แกล้งบ้านให้ร้อน

อ่าน: 5204

ไปเจอการออกแบบแปลกประหลาดอันหนึ่งในเขตหนาว ที่สร้างเรือนกระจกไว้ในบางส่วนของบ้าน บังคับให้ลมร้อนลอยขึ้นข้างบน แล้วนำลมเย็นจากอีกส่วนหนึ่งของบ้านให้พัดเข้ามาแทนที่ อย่างไรก็ตาม แนวคิดก็แปลกดีครับ เค้าเรียกว่า Earthship

เรือนกระจกอยู่ทางด้านใต้ เนื่องจากบ้านเราอยู่ทางซีกโลกเหนือดังนั้นพระอาทิตย์จึงอ้อมทางใต้ เรือนกระจกนั้นก็ปลูกต้นไม้ล้มลุกที่ไม่โตนักเอาไว้บังแสง แต่เรายอมให้แสงตกกระทบพื้นในบริเวณเรือนกระจก

รอบๆ บ้าน ใช้ดินกลบผนังไว้สามด้าน เป็นฉนวนความร้อนและความเย็น โดยเดินท่ออากาศเข้ามาจากด้านเหนือ ท่ออากาศนี้อยู่ใต้ดิน อากาศที่ออกมาก็จะมีความเย็นกว่าอุณหภูมิในบ้าน ในช่วงกลางคืนดินและพื้นของเรือนกระจกจะคายความร้อนออกมา ซึ่งความร้อนลอยขึ้นสูง ดูดเอาความเย็นจากท่อฝังดินเข้ามา ทำให้บ้านนี้มีการพาความร้อนที่ดี และเกิดการถ่ายเทลมตามธรรมชาติโดยไม่ใช้หน้าต่าง

ส่วนในวิดีโอที่เห็นเค้ากำลังทุบยางรถยนต์นั้น ไม่ใช่หรอกครับ เป็นยางรถยนต์เก่าที่เอาดินเข้าไปใส่ตรงกลาง แล้วเอาฆ้อนทุบ (เรียกว่า Rammed earth ซึ่งโดยปกติก็จะใช้อัดกำแพง และเป็นเทคนิคที่ใช้สร้างป้อมและกำแพงเมืองจีน) กำแพงที่อัดแน่นนี้ น้ำซึมเข้าไม่ได้ ในกรณีของบ้านแบบนี้ จะทำหน้าที่เป็น thermal mass วัสดุต่างๆ เค้าก็พยายามจะใช้วัสดุเหลือใช้ครับ

โซล่าร์เซลติดไว้ทางด้านใต้ แสงสว่างใช้ LED มีอินเวอร์เตอร์ตัวหนึ่งสำหรับ Wifi และตู้เย็น ส่วนทีวีไม่ต้องดูหรอกครับ (ถ้าจะดูฟรีทีวี ดูช่องไทยพีบีเอสช่องเดียวก็พอ!)

อีกอย่างหนึ่งที่น่าสนใจคือมีการกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ในถังเก็บซึ่งซ่อนเอาไว้ภายใต้ดินที่เอามากลบกำแพงครับ ทีนี้ถังเก็บน้ำฝนอาจจะสูงได้ท่วมหัว จึงใช้การส่งน้ำแบบใช้แรงดึงดูดธรรมดา ไม่จำเป็นต้องใช้ปั๊มน้ำ (ยกเว้นว่าจะอาบน้ำแบบฝอยฟู่ซู่ซ่า) อีสานซึ่งมีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยน้อยที่สุดในประเทศ ก็ยังมีน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1000 มม./ปีครับ (ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศแปรเปลี่ยนระหว่าง 1800-2200 มม.) ถ้าหลังคามีพื้นที่ 20 ตร.ม. ก็จะเก็บน้ำได้ปีละ 20 คิว เท่ากับถังเก็บน้ำปูนเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 เมตร สูง 3 เมตรจำนวน 6 ถัง น่าจะพอถ้าผ่านหน้าฝนแรกไปได้ครับ

มีการออกแบบด้วยหลักการนี้ นำไปใช้สร้างที่พักสำหรับผู้ประสบภัยที่เฮติ โดยออกแบบเป็นวงกลม ถังเก็บน้ำอยู่ตรงกลาง วงแหวนต่อมาเป็นห้องน้ำ ถัดออกมาอีกเป็นห้องนอน แล้ววงนอกสุดเป็นส่วนที่อยู่อาศัย ครัวและส่วนที่ปลูกพืชออกไปอยู่นอกสุดครับ ดูแล้วน่าจะร้อนพอสมควร แต่ละหลังมี 8 ห้อง อยู่กันห้องละ 4 คน สร้างอย่างนี้ 8 หลัง ก็เป็นคลัสเตอร์ขนาด 256 คน มี 8 คลัสเตอร์ กลายเป็นหมู่บ้านขนาด 2,048 คนแล้วครับ

« « Prev : พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ

Next : ที่พักในหมู่บ้านโลก แบบที่ 1 » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 February 2012 เวลา 0:15

    ระบบแบบนี้ว่ากันว่ามีใช้มาแต่อิหร่านโบราณ (เปอร์เซีย) วันนี้มักนิยมเรียกกันว่าระบบ trombe wall

    นศ. ป. เอกผมคนหนึ่งกำลังทำงานวิจัยเอาแดดมาทำให้บ้านเย็น หลักการคล้ายๆ กันเพียงแต่ของผมเอา solar chimney มาประยุกต์เข้าด้วย และมีระบบ indirect evaporative cooling จากห้องใต้ถุนมาช่วยปรับอากาศด้วย

  • #2 nuntawun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 March 2012 เวลา 21:05

    พี่คอน ว่ายังงัย ผมก้อตามนั้นแระคับ เชื่อมือพี่คับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.40193891525269 sec
Sidebar: 0.17470717430115 sec