สึนามิกับเกาะพีพี

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 July 2010 เวลา 13:01 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 6085

มีคนกล่าวไว้ว่าพออายุมากเข้า ก็จะชอบนึกถึงอดีต…ที่จริงมันผ่านไปแล้วทั้งนั้นครับ ชอบหรือไม่ชอบ ก็เปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วไม่ได้ ทำได้เพียงใช้ประสบการณ์ในอดีตมาเป็นบทเรียนเท่านั้น แต่ต้องแยกแยกให้ออกว่ามันบริบทเดียวกันหรือเปล่า ไม่ใช่ตะบี้ตะบันทำให้เหมือนเก่าเพื่อที่จะประสบความสำเร็จเหมือนเก่า

ผมไปเที่ยวพีพีครั้งแรกกับเพื่อนๆ ที่เรียนศศินทร์รุ่นดึกดำบรรพ์ตอนเรียนจบครับ ซึ่งนั่นก็ยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ยังไม่พลุกพล่าน(เท่าไหร่)

ต่อมาไม่นาน ได้กลับไปอีกครอบครัวของน้องเขยผมมีรีสอร์ตบนเกาะพีพี น้องสาวกับน้องเขยเจอกันที่นี่ จะว่าไปดูตัวว่าที่น้องเขยก็ได้

เมื่อยี่สิบปีที่แล้วก็ยังไม่ใช่รีสอร์ตหรู มีหาดส่วนตัวอยู่หน้ารีสอร์ตซึ่งหันหน้าไปทางตะวันออก คลื่นลมสงบเพราะมีภูเขาบังอยู่ข้างหลัง น้องเขยบอกว่าที่นี่เป็นฮวงจุ้ยมังกร (อาจจะใช่ก็ได้ครับ เดี๋ยวเล่าต่อ)… เพราะไม่ใช่บริเวณที่นักท่องเที่ยวพลุกพล่าน ทำให้มีความเป็นส่วนตัวสูง รับแขกกระเป๋าหนักจากต่างประเทศ ถึงจะเป็นในช่วงเวลาที่การท่องเที่ยวไม่ค่อยดี โรงแรมก็ยังพออยู่ได้

เมื่อสักสิบปีก่อน ตอนนั้นผมทำงานจนรู้สึกไม่ไหวแล้ว จึงลาพักร้อนเป็นครั้งแรกในรอบหลายปีลงไปเที่ยวเกาะพีพีอีก และไปป่วยหนักที่นั่น ความจริงมีอาการตั้งแต่อยู่ที่ภูเก็ตแล้ว คลื่นไส้มาก แต่ด้วยความไม่รู้ ด้วยความประมาทว่าตัวเองเป็นคนแข็งแรง ไม่เคยป่วยหนัก คิดเข้าข้างตัวเองว่าไม่เป็นไร เดี๋ยวก็หาย ไม่ได้ตระหนักเลยว่าเป็นอาการของหลอดเลือดสมอง… เพราะห่วงเที่ยว ก็ลงเรือไปเกาะต่อ ไปดำน้ำ จนน้องเห็นว่าอาการน่าเป็นห่วง โทรกลับมาที่บ้านคุยกับพ่อ (วิศวกรสองสาขา) วินิจฉัยอาการผ่านโทรศัพท์มือถือจากอาการที่น้องสาวเล่าให้ฟัง แล้วเห็นว่าอาจจะเป็นอาการทางสมอง ให้ส่งตัวกลับทันทีในเที่ยวบินแรก ผมจึงได้นอนโรงพยาบาลเป็นครั้งแรกในชีวิต แม้หลังจากนั้นก็ยังไม่เคยนอนโรงพยาบาลอีก

อ่านต่อ »


กังหันปั่นไฟฟ้าจากฝายเตี้ย

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 30 July 2010 เวลา 15:18 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 8557

การปั่นไฟฟ้าจากจากของไหล ไม่ว่าจะเป็นลมหรือน้ำ คือการเปลี่ยนพลังงานจลน์ของของไหลให้เป็นพลังงานกล ซึ่งนำไปเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้าอีกทีหนึ่ง มีสูตรพื้นฐานคือ kWh = (1/2)(ρ)(v3)(A)(E)(H)

  • ρ (rho) คือความหนาแน่นของของไหล
  • v คือความเร็วของของไหล
  • A คือพื้นที่หน้าตัดของเครื่องแปลงพลังงาน (กังหันปั่นไฟ)
  • E คือประสิทธิภาพในการดักจับพลังงานจลน์จากการไหลของกระแสอากาศ คิดต่อหน่วยพื้นที่(ให้เป็นหน่วยเดียวกับหน่วยของ A เช่นตารางเมตร) ค่าของ E ในทางทฤษฎีจะไม่สามารถเกิน 59.3% ซึ่งเรียกว่า Betz Limit ตัว E นี้ ในอุตสาหกรรมพลังงานลมเรียกว่าสัมประสิทธิ์กำลัง (Power Coefficient)
  • H คือจำนวนชั่วโมงที่ปั่นไฟได้

ในกรณีของเขื่อนที่ผลิตกระแสไฟฟ้า เราจะเห็นว่าต้องมีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ทั้งนี้ก็เพื่อเพิ่มความสูง (head) เพื่อให้น้ำไหลด้วยความเร็วที่สูง (v) ขึ้น ยิ่ง v มาก kW ก็ยิ่งสูงเพราะ kW แปรผันตาม v3

แต่การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในปัจจุบันนี้ แทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมีปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมายตามการสร้างเขื่อนมาด้วย… ไฟฟ้าจำเป็น แต่ปั่นไฟจากเขื่อนขนาดใหญ่ไม่ได้ ยังมีวิธีครับ

อ่านต่อ »


ปุ๋ยหมักกองใหญ่

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 July 2010 เวลา 16:27 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4588

นาย Jean Pain (1930-1981) ชาวฝรั่งเศส อาศัยอยู่ในจังหวัด Provence สร้างกองปุ๋ยหมักจากเศษไม้ ซึ่งทำน้ำอุ่นที่มีอุณหภูมิ 60°C ด้วยอัตรา 4 ลิตร/นาที ดักจับก๊าซมีเทนนำมาปั่นไฟฟ้า ต่อเข้าเตาแก๊สสำหรับหาอาหาร และเติมเป็นพลังงานให้แก่รถยนต์ของเขา โดยเขาไม่ต้องจ่ายค่าพลังงานอีกเลยในอีก 18 เดือน แต่มีต้นทุนเป็นน้ำมัน 500 ลิตรที่ใช้ไปในการตัดและสับไม้เป็นเศษเล็กๆ และน้ำอีก 20 คิวซึ่งใช้รดในตอนแรกสร้างกองปุ๋ยหมัก

ที่จังหวัด Provence อากาศร้อน-แห้ง มีพุ่มไม้เล็กอยู่เป็นจำนวนมาก หากเกิดไฟป่า พุ่มไม้เหล่านี้เป็นเชื้อไฟซึ่งอันตรายอย่างยิ่ง จึงความจะจัดการเสียบ้าง เขาไม่ตัดไม้ใหญ่ จะเลือกเฉพาะกิ่งที่ทำให้ต้นไม้เสียทรง (กิ่งหนัก ลมพัด ต้นไม้ล้ม) — ในเวลา 5 วัน เขาตัดกิ่งไม้กับพุ่มไม้ออกมาได้ 40 ตันจากพื้นที่ 1 เฮกตาร์​ (6.25 ไร่)

แล้วก็เอามาสร้างกองปุ๋ยหมักซึ่งก็ไม่ได้พิสดารอะไรมาก แต่เป็นกองใหญ่มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เมตร สูง 3 เมตรครับ แทนที่จะเอาเศษไม้สุมกันลงไปในกอง เขาทำเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นก็เอาสายยางพลาสติกขดไปให้ทั่วพื้นที่ ราดน้ำ แล้วก็ทำชั้นต่อไปจนได้ความสูงที่ต้องการ; ตรงกลางเขาเอาถังปิด หมักเศษไม้ไว้ให้เกิดก๊าซมีเทน ต่อท่อออกไปข้างนอกกองปุ๋ย; เมื่อไม้ย่อยสลาย จะปล่อยความร้อน การที่เอาสายยางเข้าไปขดไว้ทั่วกอง ก็จะทำให้น้ำในสายยาง ดูดซับความร้อนออกมาเป็นน้ำอุ่น

อ่านต่อ »


ไม่ได้อวด

9 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 July 2010 เวลา 19:39 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5358

มีเรื่องที่ธรรมดามากจะมาเล่าสู่กันฟังสองเรื่องครับ

เรื่องแรกคือมะรุมมีฝักแล้ว มะรุมนี้ได้จากป้าจุ๋มเมื่อปีก่อน เมื่อตอนป้าจุ๋มไปบรรยายเรื่องเกี่ยวกับสมุนไพร (และเอกมหาชัย) ก่อนเกษียณอายุเล็กน้อย ได้มาสามต้น รีบเอาออกจากถุงลงดิน ต่อมาอยู่ดีๆ คนสวนก็มาตัดกระจุยไปสองต้น

ภาพข้างซ้ายนี้เป็นต้นที่รอด ตอนนี้สูงท่วมหัวและกำลังออกฝักอ่อนชุดแรกครับ เด็กในบ้านชอบไปเก็บใบมะรุมมาทำกับข้าว เด็ดไปเด็ดมามันทำท่าจะไม่ออกดอก ผมเลยบอกไว้ว่ายอดอ่อนไม่ให้เด็ดแล้ว เหลือไว้ออกดอกออกฝักบ้าง ก็เลยมีกิ่งที่สูงชะลูดขึ้นมาจากการไม่ถูกรบกวน ตอนนี้สูงสักสองเท่าของความสูงของผมครับ

อีกต้นหนึ่งที่คนสวนมาตัดกระจุยไปตั้งแต่เด็ก ปรากฏว่าไม่ตายเพียงแฮะ แต่ว่า “เตี้ยมาก” ส่วนอีกต้นที่โดนตัดนั้น ไม่เหลือซากเลยครับ

อีกเรื่องหนึ่งคือไผ่กิมซุ่งก็โตครับ ไผ่กิมซุ่งเป็นไผ่พันธุ์ดี ผมขนไปส่งที่สวนป่าก่อนเลย 10 หน่อ

ภายหลังเจอ อ.แสวง มาประชุมอะไรก็ไม่รู้ที่อิมแพค เมืองทองธานี อาจารย์อยากได้ ก็เลยไปหามาให้อีกสามหน่อ พร้อมกับซื้อของตัวเองมาด้วย นั่นล่ะครับ ถึงได้ปลูกของตัวเองช้ากว่าที่ปลูกที่สวนป่าปีกว่า

สารภาพว่าไม่ได้ดูแลเลยครับ น้ำก็ไม่รด อยากจะรู้เหมือนกันว่าถ้าไม่ประคบประหงมแล้ว จะเป็นอย่างไร

ปรากฏว่าแทงหน่อเร็วมาก เดี๋ยวออก เดี๋ยวออก ใบเยอะแต่ลำต้นไม่สูง ผมน่าจะริดใบทิ้งเสียบ้าง จะได้ทรงดีกว่านี้

เด็กในบ้านไม่กล้าไปขุดหน่อไม้มากิน เพราะว่าเป็นของผม ฮาๆๆๆ — คิดพิลึกจัง ไม่รู้จะปล่อยไว้ทำไม เป็นหน่อไม้ไม่กิน จะให้กินตอนเป็นลำไม้ไผ่หรืออย่างไร

อ่านต่อ »


น้ำบรรจุใหม่

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 28 July 2010 เวลา 8:49 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 10383

โดยนิยาม ทรัพยากรเป็นสิ่งมีค่าแต่ว่าใช้แล้วก็หมดได้ครับ

น้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่า เราพึ่งพาธรรมชาติอยู่มากในการหาน้ำมา ไม่ว่าจะเป็นน้ำท่า น้ำผิวดิน น้ำจากระบบชลประทาน น้ำประปา หรือน้ำบาดาลก็ตาม เมืองไทยมีพื้นที่กว้างใหญ่กว่า 514,000 ตารางกิโลเมตร (321 ล้านไร่) โครงข่ายชลประทานครอบคลุมไม่ทั่วถึง

ในหลายพื้นที่ ใช้ประปาภูเขา ประปาชุมชน และน้ำบาดาล ก็ต้องมีการบำรุงรักษาครับ น้ำบาดาลใช้ไปเรื่อยๆ ก็มีวันหมดเหมือนกัน มีข้อมูลซึ่งน่าจะดีอยู่ที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล (ขออภัยที่ตรวจสอบอย่างละเอียดไม่ได้ ช้าเหลือเกิน มีโปรแกรมแจกแต่ใช้บนระบบปฏิบัติการที่ผมไม่ได้ใช้ เลยทดสอบไม่ได้)

เท่าที่ทราบ เมืองไทยไม่มี profile (ภาพตัดขวาง) ของดิน ซึ่งใช้เพื่อศึกษาลักษณะของชั้นดิน เป็นเรื่องน่าเสียดายมากที่ในสมัยที่มีคนตกงานมาก รัฐไม่จ้างทำ seismic survey

น้ำบาดาลไม่ได้รวมกันอยู่ในถังหรือโพรงที่เต็มไปด้วยน้ำหรอกครับ น้ำบาดาลซึมอยู่ในดินทรายชุ่มน้ำ โดยปกติดูใสสะอาดเพราะผ่านการกรองด้วยทรายและถ่าน(ดิน)ตามธรรมชาติ

ปริมาณน้ำในบ่อบาดาล ขึ้นกับระดับของ water table ซึ่งคือระดับน้ำที่ซึมอยู่ในดินทรายชุ่มน้ำ ถ้าระดับนี้อยู่ต่ำกว่าปลายท่อในบ่อบาดาล ก็จะไม่สามารถสูบน้ำขึ้นมาใช้ได้

เมื่อสักสี่สิบกว่าปีก่อนในสมัยที่ประปายังไม่ดี บ้านเกิดผมอยู่ประมาณ 100 เมตรจากแม่น้ำเจ้าพระยา ขุดลงไปนิดเดียวก็เจอน้ำแล้ว water table ถูกเติมโดยแม่น้ำเจ้าพระยา

พุทธธรรมผาซ่อนแก้ว ตั้งอยู่บนเขา ไม่มีแหล่งน้ำ ขุดบ่อบาดาล ระดับ water table อยู่ลึก 150 เมตร ต้องจ่ายค่าไฟเพื่อสูบน้ำมหาศาล หลังจากหน้าฝน ต่อท่อนำน้ามาจากประปาภูเขาได้ แต่เพราะว่าประปาภูเขาไม่มีการบำรุงรักษา จึงใช้ไม่ได้ตลอดทั้งปี

อ่านต่อ »


ก่อนความสำเร็จ

อ่าน: 20228

ผมตั้งใจจะทำภาพระบายสีขนาดใหญ่ สำหรับให้คนเยอะๆ มาร่วมกันระบายลงไปตามช่อง ตามเบอร์ของสี (Paint by number)

ก็ไปหารูปถ่ายความละเอียดสูงมาครับ ถ่ายจากมือถือเครื่องใหม่ ได้มาวันเดียวก็เอาไปเที่ยวด้วยเลย รูปจริง 2560×1920 pix แต่ข้างล่างนี้ย่อลงมาเพราะเปลืองเนื้อที่ครับ

จากนั้นก็แปลงภาพโดยการเกลี่ยให้เหลือเพียง 16 สี ลากเส้นขอบของแต่ละสีด้วย ได้ pdf ไฟล์ออกมาสองไฟล์

ไฟล์หนึ่งเป็นเส้นขอบพร้อมทั้งสีที่ควรจะระบาย ส่วนอีกไฟล์หนึ่งเป็นเส้นขอบของแต่ละสีแต่ไม่มีสี อันแรกเป็นแบบเอาไว้ดู อันหลังเป็นที่ที่จะระบายสีจริงๆ

แล้วก็มีปัญหาครับ…

อ่านต่อ »


เก็บตะวัน (2)

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 26 July 2010 เวลา 6:14 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 5038

ที่จริงมี solar collector แบบง่ายๆ ที่ใช้กระป๋องน้ำอัดลมหรือกระป๋องเบียร์ เจาะรูที่ก้นพ่นสีดำ มาเรียงกันเป็นแผงในกล่อง(ไม้)ที่มีฝาเป็นกระจกใสอีกครับ ผมไม่ได้เขียนเรื่องนี้เพราะว่าเก็บความร้อนได้น้อย ไม่พอจะต้มน้ำเป็นไอหรือปั่นไฟฟ้า แต่เหมาะกับการให้ความร้อนแก่บ้านในเขตหนาว

ในบรรดา solar collector ที่เขียนไปในตอนที่แล้ว: ฮีลิโอสแตด (Heliostat) ใหญ่โตเกินความพอเพียง, จานพาราโบลารับแสงอาทิตย์ (Parabolic dish) มีปัญหาสร้างกระจกโค้ง และตัวรับแสงอาทิตย์ที่ทนความร้อนสูง แต่แบบท่อนำความร้อน (Parabolic through) สามารถดัดแปลงให้ผลิตด้วยเทคโนโลยีชาวบ้านได้ ทำให้ต้นทุนถูกลงมาได้มาก… แต่ว่ามีบางเรื่องที่ต้องดัดแปลงก่อนครับ

อ่านต่อ »


เก็บตะวัน (1)

13 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 July 2010 เวลา 4:52 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 5777

เป็นที่รู้กันว่าถ้าหากจะรวมแสงอาทิตย์ ก็จะได้ความร้อน จากนั้นเปลี่ยนความร้อนไปเป็นพลังงานรูปอื่น เพื่อใช้งานได้ตามหลักการอนุรักษ์พลังงานได้

ความร้อนจากดวงอาทิตย์ รวบรวมได้ในสองลักษณะ คือใช้เลนส์นูนวางหน้าจุดโฟกัส หรือใช้กระจกวางด้านหลังจุดโฟกัส บันทึกนี้พูดถึงลักษณะหลังครับ

ไม่ต้องห่วงว่าบันทึกของผม จะเป็นเรื่องพื้นๆ หรอกครับ แต่จำเป็นต้องปูพื้นกันก่อน เพราะว่าบล็อกนี้มีผู้อ่านหลากหลายเหมือนกัน

อ่านต่อ »


การสร้างหลักประกันให้ผู้ประกอบการใหม่

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 July 2010 เวลา 0:34 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 4066

ระบบการศึกษาไทย สร้างคนออกมาเป็นลูกจ้างครับ เวลาวัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะเห็นว่ามีกิจการเกิดใหม่มีน้อยกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว — ที่จริงดัชนีชี้วัดต่างๆ ก็มาจากประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งนั้น วัดว่าประเทศไหนเหมือนตัวเองแค่ไหน

เราไปพยายามแก้กันที่เงินทุน มีธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ทั้งสองเรื่องก็จำเป็นครับ แต่ผมคิดว่ายังไม่พอเพราะว่ายังไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องความกล้าของคน ที่จะเปลี่ยนจากการเป็นลูกจ้างมาเป็นผู้ประกอบการ

ในเมื่อกิจการใหม่เป็นของผู้ประกอบการเอง รัฐก๋ไม่น่าจะเอาเงินมาช่วยหรอกนะครับ เวลาได้กำไรหลังจากเขาเสียภาษีตามหน้าที่แล้ว เงินที่เหลือเค้าเก็บไว้เองทั้งหมด ถ้าเริ่มแล้วสำเร็จก็ดีซิ แต่ความสำเร็จจะไม่มีทางมาถึงถ้าไม่กล้าเริ่มครับ

คนจบใหม่มีความฝัน แต่เหนือความฝันคือความกลัว พอเรียนจบมา ส่วนใหญ่ก็จะหางานประจำทำ ตั้งหลัก ตั้งตัว พอเคยชินกับ “ความมั่นคง” ก็ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน แล้วก็ติดแหงก! คนจบใหม่มีความรู้ใหม่ แต่ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีเครือข่าย ไม่ครบเครื่องพอที่จะทำธุรกิจ ในเมืองไทยจึงเป็นเรื่องยากกว่าที่คนจบใหม่ จะตั้งธุรกิจทันที

คนวัยกลางคนซึ่งมีความมั่นคงแล้วระดับหนึ่ง น่าจะเป็นผู้ประกอบการใหม่ที่ “เหมาะกว่า” แต่ก็ยังมีปัญหาใหญ่อีกอันหนึ่งคือเงินที่อยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ต้องการให้เงินก้อนนี้เป็นเงินออมเอาไว้ใช้ในยามแก่เฒ่าไม่มีเรี่ยวแรงทำงานแล้ว หากออกจากงานมาเริ่มกิจการของตนก่อนอายุที่กฎหมายกำหนด (ปัจจุบันคือ 55 ปีหากสามารถนายจ้างยอมให้เกษียณอายุก่อนได้ และ 60 ปีหากนายจ้างไม่มีระเบียบให้เกษียณอายุก่อน) เงินส่วนนี้จะต้องนำมาคิดเป็นรายได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล

อ่านต่อ »


เมื่อปริมาณสร้างทางเลือกให้มากขึ้น ทางเลือกนำสู่สิ่งที่ดีกว่า แต่…

อ่าน: 3986

เมื่อปี 2459 มีบทความทรงอิทธิพลชื่อ Crowdsourcing ตีพิมพ์ใน Wired

ลักษณะ 5 อย่างของ
“ฝูงชน” ที่สร้างสรรค์:
1. มีความหลากหลาย อย่าคาดหวังว่าคนจะเป็นเหมือนกันหมดเหมือนสินค้าอุตสาหกรรม
2. มีความสนใจสั้น จำเป็นต้องกระตุ้นอย่างต่อเนื่อง
3. มีความรู้ความชำนาญที่แตกต่างกัน อย่ามองข้ามแม้แต่ประเด็นเล็กๆ
4. แม้ส่วนใหญ่สร้างงานที่ “ไม่ดีพอ” ฉาบฉวย ตื้นเขิน ไม่มีคุณภาพ แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีสิ่งดีปะปนอยู่เลย แค่สิ่งที่ดีเพียงหนึ่งหรือไม่กี่เรื่อง ก็สามารถจะเป็นเรื่องใหญ่ได้
5. เสาะแสวงหาสิ่งที่ดีที่สุดเอง ให้ฝูงชนคัดสรรงานกันเอง

บทความนี้ ชี้ถึงลักษณะที่เปลี่ยนไปของการสร้างสรรค์งานซึ่งเปลี่ยนไป จากยุคอุตสาหกรรมการผลิตที่พยายามสร้างขุมกำลัง “จากภายใน” อันเป็นประสบการณ์จากสงครามโลก “บริหารอย่างเหี้ยมโหด” (สำนวนของอาจารย์วรภัทร์) สร้างบรรษัทขนาดใหญ่ ผลิต ทำลายคู่แข่งและยึดครอง รวย รวย รวย รวยอยู่คนเดียว เปลี่ยนเป็นการให้อิสระแก่ “ฝูงชน” จำนวนมาก

ตัวอย่างเช่น บรรดาเว็บที่เป็นตลาดรวมสำหรับซื้อขายสินค้าออนไลน์ อย่าง tarad.com ebay.com หรือแม้แต่จะออกแนวเฉพาะตัวมากๆ อย่าง turbosquid.com ที่ขาย 3D model paypal.com ซึ่งรับจัดการเรื่องการชำระเงิน ทำตัวเป็นเครื่องมือของร้านค้าอื่นๆ

และอันที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงแม้ไม่ได้ขายอะไรเลยคือ wikipedia.org

ในปี 2535 เมื่อสหภาพโซเวียตแยกเป็นประเทศเล็กๆ กลุ่ม “โลกเสรี” ต่างตีฆ้องร้องป่าว ถึงความสำเร็จของการแข่งขันเสรี และเรียกร้องให้โลกเปิดการค้าเสรีให้มากขึ้น ความคิดในแนวนี้ เป็นการด่วนสรุปจากเหตุการณ์และความเชื่อในเวลานั้น

ในขณะที่มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ เรียกร้องประเทศต่างๆ ตัวเองกลับกีดกันทางการค้า — ในเนื้อแท้แล้ว ทรัพยากรที่มีอยู่ในโลก ไม่ได้มีอะไรเพิ่มขึ้นยกเว้นพลังงานจากดวงอาทิตย์ซึ่งเผาโลกครึ่งหนึ่งอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นหากประเทศหนึ่งประสบความสำเร็จในเชิงเศรษฐกิจ ก็จะมีประเทศที่ไม่ประสบความสำเร็จเสมอ เป็น Zero-sum อีกทั้งความสำเร็จที่วัดเป็นตัวเงินนั้น มีเงินเฟ้อมาเป็นตัวลดทอน ดังนั้นหากได้ดุลย์การชำระเงิน ล้านล้านบาทเท่ากันในปีที่แล้วกับปีนี้ ปีนี้จะ เงิน ล้านล้านบาทจะมีค่าน้อยลง รวยน้อยลง มีกำลังน้อยลง จึงจะต้องแสวงหามากขึ้นไปอีก หากยังคิดกันตามแนวทางนี้

อ่านต่อ »



Main: 0.23254585266113 sec
Sidebar: 0.28576803207397 sec