของทั้งสองฝ่าย ไม่ต่างอะไรกันมาก กล่าวคือเป็นกรอบความร่วมมือ มีข้อกำหนดทางเทคนิคเป็นรายละเอียด (ไม่ใช่ข้อกำหนดทางเทคนิค ที่เขียนไว้เพื่อให้ร่วมมือกันได้)

เป็นเรื่องดีที่ภาครัฐสนใจเรื่องนี้อย่างจริงจัง ทั้งนี้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2553

คราวนี้คงเดินหน้าได้เต็มที่นะครับ

อ่านต่อ »


CSR ภาคประชาชน

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 January 2011 เวลา 2:31 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4457

ว่ากันที่จริง CSR ก็อยู่ในภาคเอกชนทั้งนั้นล่ะครับ

ถ้าอยู่ในภาครัฐ มีเหมือนกัน แต่ไม่เรียก CSR; รัฐไม่ใช่ Corporate จึงไม่ใช้คำว่า CSR

CSR ในมุมที่ผมมอง ไม่ใช่การ “ยกป้ายถ่ายรูป” แน่นอน แบบนั้นเป็นการให้ทานแบบฉาบฉวยเอาหน้านะครับ — น่าผิดหวังที่ยังมีการให้รางวัลกับพวกชอบยกป้ายถ่ายรูปกันมาก ทำให้สงสัยว่ากรรมการตัดสิน CSR แบบไหนเนี่ย แค่บริจาคเงินน่ะ เป็นแค่ครึ่งเดียวของระดับต่ำสุดนะครับ

CSR ควรจะเกิดจากสำนึกของคนในองค์กร ว่าทุกสิ่งเกี่ยวพันกันหมด องค์กรไม่สามารถจะประสบความสำเร็จได้ หากรอบข้างล้มเหลวไปหมด (โดยเฉพาะอย่างยิ่งพนักงาน ซึ่งผู้บริหารที่ไม่ค่อยมีความเป็นมนุษย์ มักจะคิดว่าจ่ายเงินจ้างแล้วก็ต้องใช้ให้คุ้ม)

หมู่บ้านสามขา ต.หัวเสือ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ได้รับการยกย่องเป็นแบบอย่างของการพัฒนาแบบยั่งยืน สามารถฟื้นตัวจากโรคบริโภคนิยมได้ในเวลาไม่นานนัก ทั้งนี้ก็ด้วยความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้าน ประกอบกับความช่วยเหลือจากทุกภาคส่วน — แต่บ้านสามขา จะฟื้นตัวได้ยาก หากชาวบ้านไม่เอาจริงเอาจังกับเรื่องเหล่านี้… ต่อไปเป็นสารคดี 6 ตอนของ สกว.ครับ น่าศึกษามาก

อ่านต่อ »


โลจิสติกส์ของการบรรเทาทุกข์

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 January 2011 เวลา 18:19 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3430

เวลาเกิดภัยพิบัติขนาดใหญ่ ก็มักจะมีการรับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยครับ

เรื่องนี้มีมาตั้งแต่สมัยแหลมตะลุกพุก พ.ศ.2505 มีการออกทีวีร้องเพลง ซึ่งคนที่ร้องเพลงนั่นแหละ ที่เป็นคนไปกระตุ้น(ล่วงหน้า)ให้คนรู้จักแจ้งความจำนงว่าจะบริจาค การบริจาคแบบนี้ ตั้งอยู่บนสมมุติฐานอันใหญ่ว่าเงินบริจาค จะถูกใช้ไปอย่างรวดเร็วเพื่อบรรเทาทุกข์ให้ผู้ประสบภัย การใช้จ่ายเงินบริจาค ตรงไปตรงมา ไม่รั่วไหลตกหล่น ไม่ซื้อของแพงเกินไป ไม่มีผลประโยชน์ขัดแย้ง…

ผู้รับบริจาค เป็นเพียงทางผ่านของความช่วยเหลือเท่านั้นนะครับ ที่ผ่านมา ผู้รับบริจาคทำอะไรไปแล้วบ้างเพื่อให้ผู้บริจาคเห็นว่าทุกอย่างตรงไปตรงมาอย่างที่ควรจะเป็น — รับอะไรมา จ่ายอะไรไป เปิดเผยรายการต่อผู้บริจาคและไม่ได้บริจาค เลิกงุบงิบทำกันดีไหมครับ

ทั้งการรับและการเบิกจ่าย จะต้องมีบัญชีที่โปร่งใสคอยควบคุม และเรื่องนี้กลับไม่ค่อยทำกัน จะเป็นด้วยไม่ว่างหรือคิดว่ายุ่งยากก็แล้วแต่ — ผมคิดว่าการช่วยผู้ประสบภัยสำคัญนะครับ แต่ความโปร่งใสตรงไปตรงมาต่อผู้บริจาคก็สำคัญเช่นกัน ป่วยการจะไปเรียกร้องความโปร่งใสจากคนอื่นในขณะที่ตัวเราเองก็ไม่ทำ

ลองนึกถึงสถานการณ์โกลาหลของศูนย์รับบริจาคต่างๆ — พื้นที่ก็แคบ ของบริจาคหลั่งไหลมา พอมาถึงก็ต้องรีบนำออกไปแจกทันที เหมาะหรือไม่เหมาะยังเป็นเรื่องรอง — ตรงนี้แทบไม่มีบัญชีตรวจนับเลยครับ ถ้าทำได้ ถือว่ายอดๆๆๆๆๆ มาก

การไม่มีบัญชีควบคุม ทำให้ไม่รู้ว่าของบริจาค เข้าออกเท่าไหร่ รั่วไหลไปไหนหรือไม่! ของบริจาค มอบมาด้วยน้ำใจ เพื่อผู้ประสบภัย เป็นสิ่งมีค่านะครับ จะถือว่าได้มาฟรี แล้วทำตกหล่นสูญหายไปนั้นไม่ได้ ที่เขียนนี้ไม่ได้แปลว่ามีอะไรตกหล่นสูญหายนะครับ เพราะว่าเมื่อไม่มีบัญชีควบคุมแล้ว ไม่รู้ตัวด้วยซ้ำไปว่ามีอะไรหายไปหรือเปล่า!

อ่านต่อ »


หนึ่งพันบันทึกในลานซักล้าง

8 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 January 2011 เวลา 20:59 ในหมวดหมู่ ลานปัญญา #
อ่าน: 3029

บันทึกนี้เป็นบันทึกที่หนึ่งพันในลานซักล้าง แต่ไม่ใช่สหัสนิยายแน่นอน

ตั้งแต่เริ่มเขียนมาในวันที่ 7 สิงหาคม 2551 รวม 880 วัน ไม่ได้เขียนทุกวัน แต่บางวันเขียนมากกว่าหนึ่งบันทึก — ลานซักล้างมีผู้อ่านหลากหลาย เป็นเรื่องยากที่จะเขียนให้ทุกคนเข้าใจอย่างเดียวกันหมด ด้วยรายละเอียดที่เท่ากัน เพราะแต่ละคนมีพื้นฐานต่างกันครับ

ลานซักล้างไม่ได้พยายามจะผลิตคนเป็นสินค้าอุตสาหกรรมนะครับ ผมไม่ได้พยายามเขียนให้ง่ายเกินไป แต่ก็ไม่ได้พยายามจะให้ยากเกินไป คิดว่าเด็กมัธยมสายวิทยาศาสตร์ น่าจะอ่านรู้เรื่อง

ที่นี่ให้แง่คิด อย่างน้อยผมก็หวังว่าจะมีแง่คิดให้ผู้อ่านเสมอ แต่กลับก็ไม่ได้สนใจมากนัก ว่าผู้อ่านจะคิดเหมือนผมหรือไม่หรอกครับ อ่านแล้วควรจะแตกต่างกับไม่ได้อ่านบ้าง ถ้าอ่านแล้วไม่แตกต่าง เอาเวลาไปทำอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์ดีกว่า

ที่นี่ไม่มีสูตรสำเร็จอะไรให้ผู้อ่าน ถ้าจะได้อะไรไปจากบล็อกนี้ ก็ควรนำประเด็นไปปรับใช้ มากกว่าการนำไปใช้ดื้อๆ ทั้งดุ้น

หากผมเขียนแล้วอ่านไม่รู้เรื่อง ผ่านไปเลยก็ได้ ไม่ว่ากันอยู่แล้ว หรือว่าถ้าถามมา ก็จะพยายามชี้แจงแง่คิดมุมมองของผม — ทั้งนี้เป็นเพราะคนแตกต่างกัน สังคมต้องการความแตกต่างกันบ้าง แต่ควรมีปัญญาพอที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

เมื่อเข้ามาอ่านบันทึกใดบันทึกหนึ่ง ขอให้สังเกตว่าข้อความที่มีขีดเส้นใต้ จะเป็นลิงก์ไปยังข้อมูลอื่น เพื่อศึกษาเพิ่มเติมได้เอง ไม่ต้องทำตัวเป็นลูกอีแร้ง

อ่านต่อ »


บ้านกระสอบทราย

อ่าน: 7159

ก่อนอื่นต้องกราบขอบพระคุณป้าจุ๋มสำหรับหมวกและผ้าพันคอครับ เมื่อปลายปี ลูกสาวป้าจุ๋มแวะมาจากอังกฤษ ป้าจุ๋มคิดจึงถักหมวกให้ แล้วยังเผื่อแผ่มาถึงผมซึ่งอายุเท่ากับน้องชายคนเล็กด้วย แกกล่องออกมาดู โอ้โห หมวกใหญ่โตมโหราฬจริงๆ แต่พอใส่ กลับพอดีอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนตัดหมวกมาเลย — จะไม่พอดียังไงล่ะครับ ก็คืนนั้นกลางเดือนตุลาคม ผมวัดหัวผม ส่ง dimension ไปให้นี่ครับ

พูดถึงอากาศหนาวแล้ว ผมคิดว่าวิธีที่สร้างที่หลบภัยหนาวที่กินแรงน้อยที่สุด คือขุดรูนอนครับ บันทึก [หลุมหลบภัยนิวเคลียร์] มี KAP (Kearny Air Pump) สำหรับระบายอากาศด้วย… แต่ก็นั่นล่ะครับ คนเคยอยู่บนบ้าน อยู่ดีๆ จะไปบอกให้ลงไปนอนกับพื้น ไม่รู้จะคิดอย่างไร

วันนี้จึงเสนอวิธีสร้างบ้านดินเป็นรูปโดม โดยใช้กระสอบทรายและลวดหนามครับ

กระสอบทราย เป็นเทคโนโลยีการสงครามจากสงครามโลกครั้งที่ 1 แต่เอามาสร้างที่พักพิงชั่วคราว ก็เหมาะไปอีกแบบหนึ่ง

ที่จริงเราสร้างบ้านดินรูปเหลี่ยมได้ไม่ยาก ถ้าเป็นโดมก็จะวุ่นวายหน่อย แต่ว่าโดมใช้ดินน้อยกว่า เพราะมันสอบเข้าในส่วนที่อยู่สูง ไม่ใช้ไม้ในการมุงและเสริมความแข็งแรงของหลังคา ทั้งสองแบบเก็บความร้อนและป้องกันลมเย็นบนเนินเขาได้ดี ที่สำคัญคือบ้านกระสอบทรายเหมาะสำหรับพื้นที่สูงที่หาน้ำได้ยากครับ

การที่โดมมีปริมาตรน้อยกว่าบ้านเหลี่ยม ทำให้ห้องความอบอุ่นได้เร็วกว่า

อ่านต่อ »


แสงแดดฆ่าเชื้อโรค

อ่าน: 7968

จากบันทึก [น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม] เมื่อสองเดือนก่อน เป็นโศกนาฏกรรมทีเดียว ที่มีน้ำเต็มไปหมด แต่กลับเอามาดื่มไม่ได้ ต้องขนน้ำดื่มจำนวนมากมาเป็นระยะทางเป็นร้อยกิโลเมตร

ในบันทึกนั้น มีข้อเสนอสร้างเครื่องกรองเซรามิค (ดินเผานั่นแหละครับ แต่เรียกให้เท่) แต่เค้าใช้ซิลเวอร์คอลลอยด์ทาที่ผิวให้ซึมลงไปในเนื้อของฟิลเตอร์ เพื่อไปฆ่าเชื้อโรค แต่วิธีนี้มีปัญหาในการเตรียมสารละลาย ทั้งความเข้่มข้น และการทดสอบ ตลอดจนมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ ซึ่งควรทำให้ผ่านด้วย… ไม่ใช่เลี่ยงบาลี แบบที่พนักงานขายตรงบางคน ขายเครื่องกรองน้ำ แล้วบอกว่าลูกค้าเอาน้ำไปดื่มเอง ตัวเครื่องกรองน้ำไม่ใช่เครื่องกรองน้ำดื่ม แต่ทั้งนี้ก็ไม่มีคำเตือนใดๆ ทั้งที่กล่อง ที่ตัวภาชนะ และในคู่มือ… เครื่องกรองน้ำแบบ RO ใช้ไม่ได้หากน้ำไม่มีแรงดันนะครับ

ปัญหาการขาดแคลนน้ำจืดสะอาดสำหรับบริโภค นับวันมีแต่จะรุนแรงขึ้น

นอกจากการกรองสีและสารแขวนลอยแล้ว ก่อนจะนำน้ำไปบริโภค ก็ต้องฆ่าเชื้อโรคเสียก่อน

สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีน้ำแห่งชาติ สวิสเซอร์แลนด์ ได้คิดวิธีการง่ายๆ เรียกว่า SODIS (Solar Water Disinfection) โดยการเอาน้ำใส่ขวดใส ตากแดดไว้หกชั่วโมง ปล่อยให้รังสี UVA ในแสงแดดฆ่าเชื้อโรค

ง่ายๆ แค่นั้น!

อ่านต่อ »


เพิ่มความเร็วของของไหลตามหลักของกังหัน

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 January 2011 เวลา 4:28 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5246

ค่ำนี้พา พ่อ แม่ น้องชาย น้องสะใภ้ กับหลานสาว ไปกินไก่ตะกร้าครับ บอกให้รู้ไว้เฉยๆ

จะเป็นกังหันลมหรือกังหันน้ำ ก็เป็นการเปลี่ยนพลังงาน จากรูปหนึ่งไปเป็นอีกรูปหนึ่งครับ แต่หลักใหญ่คือมีของไหล ไหลผ่านกังหัน กังหันเป็นตัวเปลี่ยนโมเมนตัมเชิงเส้นของของไหล ไปเป็นโมเมนตัมเชิงมุม (หมุน)

ตามกฏของเบ็ทซ์ หรือพลังงานสูงที่สุด ที่เราเก็บเกี่ยวมาได้จากวิธีการของกังหันนี้คือ

P คือกำลัง มีหน่วยเป็นวัตต์
ρ คือความถ่วงจำเพาะ เช่นน้ำในอุณหภูมิบ้านเราก็มีค่าประมาณ 1 กก./ลิตร ที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง
S คือพื้นที่หน้าตัดของกังหันหรือหน่วยดักจับพลังงาน swept area มีหน่วยเป็นตารางเมตร
v คือความเร็วของการไหล มีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที
Cp คือสัมประสิทธิ์ของกำลัง มีค่าสูงสุดตามทฤษฎี = 16/27 = 0.593

มีสิ่งที่ต้องสังเกตอย่างหนึ่ง คือในบรรดาตัวแปรในสมการนี้ v ความเร็วสำคัญที่สุด เพราะ v ยกกำลังสาม ยกตัวอย่างเช่นกังหันลมใช้ใบพัดแบบเดียวกัน ลมความเร็ว 2 เมตร/วินาที กับ 2.5 เมตร/วินาที — ความเร็วลมเพิ่มขึ้น 25% แต่กลับให้พลังงานต่างกันถึง 95% (2.53/23-1)

ดังนั้น เราจึงเห็นการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของกังหัน เพื่อเพิ่มความเร็วของของไหลมากกว่าความพยายามจะปรับปรุงอย่างอื่น เช่น

อ่านต่อ »


สึนามิปี 2547 เกิดจากการระเบิดในอวกาศ?

อ่าน: 4598

เมื่อเวลา 0:58 UTC ของวันที่ 26 ธ.ค. 2547 เกิดสึนามิจากอภิมหาแผ่นดินไหว ความแรง M9.3 เริ่มต้นที่หัวเกาะสุมาตรา ไล่ขึ้นเหนือไป 1,200 กม. ทำให้คนตายไปสองแสนกว่าคน เป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก และทำให้เกิดสึนามิที่มีความรุนแรง ทำลายล้างสูงที่สุดนับตั้งแต่ภูเขาไฟกรากะตัวระเบิดในปี 2426 แผ่นดินไหวครั้งนั้น รุนแรงกว่าแผ่นดินไหวครั้งใดๆ ที่เกิดขึ้นก่อนหน้า 25 ปีอยู่ไม่ต่ำกว่า 10 เท่า

แต่ในเวลาเพียง 44.6 ชั่วโมงหลังจากเกิดสึนามิ 21:36 UTC วันที่ 27 ธ.ค.2547 ดาวเทียมตรวจวัดรังสีแกมมาหลายดวง ตรวจจับการแผ่รังสีแกมมาที่มีความรุนแรงได้จากการระเบิดในอวกาศได้ รังสีแกมมาที่วัดได้ในครั้งนั้น มีความรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยวัดได้มา

การระเบิดของรังสีแกมมาที่ตรวจจับได้ในครั้งนั้น มีความรุนแรงกว่าที่สูงที่สุดที่เคยวัดได้มาถึง 100 เท่า เทียบได้กับแสงจันทร์เต็มดวง แต่ปล่อยพลังงานส่วนใหญ่ออกมาในช่วงความถี่ของรังสีแกมมา รังสีแกมมาที่วัดได้มีลักษณะขึ้นๆ ลงๆ ส่งสัญญาณมาเป็น pulse ทุก 7.5 วินาที เหมือนกับหมุนไฟฉายไปรอบๆ ทุก 7.5 วินาที จะมีแสงกวาดมาเข้าตาเราแล้วก็หายไป อีก 7.5 วินาทีมาใหม่อีก — การระเบิดของรังสีแกมมาที่ตรวจจับได้ในครั้งนั้น ทำให้บรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟียของโลก “เบี้ยว” ไป รบกวนคลื่นวิทยุในโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “คลื่นยาว” มีรายงานปรากฏในสื่อประมาณเดือน ก.พ.2548 เช่น Space.com BBC NYTimes (ภายหลัง มีการแก้ไขตัวเลขต่างๆ ในข่าว เมื่อมีข้อมูลมากขึ้น)

รังสีแกมมานี้ นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์คาดว่าเกิดจากการระเบิดของดาวนิวตรอน SGR 1806-20 ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 20 กม. อยู่ห่างไป 20,000 ถึง 32,000 ปีแสง (ประมาณศูนย์กลางของกาแลกซี่) ปล่อยพลังงานออกมาใน 0.1 วินาที มากกว่าพลังงานที่ดวงอาทิตย์ปล่อยออกมาทุกทิศทางในแสนปี SGR 1806-20 หมุนรอบตัวเองทุก 7.5 วินาที ซึ่งตรงกับสัญญาณของการระเบิดของรังสีแกมมา (GRB) ว่ากันจริงๆ การระเบิดของรังสีแกมมาอื่นๆ ที่วัดได้ อาจจะมีความรุนแรงมากกว่านี้ แต่ว่าเพราะมันมาจากกาแลกซี่อื่น ซึ่งอยู่ห่างไกลมาก จึงมี “ความสว่าง” น้อยกว่าการระเบิดจาก SGR 1806-20 ซึ่งมองเห็นด้วยตาเปล่า และเกิดขึ้นภายในกาแลกซี่ทางช้างเผือกนี้เอง

อ่านต่อ »



Main: 0.08089804649353 sec
Sidebar: 0.2141649723053 sec