การพลัดพราก

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 July 2010 เวลา 0:04 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3592

เมื่อวันก่อน คุณพ่อของเพื่อนเสีย นึกถึงใจเขาใจเรา คงวางได้ยากเหมือนกัน เขาได้ทำหน้าที่ของลูกอย่างดีแล้ว เมื่อมีเกิดก็มีพลัดพราก ไม่มีใครหนีพ้น แต่ชีวิตต้องดำเนินต่อไป ยังมีคุณแม่ต้องดูแลอีก ความโศกเศร้าที่เกิดขึ้น แม้จะเป็นเพราะความรักความผูกพัน แต่ก็เป็นบททดสอบ ซึ่งในที่สุดก็จะพบความจริงและผ่านไปได้

เรื่องนี้เป็นมรณานุสติ ผมจึงค้นเน็ตหาหลักธรรม ไปเจอพระนิพนธ์ของสมเด็จพระสังฆราชตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นพระสาสนโสภณ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิมพ์เป็นหนังสือทรงคุณค่า พระราชทานเป็นหนังสือที่ระลึกในงานวิสาขบูชาปี 2511 และ 2512 และพระราชทานในพระราชพิธีฉลองพระชนมายุสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ครบ ๗๒ พรรษาและ ๘๐ พรรษา ในปี 2515 และ 2523

ด้วยหนังสือนี้มีอายุนานแล้ว คงมีการปรับแก้มาหลายครั้ง เข้าใจว่าพิมพ์ล่าสุดเป็นหนังสือ พุทโธโลยี เรื่อง การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่ + บทสวดมนต์ + รูป (ซีเอ็ด) หรือไม่ก็ การบริหารทางจิตสำหรับผู้ใหญ่ (มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์)

สารบัญ

อ่านต่อ »


ก๊าซเชื้อเพลิงจากเศษไม้ (4)

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 21 July 2010 เวลา 0:12 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3651

บันทึกเรื่องก๊าซเชื้อเพลิงจากเศษไม้นี้ เขียนเป็นซีรี่ส์ยาวส่วนหนึ่งเป็นความพยายามจะหาคำตอบว่าปลูกต้นไม้แล้วได้อะไร

ครูบา (สำหรับผู้อ่านที่ไม่รู้จัก: ครูบาสุทธินันท์เป็นปราชญ์ชาวบ้าน อ.สตึก บุรีรัมย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องต้นไม้ใหญ่) ปรารภอยู่เรื่อยๆ ว่า เวลาเราบอกให้ชาวบ้านปลูกป่าเอง เค้าไม่ปลูกหรอกครับ ปลูกแล้วรอสิบปี ระหว่างนั้นจะเอาอะไรกิน… ทีนี้เวลาไปส่งเสริมให้ปลูก เอ้าปลูกก็ปลูก (ได้ค่าแรงนี่) แต่พอต้องการที่ ก็ถางต้นไม้ทิ้งไป

ถ้าดูภาพถ่ายจากดาวเทียม เมืองไทยวันนี้ ไม่เขียวยิ่งกว่าสมัยจะทำโครงการอีสานเขียวซะอีก ขนาดตอนนั้นพื้นที่ป่าก็เหลือน้อยเต็มทีแล้ว อีสานเขียวหรือหน้าเขียว… เมื่อก่อนดงพญาเย็นขึ้นชื่อเรื่องไข้ป่า เดี๋ยวนี้กลายเป็นที่ตากอากาศไปแล้ว

มาตอนนี้ ไม่มีร่มเงาจากไม้ใหญ่ ดินถูกแดดเผาตรงๆ ความอุดมสมบูรณ์ก็หายไป (humus สลายตัวในความร้อน) พอดินร้อน ปลูกอะไรก็แห้งตาย ถึงรดน้ำ ต้นไม้ก็สุกหมด แถมความร้อนลอยขึ้นสูง ทำให้เมฆฝนไม่ก่อตัว เพราะจุดน้ำค้างสูงขึ้นจากอุณหภูมิที่สูงขึ้น ฝนไม่ตก ข้างล่างยิ่งแห้งแล้ง ดินเลวลงอีกเด้งหนึ่ง ปลูกอะไรผลผลิตก็ต่ำ พอแก้ไขแบบรู้ครึ่งเดียวก็ใส่ปุ๋ยเข้าไป ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ราคาขายถูกกดไว้ อย่างนี้จะไม่เจ๊งยังไงไหวครับ… ทำเกษตรไม่รู้จักรักษ์ดิน เหมือนสร้างบ้านที่ไม่ทำรากฐานให้ดี…

วันนี้พอเริ่มรู้ตัวว่าไฟฟ้าอาจจะไม่พอในอนาคต ก็มาส่งเสริมไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน จากชีวมวล… ถามจริงๆ เถอะ เตรียมแผนเกี่ยวกับวัตถุดิบไว้บ้างหรือเปล่าครับ จะต้องถางต้นไม้กันไปอีกเท่าไหร่

เข้าเรื่องดีกว่าครับ ไม่รู้จะบ่นไปทำไม…

อ่านต่อ »


ก๊าซเชื้อเพลิงจากเศษไม้ (3)

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 July 2010 เวลา 0:41 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4614

ว่าจะเขียนเรื่องแบบของ FEMA แต่ยังไม่เขียนดีกว่าครับ

ไปเจอวิดีโอที่บริษัทผู้ผลิตเตา Gasifier ในเชิงพาณิชย์ อธิบายประเด็นต่างๆ เอาไว้ — แน่นอนล่ะครับ เขาอยากจะขายของ — แต่วิดีโอชุดนี้ ก็ให้ประเด็นที่ดี แค่ดูรูปก็เห็นเยอะแล้ว มี 6 ตอนนะครับ

อ่านต่อ »


ก๊าซเชื้อเพลิงจากเศษไม้ (2)

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 July 2010 เวลา 0:02 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 6311

เขียนต่อจากบันทึกก่อนครับ

คืนนี้ อธิบายหลักการของการผลิตก๊าซเชื้อเพลิงจากเศษไม้กันก่อน โดยดูจากเตาที่ผลิตแล้ว โดยยังไม่ต้องดูวิธีสร้าง

เตาแบบนี้เรียกว่าแบบ Stratified Downdraft Gasifier ซึ่งมีลักษณะสำคัญสองอย่างคือ (1) ทำงานเป็นชั้นๆ และ (2) ก๊าซไหลลงข้างล่าง เป็นแบบที่สำนักจัดการภัยพิบัติของสหรัฐ (FEMA) ทดลองสร้างในช่วงปลายทศวรรษที่ 80’s หลังจากที่โลกผ่านวิกฤตการณ์น้ำมันในปี 2516 และ 2522 ซึ่งราคาน้ำมันดิบ พุ่งสูงขึ้นจนเศรษฐกิจโลกปรับตัวแทบไม่ทันมา

เครื่องผลิตก๊าซแบบ Downdraft เป็นการปรับปรุงจากการออกแบบสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นลักษณะ Updraft คือก๊าซลอยขึ้นข้างบน ถ้าหากต้องเติมเชื้อเพลิง จะมีความเสี่ยงเรื่องการสูดดมก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์​ซึ่งมีผลทำให้เฮโมโกลบินไม่สามารถนำออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้

เตาแบบ Downdraft นี้ เติมเชื้อเพลงและจุดไฟจากด้านบน ไฟลุกลงข้างล่าง ทำให้เครื่องดูดคาร์บอนมอนอกไซด์ลงไปข้างล่าง ทำให้ปลอดภัยกว่า (แต่ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี จึงต้องระวังเวลาเปิดฝาเติมเศษไม้)

เอกสารรายงานของ FEMA สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ (9.6 MB, pdf, เอกสารของหน่วยงานรัฐบาลสหรัฐเป็น public domain ตามกฎหมายของสหรัฐเอง)

อ่านต่อ »


การกำหนดตำแหน่งให้แม่นยำขึ้น

7 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 July 2010 เวลา 0:07 ในหมวดหมู่ คอมพิวเตอร์ การใช้งาน โปรแกรม #
อ่าน: 5372

วิธีการที่ตรงที่สุดในการกำหนดตำแหน่งพิกัดบนพื้นโลก คือการรับสัญญาณเวลา (เพื่อคำนวณตำแหน่ง) จากดาวเทียม โดยอุปกรณ์และวิธีการที่เรียกว่า Global Positioning System หรือที่เรียกกันว่า GPS

เดิมที GPS ใช้ในกิจการทหารเท่านั้น แต่หลังจากปี 2526 ที่เครื่องบินของสายการบินเกาหลี ที่บินจากอลาสก้าจะไปโซล เกิดพลัดหลงเข้าไปในน่านฟ้าของโซเวียต จึงถูกเครื่องบินรบของโซเวียตยิงตก ทำให้ผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 267 คนเสียชีวิตทั้งหมด ประธานาธิบดีเรแกน จึงมีคำสั่งให้เปิดใช้สัญญาณ GPS สำหรับกิจการพลเรือนได้ ทำให้ตลาด GPS เริ่มต้นตั้งแต่สมัยนั้น ราคาลดลง ความแม่นยำเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม GPS มีข้อจำกัดหลายอย่างเช่นกัน สัญญาณลงมาจากฟ้า ถ้าจะรับสัญญาณ GPS ได้ ก็ต้องมองเห็นท้องฟ้า ซึ่งบางทีก็ถูกบังโดยหลังคา หรือตึกสูง

ต่อมาในปี 2544 เกิดเหตุการก่อการร้ายที่เวิล์ดเทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์ค ทำให้มีผู้เสียชีวิตและติดอยู่ภายใต้ซากปรักของตึกเป็นจำนวนมาก หลังจากถอดบทเรียนหลังเหตุการณ์แล้ว ทาง กสทช.ของสหรัฐ​ (FCC) ได้ออกประกาศให้โทรศัพท์มือถือทุกเครื่องที่จะขายในตลาดสหรัฐ จะต้องมีความสามารถที่จะบอกตำแหน่งโดยประมาณได้ (A-GPS) เอาไว้ใช้ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ในการระบุตำแหน่งของเหตุการณ์ (กรณีโทรเข้า 911 หรือ 411)

ในการนี้ สถานีสัญญาณของโทรศัพท์มือถือ จะทำงานเช่นเดียวกับดาวเทียม GPS โดยส่งสัญญาณออกไปจากสถานีฐานที่รู้พิกัดของที่ตั้งที่แน่นอน โทรศัพท์มือถือจะความแรงของวัดสัญญาณที่รับได้จากสถานีฐานต่างๆ ความแรงของสัญญาณแปรผันเป็นปฏิภาคกับระยะห่างยกกำลังสอง ดังนั้นก็สามารถคำนวณระยะห่างจากสถานีต่างๆ ได้ด้วยวิธี Trianglulation ทำให้ระบุตำแหน่งของโทรศัพท์มือถือโดยประมาณได้ รายละเอียดอยู่ใน Mobile phone tracking

ดังนั้น เราจะเห็นโทรศัพท์รุ่นใหม่ๆ ที่จะส่งเข้าไปขายในสหรัฐ มี A-GPS กัน*ทุกเครื่อง* ไม่ว่าจะมี GPS จริงๆ ที่รับสัญญาณจากดาวเทียมหรือไม่

อ่านต่อ »


Thailand ICT Awards

อ่าน: 3345

สองสามปีก่อน ทางผู้ใหญ่ในเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย ชวนผมไปเป็นสมัครเป็นกรรมการ Thailand ICT Awards (TICTA)

โครงการ Thailand ICT Awards (TICTA) เป็นโครงการประกวดผลงานด้านซอฟต์แวร์แห่งชาติที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารและสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทยร่วมผลักดันให้เกิด ขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2546 หลังจากที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ SIPA ขึ้น โครงการ Thailand ICT Awards หรือ TICTA จึงได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) อย่างต่อเนื่องตลอดมา

การแข่งขันประกวดผลงาน ซอฟต์แวร์ Thailand ICT Awards เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ ผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจซอฟต์แวร์ รวมถึงนิสิต นักศึกษาเกิดความตื่นตัวในการผลิตและพัฒนาผลงานที่มีคุณภาพ และสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ การนำผลงานร่วมประกวดระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก หรือ Asia Pacific ICT Alliance (APICTA) Awards มีผลให้เกิดผลงานซอฟต์แวร์ที่หลากหลายและสามารถนำไปเผยแพร่แก่กลุ่มผู้ใช้ ให้เป็นที่ประจักษ์ทั้งในและต่างประเทศ อันสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ในการสร้างและส่งเสริมอุตสาหกรรมไอซีทีของ ประเทศให้มีมูลค่าทางการตลาดสูงขึ้น

ที่มา: Facebook fanpage ของ TICTA

เมื่อได้รับการคัดสรรแล้ว ผมก็ถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่ตัดสินซอฟต์แวร์ของกิจการใหม่ (Startup) มาตลอดทุกปี

สาเหตุที่ตอบตกลงเข้าร่วมเป็นกรรมการนั้น เป็นเพราะต้องการจะพบปะกับผู้ผลิตซอฟต์แวร์ไทย เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ชี้โอกาส ชี้ช่องทางธุรกิจให้ ต้องการให้คลื่นลูกหลัง ประสบความสำเร็จมากกว่าคนรุ่นผม ซึ่งมีเวลาสั้นๆ ในช่วงที่ผู้ประกวดแต่ละบริษัทเก็บของหลังจากนำเสนอเสร็จ (จึงไม่เบียดบังเวลาการนำเสนอและตอบคำถาม ซึ่งผู้ประกวดแต่ละรายมีเวลาเท่ากัน) และผมให้คะแนนเสร็จแล้ว (จึงไม่เกี่ยวกับคะแนนที่ให้)

อ่านต่อ »


ไม่โง่

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 16 July 2010 เวลา 0:12 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 5395

เมื่อเช้าเปิดเจอคลิปหลายเรื่อง ดูแบบไม่คิดอะไรก็ตลกดี

ดูคลิปกันก่อน เดี๋ยวจะบอกว่าผมคิดอะไร…

คนอเมริกันไม่โง่

อ่านต่อ »


ก๊าซเชื้อเพลิงจากเศษไม้ (1)

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 July 2010 เวลา 0:34 ในหมวดหมู่ พลังงาน, เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 4215

มาคิดดูว่าคนเมืองนะครับ ไม่ว่าอยู่เมืองไหน ถ้าไม่มีไฟฟ้าก็ตายหมด ไปไหนก็ไม่ได้ ปั๊มน้ำมันใช้ไฟฟ้าทั้งนั้น การผลิตและส่งน้ำประปาใช้ไฟฟ้า การจัดส่งและเก็บรักษาอาหารก็เช่นกัน

ไฟฟ้าดูเหมือนเป็นเรื่องที่จับต้องไม่ได้ แต่ที่จริงนั้นเกี่ยวข้องกับธรรมชาติมาก เมืองไทยผลิตไฟฟ้าไม่พอ จึงต้องซื้อจากลาว แต่ความแห้งแล้งจากเอลนินโยตั้งแต่ต้นปีนี้ ทำให้เขื่อนในลาวก็แย่เหมือนกัน — ถ้าน้ำไม่พอ ไฟฟ้าไม่พอ จะเกิดกลียุคสองชั้นทีเดียว

ซึ่งนั่นล่ะครับคือความประมาท ที่เรามักจะทึกทักเอาเองว่าโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญยิ่งยวด (Critical Infrastructure) จะคงอยู่ตลอดไป — พอพูดอย่างนี้เข้า ทุกคนก็บอกว่าไม่จริงหรอก รู้อยู่แล้วว่าไม่มีอะไรคงอยู่อย่างถาวร — ซึ่งต้องถามกลับว่า ในเมื่อรู้อยู่แล้ว ได้เตรียมการอะไรไว้บ้างหรือไม่ ถ้าไฟฟ้าดับวันนี้  จะทำอย่างไร

ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง คลองสุเอซถูกปิด ในยุโรปน้ำมันขาดแคลนเป็นอย่างมาก ในขณะนั้นได้มีการหยิบเอาเทคโนโลยี Gasification ของศตวรรษที่ 19 สร้างก๊าซเชื้อเพลิงจากไฮโดรคาร์บอน ใช้ถ่านหินหรือเศษไม้มาเผาในสภาพที่ขาดออกซิเจน เกิดเป็นคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจนซึ่ง “ระเบิด” ได้หมดจด เรียกว่า Wood Gas, Producer Gas หรือ Syngas; เอาก๊าซนี้ส่งเข้าคาร์บูเรเตอร์ รถก็วิ่งได้ ยังพอแก้ขัดไปได้

อ่านต่อ »


ถามใจเธอดูก่อน — ข้อมูลสภาวะอากาศ

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 14 July 2010 เวลา 0:50 ในหมวดหมู่ คอมพิวเตอร์ การใช้งาน โปรแกรม #
อ่าน: 3865

วิถีชีวิตในเมืองไทยขึ้นอยู่กับลมฟ้าอากาศมาก จะปลูกข้าวขึ้นกับน้ำ จะออกทะเลขึ้นกับลม

ดังนั้น หากมีข้อมูลใดที่จะเป็นประโยชน์กับคนในวงกว้าง ก็น่าจะเป็นข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยา และการพยากรณ์อากาศ — กรมอุตุนิยมวิทยาทำหน้าที่นี้อยู่แล้ว ทำมานานแล้ว และยังไม่เปลี่ยนวิธีการ เนื่องจากว่าอุตุนิยมวิทยาไทยนั้น เป็นศูนย์ภูมิภาคขององค์กรอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) ซึ่งมีมาตรฐานของความร่วมมือระหว่างประเทศ ในการวัดและรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ต่างๆ เพื่อนำมาใช้พยากรณ์อากาศ

ในการนี้ WMO ให้วัดและรวบรวมข้อมูลที่เวลา 0:00 UTC และ 12:00 UTC (UTC เมื่อก่อนเรียกว่า GMT หรือเวลามาตรฐานกรีนิช) -> เราจึงเห็นการพยากรณ์อากาศที่เวลา 7:00 น. และ 19:00 น. ทุกวัน เพราะเวลาบ้านเราเร็วกว่าเวลากรีนิชอยู่ 7 ชั่วโมง

สำหรับการพยากรณ์อากาศโดยทั่วไปนั้น ใช้ข้อมูลทั่วไปหมด ไม่เฉพาะข้อมูลในประเทศ เช่นการคาดการณ์ว่าความกดอากาศสูงจะแผ่ลงมา ก็ใช้ข้อมูลจากประเทศเพื่อนบ้านมาพยากรณ์ ในเมื่อประเทศเพื่อนบ้านส่งข้อมูลมาวันละสองครั้ง ก็พยากรณ์ได้สองครั้ง

แต่มีการพยากรณ์อีกแบบหนึ่ง ซึ่งทำด้วยคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง และข้อมูลการวัดสภาพอากาศด้วยความถี่ที่มากขึ้น ทำให้สามารถ (1) พยากรณ์ได้ถี่ขึ้นกว่ารอบละ 12 ชั่วโมง และ (2) พยากรณ์ในพื้นที่เล็กลง เช่นจากระดับภาคเหลือแค่ระดับเมือง

อ่านต่อ »


สูบน้ำจากแหล่งน้ำลึก

อ่าน: 12617

ก่อนจะเขียนเรื่องการสูบน้ำต่อจาก [สูบน้ำจากแหล่งน้ำตื้น] คงย้ำความเข้าใจกันอีกครั้งหนึ่งก่อน ว่าน้ำเป็นทรัพยากรที่มีค่านะครับ

คำว่าทรัพยากรมีนัยว่าถ้าใช้ไปเรื่อยๆ จะมีวันที่หมดไปเหมือนกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติ บ่อหรือสระที่คนขุด เราก็จะต้องบำรุงรักษา ในเวลาที่เรามีเหลือใช้ ก็ควรเติมกลับบ้าง เพื่อเอาไว้ใช้ในวันหน้า บ่อน้ำบาดาลก็เติมได้ครับ แม้ว่าไม่ใช่เอาน้ำฝนเทกลับลงไปในบ่อ แต่ขุดหลุมแบบนี้ไม่ต้องลึกนัก [ขุดบ่อบาดาลแบบชาวบ้าน] แล้วกรอกน้ำผิวดิน เช่นน้ำฝน ให้ซึมผ่านการกรองแบบธรรมชาติด้วยชั้นหินดินทราย ฯลฯ

บันทึกที่แล้ว เขียนเรื่อง [สูบน้ำจากแหล่งน้ำตื้น] ซึ่งจะว่าไป เหมาะกับแหล่งน้ำผิวดิน เช่นบ่อ สระ แม่น้ำลำธาร มากกว่านะครับ head เพียง 6-8 เมตร ทำได้เพียงเอาน้ำจากแหล่งน้ำผิวดินขึ้นมาใช้เท่านั้นเอง ถ้าเป็นบ่อบาดาล จะลึกกว่านั้นมาก [ขุดสระเพิ่ม ได้น้ำของจริง]

อ่านต่อ »



Main: 0.86012387275696 sec
Sidebar: 0.60604810714722 sec