ทิ้งเมือง 3

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 August 2010 เวลา 0:56 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5433

อนุสนธิจากซีรี่ส์ทิ้งเมืองซึ่งไม่ได้เขียนต่อมาปีกว่าแล้ว มัวแต่ไปหาที่ดิน เจอที่ถูกใจ สเป็คสุดยอด ติดทางหลวง ที่โฉนด มีลำธารผ่านข้างๆ น้ำแรงตลอดปี มีไฟฟ้า แต่ราคาไม่ถูกใจครับ เลยยังไม่ตกลง ที่แปลงนั้นถ้าเช่าซื้อได้ก็จะดีเลย

บ่ายวันนี้ น้องชายผมพาเพื่อนสามีภรรยามาคุย เขาเป็นเจ้าของที่ดินที่อากาศดี ไม่ไกลจากกรุงเทพ ซื้อไว้เยอะหลายแปลง แปลงใหญ่ๆ ทั้งนั้น แต่กลับไม่ได้ทำอะไรน่าเสียดาย สองตายายไม่มีลูก คิดจะไปใช้ชีวิตหลังเกษียณ แต่แหม จะเปิดรีสอร์ตเพื่อหาเพื่อนคุยนี่ ช่างคิดแบบคนกรุงเทพซะเหลือเกินครับ อิิอิ

จนป่านนี้ยังไม่ได้เริ่มอะไร ไม่รู้จะรอจนหมดเรี่ยงแรงก่อนหรือยังไง ก็เลยนั่งคุยกันเกือบสองชั่วโมง ผมสอบถามสภาพพื้นที่ สภาพชุมชน และเล่าให้ฟังว่าที่ดินเปล่าในบริเวณที่มีน้ำ มีลม (มีป่าสมบูรณ์ และมีสัตว์ป่า) สามารถทำอะไรได้บ้าง ให้ไอเดียธุรกิจไปหลายอย่าง เท่านั้นแหละครับ เจ้าของที่ฝันหวานเลย บอก พี่ ร่วมลงทุนกันเถิดครับ ที่ดินผมเริ่มมีราศีจับแล้ว แหม…เรื่องอย่างนี้ แค่ฟังแล้วตัดสินใจได้เลยหรือ ก็เลยตกลงจะไปดูที่ด้วยกันครับ

ข่าวดี คือมีร้านกาแฟสดชื่อดังประจำถิ่นอยู่ใกล้ๆ ด้วย — ห่างร่มธรรมยี่สิบกว่ากิโล พอปั่นจักรยานไหว แต่ใช้รถเครื่องยนต์ Gasification ดีกว่า

ลงทุนอย่างนี้ต้องแสวงเครื่องเหมือนกันนะครับ ไม่ใช่คิดฝันไปเองว่าจะทำอะไร แล้วก็ลงทุนขนทุกอย่างไปยัดลงในพื้นที่ เหมาะ-ไม่เหมาะไม่รู้ล่ะ วัดดวงเอา เหมือนถ่ายหนังจากสถานที่จริง บรรยากาศจริง เสียงจริง เทียบกับถ่ายในโรงถ่าย

ผมว่าน่าจะไปดูในพื้นที่อย่างละเอียดว่ามีอะไร ขาดอะไร แล้วจึงพิจารณาตามสภาพว่าทำอะไรจึงจะเกิดประโยชน์ที่สุด ไม่ใช่ดูเฉพาะที่ดินตรงนั้น แต่ดูสภาพบริเวณรอบๆ ด้วย

ทางเลือกนี้น่าสนใจดี แต่คงเร็วไปที่จะบอกว่าตัดสินใจอย่างไร


วิศวกรไร้พรมแดน

อ่าน: 3427

องค์กรนานาชาติวิศวกรไร้พรมแดน (Engineers Without Borders - International) เป็นองค์กรของ “ภาคีวิศวกรเพื่อสังคม” ในแต่ละประเทศ ที่ลงมือ ลงแรง ลงทุน เพื่อประโยชน์ของสังคมโลก ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ มักใช้ตัวย่อ EWB (Engineers Without Borders) ส่วนในประเทศที่ใช้ภาษาฝรั่งเศส ก็มักใช้ตัวย่อ ISF (Ingénieurs Sans Frontières)

คำว่า “ภาคีวิศวกรเพื่อสังคม” ในที่นี้ คงไม่ใช่ผู้สำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรรม ได้ใบ กว. อยู่ภายใต้การควบคุมของสภาวิศวกร แต่หมายถึงอาสาสมัครผู้ที่มีทักษะทางด้านวิศวกรรมหรืองานช่าง ด้านใดด้านหนึ่งหรือหลายด้าน ที่มีจิตใจที่จะช่วยเหลือผู้ที่ต้องการคำแนะนำ ในการใช้เครื่องมือต่างๆ จะช่วยให้วิถีชีวิตยั่งยืนขึ้น (Sustainable and Appropriate Solutions) เช่น การจัดหาน้ำสะอาด ปั๊ม ที่พักอาศัย วัสดุ พลังงาน เครื่องกลทางการเกษตร การจัดการภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉินต่างๆ เป็นต้น

วัตถุประสงค์หลักก็เพื่อช่วยให้ผู้คน มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยอาศัยความรู้ ความเข้าใจ และทักษะทางวิศวกรรมและเทคนิคเข้าไปช่วยเหลือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดภัยขึ้น

อ่านต่อ »


ไม่เหยียบหมา

13 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 August 2010 เวลา 17:40 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3826

เมื่อกี๊ไปให้อาหารโสรยาและลูกๆ หลานๆ ตามเคยครับ พอเห็นเข้าเท่านั้นแหละ พากันวิ่งหน้าตั้งมาเป็นฝูง โดยปกติใครมาถึงก่อนก็จะมีขนมต้อนรับ เรียกว่าได้กินก่อนตัวอื่นนิดนึง แต่ในที่สุดก็ได้กันทุกตัว

ทีนี้พอพอมารุมขอขนมกัน ก็พันแข้งพันขากันยั๊วเยี้ย ผมจะเดินไปไหนก็ไม่ให้ไป มาถูกางเกง มางับรองเท้าไม่ยอมให้เดิน ผมก็รอดมาได้หลายเดือน

แต่วันนี้ตัวหนึ่งดึงขาหลัง อีกตัวขวางอยู่ข้างหน้า เดินไปจึงสะดุดหมา ล้มพลั้ก… ดีที่ถนนคอนกรีตไม่แตกหักเสียหาย เท่านั้นแหละ แม่หมา ลูกหมา และหลานหมา แตกกระเจิงด้วยความตกใจ เห่ากันเสียงขรม

มาคิดดู ถ้าเหยียบหมาไปเลย ผมคงไม่เจ็บตัว ในเมื่อเลือกไม่เหยียบแล้ว ก็รับผลนั้นไป — ไม่เป็นไรครับ ถลอกนิดหน่อย เดี๋ยวเดียวก็หาย

ขนมหมา ตกกระจายเต็มพื้นไปหมด พวกที่วิ่งหางจุกตูดไปแอบอยู่ข้างบ้าน อดกินไป สี่ห้าตัวที่กลัวๆ กล้าๆ มาเห่าแบบระแวงใกล้ๆ ได้ขนมที่ตกเกลื่อนถนนไป คงพุงกางไปเลยเพราะเตรียมไว้สำหรับ 15 ตัว กินกันไม่พูดไม่จา (และเลิกเห่า แต่ยังคงเหลือบตามามอง ตามประสาหมาขี้ระแวง) หลายคืนมานี้เห่าเสียงดัง บางทีก็กัดกันเองตามประสา หรือว่าฝนตกแล้วเครียดก็ไม่รู้

น้องผม (เจ้าของหมานอกบ้านเหล่านี้) ทำเพิงไว้ให้ก็ไม่ยอมอยู่ บางทีเห่าเรียกจะเข้าบ้าน เลี้ยงในบ้านไม่ได้เพราะว่าในบ้านมีอีกโขยงหนึ่ง


เข้าใจน้ำท่วม

อ่าน: 5976

เวลาน้ำท่วม อย่าไปโทษฝนโทษฟ้าเลยครับ หันมองกลับลงมาที่พื้นดินดีกว่า เราไม่เข้าใจพื้นดินเพียงพอทั้งที่ยืนอยู่กับพื้นทุกวัน

มีการทดลองง่ายๆ ที่คณะธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยแห่งมลรัฐเทกซัส เรื่องลักษณะของดินกับน้ำฝนครับ

มีถังพลาสติกสี่ถัง ซึ่งบรรจุสภาพพื้นดินไว้สี่อย่าง: แผ่นคอนกรีตปูบนดิน ดินอัดแน่น ดินมีวัชพืชปกคลุม ดินที่ปลูกพืช(มีรากเจาะลงลึก); ตัวถังพลาสติก เจาะรูไว้สองแบบ รูด้านบนเอาไว้เก็บน้ำที่ไหลไปบนพื้นผิว (เรียกว่า runoff water) ส่วนรูด้านล่าง เอาไว้เก็บน้ำที่ซึมลงในพื้นผิว

เมื่อเทน้ำปริมาณเท่าๆ กันลงด้านบนของแต่ละถัง น้ำที่ไหลอยู่บนผิวพื้น (runoff/น้ำหลาก/น้ำท่วม) จะไหลผ่านท่อบน หลังจากเก็บน้ำมาหมดแล้ว ค่อยเติมสีผสมอาหารสีเขียวลงไปเพื่อความชัดเจน แต่น้ำที่เก็บมาจากท่อล่างซึ่งต้องซึมผ่านดินมาก่อน เติมสีน้ำเงินลงไป

อ่านต่อ »


คืนแม่

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 12 August 2010 เวลา 13:42 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 5113

เมื่อคืนเป็นวันก่อนวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำรัส มีความตอนหนึ่งว่า

…ระหว่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประทับที่ศิริราช ทรงปฏิบัติพระราชกิจตามปกติ เช่น พระราชทานพระบรมราชวโรกาส ให้บุคคลต่างๆ เฝ้าฯ หลายครั้ง ท่านนายกรัฐมนตรีก็ได้ไปเฝ้าฯ หลายครั้งแล้ว เพื่อทรงติดตามปัญหาความทุกข์ยาก ของประชาชนทั่วประเทศ เรื่องที่ทรงห่วงมากระยะนี้ ก็เรื่องน้ำ ปัญหาเรื่องน้ำ ตั้งแต่ตอนที่ฝนทิ้งช่วง ประชาชนประสบปัญหาภัยแล้ง ต้องทรงส่งฝนหลวงไปช่วย จนถึงขณะนี้ฝนตกมาแล้ว ก็ยังทรงติดต่อตามข่าว และสถิติทุกอย่าง เพื่อเตรียมการไว้สำหรับป้องกัน หรือแก้ปัญหาต่างๆ ที่อาจจะมีมาอีก

ฝนหลวง คือ วิธีการทำให้เกิดฝน ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงค้นและพัฒนามาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๘ เพื่อช่วยประชาชนในท้องถิ่น ที่ขาดแคลนน้ำ แต่ก็ไม่ใช่ว่า จะทำฝนหลวงได้ทุกพื้นที่ ทุกเวลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งว่า ไม่ใช่ทำได้ง่ายๆ ทรงอธิบายว่า ต้องมีเมฆ และความชื้นในอากาศเพียงพอ จึงจะทำได้ โครงการฝนหลวง มีผลงานเป็นที่รู้จักกันดี และเป็นที่เรียกร้องของประชาชนเสมอ ในยามที่ฝนทิ้งช่วงนานๆ จนเกิดปัญหาภัยแล้ง อย่างในปีนี้ น้ำต้นทุนในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ มีปริมาณน้อย และลดลงอย่างรวดเร็ว ปริมาณฝนสะสมตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ถึง ๒๘ กรกฎาคมนี้ มีน้อยกว่าปีที่แล้วถึง ๑ ใน ๔

ทางราชการได้ออกประกาศเตือน ให้ชาวนา ชาวไร่ ลดการปลูกพืชฤดูแล้ง พยายามปลูกพืช ที่ใช้น้ำน้อยแทน แต่ประชาชนก็ยังปลูกมากกว่า ที่ทางราชการวางแผนไว้ถึง ๖๐ กว่าเปอร์เซ็นต์ ส่วนมากเป็นการปลูกข้าวนาปรัง ซึ่งต้องใช้น้ำมากเสียด้วย ข้าพเจ้าก็เห็นใจ และเข้าใจชาวนา เพราะเมื่อข้าวได้ราคา และนาว่าง ก็อยากจะปลูกข้าวต่อไป แม้จะทราบว่าน้ำไม่พอ บางคนก็ยอมเสี่ยง เผื่อว่าโชคดี ฝนอาจจะมาเร็ว แต่เมื่อฝนไม่ตก ข้าวก็เหี่ยวแห้งรอวันตาย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงติดตามเรื่องสถานการณ์น้ำ อยู่ตลอดเวลา แม้ระหว่างประทับพักฟื้นอยู่ ที่โรงพยาบาลศิริราช ก็ไม่ทรงว่างเว้นเลย เดือนมิถุนายนนี้ ทรงขอให้สำนักฝนหลวง และการบินเกษตร ตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษ ในภาคเหนือ ๔ แห่งด้วยกัน ภาคอีสาน ๑ แห่ง ภาคกลาง ๑ แห่ง เพื่อเพิ่มน้ำให้เขื่อนใหญ่ ๕ แห่ง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ระดับน้ำก็กระเตื้องขึ้นมา และพื้นที่แห้งแล้งภายนอกก็ลดลง

การทำฝนหลวงนี้เป็นที่สนใจ นานาชาติอย่างกว้างขวาง และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจดสิทธิบัตรการทำฝนหลวงไว้แล้ว ใครจะใช้เทคโนโลยีฝนหลวง ต้องขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตก่อน หลายชาติมาศึกษาดูงาน ในประเทศไทย บ้างก็ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้เทคโนโลยีฝนหลวง เช่น เมื่อเร็วๆ นี้ ทางรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเป็นรัฐที่ค่อนข้างแห้งแล้งอยู่เสมอ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ใช้เทคโนโลยีฝนหลวง พระองค์ท่านก็พระราชทาน แสดงให้เห็นว่า พระมหากรุณานั้นมิได้จำกัดอยู่เพียงราษฎร ในประเทศไทยเท่านั้น แต่แผ่กว้างไปถึงชาวโลกด้วย

ซึ่งข้าพเจ้าก็ภาคภูมิใจ ที่พระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน มีส่วนช่วยดับทุกข์ของเพื่อนมนุษย์ ในนานาประเทศ ซึ่งบางประเทศนั้น ก็มีชื่อเสียงทางเทคโนโลยีด้านอื่นๆ ยิ่งกว่าประเทศไทยด้วยซ้ำไป และจากที่บ้านเราฝนแล้งมาระยะหนึ่ง ต่อไปนี้จะมีข่าวดี ที่พึงต้องระวังไปพร้อมกัน เพราะมีแนวโน้มของสภาพอากาศว่า ตั้งแต่เดือนสิงหาคม ถึงตุลาคมปีนี้ ประเทศไทยจะมีฝนมากกว่าปกติ ข่าวดีก็คือ เราจะได้มีน้ำสำรองไว้ใช้ในปีหน้า แต่ที่ควรระวังคือ ปัญหาน้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมที่จะตามมา ดังที่เราเห็นเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ ในระยะนี้

เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม นี้เอง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้คณะผู้บริหาร สถาบันสารสนเทศน้ำ และการเกษตร เข้าเฝ้าฯ กราบบังคมทูลรายงาน สรุปสถานการณ์น้ำ ได้รับสั่งให้ย้ำทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเรื่องน้ำทั่วประเทศ ให้ช่วยกันวางแผน เพื่อรับมือปัญหาน้ำที่ขาดแคลน เป็นประจำทุกฤดูแล้ง และจะขาดแคลนมากขึ้น ในอนาคต โดยให้คำนึงถึงการประสานประโยชน์ ไม่เน้นด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป

อ่านต่อ »


พิพิธภัณฑ์ พุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ

อ่าน: 5009

เป็นอะไรก็ไม่รู้ครับ เดี๋ยวนี้โอนเงินผ่านระบบธนาคารไม่ผ่านเลย ไปโอนที่ตู้เอทีเอ็มก็ไม่ผ่าน หรือธนาคารที่ใช้เล่นกลหว่า…

ได้เห็นพระพุทธรูปจำลอง ที่วัดป่าภูก้อนได้จัดสร้างขึ้นเพื่อระดมทุนมาตั้งสามเดือนแล้ว แต่ไม่เคยโอนเงินได้สำเร็จสักที (ถ้าสำเร็จเพียงครั้งเดียว ก็จะไม่โอนซ้ำอีก!) องค์พระงามมาก อยากบูชามาให้ตั้งไว้ในห้องนอนพ่อกับแม่ครับ วันนี้ก็เลยไปที่ “สำนักงานโครงการฯ” ในกรุงเทพ ที่อยู่ปากซอยเจริญกรุง 85/1 ตรงข้ามโรงแรมแม่น้ำริเวอร์ไซด์ เป็นร้าน Cockpit ขายยาง

องค์ขนาด 12 นิ้วก็งามมาก เห็นรายละเอียดเยอะเลย แต่ผมคิดว่าจะสร้างฐานและกล่องเอง (อาจจำได้ว่าคุณพ่อเกิดวันอังคาร มีพระปางไสยาสน์เป็นพระประจำวันเกิดซึ่งผมอยากทำให้ เคยแกะพระไม้ให้แม่ไปแล้วองค์หนึ่งเมื่อต้นปี) ส่วนพรุ่งนี้วันแม่ ให้พระสองท่านพร้อมกันเลยดีกว่าครับ แต่ว่าถ้าบูชาองค์ขนาดใหญ่มา พอรวมฐาน รวมกล่องแล้ว คงจะใหญ่โตมโหฬาร ก็เลยบูชาองค์ 9 นิ้วกลับมา

ผมไม่คุ้นเคยกับแถวนั้นหรอกครับ แต่เคยได้ยินแว่วๆ เกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์ พุทธธรรม พระบรมสาสีริกธาตุ เนื่องจากว่าเคยค้นข้อมูลมาก่อน จึงระลึกได้ว่าอยู่ไม่ไกลเลย ขับรถไปดูสถานที่สักหน่อย คิดว่าจะพาพ่อแม่มาเที่ยว แต่ต้องมาดูก่อนว่าเดินไหวหรือเปล่า

อ่านต่อ »


แกว่งตุ้มสร้างงาน

อ่าน: 6709

ลูกตุ้มที่แกว่งหรือหมุนรอบจุดหมุน จะเกิดแรงเหวี่ยง

การผลักลูกตุ้มให้แกว่งใช้พลังงานไม่มาก เมื่อลูกตุ้มซึ่งต่ออยู่กับคานแกว่งแล้ว จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจุดศูนย์กลางของมวล ทำให้โมเมนต์ของคานเปลี่ยนแปลง และทำให้ปลายอีกด้านหนึ่งของคานแกว่งไปด้วย

เฮ้อ… อธิบายยากจัง ดูรูปทางขวาดีกว่าครับ

จะเห็นคานสีเหลืองสองคาน เรียกเป็นคานอันล่าง กับคานอันบน; ที่คานอันล่าง ข้างขวามีลูกตุ้มรูปพัดสีแดงแขวนอยู่กับแขนด้านสั้น ส่วนแขนด้านยาว ต้อกับเพลสหมุนสีน้ำเงิน เมื่อลูกตุ้มรูปพัดถูกผลักให้แกว่งไปมา คานสีเหลืองก็ขยับขึ้นลง ทำให้ไปหมุนเพลาสีน้ำเงิน

ตรงนี้เกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่ในเชิงเส้น (คือผลักลูกตุ้มไปข้างหน้าตรงๆ) แต่ด้วยเครื่องมือกล เกิดการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่เชิงเส้นเป็นการเคลื่อนที่เชิงมุม (เรียกภาษามนุษย์ว่าการหมุน)

เมื่อมีการหมุนแล้ว สามารถใช้หลักของของคาน สามารถนำไปขยายให้เป็นช่วงชัก เอาไปปั๊มน้ำจากบ่อได้… ซึ่งมีผู้ทดลองทำ ปรากฏว่าสูบน้ำได้ในระดับความลึก 12 เมตร

ในสเกลที่ใหญ่ขึ้นไป เมื่อตุ้มมีน้ำหนักมากขึ้น มีแขนที่ยาวขึ้น สามารถใช้สร้างกำลังกลไปปั่นไฟฟ้าได้… เข้าทำนอง สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา

ถ้าแกว่งเบาๆ ก็ได้กำลังน้อย ถ้าแกว่งจนหมุนครบรอบ ก็จะได้กำลังมากที่สุดเท่าที่เครื่องจะทำได้ แล้วแกว่งจากซ้ายไปขวา หรือขวาไปซ้าย จะหมุนตามเข็มหรือทวนเข็มนาฬิกา ก็ได้กำลังเท่ากัน จึงใช้ได้ทั้งคนถนัดขวาและถนัดซ้าย (ส่วนคนที่ถนัดแต่วิจารณ์ คงไม่เวิร์คอยู่ดี ฮ่าๆๆๆ)

กำลังในการสูบน้ำหรือปั่นไฟมาจากไหน ก็มาจากแรงผลักให้ลูกตุ้มแกว่ง+แรงดึงดูดของโลกครับ ตรงนี้ล่ะน่าสนใจ เพราะว่าเครื่องมือกลต่างๆ ละเลยกำลังจากแรงดึงดูดที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

อ่านต่อ »


อนาคต

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 August 2010 เวลา 17:53 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3425

วันนี้ไม่มีอะไรทำ ก็เลยค้น google ด้วยคำว่า “how it ends” เจออะไรแปลกๆ หลายอย่างครับ เลือกมาแค่ประเด็นเล็กๆ

หลายคนยังเรียนอยู่ บางคนจบมาไม่นาน บางคนกำลังสร้างชีวิต สร้างครอบครัว บางคนมีลูกแล้ว ก็คงอยากเห็นอนาคตที่ผาสุก สงบ ก้าวหน้า; อีกด้านหนึ่ง มองว่าถ้าจะถ้าจะให้อนาคต ต้องแก้ไขหลายอย่าง จะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็น ทำเป็นไม่มีอะไรเกิดขึ้นไม่ได้ แต่บางทีถ้าแยกไม่ออกกับความคิดและความจริง ก็จะชี้นิ้ว ตะโกนโหวกเหวกให้คนอื่นทำโน่นทำนี่ไปเรื่อย; แน่ล่ะ มีบางส่วน ไม่สนใจอะไร อะไรจะเกิดก็ต้องเกิด ตัวเองรอดก็พอ ลืมไปว่ามนุษย์จำต้องพึ่งพากัน จะรอดอยู่คนเดียวนั้น อาจจะแย่ยิ่งกว่าเสียอีก

อ่านต่อ »


แล้งจัดมาครึ่งค่อนปี ตอนนี้น้ำท่วม แล้วจะทำอย่างไร

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 August 2010 เวลา 16:07 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3481

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป ว่าทั่วโลกจะมีปัญหาขาดน้ำจืดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เป็นเพราะประชากรโลกเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ปัจจุบันมีหกพันแปดร้อยล้านคน ซึ่งกว่าครึ่งหนึ่งอยู่ในเอเซีย คนต้องใช้น้ำ ปลูกพืชต้องใช้น้ำ เลี้ยงสัตว์ต้องใช้น้ำ พืชและสัตว์ที่อยู่ตามธรรมชาติก็ต้องใช้น้ำเช่นกัน

น้ำทั่วโลก เรียกได้ว่ามีปริมาณคงที่เสมอ เพราะน้ำไม่สามารถหนีแรงดึงดูดของโลกออกไปได้ แต่ว่าน้ำเคลื่อนที่ เปลี่ยนสถานะไปตามสภาวะอากาศ น้ำส่วนใหญ่ของโลกเป็นน้ำในทะเล-มหาสมุทรซึ่งนำมาใช้อุปโภคบริโภคไม่ได้

น้ำ 97% เป็นน้ำทะเล ที่เหลือเป็นน้ำจืด 3%
ในปริมาณน้ำจืดทั้งหมด เป็นหิมะ 68.7% เป็นน้ำใต้ดิน 30.1% น้ำผิวดิน 0.3% และอื่นๆอีก 0.9%
ในบรรดาน้ำผิวดินทั้งหมด อยู่ในทะเลสาบ 87% ในบีงชุ่มน้ำ 11% และในแม่น้ำ 2%

หนาวก็ไม่หนาว ยังไม่ทันไร จะแล้งอีกแล้ว

เมืองไทยได้ดุลการชำระเงิน ซึ่งมีรายได้จากการท่องเที่ยวเป็นตัวมาฉุดดุลการค้า ซึ่งในบางขณะนั้นติดลบ ให้กลับมาเป็นบวก ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมก้าวหน้าไปได้ แต่ถ้ามีปัญหาแล้งหรือน้ำท่วม ใครเขาจะมาเที่ยวครับ เที่ยวเมืองไทยกันเองยังโปรโมทกันลำบากเลย

อ่านต่อ »


แนวคิดเกี่ยวกับภัยพิบัติและการจัดการ

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 7 August 2010 เวลา 14:06 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 5140

แน่นอนว่าไม่มีใครที่อยากให้เกิดภัยพิบัติขึ้น เมื่อเกิดขึ้นคราใด ก็จะมีความเสียหายอย่างหนักเกิดขึ้นในทันที แต่ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่าภัยพิบัติไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย บางทีก็ทำให้เราประมาท คิดไปว่าพื้นที่ที่อาศัยอยู่มีความปลอดภัย จึงไม่ได้เตรียมทางหนีทีไล่ไว้

ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ในที่สุดแล้ว ทั้งรัฐและเอกชนจะเข้ามาช่วยเหลือ แต่ปัญหาคือผู้ประสบภัยจะต้องอยู่ให้ได้ก่อนที่ความช่วยเหลือจะเข้ามาถึง

ยังมีภัยอื่นๆ ซึ่งแม้ไม่สร้างความเสียหายร้ายแรงหรือเป็นวงกว้างเท่าภัยธรรมชาติขนาดใหญ่ เช่นสึนามิ ไต้ฝุ่น แผ่นดินไหวรุนแรง แต่ก็สร้างความเสียหายจนชีวิตไม่สามารถดำเนินต่อไปได้อย่างปกติ เช่นภัยแล้ง น้ำท่วม ดินถล่ม ลมกรรโชก พายุ โรคพืช การจราจรติดขัด ไฟฟ้าดับ น้ำประปาไม่ไหล ฯลฯ ภัยต่างๆ เหล่านี้ แม้จะไม่เสียหายร้ายแรงเท่าภัยพิบัติขนาดใหญ่ แต่ก็เกิดขึ้นบ่อยกว่ามาก และมีผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในพื้นที่โดยตรง

โดยเหตุที่พื้นที่กว่าสามร้อยล้านไร่ของแผ่นดินไทย มีความแตกต่างกันมาก อีกทั้งภัยต่างๆ ไม่สามารถทำนายล่วงหน้าได้ (อาจจะยกเว้นเส้นทางพายุ ซึ่งก็ไม่สามารถรู้ได้แน่ชัดว่าจะรุนแรงขนาดไหน) การเตรียมพร้อมจากส่วนกลาง จึงไม่สามารถที่จะป้องกัน แก้ไข บรรเทาความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นได้ทัน

ดังนั้นชุมชนคนในแต่ละพื้นที่ จึงต้องเข้าใจความเสี่ยงภัยของตน เพราะความเสี่ยงในแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน จะใช้การเตรียมการ หรือการจัดการความเสี่ยงแบบเดียวกันไปหมดไม่ได้

อ่านต่อ »



Main: 0.059841871261597 sec
Sidebar: 0.14710307121277 sec