การสร้างหลักประกันให้ผู้ประกอบการใหม่

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 July 2010 เวลา 0:34 ในหมวดหมู่ การเมือง การปกครอง กฏหมาย #
อ่าน: 4079

ระบบการศึกษาไทย สร้างคนออกมาเป็นลูกจ้างครับ เวลาวัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จะเห็นว่ามีกิจการเกิดใหม่มีน้อยกว่าในประเทศที่พัฒนาแล้ว — ที่จริงดัชนีชี้วัดต่างๆ ก็มาจากประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งนั้น วัดว่าประเทศไหนเหมือนตัวเองแค่ไหน

เราไปพยายามแก้กันที่เงินทุน มีธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) ทั้งสองเรื่องก็จำเป็นครับ แต่ผมคิดว่ายังไม่พอเพราะว่ายังไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องความกล้าของคน ที่จะเปลี่ยนจากการเป็นลูกจ้างมาเป็นผู้ประกอบการ

ในเมื่อกิจการใหม่เป็นของผู้ประกอบการเอง รัฐก๋ไม่น่าจะเอาเงินมาช่วยหรอกนะครับ เวลาได้กำไรหลังจากเขาเสียภาษีตามหน้าที่แล้ว เงินที่เหลือเค้าเก็บไว้เองทั้งหมด ถ้าเริ่มแล้วสำเร็จก็ดีซิ แต่ความสำเร็จจะไม่มีทางมาถึงถ้าไม่กล้าเริ่มครับ

คนจบใหม่มีความฝัน แต่เหนือความฝันคือความกลัว พอเรียนจบมา ส่วนใหญ่ก็จะหางานประจำทำ ตั้งหลัก ตั้งตัว พอเคยชินกับ “ความมั่นคง” ก็ผ่อนรถ ผ่อนบ้าน แล้วก็ติดแหงก! คนจบใหม่มีความรู้ใหม่ แต่ไม่มีประสบการณ์ ไม่มีเครือข่าย ไม่ครบเครื่องพอที่จะทำธุรกิจ ในเมืองไทยจึงเป็นเรื่องยากกว่าที่คนจบใหม่ จะตั้งธุรกิจทันที

คนวัยกลางคนซึ่งมีความมั่นคงแล้วระดับหนึ่ง น่าจะเป็นผู้ประกอบการใหม่ที่ “เหมาะกว่า” แต่ก็ยังมีปัญหาใหญ่อีกอันหนึ่งคือเงินที่อยู่ในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งตามวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ต้องการให้เงินก้อนนี้เป็นเงินออมเอาไว้ใช้ในยามแก่เฒ่าไม่มีเรี่ยวแรงทำงานแล้ว หากออกจากงานมาเริ่มกิจการของตนก่อนอายุที่กฎหมายกำหนด (ปัจจุบันคือ 55 ปีหากสามารถนายจ้างยอมให้เกษียณอายุก่อนได้ และ 60 ปีหากนายจ้างไม่มีระเบียบให้เกษียณอายุก่อน) เงินส่วนนี้จะต้องนำมาคิดเป็นรายได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคล

อ่านต่อ »



Main: 0.039397001266479 sec
Sidebar: 0.073198080062866 sec