สูบน้ำจากแหล่งน้ำตื้น

อ่าน: 23395

เพราว่าน้ำไหลจากที่สูงไปที่ต่ำ แหล่งน้ำจึงมักจะอยู่ในระดับต่ำ จะนำน้ำไปใช้อะไร ก็ต้องขนน้ำขึ้นมา แต่เพราะว่าแก่เฒ่า ไม่มีแรง ติดหรู ติดสบาย หรือว่าร่ำรวยอะไรกันก็ไม่รู้ เวลาเราจะขนน้ำ ก็มักจะนึกถึงปั๊มใช้น้ำมันหรือว่าใช้ไฟฟ้า

แน่นอนครับ การเคลื่อนที่น้ำต้องใช้แรง แต่ผมไม่คิดว่ายากเกินไปหรอก

เมื่อกลางปีที่แล้ว ไปช่วยครูบาตอนที่ SCG Paper ยกพวกมาอบรมที่สวนป่า ผมไปกับกลุ่ม ๑ [มองบ้านพ่อไล] ดูภูมิประเทศแล้วสะท้อนใจ บึงน้ำที่ อบต.ขุดไว้ ยังมีน้ำอยู่บ้าง แต่ระดับน้ำอยู่ต่ำกว่าระดับของประตูระบายน้ำ (และคลองส่งน้ำ) อันนี้หมายความว่าน้ำที่มีอยู่ ส่งไปตามไร่นาไม่ได้ ต่างบ้านต่างขุดสระของตนเอง แปลกไหมครับ!!! เพราะว่าน้ำส่วนกลางพึ่งไม่ได้ — รอบสระมีถนนลูกรังดูผิวเผินเจริญดี แต่ถนนเองนั่นแหละ ที่ขวางชาวบ้านรอบๆ สระ กับแหล่งน้ำส่วนกลางของตำบล

เรื่องนี้ผมติดใจ กลับมาบ้านก็รีบค้นว่ามีวิธีไหนที่จะเคลื่อนน้ำจากแหล่งน้ำตื้นๆ ให้ไปยังที่ที่จะใช้น้ำ โดยไม่ต้องใช้น้ำมันหรือไฟฟ้าหรือไม่ — ชาวบ้านยากจน ไม่ควรจะต้องจ่ายถ้ามีทางเลือกอื่น — ก็ปรากฏว่ามีหลายวิธีครับ แต่ว่าต้องมีเครื่องมือ แล้วผมก็เขียนเรื่อง [เช็ควาล์ว]

อ่านต่อ »


ปัญหาเรื่องน้ำ

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 July 2010 เวลา 2:23 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4757

เรื่องนี้เขียนซ้ำซาก บ่น โวยวาย แต่เป็นเรื่องวิกฤติจริงๆ ครับ

ผมเป็นกังวลมากเพราะว่าดูเหมือนว่าชาวบ้านจะรอฟ้ารอฝนกันไปเรื่อยๆ ใครลุยลงข้าวนาปีไปแล้ว ป่านนี้ก็คงเจ๊งแล้วเพราะไม่มีน้ำ มีฝนตกมาแว๊บๆ แต่ก็ไม่มีการเตรียมตัวเก็บกักน้ำฝนไว้ จะรอน้ำจากระบบชลประทานอย่างเดียว โดยที่ไม่เข้าใจเลยว่าระบบชลประทานนั้น วิกฤติมากแล้ว

ขณะที่เขียนนี้ ทางทิศเหนือ น้ำในเขื่อนภูมิพลเหลือไม่ถึง 3% ของปริมาณน้ำที่ปล่อยออกมาได้ ถ้าเหลือ 0% ต่อให้มีน้ำอยู่ในเขื่อนบ้างก็ปล่อยออกมาไม่ได้ (นอกจากจะทุบเขื่อน) เขื่อนสิริกิติ์เหลือน้อยกว่า 6% ทางด้านตะวันตก เขื่อนศรีนครินทร์เหลือน้อยกว่า 38% อาจจะช่วยลุ่มแม่กลอง/ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างได้ แต่ว่าพื้นที่อื่นนั้น ส่งน้ำไปช่วยไม่ได้เพราะน้ำไหลลงที่ต่ำเสมอ เขื่อนวชิราลงกรณ์เหลือต่ำกว่า 6% ส่วนทางใต้ เขื่อนรัชชประภาเหลือน้อยกว่า 50% และเขื่อนบางลางเหลือน้อยกว่า 35%

ไม่ได้เขียนถึงเขื่อนอื่น เพราะไม่มีเขื่อนใดเลยเหลือปริมาณน้ำที่จะปล่อยออกมาได้เกิน 100 ล้านลูกบาศก์เมตร หมายความว่าที่คิดว่าจะปล่อยน้ำมาช่วยได้นั้นไม่จริงครับ แต่ที่หนักหนาสาหัสจริงๆ คือเขื่อนอุบลรัตน์ต้นแม่น้ำชี และเขื่อนลำตะคองต้นแม่น้ำมูล เหลือน้ำอีกนิดเดียวครับ — ตั้งแต่ต้นปีนี้ เขื่อนทุกเขื่อทั่วประเทศ ขาดทุนน้ำอย่างย่อยยับ ถ้าฝนไม่ตกหนักเหนือเขื่อนทุกเขื่อน (ซึ่งยากมาก) ปีหน้าจะหนักกว่าปีนี้อีกครับ จนป่านนี้ยังไม่รู้ตัวอีก!

ยุโรป และอเมริกากำลังร้อนจัดเป็นประวัติการณ์ จะทำให้น้ำแข็งละลาย อาจมีท่วมจนแปลงพืชผลทางการเกษตรเสียหาย ถ้าโชคดีไม่ท่วมช่วยนี้ ก็จะทำให้ปริมาณน้ำจืดสำรองร่อยหรอลง และอาจจะเกิดอาการขาดน้ำในฤดูกาลต่อๆ ไป ทางบ้านเราจะเร่งผลผลิตออกมาก็ไม่ได้ เพราะไม่มีน้ำเหมือนกัน

อ่านต่อ »


ขุดบ่อบาดาลแบบชาวบ้าน

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 11 July 2010 เวลา 7:10 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 46889

น้ำยังคงเป็นปัญหาใหญ่ บันทึกนี้แนะนำหัวขุดสำหรับเจาะหาน้ำบาดาลในระดับตื้นๆ ซึ่งสามารถสร้างได้ง่ายๆ ด้วยท่อพีวีซี โดยตะไบปลายท่อพีวีซีให้เป็นปากฉลาม (วิธีนี้จะขุดผ่านหินไม่ได้ แต่ว่าขุดผ่านดิน ดินเหนียว ทรายได้ — ส่วนดินดานอาจจะเจาะยากหน่อยครับ)

ส่วนการขุด ก็ใช้วิธีเดียวกับการขุดบ่อบาดาลทั่วไป คือหมุนท่อขุดไปเรื่อยๆ หมุนกลับไปกลับมาก็ได้ แต่ส่งน้ำลงไปกลางท่อ ทำให้น้ำที่ไหลออกด้านล่าง ดันดินและทรายขึ้นมาบนผิวดิน

คำว่าบ่อบาดาลตื้น หมายถึงบ่อที่มีระดับน้ำ (Water table) 5-8 เมตร ซึ่งมักจะเป็นที่ลุ่ม เพราะว่าท่อที่ใช้ขุดมีขนาด 2 นิ้ว ทำให้ต้องติดตั้งปั๊มบนผิวดินแล้วดูดน้ำขึ้นมา; ถ้าใช้ท่อขนาดใหญ่ 4 นิ้วเพื่อที่จะเอาปั๊มแบบ submerge ใส่ลงไปที่ก้นบ่อ ก็จะต้องใช้น้ำที่มีแรงดันอัดลงไปในตอนขุด ซึ่งอาจไม่เหมาะที่จะเรียกว่าเป็นเทคโนโลยีชาวบ้าน

อ่านต่อ »


ปั่นจนแห้งเป็นผง

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 July 2010 เวลา 12:53 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 3937

เรื่องนี้เขียนบันทึกติดต่อกันมาสามวันก็เพราะว่า (1) มันประหลาดดี (2) ถ้าเป็นสร้างได้จริง ก็น่าจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนการเกษตรมาก เราลองมาดูเครื่องที่สร้างแล้วกันก่อนนะครับ

อ่านต่อ »


ร้อนเย็นเป็นหยินหยาง

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 July 2010 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี #
อ่าน: 4359

จากความเห็นในบันทึก [ปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้] ซึ่งพูดถึงเครื่องสับไม้ แล้วผมดันเลยเถิดไปคิดถึงสิ่งประดิษฐ์ของฝรั่งที่จดสิทธิบัตรไว้ สามารถบดย่อยอะไรก็ได้ให้เป็นผงละเอียดแถมแห้งอีกต่างหาก เค้าเรียกเล่นๆ ว่าทอร์นาโดในกระป๋อง (Tornado in a can) เรียกในชื่อการค้าว่าเครื่อง Windhexe

ก่อนจะไปพูดเรื่องนั้น น่าจะต้องอธิบายหลักการก่อน

เครื่องนี้ใช้หลักการของ Vortex Tube ซึ่งมีชื่อทางวิชาการว่า Ranque-Hilsch vortex tube โดยปล่อยอากาศอัดแรงดันสูงในแนวเฉียง เข้าไปปั่นให้ลมใน “ท่อ” หมุนวนด้วยความเร็วสูง

ด้วยแรงหนีศูนย์กลาง เมื่อลมถูกปั่น ก็จะมาอัดกันแน่นที่ผิวในของท่อโดยไม่มีกระแสลมปั่นป่วน (turbulence) ซึ่งแม้จะเป็น larminar airflow โมเลกุลของอากาศก็เสียดสีกันทำให้เกิดความร้อน อุณหภูมิของกระแสอากาศสูงขึ้นเรื่อยๆ และวิ่งไปทางขวาเนื่องจากมีช่องเปิดอยู่เล็กน้อย

อ่านต่อ »


ปุ๋ยหมักจากเศษใบไม้

13 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 July 2010 เวลา 0:25 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 26737

อนุสนธิจากการมอบเครื่องสับกิ่งไม้เป็นของขวัญวันเกิดให้ครูบา ซึ่งท่านก็นำไปทดลองต่อ โดยเอากิ่งไม้ในสวนป่า มาริดใบออก เอาใบสับผสมกันเลี้ยงวัว ปรากฏว่าวัวชอบ! ขืนรอหญ้า วัวทั้งฝูงอดตายแน่ครับ [จากบันทึก วิชาเกินเผชิญวิชาการ]

…วันเกิดปีนี้ผมได้รับของขวัญเป็นเครื่องสับกิ่งไม้ นับเป็นความโชคดีของโคทั้งฝูงของสวนป่า ผมให้ลุงอาน คนที่ดูแลเลี้ยงโคไปตัดกิ่งไม้ที่โคน่าจะกินได้ ซึ่งมีอยู่มากมาย เช่น ใบไผ่ ใบกระถิน ใบมะม่วง ใบขนุน ใบมะขามเทศ ใบก้ามปู ใบข่อย ใบกระถินณรงค์ ใบกล้วย ใบมะรุม ใบแค ใบส้มเสี้ยว ฯลฯ กิ่งไม้พวกนี้ถ้าเราทยอยตัดออกมาในลักษณะแต่งกิ่ง หลังจากตัดออกแล้ว ก็จะมีกิ่งใหม่แตกยอดออกมาให้หมุนเวียนตัดได้ตลอดปี

จากการทดลอง ได้ข้อสรุปมาอย่างหนึ่งว่า การปลูกต้นไม้เลี้ยงสัตว์นั้น เป็นทางออกที่ทำได้ง่ายกว่าการทำแปลงหญ้า  นอกจากจะแก้ปัญหาเรื่องอาหารสัตว์ได้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าอาหารข้น อีกทั้งยังไปชี้ชวนให้ชาวบ้านปลูกต้นไม้เพื่อความหลากหลายวัตถุประสงค์อีกด้วย งานวิจัยที่เหมาะสม จะอธิบายเรื่องผลประโยชน์ที่ชาวบ้านจะได้รับตรงๆง่ายๆไม่ซับซ้อน เกษตรสามารถเอาแนวคิดไปปฏิบัติได้อย่างสะดวก

จากการทดลองวันแรก เราตัดใบกล้วย 5% ใบกระถิน 35%  ใบหญ้า 20%ใบกระถินณรงค์ 40% ให้น้าอานเอาใบไม้มาสับผสมกัน  แล้วนำไปเลี้ยงโค เนื่องจากใบไม้เป็นชิ้นเล็กๆ โคแยกไม่ได้ว่าชอบหรือไม่ชอบใบอะไร จึงก้มหน้าก้มตากินจนท้องป่อง ที่สำคัญไม่เหลือเศษพืชตกค้างในราง กิ่งไม้ส่วนโคนที่มีขนาดใหญ่ แยกสับออกเป็นชิ้นไม้สับเล็กๆ นำไปโปรยในคอกสัตว์ให้ผสมคลุกเคล้ากับมูลสัตว์ ช่วยเพิ่มปริมาณปุ๋ยคอกได้อีกทางหนึ่ง คาดว่าในเมื่อสัตว์เกิดความคุ้นเคย โคเหล่านี้ก็จะอร่อยกับเมนูพิเศษที่เชิญชวนชิม…

อ่านต่อ »


ผลทดสอบกล้อง

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 July 2010 เวลา 0:31 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4010

ไปลำพูน-เชียงใหม่เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. - 4 ก.ค. เที่ยวนี้ ผมไม่ได้เอากล้องไป แต่ได้โทรศัพท์มาใหม่ ก็เลยลองของซะเลย

โทรศัพท์นี้ไม่มีซูม เป็นกล้องขนาด 5 ล้านพิกเซล ใช้ Android ซึ่งกล้องในโทรศัพท์มือถือที่ใช้ Android ก็ไม่มีเครื่องไหนที่มีซูม (เพราะว่าเอามา crop เอาภายหลังคงดีกว่า)

ก็ตามฟอร์มของผมล่ะครับ ข้างล่างนี้เป็นรูปทั้งหมดที่ถ่ายมา เรียงตามลำดับเวลา ไม่มี crop ไม่มีกั๊ก ถ่ายอะไรมา ก็เห็นอย่างนั้น

อ่านต่อ »


บ้านปลอดภัย

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 July 2010 เวลา 17:49 ในหมวดหมู่ เทคโนโลยีชาวบ้าน #
อ่าน: 7842

ท่องเน็ตไปเรื่อยๆ ก็ไปเจอข้อมูลว่าสิ่งปลูกสร้างหลังคาที่มีลักษณะเป็นส่วนของทรงกลม ที่เรียกโดยทั่วไปว่าโดม มีความแข็งแรง ทนทานต่อพายุ แผ่นดินไหว มีการนำไปสร้างที่อยู่ฉุกเฉินสำหรับผู้ประสบภัย ก็เกิดสนใจขึ้นมา

มาคิดดูแล้ว ทรงกลมมีการกระจายแรงออกไปทั่วทั้งโดม เมื่อโดนพายุ แรงลมก็จะกระจายออก ทำให้มีโอกาสพังน้อยกว่า พวกชอบผจญภัยถึงกับนำไปสร้างเป็นที่อยู่อาศัยในทะเลทราย ที่มักมีลมกรรโชกแรงจากหลายทิศทางซึ่งคาดเดาไม่ได้ ในต่างประเทศ เขาเคลมว่าทนพายุระดับ Category 4 หรือ 5 ได้ — แต่ที่ทนไม่ได้คงไม่เอามาเล่าให้ฟังหรอกครับ อย่างไรก็ตาม ก็ยังน่าสนใจอยู่ดีล่ะครับ

ลักษณะการสร้างผิวโค้งในสามมิติ ต้องอาศัยฝีมือและการคำนวณมาก ดังนั้นก็มีการนำเอาสามเหลี่ยมมาต่อกันให้ได้รูปซึ่งดูคล้ายทรงกลม ซึ่งเรียกว่าจีโอเดสิกโดม ซึ่งจดสิทธิบัตรในสหรัฐเมื่อปี 2497 (หมดอายุความคุ้มครองไปนานแล้ว)

หากสนใจเรื่องคณิตศาสตร์ ขอเชิญค้นต่อตรงนี้ครับ

อ่านต่อ »


รอบปีที่สองในการเป็นบล็อกเกอร์ที่ลานปัญญา

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 July 2010 เวลา 16:40 ในหมวดหมู่ ลานปัญญา #
อ่าน: 3963

ลานซักล้างนี้ เป็นบล็อกแรกของลานปัญญา สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551

ถ้าถามว่าทำไมจึงใช้ชื่อนี้ ฟังดูเหมือนจะซักผ้าอะไรทำนองนั้น ก็ต้องเรียนว่าถ้ามีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ มนุษย์ปรับปรุงตัวและจิตใจได้ครับ จึงเป็นวิถีปกติที่จะชำระสิ่งอกุศลและอัปมงคลออกไปตามกำลังของแต่ละคน ดังที่เขียนอธิบายไว้ใน [เกี่ยวกับบล็อกนี้]

ผมตั้งใจเขียนทุกบันทึก ต้องการให้บันทึกแต่ละเรื่องของผมมีแง่คิด ปรับใช้ได้ตามสถานการณ์ ไม่ขึ้นกับกาลเวลา จะได้บ้างไม่ได้บ้างก็ไม่เป็นไร จึงมักไม่ค่อยเขียนเรื่องเฉพาะกาล แม้บางครั้งเขียนเล่าถึงประสบการณ์ ก็(หวังว่า)เป็นบันทึกการเรียนรู้มากกว่าบันทึกประจำวัน รอบปีก่อนเขียนไว้ในบล็อกนี้ 470 บันทึก รอบปีที่ผ่านมานี้เขียนอีก(ถึงตอนนี้) 343 บันทึก วันที่ไม่ได้เขียนมักเกิดจากเชื่อมต่อเข้าเครือข่ายไม่ได้เนื่องจากอุปกรณ์โทรคมนาคมเสีย ซึ่งไม่เขียนทุกวันก็ดีไปอย่างนะครับ คือไม่มีแรงกดดันใดๆ ที่จะต้องรักษาหรือทำสถิติ ซึ่งถ้าเขียนแล้วไม่ได้ให้อะไรกับใคร ก็ไม่อยากจะเขียนหรอกครับ ไม่รู้ว่าเหนื่อยไปทำไม

ตามประสาบล็อกเรื่องมาก ถ้า browse ดูไม่ไหว ก็เลือกเรื่องได้จาก [สารบัญ] ทางมุมบนขวาของทุกหน้าครับ

บันทึกที่มีคนเข้ามาดูมากคือ [สุภาษิตสอนหญิง (ฉบับเต็ม) - สุนทรภู่] ส่วนใหญ่เข้ามาดูผ่าน google (รู้เพราะดูจาก log ซึ่งต้องเก็บตาม พรบ.การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์) ตอนนี้มีประมาณแปดพัน pageviews จะดูว่ามากหรือน้อยก็ไม่สำคัญหรอกครับ เมื่อผมลงแรงพิมพ์แล้วมีคนได้ประโยชน์ ผมก็ดีใจแล้ว

แต่ถ้ามีคนมาทิ้งความเห็นไว้ ผมดีใจมากกว่ามีคนอ่านเยอะเลย จะได้แลกเปลี่ยนกัน ซึ่งที่ผ่านมาก็มีความเห็นเกือบทุกบันทึกนะครับ — น่าแปลกที่บันทึกที่ไม่มีความคิดเห็น กลับมีคนติดต่อมาคุยกันหลังไมค์เยอะเหมือนกัน — สำหรับความคิดเห็นที่ทิ้งไว้ในบันทึก ผมพยายามตอบเท่าที่ตอบได้ แต่ไม่ตอบหากไม่มีประเด็นอะไรเพิ่ม หรือเขียนทิ้งไว้โดยไม่มีประเด็นใดๆ และไม่มีคำถาม

ในปีที่ผ่านมา บันทึกในลานซักล้าง ส่งไปลง Twitter ซึ่งส่งต่อไปยัง Facebook อีกทีหนึ่ง แต่ความเห็นใดๆ อันต่อเนื่องจากบันทึก ไม่ได้ส่งกลับมายังลานซักล้าง


ขึ้นรอบปีที่สามของลานปัญญา

13 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 July 2010 เวลา 19:59 ในหมวดหมู่ ลานปัญญา #
อ่าน: 6253

ลานปัญญาเป็นชุมชนออนไลน์เล็กๆ ที่มีลักษณะที่ค่อนข้างชัดเจน คือ

  1. สมาชิกเกือบทั้งหมด รู้จักกันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง การสร้างภาพลักษณ์ให้ตัวตนเสมือนจึงไม่จำเป็น เพราะในที่สุดทุกคนก็จะเข้าใจเองว่าอะไรเป็นอะไร — การแนะนำตัวของสมาชิกใหม่จึงสำคัญมากต่อการเริ่มต้นสร้างปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกอื่นๆ ลานปัญญาไม่ใช่ที่หลบซ่อนตัวในโลกเสมือน
  2. เรายอมรับสมาชิกแต่ละท่านแบบที่เป็น ซึ่งหมายความว่าชอบก็ตามอ่าน ไม่ชอบหรือไม่มีเวลาก็ไม่อ่าน จะเขียนก็เขียน ไม่เขียนก็ไม่เป็นไร จะให้ความเห็นก็ให้ ถ้าไม่มีประเด็นเพิ่มเติมหรือไม่มีอารมณ์ก็ไม่ต้องให้ ต่างคนต่างเลือกเองอย่างอิสระ ไม่ต้องให้เหตุผล
  3. ลานปัญญาอาจเป็นแบบจำลองของสังคม ในแง่ที่ว่าเรายอมรับความแตกต่างได้ตราบใดที่ไม่เบียดเบียนใคร และยืนอยู่บนประโยชน์ร่วมกัน+ความสงบสุขของชาวลานปัญญา — ต่างคนต่างมีดีกันคนละอย่างหรือหลายอย่าง ไม่ต้องเหมือนกัน สังคมจึงจะได้สัมผัสแห่งความชำนาญความรอบด้าน
  4. สมาชิกของลานปัญญาเป็นสุภาพชน ที่รวมตัวกันอยู่บนความแตกต่าง — แต่ละคนมาจากหลายหลายสาขาอาชีพ มากกว่าจะเป็นศูนย์รวมของผู้เชี่ยวชาญทางใดทางหนึ่ง ทำให้ลานปัญญามีความหลากหลายเช่นเดียวกับชีวิตของคน ซึ่งจะไม่เจอแต่เรื่องเดียวซ้ำซากอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเรียนอะไรมาสูงแค่ไหน ทำงานอะไรตำแหน่งใหญ่โตขนาดไหน จึงไม่จำเป็นต้องเบิ้ลใครเพื่อให้ตัวสำคัญขึ้นมา — ซึ่งนั่นทำให้ลานปัญญา ซึ่งแท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงเครื่องมือสื่อสาร ดูเสมือนกับมีชีวิตชีวา
  5. ลานปัญญาไม่ยุ่งกับเรื่องการเมือง และไม่ให้มีการโฆษณา (อันไม่ใช่สาธารณประโยชน์)
  6. โครงสร้างลานปัญญาเป็นบล็อก สมาชิกผู้สร้างบล็อกเป็นเจ้าของบล็อก จะดูแลบล็อกของตัวเองอย่างไรก็ได้ตราบใดที่ไม่ละเมิดกฎหมาย เหมือนดูแลบ้านของตัวเอง — ไม่รู้อะไรก็ถาม ถ้าไม่ถามจะเรียนเองก็ได้ ถ้าไม่ชอบใจไม่ว่าด้วยเรื่องอะไร ย้ายบล็อกออกไปที่อื่นได้ ไม่มีกั๊กครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.054601907730103 sec
Sidebar: 0.23393297195435 sec