การสื่อสารกับความขัดแย้ง
อ่าน: 4189บันทึกนี้ มีข้อสังเกตเรื่องของการพูดคุยเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ แม้จะเป็นเรื่องที่รู้สึกลำบากใจ ความเดิมเริ่มเรื่องจากหนังสือ Getting to YES (1981) ซึ่งให้คำแนะนำสำคัญไว้หลายเรื่อง เช่น
- อย่าต่อรองในเรื่องของจุดยืน (don’t bargain over positions)
- แยกตัวตนออกจากปัญหา (separate people from the problem)
- เน้นประโยชน์ไม่ใช่จุดยืน (focus on interests, not positions)
- สร้างสรรค์ทางเลือกเพื่อประโยชน์ร่วมกัน (invent options for mutual gain)
- ตกลงเรื่องวัตถุประสงค์ของการเจรจาก่อน (insist on using objective criteria)
- เรื่องอื่นๆ เช่น
- เตรียมทางหนีทีไล่ไว้ก่อน ในกรณีที่การเจรจาที่เตรียมไว้ ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงได้
- ถ้าหา win-win solution ไม่ได้ บางทีการไม่ตกลงก็อาจเป็นทางออกที่ดีเหมือนกัน (ไม่เสีย)
ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
ไม่ว่าจะหลีกเลี่ยงหรือเผชิญหน้า ก็ดูจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเลย ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก ทำให้ท่านจมปลักอยู่กับคำถามเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก เครียด นอนไม่หลับ และหาทางออกไม่ได้
ท่านไม่สามารถจะพ้นไปจากภาวะอย่างนี้ได้ จนกระทั่งตัดสินใจทำอะไรบางอย่างเท่านั้น การกลุ้มใจไม่ได้แก้ปัญหาใดๆ การประนีประนอมก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีหากไม่บรรลุวัตถุประสงค์
เมื่อเจอปัญหาที่ดูเหมือนไม่มีทางออก เราอาจจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ ทางออกที่ดีที่สุดคือการทำให้เป้าหมายสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง ลดความกลัวและวิตกจริตซึ่งไม่ได้ช่วยอะไรเลย ตั้งสติเรียนรู้ที่จะจัดการกับสิ่งที่ต้องทำอย่างฉลาด
เมื่อเจอภาวะที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก คงเป็นไปได้ยากที่จะผ่านเรื่องนี้ไปด้วยดีเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ดังนั้น การไม่เข้ามาอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเสียตั้งแต่แรก น่าจะเป็นทางเลือกที่ฉลาดกว่า ก่อนจะทำอะไร คิดไตร่ตรองเสียก่อน อย่าสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งขึ้นมา
- คำหลัก: ความขัดแย้ง
- คำหลัก: การเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่น1
- Book Review
- Book Review
- Synopsis
« « Prev : กระโถน
Next : อีกครั้งหนึ่งกับพระราชดำรัส เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๓๕ » »
1 ความคิดเห็น
ขอบคุณมากค่ะ ที่เปลี่ยนสีพื้น ความขัดแย้งเป็นธรรม คนฉลาดย่อมหาทางออกได้อย่างลงตัวค่ะ
ถ้ามีสติ