เริ่มต้นกับ GIS (1)

อ่าน: 5993

เรื่องนี้ เริ่มที่ไอเดียบรรเจิดในบันทึก คนมีเบอร์ | ปักธงกันหน่อยดีไหม | ถามตรงๆ ^ ^ เป็นความพยายามที่จะอธิบายเรื่องที่(ยัง)จับต้องไม่ได้ ให้ผู้ที่(ยัง)ไม่เคยใช้เข้าใจ — หรือบางทีอาจจะทำให้งงกว่าเก่านะครับ; คำอธิบายนี้ ไม่เหมือนกับในตำรา แต่พยายามจะอธิบายให้เห็นไส้ใน เพื่อที่จะได้พิจารณาเองว่าอะไรทำ อะไรซื้อ — มีหลายตอน ขณะนี้ยังไม่รู้ว่าจะเขียนกี่ตอน

หากท่านผู้รู้ท่านใด มีความเห็นัดแย้ง หรืออธิบายเพิ่มเติม ก็ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ — เราร่วมกันเรียนได้

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) เป็นระบบที่ทำงานด้วยกระบวนการจัดการความรู้ โดยใช้ข้อมูลเชิงแผนที่ (Geospatial Information) ซึ่งเก็บอยู่ในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์มาประมวล

สำหรับ Geospatial Information (Geo=ภูมิศาสตร์ spatial=เกี่ยวกับอวกาศ/แผนที่ทางอากาศ Information=สารสนเทศ) มีข้อมูลหลักๆ สองด้านคือ

  • ข้อมูลแผนที่: เป็นข้อมูลที่เกี่ยวกับตำแหน่ง โดยปกติเป็นพิกัด (เส้นรุ้ง,เส้นแวง) เพื่อบอกว่าข้อมูลนั้น อยู่ตรงไหนบนโลก อาจจะเป็นพื้นที่เช่นเขตการปกครอง โฉนด เขตปลูกข้าว, เป็นตำแหน่งเช่นแหล่งท่องเที่ยว ที่ตั้งเอทีเอ็ม โรงเรียน ฯลฯ
  • ข้อมูลเชิงบรรยาย (Attributes): เป็นข้อมูลประกอบอื่นๆ ที่ไม่ใช่พิกัด เช่นจำนวนประชากรภายในเขตการปกครองนั้น เนื้อที่/ปริมาณผลผลิตจากพืชชนิดต่างๆในพื้นที่ เป็นความสูงของระดับพื้นเพื่อดูว่าที่ใดเป็นเขา เป็นอ่างเก็บน้ำ

อ่านต่อ »


เก็บตกส่งท้ายขอนแก่น

อ่าน: 3278

ก่อนไปบรรยายให้นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมศาสตร์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ชั้นปีสาม โดยมี นศ.ชั้นปีสองกับปีสี่เข้าฟังด้วย เมื่อวันที่ 7 ม.ค. ผมเขียนโน๊ตสั้นไว้ในช่วงกินข้าวกลางวัน ก่อนไปบรรยายตอนบ่ายสองโมง

โน๊ตนี้ก็ไม่มีอะไรหรอกครับ คือผมแน่ใจว่าจะมีนักศึกษาเป็นจำนวนมาก ที่อาจจะย่อยสิ่งที่ผมเล่าให้ฟังไม่ทัน หรือไม่ก็อาจจะย่อยไม่ได้เลย — ไม่ได้ดูแคลนหรอกนะครับ — เรื่องที่บรรยายไม่ยาก แต่เป็นเรื่องที่ต้องคิด มีเรื่อง มีเกร็ดมากมายในบรรยายครั้งนั้น ทำให้ไม่มีเวลาคิด; มันเต็มไปด้วยเรื่องของการเลือกในสถานการณ์ต่างๆ การพิจารณาทางเลือกในสถานการณ์ และข้อจำกัดต่างๆ การไม่ปล่อยให้ชีวิตดำเนินไปเรื่อยเจื้อย การตระหนักถึงจุดเปลี่ยน และการตัดสินใจเปลี่ยนแปลงในจังหวะที่เหมาะ

ถ้าไม่มีประสบการณ์มาเลย เรื่องแบบนี้ บางทีฟังเพลินจนลืมคิดครับ ทีนี้ถ้านักศึกษาจับประเด็นอะไรไม่ได้ ผมก็อยากให้ได้ประเด็นที่ขมวดไว้ในตอนท้าย ซึ่งขยายความเพิ่มเติมคือ

อ่านต่อ »


บทเรียนจากเด็ก

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 29 January 2009 เวลา 0:11 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4067

เรื่องนี้ แม้จะเป็นเพียงโฆษณา แต่ถ้าเราเรียนรู้ได้ ก็มีบทเรียนครับ อย่าผิดซ้ำสอง

ความกักขฬะ ความหยาบคาย ความรุนแรง ทั้งการกระทำ และคำพูด ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย

ขอบคุณพรายตนที่สองที่ส่งคลิปนี้มาให้ดูนะครับ


บทเรียนจากหมอก

อ่าน: 4853

เมื่อเช้า ขับรถพาแม่ไปโรงพยาบาล หมอกลงจัด ทัศนวิสัยแย่มาก รถสวนมาเปิดไฟหน้า แต่มองเห็นได้เพียงสิบเมตร เมื่อเช้า ผมขึ้นทุกทางด่วนเพราะว่าเป็นทางแยกกับเลนที่สวนมา และขับไปด้วยความเร็วที่ช้าผิดปกติ จากเดิมที่ขับช้าอยู่แล้ว

ที่น่าแปลกใจคือธรรมดาหมอกในกรุงเทพ 8 โมงก็หายหมด แดดแจ๋แล้ว คราวนี้ 9 โมงยังมีหมอกหนา เริ่มจางไปตั้งแต่ 10 โมง แสดงว่าหมอกคราวนี้ลงหนามาก (เป็นความสูงหลายๆ ร้อยฟุต) แสงแดดใช้เวลานานกว่าจะให้ความร้อนแก่หมอกจนระเหยไปหมด

เมื่อวานหมอกลงจัดจนเรือเฉี่ยวกันบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา วันก่อนนั้น เครื่องบินลงที่สุวรรณภูมิไม่ได้ ต้องย้ายมาลงดอนเมือง 20 เที่ยว ถามถึงโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ ก็แทบเป็นไปไม่ได้เลย ซึ่งนั่นกลับเป็นประเด็นของบันทึกนี้

อ่านต่อ »


โคลนติดล้อ

อ่าน: 26922

เมื่อตอนกลางปี 2550 ท่านอาจารย์ไร้กรอบพูดถึงเรื่องการศึกษา แล้วเลยไปถึงบทพระราชนิพนธ์อันหนึ่ง จำเนื้อความได้ลางๆ แต่หาอ่านไม่ได้แล้ว

ผมจึงไปค้นมาได้ว่าเป็นบทพระราชนิพนธ์ของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ซึ่งตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ.​ 2458 เกือบร้อยปีมาแล้ว อยากนำมาให้อ่านอีกครั้งหนึ่งครับ

สหายเอยจงเงยหน้า และเปิดตาพินิจดู
เผยม่านพะพานอยู่ กำบังเนตรบ่เห็นไกล
เปิดม่านแลมองเถิด จะเกิดความประโมทย์ใจ
เห็นแคว้นและแดนไทย ประเสริฐแสนดังแดนสรวง
หวังใดจะได้สม เสวยรมยะแดดวง
เพ็ญอิสสะโรปวง ประชาเปรมเกษมสานต์
ซื่อตรงและจงรัก ผดุงศักดิ์ดิถูบาล
เพื่อทรงดำรงนาน อิศเรศร์ประเทศสยาม

โคลนติดล้อ หมายถึงความเห็นผิดที่เหนี่ยวรั้งเมืองไทยไม่ให้ก้าวหน้า มี 12 ข้อ น่าอ่าน แล้วน่าคิดทุกข้อครับ

อ่านต่อ »


เจ้าเป็นไผ ภาคพิสดาร

อ่าน: 5846

สืบเนื่องจากบันทึกคุณคนไทย ทำยังไงจะหายบื้อ เป็นการแจกการบ้าน อีกแล้วครับท่าน

Sanctuary Asia cover page (june 2008)

แม่ถ่ายให้ที่พระตำหนักดอยตุง

เคยเขียนเรื่อง กว่าจะเป็น Conductor กับ Blog-Tag เอาไว้

การเขียนเรื่องเกี่ยวตัวเอง มันค่อนข้างยากที่จะนำเรื่องไม่ดีมาเขียน — ซึ่งผมคิดว่าคบกันไป จะทำให้เห็นทั้งข้อดีและข้อเสียตามความเป็นจริงมากกว่า — ที่ไม่ค่อยนำเรื่องไม่ดีมาเขียนกันนั้น อาจไม่ได้เป็นเพราะต้องการจะปกปิดบิดเบือนหรอกครับ ผมเชื่อว่าทุกคนพยายามจะเป็นคนดี ถ้ายังมีสิ่งไม่ดีอยู่ อาจเป็นเพราะไม่รู้ตัวก็ได้ ซึ่งก็ต้องอาศัยเพื่อนช่วยเตือน แต่ถ้ารู้ตัวแล้วไม่แก้ ก็แก้ไม่ได้ครับ ใครก็ไปแก้เขาไม่ได้อยู่ดีถ้าใจเขาไม่เปิดรับ

อย่างไรก็ตาม เขียนก็เขียนครับ หวังว่ามีบทเรียนให้ทุกย่อหน้า — แต่จะได้หรือไม่ ก็สุดแต่จะพิจารณากันเอง

ครอบครัว

ตอนเด็ก ผมอยู่บ้านคุณปู่ ซึ่งเคยเป็นกรรมการผู้จัดการสถาบันการเงินขนาดใหญ่ของประเทศสองแห่ง หลังจากคุณปู่เกษียณอายุ สถาบันการเงินทั้งสองแห่ง “ไม่อยู่แล้ว”; คุณปู่เป็นคนตรงมาก เมื่อขยายสาขาธนาคารซึ่งไปซื้อที่ดินตามจังหวัดต่างๆ มีผู้ขายนำเงินมาให้ คุณปู่บอกให้ลดค่าที่ดินมาเป็นจำนวนเท่ากันให้กับธนาคาร และปฏิเสธการรับเงิน “สินน้ำใจ” เมื่อใช้นามสกุลพระราชทาน ก็ต้องรักเกียรติ รักศักดิ์ศรีของวงศ์ตระกูล

ผมเคยถามพ่อว่าคุณปู่มีเงินขึ้นมาได้อย่างไร พ่อบอกว่าคุณปู่ซื้อทองเก็บฝังตุ่มไว้ในช่วงสงคราม (ตุ่มอยู่ใต้ดิน เลื่อนได้เพราะแรงระเบิด) พอหลังสงครามทองขึ้นราคา เลยพอมีพอกินไปจนตลอดอายุขัย ลำพังเงินเดือนลูกจ้าง แม้จะมีตำแหน่งใหญ่โต แต่ก็จะไม่พอที่จะส่งลูกหลายคนเรียนต่างประเทศได้

อ่านต่อ »


ความรู้อาจเรียนทันกันหมด

อ่าน: 6405

ประมาณปี 2526 ผมเป็นหัวหน้าเด็กอยู่ในบริษัทดาวรุ่งแห่งหนึ่ง เป็นกิจการที่ทำเรื่องที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ทัศนคติของสังคมในขณะนั้น ไม่เชื่อถือฝีมือคนไทย งานที่ทำจึงมีแต่บริษัทฝรั่งบางแห่งที่ให้โอกาส ต่อมาเมื่อบริษัทไม่ประสบความสำเร็จในทางธุรกิจ ก็ถูกซื้อไปโดยกลุ่มการค้า ในวิสาหกิจขนาดยักษ์ของไทย ซึ่งในปัจจุบันไม่มีกลุ่มนี้ีแล้ว

เมื่อถูก take over บริษัทยักษ์ก็ส่งคนเข้ามาจัดการ โดยส่งคนเก่งๆเข้ามาดูหลายคน รวมทั้งเด็กปั้นผู้หนึ่ง ซึ่งจบเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเหรียญทองด้วย — เผอิญเรียนรุ่นเดียวกันแต่คนละมหาวิทยาลัย จึงเป็นคนร่วมสมัย อายุเท่ากัน เรียนเร็วเหมือนกัน เลยคุยกันได้ถูกคอ และเป็นโอกาสดีอันหนึ่งในชีวิตของผม

เป็นที่น่าสังเกตว่าบริษัทที่ยิ่งใหญ่อย่างบริษัทยักษ์รายนี้ มีการ identify คนที่มีศักยภาพไว้เป็นรุ่นๆ ให้โอกาส ให้ประสบการณ์ อบรม-สั่งสอน-ถ่ายทอดกันมาอย่างเป็นระบบ และทำเรื่องนี้อย่างจริงจัง

เพื่อนได้รับคำชี้แนะจากผู้ใหญ่ระดับสูงให้พิจารณาดูกระบวนการเรียนรู้ตามระบบ เช่นเรียนวิศวะ อ่านหนังสือวิชาพื้นฐานประมาณ 50 เล่ม(ในสี่ปี) เรียนโทอาจจะประมาณ 20-30 เล่มในวงที่แคบลง พอปริญญาเอกอาจจะเป็น 20-30 เล่มในเรื่องเฉพาะที่สนใจ — ถึงตัวเลขคลาดเคลื่อนไปก็ไม่แปลก แนวคิดยังเป็นเช่นเดิม

เมื่อเริ่มทำงาน หากอ่านหนังสือ-ด้วยอัตราที่ช้ามาก-เดือนละ 1 เล่ม แต่อ่านจนเข้าใจ ไม่ฉาบฉวย-ไม่อ่านผ่านๆไป รู้จักเลือกหนังสือ เพิ่มพูนความรู้ให้กว้างขวางในหลายๆด้าน หัดคุยกับคนที่มีความเชี่ยวชาญในหลายๆแขนงจนแตกฉาน กว่าจะเกษียณอายุ ก็อาจจะอ่านไปแล้วพอๆกับจำนวนหนังสือสำหรับการเรียน ตรี-โท-เอก กว่าห้ารอบ; จริงอยู่ที่ว่าคงไม่เหมือนกับการเรียนจริงๆ ห้ารอบ แต่ท่านผู้อ่านคงได้ไอเดียว่าผมพยายามจะชี้ประเด็นอะไร

อ่านต่อ »


โรงเรียนพ่อแม่

อ่าน: 3280

เป็นวิดีโอคลิปสองตอน ตอนละ 14 นาทีครับ อยู่บน YouTube จึงต้องแบ่งแต่ละตอนเป็นสองคลิป



ตอน 1 ภาค 1

อ่านต่อ »


บ้านโนนขวาง จ.บุรีรัมย์

อ่าน: 3414

บ้านโนนขวางทำการเกษตร แต่แหล่งน้ำอยู่ต่ำกว่าพื้นที่ของชาวบ้าน

ปัญหาด้านทรัพยากรน้ำชุมชน

  • พยากรณ์น้ำ เคยน้ำท่วมอยู่ครั้งหนึ่ง ขาดแหล่งน้ำกักเก็บ ไม่สามารถเก็บน้ำได้
  • พยากรณ์ดิน ดินเค็มดินดาน หน้าดินถูกกระแสน้ำกัดเซาะ ตลิ่งถูกกัดเซาะ
  • ป่าไม้ถูกทำลาย พื้นที่ป่าไม้ เหลือเพียง 10% (เกณฑ์มาตรฐาน 25%)
  • แห้งแล้ง ขาดแคลนน้ำ
  • แหล่งกักเก็บน้ำไม่เพียงพอ
  • แหล่งน้ำธรรมชาติตื้นเขิน
  • แหล่งน้ำที่สร้างขึ้นชำรุด เสียหาย เก็บน้ำไม่ได้
  • ดินเสื่อมคุณภาพ เค็ม กรดในดิน ดินดาน หน้าดินถูกกัดเซาะ ดินตลิ่งถูกกัดเซาะพังทลาย พื้นที่ร่องน้ำที่แห้งแล้ง ถูกบุกรุกที่ดินทำกิน
  • พื้นที่ป่าถูกบุกรุก ถูกทำลาย

ข้อมูลอื่นเกี่ยวกับพื้นที่ ปัญหา และวิธีแก้ไข

ภาพกิจกรรมชุมชนบ้านโนนขวาง จ.บุรีรัมย์


ประสบการณ์​ Brainwriting กระตุ้นความคิดใหม่ อิงการระดมสมอง

15 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 August 2008 เวลา 0:15 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, การบริหารจัดการ #
อ่าน: 6228

อ่านบล็อก Brainwriting is Brainstorming on Steroids แล้วรู้สึกสนใจ พอดีเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา มีการประชุมผู้จัดการสาขาซึ่งอยากไปฟังตอนสรุปอยู่แล้ว ก็เลยได้โอกาสทดลองใช้ดูครับ

Brainstorming (การระดมสมอง) มีปัญหาพื้นฐานอยู่หลายอย่าง

  1. เวลาระดมสมอง พูดได้ทีละคน เมื่อคนหนึ่งพูดแล้ว คนอื่นจะถูกชักนำให้ไขว้เขวไป ในทุกครั้งที่มีความคิดใหม่เกิดขึ้น ผู้พูดคนต่อไปจะมีทางเลือกคือเสนอความคิดใหม่ของตน หรือปรับปรุงความคิดที่มีผู้เสนอมาแล้ว ถ้ามีผู้พูด 5 คน ก็จะมีทางเลือกทั้งหมด 1+2+3+4+5 = 15 ทาง แต่พูดได้แค่ 5 ทางเท่านั้น อีก 10 ทางเลือก หายไปในกระบวนการด้วยข้อจำกัดของ queue
  2. แม้จะมีคำแนะนำอยู่เสมอๆ ว่าในการระดมสมอง อย่างเพิ่งวิจารณ์ทันที ให้เสนอความคิดออกมาให้ชัดเจนให้รู้ว่าเสนออะไรก่อน แล้วค่อยมาวิจารณ์ทีหลัง ในตอนวิจารณ์นี่ล่ะสำคัญ ถ้าผู้เสนอเป็น “ผู้ใหญ่” ใครล่ะจะกล้าวิจารณ์ บอกว่าไม่เห็นด้วย หรือบอกว่าห่วย (ฝรั่งก็มีปัญหานี้ ไม่ใช่เพราะเค้าเกรงใจ แต่เค้ารู้ว่า “ผู้ใหญ่” เป็นคนพิจารณาเงินเดือน/โบนัสของเขา)
  3. ในกรณีที่เลือกเหลือเพียงความคิดเดียว ผู้เสนอต่างคนต่างคิดว่าตัวเองเสนอสิ่งที่ดีที่สุดอยู่แล้ว ในเมื่อดีที่สุดเจอกับดีที่สุด จะเลือกข้อเสนอที่ดีกว่าดีที่สุดออกมาได้อย่างไร

อ่านต่อ »



Main: 0.1626341342926 sec
Sidebar: 0.39777803421021 sec