ฐานข้อมูลแหล่งน้ำขนาดเล็ก กรมพัฒนาที่ดิน

อ่าน: 4022

เพิ่งหาเจอครับ

ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลแหล่งน้ำขนาดเล็ก
(http://giswater.ldd.go.th/ldd/)

พัฒนาโปรแกรม :  คณะที่ปรึกษาจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลแหล่งน้ำขนาดเล็ก (Water Resource Management System) เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นด้วยการบูรณาการระบบภูมิสารสนเทศ (GIS) และระบบอินเทอร์เน็ตเข้าด้วยกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำหรับบริหารจัดการข้อมูลแหล่งน้ำ ตลอดจนสนับสนุนการ วิเคราะห์และวางแผนบำรุงรักษา โปรแกรมแบ่งการทำงานออกเป็นสามส่วนหลัก ได้แก่  ส่วนสืบค้นข้อมูล   ส่วนแสดงผลรายละเอียดข้อมูลเชิงบรรยาย  ส่วนนำเข้าข้อมูลและส่วนแสดงผลข้อมูลในรูปแบบแผนที่ โดยระบบจะอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ในการเข้าถึงข้อมูลแหล่งน้ำขนาดเล็กจากฐานข้อมูลกลาง

[ ผู้ใช้งานทั่วไป จะต้อง Login  เข้าสู่ระบบได้ดังนี้ ]
Username : guest
Password  : guest

เว็บไซต์อื่นๆ ของกรม แยกตามเขตที่ดินในส่วนภูมิภาค


ปุ๋ยสั่งตัด (3)

อ่าน: 4944

เมื่อรู้ว่าดินที่เพาะปลูก อยู่ในชุดดินใด และทำการวัดปริมาณธาตุอาหาร N-P-K ในดินออกมาแล้ว ก็สามารถเปิดตารางเทียบดูได้ว่ากับพืชที่ปลูกลงบนชุดดินแบบนั้น และมีธาตุอาหารแบบที่วัดออกมา ควรจะปรับปรุงธาตุอาหารด้วยอะไร เป็นปริมาณเท่าไหร่

การตะบี้ตะบันใส่ปุ๋ย โดยไม่รู้ว่าดินขาดธาตุอะไร เป็นปริมาณเท่าไหร่ เป็นการลงทุนที่สูญเปล่า ไม่ให้ผลผลิตมากเท่าที่ควรจะเป็น

คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ด้วยทุนวิจัยของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) กรมพัฒนาที่ดิน กรมวิชาการเกษตร มูลนิธิพลังนิเวศและชุมชน มหาวิทยาลัยแห่งฮาวาย ได้จัดทำเว็บไซต์การจัดการธาตุอาหารเฉพาะพื้นที่ (Site-specific nutrient management) ขึ้นมา

ในเว็บไซต์นี้ มีโปรแกรมสองชุด ชื่อว่า SimCorn และ SimRice ใช้สำหรับเปิดตารางดูค่าว่าชุดดินกับธาตุอาหารที่มีอยู่ จะต้องเพิ่มอะไรอีกเท่าไหร่ แล้วในกรณีที่สูตรธาตุอาหารที่พืชต้องการจากดิน ไม่มีขายเป็นปุ๋ยสูตรสำเร็จรูป โปรแกรมทั้งสองนี้ สามารถคำนวณส่วนผสมจากแม่ปุ๋ยหลักได้ด้วย

โปรแกรม SimCorn ใช้กับข้าวโพด ส่วนโปรแกรม SimRice ใช้กับข้าวเปลือกและยางพาราซึ่งใช้ธาตุอาหารในปริมาณ กก./ไร่ เท่าๆกัน

สำหรับเรื่องของชุดดิน ถ้ารู้พิกัด ก็สามารถถามกรมพัฒนาที่ดินตามบันทึกดินได้ แต่ถ้าไม่มี GPS โปรแกรมสามารถจะ “เดา” ชุดดินจากเนื้อดิน สีดิน ชิ้นส่วนหยาบ ร่วมกับจังหวัดที่ตั้งได้

ข้อเสียของโปรแกรมทั้งสองคือใช้ร่วมกับฐานข้อมูล Microsoft Access รุ่น 2000 หรือใหม่กว่า


ปุ๋ยสั่งตัด (2)

อ่าน: 8637

เรื่องสำคัญของปุ๋ยสั่งตัด คือต้องเข้าใจเสียก่อนว่าดินมีสภาพเป็นอย่างไร (ความเป็นกรด-ด่าง สี ความร่วนซุย ฯลฯ) นั่นคือการพยายามระบุ “ชุดดิน” ให้ได้

จากนั้นก็มีชุดทดสอบ ซึ่งหนึ่งชุด มีหลอดทดลอง มีน้ำยา มีคู่มือ สำหรับทดสอบดินได้ 50 ตัวอย่าง — การทดสอบนี้ เอาตัวอย่างดินใส่ไปในน้ำยาที่มากับชุดทดสอบ ผลจะออกมาเป็นสี ซึ่งอ่านได้เป็นค่า สูง-กลาง-ต่ำ-ต่ำมาก สำหรับธาตุอาหารหลัก ไนโตรเจน(N) ฟอสฟอรัส(P) และโปแตสเซียม(K)

เมื่อรู้ชุดดิน และปริมาณ N-P-K ในพื้นที่จริง ก็สามารถเปิดตารางดูได้ว่า พืช (เริ่มต้นที่ข้าวโพด และข้าว) ต้องการสารอาหารอะไร ซึ่งทางผู้วิจัย จัดเตรียมโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไว้ให้ แต่ผมจะละเรื่องนี้ไว้ก่อนเพราะมีรายละเอียดอื่นที่ต้องอธิบายอีก


ปุ๋ยสั่งตัด (1)

อ่าน: 4315

วิดีทัศน์เผยแพร่ เรื่องชาวไร่ข้าวโพดกับปุ๋ยสั่งตัด

แนวคิดเรื่อง “ปุ๋ยสั่งตัด” เป็นอย่างนี้ครับ

  1. พืชเจริญเติบโตด้วยน้ำ และสารอาหารในดิน บวกกับประสิทธิภาพของราก (ความร่วนซุย) และความเป็นกรดเป็นด่างของดิน
  2. ปุ๋ยคือ “อาหารเสริม” ซึ่งมาช่วยเติมสิ่งที่สารอาหารในดินขาดไป
  3. ดินแต่ละชนิด (เรียกว่า “ชุดดิน”) จะมีความร่วนซุยและปริมาณคาร์บอนไม่เหมือนกัน
  4. การเอาปุ๋ยตามสูตรสำเร็จรูปใส่ลงไป ไม่ได้แปลว่าจะได้ผลดี อาจเป็นการ over-doze หรือสูญเปล่า เพิ่มค่าใช้จ่าย และให้ผลผลิตไม่สูงเท่าที่ควร
  5. โปรแกรมปุ๋ยสั่งตัด เริ่มต้นจากการวิเคราะห์ “ชุดดิน” จากแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เข้าใจว่าเป็นดินชนิดใด น่าจะมีสภาพ/สารอาหารอย่างไร
  6. ใส่ปุ๋ยลงไปตามความต้องการของชนิดของพืชที่ปลูก และชนิดของดิน

Get the Flash Player to see this player.

ไฟล์การนำเสนอ (15.4MB pdf อ่านด้วย Acrobat Reader)


Practical Utopia สัมภาษณ์ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 March 2009 เวลา 13:43 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 4019

KM ไม่เหมือนกับงานบรรณารักษ์ครับ น่าทำความเข้าใจ ถ้าท่านดูไม่ได้ กรุณาติดตั้ง Flash Player ด้วย


ตีแตกอีสาน กลายเป็นเฮเจ็ดสำราญ

อ่าน: 2991

ไปสวนป่าคราวนี้ ผมเสียดายแทนผู้ที่ไม่ได้ไปร่วมครับ เป็นโอกาสที่หาได้ยากที่มีโอกาสได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกับภูมิปัญญาของแท้ และผมก็เสียดายกับผู้ที่ไปร่วมเหมือนกัน ที่เวลาที่ได้พูดคุยกันน้อยไปหน่อย ยังไม่จุใจเลย (แต่ยังดีกว่าการไม่ได้คุบ หรือไม่ได้ฟังและพิจารณาตาม)

ในงานตีแตกอีสาน (เฮฯ 7) ครูบาโยนไมค์ให้ผมเป็นคิวแรก เหมือนเป็นการเตะคิกออฟ ทำให้เครียดเหมือนกัน เพราะว่าผู้ฟังมีจำนวนมาก มีพื้นฐานหลากหลาย เป็นเรื่องที่จริงจัง ทำให้ปล่อยมุกไม่ออก เลยเครียด อิอิ

แต่มันก็ผ่านไปได้แม้จะพูดสด — มีข้อมูลจดไว้เอามาใช้ หนึ่งบรรทัด — ผมไม่ได้พูดประเด็นสำคัญหลายประเด็นเนื่องจากข้อจำกัดของเวลา; มันเครียดเพราะอยากให้ผู้ฟังเข้าใจ แต่ก็ยากที่จะทำให้ผู้ไม่มีพื้นฐานเข้าใจและคิดต่อได้บ้าง ในขณะเดียวกันก็ไม่ทำให้ผู้ที่มีพื้นฐานมาเบื่อ

ยังไงก็ผ่านไปแล้วนะครับ เครียดไปก็เท่านั้น อิอิ ดีกว่า

คราวนี้ ยุ่งจนไม่มีเวลาถ่ายภาพ ยกเว้นตอนกลางคืนก่อนนอน แล้วเนื่องจากคุยและฟังตลอดเวลา ทำให้ไม่มีโอกาสได้รายงานความเป็นไปเหมือน เฮฯ หก ซึ่งผมกลับถือเป็นกำไรชีวิตของนะผมครับ — เรื่องแบบนี้ ไม่แสวงหาก็ไม่เจอ; ต่อให้ได้ไปพบพาน ถ้าไม่คิด ไม่นำไปใช้ ก็จะผ่านไปเฉยๆ

กราบขออภัยอย่างยิ่งสำหรับท่านที่ไม่ได้ไปคุยด้วยครับ คนเยอะ ป๊อปน่าดูเลยเรา


รู้

อ่าน: 3496

ตามเรื่องในพุทธประวัติ ความตอนหนึ่งที่กล่าวโดยย่อคือ เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช ปัญจวัคคีตามปรนิบัติอยู่หกปี จนเมื่อทรงละการบำเพ็ญทุกรกริยา ปัญจวัคคีจึงละทิ้งท่านไป ด้วยสำคัญผิดว่าพระองค์จะละทิ้งการแสวงหาทางหลุดพ้น เมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้ว จึงตามหาพระอาจารย์ปรากฏว่าสิ้นอายุขัยไปแล้ว จึงระลึกถึงปัญจวัคคี เมื่อตามจนพบกัน พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตรในวันอาสาฬหบูชา

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้นั้น คำว่าตรัสรู้ คือรู้ถึงสิ่งที่ไม่เคยได้ร่ำเรียนหรือรับรู้มาก่อน แต่ยังมีประเด็นที่น่าสนใจซึ่งพระพรหมคุณาภรณ์ เขียนบทความเรื่อง หัวใจพุทธศาสนา (ซึ่งมีหลายมิติ) ความตอนหนึ่งว่า

บางท่านบอกว่า ” อริยสัจสี่ ” เป็นหัวใจพระพุทธศาสนา  เพราะว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดรวมอยู่ในอริยสัจสี่

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว เสด็จไปแสดงปฐมเทศนา  พระธรรมจักกัปปวัตตนสูตร ….พระองค์ตรัสพุทธพจน์ตอนหนึ่ง มีความว่า ตราบใดที่เรายังไม่ ( จตูสุ อริยสจฺเจสุ ติปริวฎฺฎํ ทวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ ) มีญาณทัศนะที่มีปริวัฎ ๓ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจสี่ เราก็ยังปฏิญาณไม่ได้ว่า ได้ตรัสรู้ ต่อเมื่อเรามีญาณทัศนะนั้น  จึงปฏิญาณได้ว่า ตรัสรู้   หมายความว่า  ตรัสรู้อริยสัจสี่ครบ  ๓  ด้าน  คือรู้ว่าคืออะไร แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่ออริยสัจสี่แต่ละอย่างนั้นคืออะไร และรู้ว่าได้ทำหน้าที่ต่ออริยสัจนั้นแล้ว เวียนไปทุกข้อเรียกว่า  ๓  ปริวัฎ   อธิบายว่า รู้ในอริยสัจสี่แต่ละอย่างเริ่มตั้งแต่รู้ว่าทุกข์คืออะไร เราจะต้องทำอะไรต่อทุกข์ แล้วก็รู้ว่าหน้าที่ต่อทุกข์นั้นเราได้ทำแล้ว ถ้ายังไม่รู้อริยสัจด้วยญาณทัศนะครบทั้ง ๓ ในแต่ละอย่าง (รวมทั้งหมดเป็น  ๑๒  เรียกว่ามีอาการ  ๑๒) ก็ยังไม่สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ

ต่อเมื่อได้ตรัสรู้อริยสัจ โดยมีญาณในอริยสัจแต่ละข้อครบทั้ง ๓ รวมเป็น ๑๒ จึงปฏิญาณได้ว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ

เป็นอันว่า  พระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจสี่  และการตรัสรู้อริยสัจสี่ทำให้เป็นพระพุทธเจ้า  อริยสัจสี่จึงเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

ประเด็นอยู่ตรงนี้ครับ

ความรู้ที่เผยแพร่กันอยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่พยายามบอกว่า “คืออะไร” เสียมากกว่า ดังนั้นจึงเป็นลักษณะบอกให้รับรู้ (แล้วจะสอบได้ ถ้าใครถามก็ตอบ “ถูก”); ส่วนรู้แล้วจะต้องทำอะไร (หน้าที่) และการนำความรู้นั้นไปปฏิบัติให้ได้ผล (ทำหน้าที่) กลับเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะละเลยกัน

คาถาธรรมบท มรรควรรคที่ ๒๐

โยคา เว ชายตี ภูริ
เอตํ เทฺวธา ปถํ ญตฺวา
ตถตฺตานํ นิเวเสยฺย

อโยคา ภูริสงฺขโย
ภวาย วิภวาย จ
ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.

ภูริปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความสิ้นไปแห่งปัญญาเพราะการไม่ประกอบ, บัณฑิตรู้ทางสองแพร่งแห่งความเจริญและความเสื่อมนั่นแล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ภูริปัญญาจะเจริญขึ้นได้.

ภูริปัญญา = ปัญญาอันกว้างขวาง เสมอด้วยแผ่นดิน
การประกอบ = การกระทำ


เริ่มต้นกับ GIS (4)

อ่าน: 3322

การสร้างเครื่องบิน ก็ง่ายนิดเดียวครับ หาขี้ม้าเลียบค่ายมาสามตอน คิดว่าบรรยายองค์ประกอบครบถ้วนแล้ว บันทึกนี้จะเอา ลำตัว ปิก หาง เครื่องยนต์มาประกอบเป็นเครื่องบิน ถึงจะไม่ได้เรียนอากาศพลศาสตร์หรือการออกแบบเครื่องบินมา แต่ก็พอรู้ว่าลำตัว ปีก หาง เครื่องยนต์ อยู่ตรงไหนของเครื่องบินใช่ไหมครับ

เปิดเว็บของ Open Source Geospatial Foundation (OSGeo) ดู เว็บนี้น่าสนใจในแง่ที่ผู้คนตระหนักว่าควรเลิกเฟอะฟะกันเสียที ถ้าขืนปล่อยให้ต่างคนต่างใช้ข้อมูลกันคนละมาตรฐาน ในที่สุดจะทำงานร่วมกันไม่ได้ แล้วผู้บริโภคก็จะสูญเสียเวลา แรงงาน และเงินมหาศาล เพื่อที่จะทำ Attributes ที่คนอื่นทำไว้แล้วใหม่ เพียงเพราะอ่านข้อมูลที่มีอยู่แล้วไม่ได้

รายชื่อเครื่องมือที่แสดงอยู่ในรูปทางขวา แบ่งเป็นห้าหมวดคือ

  1. Web Mapping — โปรแกรมที่ทำงานบนเว็บ
  2. Desktop Applications — โปรแกรมที่ทำงานบนคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
  3. Geospatial Libraries — โปรแกรมเสริมที่ใช้อ่านเขียนดัดแปลงข้อมูลจากรูปแบบต่างๆ
  4. Metadata Catalog — คาตาล็อกของข้อมูลที่ผู้อื่นทำไว้แล้ว
  5. Other Projects — ข้อมูลอื่นๆ

การสร้างเครื่องบิน ก็ง่ายนิดเดียวครับ หาลำตัว หาปีก หาหาง หาเครื่องยนต์ ที่เหมาะกับเรา แล้วเอามาประกอบกัน ส่วนจะรู้ได้ยังไงนั้น มันยากตรงนั้นแหละครับ!

ต้องลองเล่น

อ่านต่อ »


เริ่มต้นกับ GIS (3)

อ่าน: 4776

ลงทุนลงแรงกับ Attributes

ประโยชน์แท้จริงของ GIS ก็อยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจ ที่สังเคราะห์ขึ้นมาจาก Attributes นี่ล่ะครับ GIS เป็นเพียงเครื่องมือที่อิงกับแผนที่ ที่เข้ามาช่วยให้เรามองเห็นความเชื่อมโยงของข้อมูลในมิติต่างๆ

ดังนั้น ก่อนจะตัดสินใจได้ว่าจะหาข้อมูลไปทำ Attribute อะไร ก็น่าจะตอบตัวเองก่อนว่าทำไปแล้ว ได้ประโยชน์อะไร; ในระบบ GIS การเพิ่ม Attributes เพิ่ม Layers ทำได้ง่ายมาก (เพราะข้อมูลเก็บในฐานข้อมูลซึ่เรียกใช้สะดวก และใช้คอมพิวเตอร์วาดรูปซึ่งทำได้ง่าย) แต่การเก็บข้อมูลนั้น กลับใช้แรงงาน และเวลาอย่างมากมาย

เมื่อออกไปในพื้นที่เพิ่อเก็บข้อมูล จะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกครั้ง หากไปครั้งเดียวแต่เก็บข้อมูลได้หลายมิติ ก็จะประหยัดกว่ามาก

การจัดทำระบบ GIS ในเมืองไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของราชการ ใช้วิธีซื้อแหลกกันมาตั้งนานแล้วนะครับ เรื่องที่ผ่านไปแล้วก็ผ่านไปแล้ว การซื้อแหลก มีข้อดีอยู่อย่างหนึ่ง คือระบบมักจะอิงอยู่กับซอฟต์แวร์มาตรฐานไม่กี่ตัว ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถแบ่งปันแลกเปลี่ยนกันได้ (ถ้าจะทำ)

การเก็บข้อมูล

ดังที่กล่าวไว้ในตอน (1) ข้อมูลที่จะใช้กับ GIS มีสองส่วนคือข้อมูลแผนที่ และข้อมูลเชิงบรรยาย — คือบอกว่าอะไรอยู่ตรงไหน

วิธีเก็บข้อมูลที่เหมาะที่สุด คือวาดแผนที่ กำหนดพิกัดเส้นรุ้ง/เส้นแวงตามมุมของพื้นที่ แล้วจดใส่กระดาษพร้อมข้อมูลเชิงบรรยาย (Attributes) ที่เกี่ยวเนื่องกับพื้นที่นั้น จากนั้นค่อยนำกลับมาป้อนเข้าคอมพิวเตอร์ที่สำนักงาน.. คืนนี้ ต้องนอนเร็ว พรุ่งนี้ไปหาหมอครับ


เริ่มต้นกับ GIS (2)

อ่าน: 3970

ความคิดเกี่ยวกับ Base Map ราคาถูกในระบบ GIS

บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มี Base Map ที่สามารถนำมาใช้ได้อยู่หลายที่ เช่น Google Maps Yahoo! Maps หรือ Microsoft Virtual Earth ฯลฯ

Base Map เป็นต้นทุนที่อาจจะแพงที่สุดในการทำระบบ GIS เดิมทีจะต้องใช้เครื่องบิน บินถ่าย หรือซื้อภาพถ่ายจากดาวเทียม แล้วนำภาพมาแปลงเป็นพิกัดลงทีละจุด ในเมื่อมี Base Map ให้ใช้อยู่แล้ว การเริ่มต้นระบบ GIS จึงประหยัดเงินและเวลาลงได้มาก

เราดู Base Map จากอินเทอร์เน็ตผ่านเบราว์เซอร์ธรรมดา หมายความว่าถ้าจะใช้วิธีนี้ ก็ต้องมีความเร็วในการเชื่อมต่อไปต่างประเทศที่ดี (ไม่ใช่แค่วงจรที่เชื่อมต่อไปยังไอเอสพีมีความเร็วสูง แต่ต้องดึงข้อมูลจากต่างประเทศผ่านไอเอสพีนั้นได้เร็วจริงด้วย อย่าไปดูแค่คำว่า Hi-speed หรือ Broadband ซึ่งผู้บริโภคถูกหลอกกันมาซะเยอะแล้ว)

Base Map server ที่ต่างประเทศ ส่งรูปมาให้เราเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ (Tile) แล้วโปรแกรมควบคุม เอา Tile หลายๆ อันมาต่อกันเป็นแผนที่ เราย่อ/ขยาย และกวาดไปดูพื้นที่ข้างเคียงได้ผ่านเบราว์เซอร์ธรรมดา

อ่านต่อ »



Main: 0.065623998641968 sec
Sidebar: 0.13370299339294 sec