เรือสำหรับพื้นที่ประสบภัย

อ่าน: 4282

คงเป็นเรื่องประจวบเหมาะที่เมื่อเขียนบันทึก [ใกล้แต่หาผิดที่] เมื่อวานนี้แล้ว มีข้อมูลเข้ามาหลายทางว่าเกิดการตื่นตัว จัดหาเรือกันยกใหญ่

ได้ฟังอย่างนี้แล้ว ก็ดีใจนะครับที่แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติ เริ่มหันไปมองทางด้านป้องกันและเตรียมการเอาไว้บ้าง แทนที่จะรอลุ้นว่าจะเกิดภัยหรือไม่ ถ้าไม่เกิดก็รอดตัวไป แต่ถ้าเกิดกลับช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย เป็นอาการเหมือนเล่นหวย… เรียกได้ว่าบันทึกได้ทำหน้าที่ของมันตามวัตถุประสงค์แล้ว แม้ไม่ได้ให้คำตอบสำเร็จรูปอะไรเลย

เรือแบบไหนที่มีความเหมาะสม?

เรื่องนี้ ไม่มีคำตอบให้เหมือนกันครับ ไม่มีเรือแบบไหนที่จะเหมาะกับสถานการณ์ทุกอย่าง ถ้าเป็นน้ำท่วมขัง น้ำนิ่ง หรือไหลเอื่อยๆ แบบนี้แพหรือเรือพาย ก็เป็นพาหนะที่เหมาะสมดี

แต่ถ้าขนของเยอะ หรือน้ำไหลเชี่ยว หรือว่าต้องใช้เดินทางระยะไกล ก็คงต้องหาเรือที่แข็งแรง น้ำหนักเบา และพึ่งกำลังของเครื่องยนต์นะครับ

เรือแบบนี้ มักจะออกไปทางเรือไฟเบอร์กลาส หรือเรือเหล็ก ซึ่งมีราคา “แพง” (คำว่าแพงนั้นเป็นอัตตวิสัย)

อ่านต่อ »


ใกล้แต่หาผิดที่

อ่าน: 4163

ผมคิดว่าทั้งสาธารณชนและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าใจคำว่าการจัดการภัยพิบัติไขว้เขวไป

การจัดการภัยพิบัติไม่ใช่การนำความช่วยเหลือไปให้ผู้ประสบภัย เมื่อภัยพิบัติเกิดขึ้นแล้ว จะมีความเสียหายเสมอ ไม่ว่าจะเยียวยา หรือแจกถุงยังชีพอย่างไร ก็ไม่เหมือนก่อนเกิดภัย — การบรรเทาทุกข์อย่างที่ทำกันโดยแพร่หลาย เป็นเพียงส่วนจำเป็นส่วนหนึ่งในการจัดการภัยพิบัติเท่านั้น

การจัดการภัยพิบัติเป็นกระบวนการต่อเนื่อง มีสองส่วน คือการจัดการความเสี่ยง (ครึ่งซ้ายในรูปข้างล่าง) กับการแก้ไขสถานการณ์ (ครึ่งขวา) เป็นกระบวนการที่ใช้ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนการยอมรับความจริง เป็นส่วนผสมหลัก ส่วนกำลังเป็นเรื่องรองลงไปครับ

Disaster Management Cycleกระบวนการจัดการภัยพิบัติตามรูปทางขวา มีอยู่หลายขั้นตอน แต่สิ่งที่เราทำกันคือไปอัดกันอยู่ในช่วงสีแดง แถมยังไม่มีการประสานกันเสียอีก จึงเกิดความอลหม่านขึ้น เกิดเป็นกระแส แย่งกันทำ แย่งกันช่วย ซ้ำซ้อน ทำไปโดยความไม่รู้

ไม่ใช่ว่าผมไม่เห็นด้วยหรอกนะครับ… ช่วงที่ผู้คนทุกข์ยาก ก็ต้องช่วยกันให้ผ่านไปได้ไม่ว่าจะทุลักทุเลขนาดไหน… แต่ถ้าหากต้องการจะช่วยจริงๆ แล้ว ไม่ต้องรอให้เกิดเป็นกระแสขึ้นมาก่อนได้หรือไม่ หาความรู้ พิจารณาล่วงหน้าก่อนดีไหมครับ ว่าจะช่วยอย่างไรดี

คลิกบนรูปทางขวาเพื่อขยาย — เมื่อเกิดภัยขึ้น ส่วนของการบรรเทาทุกข์ก็จะต้องทำโดยความเร่งด่วน ซึ่งคำว่าเร่งด่วนหมายถึงช่วยให้ผู้ประสบภัยปลอดภัย และดำรงชีวิตผ่านช่วงวิกฤตไปได้ ความปลอดภัยและปัจจัยสี่ต้องพร้อม

จะเป็นถุงยังชีพหรืออะไรก็แล้วแต่ ทำไปเถิดครับ ขออนุโมทนาด้วย แต่จะส่งอะไรลงไปยังพื้นที่นั้น ควรจะรู้หรือประเมินล่วงหน้าได้ก่อน ว่าผู้ประสบภัยในพื้นที่ต้องการอะไรเป็นลำดับก่อนหลัง แม้จะฟังดูโหด (ภัยพิบัติเป็นเรื่องโหดร้ายอยู่ดี) แต่การส่งของที่ไม่เป็นที่ต้องการลงไปในพื้นที่ (หรือเรียกว่าองค์ทานไม่มีประโยชน์ต่อปฏิคาหก) กลับจะเป็นภาระต่อผู้ประสบภัย ผู้แจกจ่าย และการขนส่ง ต้องไม่ลืมวัตถุประสงค์ว่าเราต้องการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่ใช่เพียงช่วยให้ตัวเองรู้สึกดีว่าได้ทำอะไรบางอย่างแล้ว

อ่านต่อ »


เจาะรูในดิน

อ่าน: 4185

เมื่อน้ำท่วม ผิวดินจะมีสภาพชุ่มน้ำ ทำให้น้ำซึมผ่านลงดินไปได้ยากขึ้น ดังนั้นน้ำที่ท่วมก็จะไหลไปตามความลาดเอียงไปท่วมที่อื่น หรือว่าหากพื้นที่ที่น้ำท่วมมีสภาพเป็นแอ่ง น้ำก็จะท่วมขังอยู่ในบริเวณนั้นเป็นเวลานาน เรื่องนี้มองอีกมุมหนึ่ง ก็เป็นการเสียโอกาสที่จะเติมน้ำใต้ดินหรือทำฝายใต้ดิน เพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร

น้ำที่เราใช้กันและโวยวายว่ามากเกินไปหรือไม่พอใช้นั้น หมายถึงน้ำผิวดิน ซึ่งว่ากันที่จริงแล้วเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำจืดทั้งหมด สาเหตุส่วนหนึ่งของทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง ก็เป็นเพราะเราไม่รู้จักกักเก็บน้ำฝนที่ตกลงมาเอาไว้ใช้นั่นเอง

อ่านต่อ »


ฝายใต้ดิน

อ่าน: 5698

ช่างพิลึกพิลั่นเสียจริง เมืองไทยฝนตกเยอะ (เฉลี่ย 1800 มม.; ปีนี้คงมากกว่านั้น) แต่น้ำไม่พอ ที่น้ำไม่พอเพราะไม่รู้จักเก็บกักไว้ใช้มากกว่าครับ

มีปัญหาซ้ำสองคือที่ดินราคาแพง นายทุนมากว้านซื้อไปหมด เอาไปขายต่อ ทำรีสอร์ต เอาไปปลูกพืชเชิงเดี่ยวขายโรงงาน ส่วนคนใจแข็งที่ไม่ขายที่ ถ้าจะขุดสระน้ำพึ่งตนเอง เวลาแดดร้อนน้ำแห้งไปหมด จะกันพื้นที่ไปทำแก้มลิง ที่ดินก็แพงจับใจ

ยิ่งเป็นดินทรายเก็บน้ำไม่ได้แบบสวนป่า ยิ่งไปกันใหญ่… แต่อาจจะยังพอมีทางออกครับ เพียงแต่ใช้ไม่ได้ทุกพื้นที่ กล่าวคือแทนที่จะเก็บน้ำไว้ที่ผิวดิน เราเอาน้ำลงไปเก็บใต้ดินตื้นๆ ได้ จะเหมาะกับพื้นที่ที่มีชั้นของดินดานหรือหินอยู่ไม่ลึกนัก และห้ามทำในพื้นที่ที่ที่มีความลาดเอียงสูงหรือมีหินปูน

หลักการก็คือใช้ที่ดินนั้นเป็นพื้นที่รับน้ำฝน เราจะพยายามทำให้น้ำฝนที่ตกลงบนที่ดินนั้น ซึมลงใต้ดินให้มากที่สุด โดยชักน้ำฝนที่ตกลงบนพื้นที่มาหาบ่อซึม ซึ่งเป็นหลุมเล็กๆ อาจจะมีปริมาตรคิวหรือครึ่งคิวก็น่าจะพอ จากหลุมนี้ ต่อท่อใต้ดินออกไปเพื่อกระจายน้ำให้ซึมไปกับดิน (ถ้ายุ่งยากก็ไม่ต้องต่อท่อ แต่ว่าน้ำจะซึมออกได้ช้ากว่า)

อ่านต่อ »


เตือนภัยน้ำป่า

อ่าน: 3568

คนมีความรู้ ถ้ารู้จริงมักก้าวข้ามอุปสรรคได้ง่าย คนที่เรียนรู้เป็น เมื่อไม่รู้อะไรก็สามารถไปหาความรู้เพิ่มเติมได้ ส่วนคนมีเงิน ก็มีกำลังในการซื้อของที่มีขายได้สะดวก แต่ถ้าดันมีพร้อม อะไรๆ ดูเหมือนจะง่ายไปหมด ซึ่งนั่นไม่แน่ว่าจะจริงหรอกครับ มีทางเลือกมากมาย เลือกบางอย่างก็เว่อร์ บางอย่างทำอะไรได้มากมายเกินวัตถุประสงค์ แล้วบางอย่างทำอะไรไม่ได้มากแต่ชาวบ้านดูแลเองได้ ฯลฯ น้ำป่าฆ่าคนและทำความเสียหายได้มากมาย จะนั่งดูเฉยๆ ในข่าวทีวีก็ใช่ที่ หากมีเครื่องมือตรวจจับน้ำป่่าง่ายๆ ถูกๆ ไม่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงปรี๊ด ให้ชาวบ้านดูแลได้เองและเตือนภัยอย่างง่าย ไม่ต้องตีความมากได้ก็น่าจะดี แต่ถึงอย่างไรก็ตาม เรื่องอย่างนี้ ต้องถามความเห็นชาวบ้านด้วยครับ ถึงอย่างไรก็ชีวิตเขานะ

การตรวจจับน้ำป่า

น้ำป่าเกิดจากฝนตกหนักในพื้นที่รับน้ำ ปริมาณน้ำฝนที่ตกลง ไหลไปสู่ที่ต่ำ ไปรวมกันตามร่องน้ำ เมื่อรวมกันมามากๆ เข้า ก็เป็นมวลน้ำมหาศาล สามารถกระแทกสิ่งกีดขวางให้พังทลายได้ น้ำปริมาณมากที่ไหลมาในเวลาเดียวกัน จะยกตัวพ้นตลิ่งไหลเข้าท่วมบ้านเรือนเทือกสวนไร่นาของชาวบ้าน กลายเป็นน้ำท่วม

อ่านต่อ »


ประชาคมต้นน้ำของโคราช

อ่าน: 3944

โคราชไม่มีภัย มาทำอะไรกันอยู่ที่นี่? มาอยู่ที่นี่เพราะ ถ้ามาเมื่อมีภัยเกิดขึ้นแล้ว ก็จะสายเกินไปที่จะป้องกัน แล้วภัยก็จะเกิดขึ้นอีก ซ้ำซาก ไม่รู้จักจบสิ้น

จริงอยู่ที่ว่ามนุษย์กระจ้อยร่อย ไม่มีปัญญาต่อกรกับพลังของธรรมชาติได้ แต่มนุษย์ที่มีปัญญา ไม่ท้อแท้ง่ายๆ เมื่อมองเห็นปัญหา ก็ต้องพยายามแก้ไข แต่ถ้ามันเกินกำลัง ควรจะหาวิธีบรรเทาหรือผ่อนคลาย ไม่ทำตนเหมือนคนเป็นโปลิโอทางสมองนะครับ

ลำน้ำมูลเวลาท่วมแล้ว มีคนได้รับผลกระทบเป็นล้านคน เราคิดต้นน้ำมาจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แต่ก็มีต้นน้ำอื่นๆ อีกด้วย

อ่านต่อ »


เสริมตลิ่ง

อ่าน: 4076

เรื่องเขื่อนเขียนไว้หลายบันทึกแล้วครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง [กระสอบทราย]

เนื่องจากวันนี้ จะต้องไปประชุมกับกลุ่ม CSR โคราชเรื่องแผนป้องกันน้ำป่าแถบเขาใหญ่ ก็ขอเอาตัวอย่างของเขื่อนผ้าใบ(แบบใหม่)มาเล่าอีกทีนะครับ หาเรื่องมาเขียนใหม่ทั้งหมดไม่ทันแล้ว

เขื่อนผ้าใบมีหลักการเหมือนกระสอบทราย ตือใช้น้ำหนักของสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน กดลงดิน ใช้ความเสียดทานกั้นน้ำไว้ไม่ให้แทรกเข้ามาหลังเขื่อน มีข้อดีคือใช้วางบนภูมิประเทศสูงๆ ต่ำๆ ได้ ไม่ต้องปรับฐานให้เรียบ ภายในแทนที่จะใส่ทราย ก็ใส่น้ำลงไปแทน เอาน้ำที่ท่วมนั่นแหละเติมครับ วางแนวต่อกันเป็นแถวยาวๆ ได้ การต่อระหว่างชุด เมื่อใสน้ำแล้ว ถึงจะปลิ้นออกเล็กน้อย ทำให้แนวสองชุดเบียดประกบ กั้นน้ำได้

ตามความเห็นที่ให้เอาไว้ในบันทึกกระสอบทราย ถ้าใช้สัณฐานสามเหลี่ยม ระดับน้ำหน้าเขื่อน ไม่ควรจะเกินครึ่งหนึ่งของความสูง แต่เมื่อใช้สัณฐานเป็นลูกซาละเปาแบบในบันทึกนี้ ก็อาจสูงขึ้นได้อีกครับ [รูปการใช้งาน]

อ่านต่อ »


เตรียมตัวเป็นไหม

อ่าน: 2911

ชื่อบันทึกนี้ เป็นคำถามที่ผมไม่ต้องการคำตอบ แต่มุ่งให้ผู้อ่านแต่ละท่าน ถามตัวเอง ตอบตัวเอง และกระทำสิ่งที่สมควร

รูปข้างบนเป็นหน้าแรกของหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ ชื่อ ready.gov ด้านล่าง ขึ้นแบนเนอร์ของสามเว็บไซต์ ซึ่งที่จริงแล้ว ทั้งสามก็เป็นเว็บของ FEMA (องค์กรจัดการภัยพิบัติของสหรัฐ) ทั้งหมด FEMA เองเคยล้มเหลวเรื่องการจัดการภัยพิบัติมาหลายครั้ง แต่เขาเรียนรู้และปรับปรุง คราวนี้ดูดีกว่าเก่าเยอะครับ

อ่านต่อ »


การประชุมกับ CSR โคราช

อ่าน: 3299

วันนี้ประชุมกับกลุ่ม CSR โคราชที่เขาใหญ่ ที่บ้านคุณเหน่งแม่ยกของกลุ่ม เริ่มประชุมตอนบ่ายสองโมง กลับออกจากเขาใหญ่เกือบสามทุ่ม จากการที่ได้พูดคุยเป็นเวลานาน พบว่ากลุ่มนี้ตั้งใจและทำงานจริงครับ (ถึงจะไม่เชื่อว่าผมถือศีล ๕ ซึ่งไม่ค่อยขาด ก็ขอให้เข้าใจด้วยว่าผมไม่ต้องอวยใครนะครับ อิอิ)

ไปโคราชคราวนี้ @iwhale ชวนไปแลกเปลี่ยนกับกลุ่มกลุ่มเครือข่ายเพื่อสังคมโคราช หรือเรียกง่ายๆ ว่ากลุ่ม CSR โคราช — เช่นเดียวกับในพื้นที่ต่างๆ กลุ่มที่มีความรับผิดชอบต่อท้องถิ่นนั้นมีกันอยู่มากมาย กลุ่ม CSR โคราชทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยไม่ได้แอ๊บประชาสัมพันธ์ธุรกิจหรือตัวบุคคล มีโครงสร้างจากหลากหลายกลุ่มย่อย มาร่วมกันทำงานพัฒนาท้องถิ่น; ถ้าหากกลุ่มต่างๆ ในท้องถิ่นสามารถรวมตัวกันเป็นภาคี (หมายความว่าทำงานด้วยเป้าหมายเดียวกัน แต่เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและกัน) ก็จะเกิดการรวมพลังพัฒนาท้องถิ่นได้ โดยไม่ต้องแบ่งแยกว่าใครใหญ่ ใครดัง ผลงานของใคร

งานของกลุ่ม CSR โคราช ทำเรื่องเด็กและเยาวชนกับเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก แต่ที่ผมได้ข่าวคราวของกลุ่มนี้มาครั้งแรก ก็เป็นเมื่อตอนน้ำท่วมโคราชเมื่อปีที่แล้ว เขาระดมสรรพกำลังมาช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ทั้งรถออฟโรดที่เข้าพื้นที่ห่างไกล โครงการกู้นาฝ่าวิกฤตที่จัดการเรื่องพันธุ์ข้าวหลายสิบตันสำหรับนาที่ล่ม เจอกันในเวทีของภาคประชาชนหลายครั้ง ได้รับโอกาสเข้าไปเสนอ “โคราชโมเดล” ใน คชอ. เป็นต้น ตลอดจนเมื่อสถานการณ์ของโคราชพ้นวิกฤตแล้ว ก็ยังส่งความช่วยเหลือไปยังพื้นที่ประสบภัยอื่นๆ ด้วย มีการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือภาคประชาชนกันเอง เมื่อตอนน้ำท่วมโคราช ชาวสุราษฎร์ยกมาช่วย เมื่อคราวน้ำท่วมสุราษฎร์ ชาวโคราชก็ยกไปช่วย ฯลฯ

อ่านต่อ »


บทเรียนจากโคราช

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 10 July 2011 เวลา 0:42 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 3415

เมื่อวานขึ้นมาโคราช จะประชุมร่วมกับส่วนหนึ่งของทีมอาสาสมัครในพื้นที่โคราช (CSR โคราช) ทีมนี้เป็นทีมเข้มแข็งครับ มีภาคีในพื้นที่อยู่พอสมควร มีกำลังในการบรรเทาทุกข์ เข้าถึงพื้นที่ประสบภัยลึกๆ ได้

แต่น้ำใจและความทุ่มเทเพื่อพลิกฟื้นชีวิตความเป็นอยู่ของชาวโคราช หลังจากเกิดอุทกภัยใหญ่เมื่อปีที่แล้วจะน่ายกย่อง แต่การกระทำในลักษณะนี้ เป็นเรื่องปลายเหตุแล้วครับ ฟังดูเหมือนแล้งน้ำใจเหลือเกิน แต่มันก็เป็นความจริงที่ว่าความเสียหายเกิดขึ้นแล้ว ไม่ว่าจะบรรเทาหรือเยียวยาอย่างไร ก็ไม่เหมือนเดิมหรอกนะครับ

หากชาวโคราชและชาวบ้านตลอดลำน้ำมูล จะได้บทเรียนอะไรบ้างจากน้ำท่วมใหญ่เมื่อปีที่แล้ว ทุกคนควรจะหันไปมองเรื่องการป้องกันอย่างจริงจังขึ้น

อ่านต่อ »



Main: 0.046982049942017 sec
Sidebar: 0.15431690216064 sec