น้ำตาลลองกอง ได้หรือไม่

อ่าน: 3981

เมื่อปลายปี 2549 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ประกาศงานวิจัยเรื่องน้ำตาลลำไย [ผลไม้ราคาตกต่ำ (ลำไย)] เป็นการแปรรูปลำไยซึ่งขณะนั้นมีปริมาณล้นตลาด ไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงขึ้น

มีอีเมลแจ้งข่าวมาเมื่อคืน ว่าตอนนี้การฟื้นฟูจากอุทกภัยและวาตภัยทางใต้ยังไม่เสร็จสิ้น ชาวบ้านชายฝั่งที่ปัตตานีทำประมงไม่ได้มาสองเดือนกว่าแล้ว เพราะว่าเรือเสียหาย เมื่อไม่มีเรือ ก็ไม่มีรายได้มาซ่อมแซมบ้านซึ่งเสียหายเหมือนกัน ฝนก็ยังตกอยู่ ความช่วยเหลือก็เข้าไม่ถึง มีชาวบ้านที่ไม่ได้เป็นหัวคะแนนเป็นจำนวนมาก ตกสำรวจได้เป็นเอกฉันท์ซะทุกครั้ง ชาวบ้านเครียดจัดเพราะไม่มีอะไรทำ ไม่มีความหวัง ไม่มีอนาคต แล้วก็อาจจะเกิดเป็นเงื่อนไขแบบที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นมา

ที่ปัตตานี มีการประกันราคาลองกอง โดยมีราคาประกัน เกรดเอ 24 บาท เกรดบี 16 บาท และเกรดซี 8 บาท/กก. ข่าวไม่ได้พูดถึงค่าเก็บซึ่งอยู่ที่ 3 บาท/กก. แบบนี้ชาวสวนที่มีลองกองเกรดต่ำก็คงไม่ได้อะไรเท่าไหร่หรอกนะครับ ตอนนี้ไม่ใช่หน้าลองกองเสียด้วยซิ

แต่ถึงอย่างไรก็ยังน่าคิด ว่าถ้าหากทดลองนำลองกองเกรดต่ำมา ปอกเปลือกลองกอง(เพราะมียาง) แล้วเอามาปั่นคั้นน้ำหวาน(ด้วยเครื่องปั่นน้ำผลไม้) กรองกากออก(กากผสมน้ำแล้วคั้นเอาความหวานได้อีก) ไล่น้ำ ตกตะกอน ด้วย yield สัก 50% — ตัวเลขสมมุตินะครับ — ลองกอง 1 กก. ได้น้ำตาลลองกอง 0.5 กก. ดังนั้นน้ำตาลลองกอง จะมีต้นทุน 16 บาท/กก. ในขณะที่น้ำตาลขาดตลาดและมีราคาแพงกว่านั้น กำไรที่อาจจะได้มา ก็เอามาแบ่งให้ชาวบ้านอีกเด้งหนึ่ง นอกเหนือจากค่าแรงที่ได้ไปก่อน

อ่านต่อ »


แบบสำหรับสร้างเตา Gasification แบบ Updraft

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 January 2011 เวลา 4:50 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 6832

ไม่อยากเรียกว่าเป็นสูตรเลยนะครับ แต่เตา gasification หากปรับส่วนผสมของอากาศไม่ดี ก็จะเกิดการเผาใหม้ที่ไม่สมบูรณ์ มีควัน มีเขม่าได้ [ไต้ไม่มีควัน] [Biochar ปรับปรุงดินและลดโลกร้อน] [ก๊าซเชื้อเพลิงจากเศษไม้ ตอน 1-4]

อย่างไรก็ตาม ด้วยกระบวนการ gasification เหลือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่บรรยากาศเพียง 70 ppm จากปัจจุบัน 388.15 ppm — แต่มันมีเงื่อนไขสำคัญว่า (1) ใช้ไม้แห้งเป็นเชื้อเพลิง (2) ต้องมีพื้นที่ให้อากาศผสมกับก๊าซที่ออกมาจากกระบวนการ gasification และมีพื้นที่ให้เผาไหม้อย่างเพียงพอ เพื่อให้เกิดการเผาไหม้ทีี่สมบูรณ์

เรื่องนี้ ว่ากันจริงๆ น่าจะขึ้นกับชนิดของไม้ที่นำมาเป็นเชื้อเพลิงด้วยนะครับ ถ้าเป็นไม้เนื้อแข็งก็ผสมอากาศด้วยสัดส่วนหนึ่ง ถ้าไม้เนื้ออ่อนก็อีกสัดส่วนหนึ่ง

แต่ถ้าหากจะทำเพื่อทดลอง อาจจะยุ่งยากที่จะทำลิ้นปรับ secondary air ที่วิ่งระหว่างกระป๋องทั้งสองชั้น ดังนั้นก็เอาอย่างนี้ล่ะครับ

1. กระป๋องนอกพร้อมฝาปิด ใหญ่กว่าประป๋องในซึ่งไม่ต้องมีฝาปิด ประมาณ 1 ซม.
2. เมื่อเอากระป๋องใน ใส่ไปในกระป๋องนอก กระป๋องในจะเตี้ยกว่าประมาณ 1 ซม.
3. ถ้าเตี้ยเกินไป หากระป๋องในใหม่ ถ้าสูงเกินไป ตัดออกจนได้ระดับ
4. ฝาของกระป๋องนอก เจาะรูกลมขนาดครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางของกระป๋องใน
5. ที่ขอบล่างของกระป๋องนอก เจาะรูขนาด 1.2-1.5 ซม. (ขนาด d ซม.) แล้วแต่ว่ามีดอกสว่านขนาดไหน
6. สำหรับกระป๋องใน ใช้ดอกส่วนขนาด 4 มม. เจาะที่ระยะ d+½เส้นผ่าศูนย์กลางของกระป๋องนอก เจาะรูให้เยอะเท่าที่จะเยอะได้ ให้รอบกระป๋อง
7. ใส่เศษไม้แห้ง จนห่างขอบบนของกระป๋องในเป็นระยะ d+½เส้นผ่าศูนย์กลางของกระป๋องนอก
8. จุดไฟจากด้านบน โดยใช้น้ำมันหรือแอลกอฮอล์สัก 1-2 ช้อนชา หรือว่าเทียนเล่มจิ๋ว พอช่วยให้เชื้อเพลิงไม้ติดไฟ
9. พอไฟติดแล้ว ปิดฝา
10. (ถ้าสองกระป๋องเลื่อนไปมา ไม่อยู่ตรงกลาง เจาะรูร้อยน๊อตที่ก้นกระป๋องได้)

อ่านต่อ »



Main: 0.030923128128052 sec
Sidebar: 0.15405607223511 sec