ทำไมเราจึงไม่เข้าใจมากเท่าที่เราคิดว่าเข้าใจ?

อ่าน: 2867

ที่ TED มี presentation อันหนึ่งโดย Jonathan Drori เรื่อง “Why don’t we understand as much as we think we do?” — ทำไมเราจึงไม่เข้าใจ(เรื่องใดเรื่องหนึ่ง) มากเท่ากับที่เราคิดว่าเราเข้าใจ

ไม่ว่าเขาสรุปว่าอะไร จะอธิบายเหตุผลได้หรือไม่ ก็ไม่สำคัญหรอกครับ

เรื่องสำคัญคือถ้าไม่เข้าใจ แล้วตัดสิน/พิพากษาได้อย่างไร

แล้วเราจะเข้าใจทั้งหมดได้อย่างไร ในเมื่อไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นตลอดเวลา ขนาดเราอยู่กับตัวเองมาตั้งแต่เกิด ยังไม่เข้าใจตัวเองเลย

แต่ก็นั่นแหละครับ To Create Something Out of Nothing เรียกว่า Creativity
To Create Nothing Out of Lots of Things เรียกว่า Management :)


แผน ICT2020

อ่าน: 4160

เมื่อวานไปร่วมแสดงความคิดเห็นใน ICT2020 : High-level Expert Roundtable เจอ อ.หมอวิจารณ์ อ.แหวว/สสสส.1 และคนคุ้นเคยในวงการไอทีที่ทำเรื่องทางสังคมอีกประมาณครึ่งโหล และที่ไม่รู้จักสองโหล

ด้วยความที่มีเรื่องอึดอัดใจที่เกี่ยวกับการใช้งานไอซีทีในการพัฒนา และในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป อยู่หลายเรื่อง ผมก็เลยล่อไปหลายดอกครับ อิอิ ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ความผิดของคนทำแผนหรอก คนทำแผนกับคนปฏิบัติเป็นคนละหน่วยงานกัน มีข้อจำกัดไม่เหมือนกัน

ประเด็นที่คุยกัน ก็น่าฟังทั้งนั้น จนสงสัยว่าจะใส่เข้าไปหมดได้ยังไง…

ไม่เป็นไร… ผมดีใจที่คนทำแผนเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไป โดยไม่เชื่อแต่ผู้เชี่ยวชาญ หรือคิดเอาเองนะครับ ในเมื่อเปิดโอกาสแล้ว ใครมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาไอซีทีของเมืองไทย ก็ขอให้ช่วยกันออกความเห็นหน่อยนะครับ อย่าเอาแต่บ่นเลย มีโอกาสแล้ว ใช้ให้คุ้มค่านะครับ

ในโอกาสที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จะจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2554-2563 (ICT 2020) คณะทำงานฯ เห็นความสำคัญของการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดทำ เอกสารดังกล่าว จึงได้เปิดเว็บไซต์นี้ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคณะทำงานฯ และประชาชนทั่วไปในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดทำ ICT2020 นี้…

ขอความคิดเห็นเพื่อกำหนดภาพ ICT ของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า


ถอดบทเรียนการทำหนังสือ เจ้าเป็นไผ ๑ และ ๒

อ่าน: 5758

เขียนหนังสือมาหลายเล่ม แต่ไม่เคยต้อง “ทำ” หมดทุกขั้นตอนแบบหนังสือเจ้าเป็นไผ ก็นับว่าเป็นโอกาสดีที่ได้ลองครับ ทั้งหมดนี้ เป็นการถอดบทเรียนสิ่งต่างๆ ที่ไม่อยากให้เกิด แต่ดันเกิดขึ้น เพื่อจะเป็นบทเรียนเผื่อว่ามีการทำหนังสือในครั้งต่อไป

เจ้าเป็นไผ ๑

การมาทำหนังสือเจ้าเป็นไผ ๑ จะเรียกว่าเป็นอุบัติเหตุก็ได้ครับ เกิดความสับสนขึ้น จนมีทีท่าว่าหนังสือจะไม่เสร็จทันกำหนด ซึ่งครูบาได้บอกผู้ใหญ่ไปหลายท่านแล้ว; ผมไม่ได้อยากจะมา “ทำ” แบบนี้เลยนะครับ ไม่เคยทำมาก่อน — แต่หนังสือเจ้าเป็นไผ เป็นความฝันของครูบา จะใจดำเพิกเฉย ปล่อยให้เป็นฝันค้างอย่างนั้นหรือครับ

ทั้งกระทุ้ง ทั้งแขวะมาหลายต่อหลายที ยาวนานมาตั้งแต่ยังไม่ตั้งลานปัญญา จนพอครูบาเขียนอีกครั้งหนึ่งในลานสวนป่า เมื่อปลายปี 2551 ผมก็ตัดสินใจเขียนเจ้าเป็นไผภาคพิสดารในทันที ไม่ต้องปรุงแต่งอะไรมาก ส่งการบ้านในคืนนั้นเลยเป็นคนแรกครับ…พร้อมทั้งเอารูปตัวเองที่แม่ถ่ายให้แปะไว้ด้วย ก่อนหน้านั้นไม่เคยแสดงรูปตัวเองเลย ไม่อยากให้ใครรู้ว่าเป็นใคร… เพราะว่าเขียนก่อนใคร สงสัยว่านั่นจะเป็นเหตุที่น้าแป๊ด+น้าอึ่งซึ่งทำหนังสือในเวลานั้น เรียงเรื่องของผมไว้ก่อนใคร (หรือจะเรียงมั่วก็ไม่รู้) ได้ทราบมาภายหลังอีกว่าจะเรียงชายหญิงสลับกันไป

เรื่องหนังสือ เจ้าเป็นไผ ​๑ นี้ น้าอึ่งตีปี๊บขอความร่วมมือล่วงหน้ามาระยะหนึ่งแล้ว แต่พวกเราก็ต่างไป เฮ8 ที่กระบี่กัน มีคนส่งรูปให้รวบรวมไปทำหนังสือน้อยมาก สองน้าคงรู้สึกอึดอัดเหมือนกัน แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร

อ่านต่อ »


เฮระลึกชาติ ที่เลย (1)

อ่าน: 3370

มาจังหวัดเลยเที่ยวนี้ ไม่ได้มาเที่ยวหรอกครับ มีหลายวัตถุประสงค์ที่จะออกจากพื้นที่ปลอดภัย (บ้าน) มาเหนื่อย มาลำบาก ก็นับได้ว่าได้เห็นเรื่องแปลกประหลาดต่างๆ มากมาย จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็แล้วแต่ ผมไม่เล่าอยู่ดี ฮี่ฮี่ ของอย่างนี้ต้องมาดูเอง พิจารณาเอง

เช้าวันที่ 24 ไปรับครูบากับแม่หวี แล้วไปรับป้าจุ๋ม ออกเดินทางมา อ.หนองหิน จ.เลย ระยะทางประมาณ 560 กม. มาถึงเอาบ่ายแก่ๆ หลงที่นัดหมายกันนิดหน่อย นัดที่ป้อมตำรวจ แต่ไม่ได้บอกว่าป้อมไหน บอกว่าอยู่บ้านหลักร้อย ที่จริงชื่อบ้านหลักร้อยหกสิบ นัดที่หนองหิน แต่ไม่บอกว่าตำบลหนองหิน หรืออำเภอหนองหิน เฮ้อ อิอิ มี GPS ไป ยังไงก็ไม่หลง (แต่เลย เพราะมาเลย)

ในที่สุดก็ได้เจอ แล้วเราก็เข้าไปบ้านแม่ลำไย-พ่อสุวรรณ เกษตรกรท้องถิ่น แม่ลำไยเป็นวิทยากรของจังหวัด มีความรู้เรื่องสมุนไพรเป็นอย่างดี(มาก) สุขภาพแ็ข็งแรง ปฏิบัติธรรม ก็รู้สึกเป็นคนใจดีครับ ภาษาถิ่นฟังพอเข้าใจแม้ไม่ 100% เวลามีศัพท์ยากๆ ป้าจุ๋มกรุณาอธิบายให้ฟัง

อ่านต่อ »


กับเฮฮาศาสตร์

อ่าน: 2813

เมื่อวานออกเดินทางมาสวนป่าอีกวาระหนึ่ง คราวนี้มาช่วยครูปูพูดคุยกับนักศึกษาและอาจารย์จาก VBAC คิดว่าเด็กกลุ่มนี้โชคดีครับ

ครูมิมเดินทางมาจากพิษณุโลก มาถึงบ้านป้าจุ๋มตั้งแต่เช้า แต่ผมไปรับสายเอง กว่าจะมาทันกลุ่มของครูปูแถวเขาใหญ่ ก็ช้าไปเกือบชั่วโมง เมื่อกินข้าวกลางวันเสร็จ ก็นัดพบกันอีกครั้งที่ตลาดสตึกเพื่อเข้าไปสวนป่าด้วยกัน ผมแยกไปบ้าน อ.แพนด้า+อ.หลินฮุ่ย

พอเย็น ออกจากสวนป่าอีกครั้งมารับป้าหวานซึ่งเป็นแขกพิเศษ กินข้าวเย็น แล้วตั้งวง dialogue (แบบแปลกๆ) แต่ผมก็ดีใจกับเด็กชุดนี้ที่ได้มีประสบการณ์ที่หาได้ยาก

ช่วงดึกหลังจากเลิกวง dialogue ครูน้อยชวนคุยเรื่องกระบวนการเรียนรู้ของครูบา ตรงนี้ผมกลับคิดว่าผมโชคดี ที่ได้มีโอกาสคิดใคร่ครวญกับคำถามของครูน้อย ทำให้ชัดเจนกับกระบวนการเรียนรู้แบบเฮฮาศาสตร์มากขึ้น จำไม่ได้หรอกครับว่าตอบอะไรไป แต่ตอบต่อหน้าหลายคน ตอบไปอย่างที่คิด และรู้สึกดีที่ได้ตอบไป รายละเอียดรอไปอ่านใน dissertation ของครูน้อยก็แล้วกัน


เสร็จกับสำเร็จ

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 July 2009 เวลา 0:25 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 3812

คำสองคำนี้ ดูเผินๆ คล้ายจะใกล้เคียงกัน แต่ไม่เหมือนกัน

เสร็จ (finish) เป็นคำกริยาแปลว่าจบ/ทำให้จบ แต่สำเร็จ (success) นั้น ไม่ใช่แค่จบธรรมดา แต่ยังบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ด้วย

ย้อนกลับไปเรื่องของ KPI และ Balanced Scorecard ผมไม่ได้ต่อต้านเรื่องนี้หรอกนะครับ ทุกเครื่องมือมีวัตถุประสงค์ มีข้อดีข้อเสีย อย่าใช้เครื่องมือโดยไม่เข้าใจเครื่องมืออย่างถ่องแท้ อย่ากำหนด KPI เพียงเพื่อให้ผ่าน KPI โดยง่าย อย่าตั้ง KPI โดยไม่เข้าใจวัตถุประสงค์ หรือสิ่งที่องค์กรพยายามจะทำ

KPI บางอย่างควรกำหนดลงมาจากระดับสูง เช่นเรื่องเกี่ยวกับทิศทาง และมีบางเรื่องที่ไม่ควรกำหนดลงมา เช่นรายละเอียดของการปฏิบัติการ เพราะว่าเมื่ออยู่สูง จะมองไม่เห็นรายละเอียด/ข้อจำกัดมากนัก แต่ถ้ามองเห็น บางทีอาจเล่นผิดบทบาทไปแล้วก็ได้ ประสบการณ์ช่วยสอน ช่วยเตือนล่วงหน้าได้ ส่วนความรับผิดชอบนั้นก็ต้องมีร่วมกัน แต่ทว่าในขณะเดียวกัน ก็ต้องมีความไว้ใจผู้ปฏิบัติงานให้เขาได้ปฏิบัติอย่างเต็มที่ ไม่เช่นนั้นก็ไม่รู้จะร่วมงานกันไปทำไม

ในส่วนของผู้ปฏิบัตินั้น คงต้องแยกแยะระหว่างคำว่าเสร็จกับสำเร็จให้ได้ ถ้าเป็นการบรรยายเพื่อถ่ายทอดความรู้/ประสบการณ์ แค่บรรยายจบ-รักษาเวลาตามกำหนด เป็นการ “เสร็จ” แต่อาจไม่ “สำเร็จ” บรรยายเสร็จ ผู้บรรยายได้พูดในสิ่งที่เตรียมมาพูด แต่ถ้าการบรรยายนั้นประสบความสำเร็จ ผู้ฟังน่าจะได้ประเด็นอะไรไปคิด-ไปทำต่อ ซึ่งยังขึ้นกับองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาย

ในเรื่ององค์ประกอบของความสำเร็จ “อย่างสูง” นั้น คุณ bojs เคยกล่าวถึงหนังสือชื่อ Outliers ของ Malcolm Gladwell ผมยังไม่ได้อ่านหรอกครับ แต่อ่านรีวิว และเรื่องย่อของหนังสือเล่มนี้แล้วหลายอัน Gladwell กล่าวถึงกฏหมื่นชั่วโมงตลอดเล่ม กล่าวโดยย่อคือหากใครทำเรื่องใดมาหมื่นชั่วโมงแล้ว เขาน่าจะรู้จริงในเรื่องนั้น จึงมีโอกาสประสบความสำเร็จในเรื่องนั้นเป็นอย่างสูง

In the introduction, Gladwell lays out the purpose of Outliers: “It’s not enough to ask what successful people are like. [...] It is only by asking where they are from (เจ้าเป็นไผ) that we can unravel the logic behind who succeeds and who doesn’t.”

“…We are far too impatient with people when we assess whether someone has got what it takes to do a certain job. We always want to make that assessment after six months or a year. That’s rediculous, you know? The kind of jobs we have people do today are sufficiently complex that they require a long time to reach mastery. And what we should do is to setup an institution instructor that allows people to spend the time and efforts to reach mastery, not judging them prematurely…”

พูดง่ายๆ คือ เวลาตัดสินคน ต้องระมัดระวังครับ

การสอน ไม่ใช่แค่บอกสิ่งที่ผู้สอนอยากจะบอก แต่เป็นกระบวนการที่ทำให้แน่ใจว่าผู้เรียนนำเอาไปใช้ได้จริง


SCG Paper ลงพื้นที่

อ่าน: 3806

หัวค่ำเมื่อวาน ได้นั่งฟัง Fa ของ SCG Paper สะท้อนสิ่งที่ได้ไปพบเห็นมาในการลงพื้นที่ในเวลาสั้นๆ

แต่ละกลุ่มต่างก็มีเรื่องน่าสนใจมานำเสนอเป็นที่สนุกสนาน เมื่อจบทั้งสี่กลุ่มแล้ว อ.ศักดิ์พงศ์ มาเล่าเรื่อง insight เกี่ยวกับนักสู้ชีวิตทั้งสี่ที่แบ่งให้แต่ละกลุ่มไปสัมภาษณ์มา ผมได้แต่หวังว่า Fa ฝึกหัดจะเข้าใจว่าต่อให้เป็นเรื่องที่เห็นประจักษ์อยู่ต่อหน้า ก็ยังมีเบื้องหลังอยู่เสมอ การหาคำตอบใดๆ ในงาน จะมองแค่เรื่องเฉพาะหน้า ตามเป้าหมาย ตาม KPI อาจจะเป็นการด่วนสรุปเกินไป (ความเห็นของเราก็อาจผิดได้)

นักสู้ชีวิตทั้งสี่นี้ เคยมาเรียนที่สวนป่าแล้วทั้งนั้น

กลุ่ม 4 เป็นกลุ่มเดียวที่แจ้งว่ามีครูน้อยเป็นพี่เลี้ยง กลุ่มนี้ไปพบพ่ออุทัย อ.สตึก เป็นกลุ่มเดียวที่มี intro ที่ฟังรู้เรื่อง อันนี้ไม่ใช่ข้อติติงกลุ่มอื่น แต่เป็นข้อสังเกตว่ากลุ่มอื่นใช้ assumption (assume ว่าคนอื่นรู้แล้ว) มากกว่ากลุ่มนี้

อ่านต่อ »


มองบ้านพ่อไล

อ่าน: 5271

วันพฤหัสที่ 25 ตามกลุ่ม 1 ของ SCG Paper ไปดูบ้านพ่อไล ที่บ้านสนามชัย ใกล้สวนป่า (ห่าง 1.7 กม) เนื่องจากเป็นผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ต้องทำการบ้าน ผมจึงเดินชมนกชมไม้ไปเรื่อย มาพบมุมสงบหน้าที่ของพ่อไล ที่มีอุณหภูมิเย็นกว่าในร่ม และเย็นกว่าในบ้านสามสี่องศา

ที่ตรงนั้น เย็นได้เพราะลมครับ


ไม่ใช่พ่อไลถูกหวยหรอกนะครับ ภาพรถส่งหนังสือเจ้าเป็นไผ ๑ อิอิ

ลมเกิดขึ้นเพราะสภาพพื้นที่ มีบึงใหญ่อยู่อันหนึ่ง รอบๆ บึง ก็เป็นไร่นาของชาวบ้านที่ปลูกต้นไม้ใหญ่; หน้าที่ของพ่อไล ปลูกต้นไม้ใหญ่เป็นแนว ซึ่งอยู่ติดกับบึงพอดี ดังนั้นหน้าบ้านของพ่อไล จึงมีสภาพเป็นช่องลมธรรมชาติ ลมที่พัดมา ควรจะเป็นลมร้อน แต่เนื่องจากพัดกรอกมาตามแนวต้นไม้ซึ่งมีร่มเงา จึงเป็นสายลมที่มีความเย็น

อ่านต่อ »


ร่วมเฮที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ่าน: 5247

เมื่อวานนี้ ญาติเฮก็ไปร่วมกันเฮ ที่คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรามีลูกช้างไปด้วยสามท่าน อ.หลินฮุ่ย รุ่นปี 2508 พี่บางทราย รุ่นปี 2512 และพี่ครูอึ่ง รุ่นปี 2518 เป็นการเสวนาเรื่อง “พยาบาลกับเศรษฐกิจพอเพียง” คือตอนนี้ อะไรๆ ก็เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งผมเห็นว่าน่าจะเป็นชีวิตปกติ ที่ไม่เพ้อเจ้อไปกับสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เมื่อนำไปปฏิบัติแล้ว มีแต่จะดีขึ้น ถึงจะไม่โตพรวดพราดทันใจ แต่ก็ไม่ตกต่ำ

เริ่มต้น ครูบาเปิดเรื่องด้วยสไลด์ที่สนุกสนานตามเคย และเขียนคำว่า “กิเลส” ผิดตลอดเช่นเคยครับ (ฮา) จากนั้นพี่ตา ก็รับหน้าที่พิธีกรยั่วยุคำถามโดยมีชาวเฮร่วมแลกเปลี่ยน ก็ยังเป็นปกติที่ทุกคำถาม ก็คาดหวังคำตอบ เผอิญเราเป็นพวกผิดปกติ ซึ่งมักไม่ตอบให้ตรงกับคำถาม เพราะว่าคำตอบสำเร็จรูป มักใช้ได้ในบริบทของผู้ตอบอันเดียว เวลาผู้ถามหรือผู้ฟังจะเอาไปใช้ ขืนลอกไปใช้ทั้งดุ้นก็บ้าแล้ว เราจึงไม่เสียเวลากับการฟันธง แต่ให้หลักคิด/แง่คิดมากกว่า

เมื่อจบการเสวนา คิดว่าโดยรวมก็ได้รับการตอบรับที่ดี คงมีบ้างที่บางท่านอาจจะไม่คุ้นกับการไม่ได้คำตอบสำเร็จรูป ทำให้ต้องไปไตร่ตรองต่อเอาเอง หรือคุ้นกับการมีคนมาบอกตลอดเวลา คงมึนตึ้บไป แต่ก็มีคำถามดีๆ มากมาย การเสวนาใช้เวลาเกินไปสักครึ่งชั่วโมง

เสร็จแล้ว คณะเลี้ยงข้าวซอย อร่อยดี แล้วท่านคณบดีจัดรถตู้ให้ชาวเฮใช้สองคันจนเย็น ขอบพระคุณครับ

เราไปกันที่พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ในค่ายดารารัศมี (ตชด.) พระตำหนักนี้ เป็นพระตำหนักของเจ้าดารารัศมี พระชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

จากนั้นก็แยกวง รถตู้คันหนึ่งไปสวนสัตว์เชียงใหม่แล้วไปพืชสวนโลก อีกคันหนึ่งไป “บ้าน ๑๐๐ อัน ๑๐๐๐ อย่าง” ซึ่งคันหลังไปที่เดียวแต่กลับใช้เวลามากกว่า แถมไม่ได้กินไอติมด้วย เจ้าของคือ อ.ชรวย ณ สุนทร ผู้ได้รับสมญานามว่าผีบ้าแห่งล้านนา เป็นผู้นำชมด้วยตัวเองทุกห้อง แล้วคณะก็นัดพบกินข้าวกันที่กาแล ก่อนแยกย้ายกันไปนอน ขอบคุณเจ้าภาพทุกท่านครับ

พรุ่งนี้ ออกเดินทางแต่เช้า ไปค้างที่วัดพระบาทห้วยต้มคืนหนึ่ง แล้วจะกลับกรุงเทพเลย วันนี้ ฮาแตกตลอดวัน แต่เล่าไม่ไหว เอาไว้ให้คนอื่นเล่าก็แล้วกันครับ

อ่านต่อ »


ทฤษฎีการเรียนรู้

อ่าน: 10063

วิกิพีเดียภาษาไทยให้นิยามไว้ว่า

ทฤษฎีการเรียนรู้ (learning theory) การเรียนรู้คือกระบวนการที่ทำให้คนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิด คนสามารถเรียนได้จากการได้ยินการสัมผัส การอ่าน การใช้เทคโนโลยี การเรียนรู้ของเด็กและผู้ใหญ่จะต่างกัน เด็กจะเรียนรู้ด้วยการเรียนในห้อง การซักถาม ผู้ใหญ่มักเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ที่มีอยู่ แต่การเรียนรู้จะเกิดขึ้นจากประสบการณ์ที่ผู้สอนนำเสนอ โดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะเป็นผู้ที่สร้างบรรยากาศทางจิตวิทยาที่ เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ ที่จะให้เกิดขึ้นเป็นรูปแบบใดก็ได้เช่น ความเป็นกันเอง ความเข้มงวดกวดขัน หรือความไม่มีระเบียบวินัย สิ่งเหล่านี้ผู้สอนจะเป็นผู้สร้างเงื่อนไข และสถานการณ์เรียนรู้ให้กับผู้เรียน ดังนั้น ผู้สอนจะต้องพิจารณาเลือกรูปแบบการสอน รวมทั้งการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียน

บทความเต็มฉบับออนไลน์

ส่วน Wikipedia ภาษาอังกฤษ ให้คำนิยามไว้ว่า

In psychology and education, a common definition of learning is a process that brings together cognitive, emotional, and environmental influences and experiences for acquiring, enhancing, or making changes in one’s knowledge, skills, values, and world views (Illeris,2000; Ormorod, 1995). Learning as a process focuses on what happens when the learning takes place. Explanations of what happens constitute learning theories. A learning theory is an attempt to describe how people and animals learn, thereby helping us understand the inherently complex process of learning. Learning theories have two chief values according to Hill(2002). One is in providing us with vocabulary and a conceptual framework for interpreting the examples of learning that we observe. The other is in suggesting where to look for solutions to practical problems. The theories do not give us solutions, but they do direct our attention to those variables that are crucial in finding solutions.

There are three main categories or philosophical frameworks under which learning theories fall: behaviorism, cognitivism, and constructivism. Behaviorism focuses only on the objectively observable aspects of learning. Cognitive theories look beyond behavior to explain brain-based learning. And constructivism views learning as a process in which the learner actively constructs or builds new ideas or concepts.

Full Wikipedia article

เท่าที่ประเมินดู คิดว่าวิกิพีเดียภาษาไทย แปล/อ้างอิงจากบทความเดียวกันใน Wikipedia รุ่นเก่าซึ่งข้อความปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปเยอะมากแล้วครับ

ที่น่าสนใจคือข้อความในย่อหน้าที่สองของ Wikipedia — การเรียนรู้ อาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างอย่างน้อยอย่างหนึ่ง ในสามอย่าง คือ

อ่านต่อ »



Main: 0.13771510124207 sec
Sidebar: 0.34879899024963 sec