การเขียนหนังสือในฐานะการแสดงออกทางจิตวิญญาณ (ตอนจบ)

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 June 2010 เวลา 0:02 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 3004

เมื่อวาน คม-ชัด-ลึก ไม่เอาบทความขึ้นเว็บเหมือนกับสามตอนที่ผ่านมา (แต่ตีพิมพ์ในฉบับที่พิมพ์ขาย) อันนี้ไม่ว่าอะไรหรอกนะครับ เป็นสิทธิ์ของเขาจริงๆ

แต่ผมก็ไปเจอบทความฉบับเต็ม ใน thaiwriter.net จึงขอนำส่วนที่เหลือมาโพสต์ต่อนะครับ

อ่านต่อ »


ประชา(ธิป)ตาย

อ่าน: 3863

มีเรื่องประหลาดเรื่องหนึ่งเผยแพร่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ว่าจอมอสูร จอมเผด็จการ แอนตี้ไครส์ นามว่าอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาตามประบอบประชาธิปไตย… ตอบแบบง่ายและผิวเผิน ก็ต้องบอกว่าใช่ แต่ว่ายังมีเรื่องอื่นๆ อีกยาวเหยียดครับ คำว่า “เลือกตั้งมา” ไม่ได้ฟอกตัวให้ใครดีขึ้นมาได้ หากการกระทำยัง จุด จุด จุด (โดย จุด จุด จุด คืออาการที่ไม่อยากให้ลูกหลานประพฤติปฏิบัติให้เสื่อมเสียต่อวงศ์ตระกูล)

เมื่อปรัสเซีย(เยอรมัน)แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศผู้ชนะซึ่งถือว่าตนสูงส่ง ก็เข้ามาจัดการเยอรมันผ่านสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ปี 1919; ขนาดประเทศผู้ชนะ ต่างก็ประสบเศรษฐกิจตกต่ำ นับประสาอะไรกับเยอรมันที่ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาล บ้านเมืองย่อยยับป่นปี้ ผู้คนบ้านแตกสาแหรกขาด

อย่างไรก็ตาม ระบบประชาธิปไตยของเยอรมันก็เดินไปตามกลไก จนในเดือนมีนาคม 1932 มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ตามรัฐธรรมนูญเยอรมันในเวลานั้น ประธานาธิบดีต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งผลออกมาว่า Paul von Hindenburg ได้ 49.6% Adolf Hitler ได้ 30.1% Ernst Thaelmann ได้ 13.2% และ Theodore Duesterberg ได้ 6.8%

เนื่องจากไม่มีใครได้รับเสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่ง จึงต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง โดยเอาผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดสามราย มาเลือกกันใหม่อีกทีหนึ่งในอีกเดือนหนึ่งต่อมา ซึ่งได้ผลเป็น Hindenburg 53.0%, Hitler 36.8% และ Thaelmann 10.2%

ประธานาธิบดี Hindenburg แต่งตั้ง Franz von Papen เป็นนายกรัฐมนตรี (Chancellor) แต่ว่า Papen ยุบสภาทันทีเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นการเลือกตั้งครั้งที่สามในเวลาห้าเดือน! คราวนี้ พรรค DAP (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นพรรค Nazi) กลายเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสภา มี สส. 230 คนจาก 608 ที่นั่ง

ฮิตเลอร์ต้องการให้ฮินเดนเบิร์กแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ฮินเดนเบิร์กปฏิเสธ (ตามคำให้การของ Otto von Meissner ผู้ช่วยฮินเดนเบิร์กในศาลอาชญากรรมสงครามที่เมืองนูเรมเบิร์ก) ว่า

อ่านต่อ »


การเขียนหนังสือในฐานะการแสดงออกทางจิตวิญญาณ (3)

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 31 May 2010 เวลา 15:21 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 4681

บันทึกนี้ เป็นตอนต่อจากการ เขียนหนังสือในฐานะการแสดงออกทางจิตวิญญาณ (1) ซึ่งเสกสรรค์ ประเสริฐกุล แสดงปาฐกถาเนื่องใน “วันนักเขียน” เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2553 ตามที่กรุงเทพธุรกิจตีพิมพ์(ในลิงก์)

อ่านต่อ »


ตามใจใคร

อ่าน: 4058

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2519 ความตอนท้ายว่า

… ขอย้อนไปในเรื่องที่เรียกว่าคนไม่ดี และผลประโยชน์ที่จะได้ คือคิดออกว่า ผลประโยชน์ที่จะได้นั้นมันมีอยู่ ๒ อย่างใหญ่ๆ แบ่งได้เป็นผลประโยชน์ในทางการเงิน คือทางกาย ทางกายหรือจะเรียกว่าทางวัตถุ ได้ผลประโยชน์เป็นเงิน เป็นสิ่งของ เป็นอิทธิพลเป็นผลประโยชน์ทางวัตถุ ซึ่งแปลออกมาเป็นเงินได้ แปลออกมาเป็นราคาได้ ผลประโยชน์อีกทางหนึ่ง เป็นผลประโยชน์ที่จะเรียกว่าทางใจก็ได้ คือความพอใจในอำนาจ พอใจในลัทธิ พอใจในทฤษฎี บางคนมีไม่ใช่เป็นเรื่องของลัทธิ มีเป็นเรื่องของทฤษฎีว่าต้องทำอย่างนี้ต้องทำอย่างโน้น ยังไม่ถึงลัทธิ แต่ทฤษฎีนั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับส่วนรวมก็ได้ เพราะว่าเป็นทฤษฎีที่วางไว้บนก้อนเมฆ อาจจะวางไว้บนก้อนเมฆบ้าง หรือแม้จะวางบนก้อนเมฆได้ ก้อนเมฆนั่นมันบังเสา ซึ่งหมายความว่าทฤษฎีนั้นวางไว้บนลัทธิ ซึ่งลัทธิทั้งหลายก็เป็นทฤษฎีอยู่นั่นเอง แต่เป็นของคนอื่น ไม่ใช่ของตนเอง บางคนที่นึกว่าทำเพื่อลัทธิ หรือไม่ใช่เพื่อลัทธิ เพื่อทฤษฎีของตน ความพอใจของตน นี้ก็เป็นผลประโยชน์ทางใจ เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเหมือนกัน ที่จะได้รับความพอใจในลัทธิ หรือในทฤษฎีของตน แต่ไม่ได้นึกถึงว่า ทฤษฎีของตนนั้น ส่วนมากก็วางบนลัทธิซึ่งพราง เพราะมีก้อนเมฆพราง แล้วไม่ได้นึกว่า ลัทธินั้นความจริงไม่ได้เป็นของตน เป็นของคนอื่น จะเป็นของชาติอื่นหรือคำพูดของคนอื่นก็ไม่สำคัญ แต่ว่าเป็นสิ่งที่ในที่สุดถ้าดูดีๆ เอาก้อนเมฆออกแล้วจะเห็นว่านั่งบนทฤษฎีซึ่งมีคนเชิด มีเสาที่รองรับทฤษฎีของตน และตนเองไม่ได้เป็นคนเชิด ตนเองคิดว่าเป็นคนเชิด ตนเองคิดว่าเป็นคนทำ ตนเองนึกว่าเป็นผลประโยชน์ของตัว แต่แท้จริงเป็นคนที่ถูกเชิด อันนี้แหละที่เห็นภาพขึ้นมาอย่างนี้ ก็บรรยายออกมา อาจจะเห็นตลก อาจจะเห็นประหลาดก็ได้ที่พูดอย่างนี้ แต่ก็รู้สึกว่าเห็นภาพดีเหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็ขอฝากความคิดนี้ให้แก่ท่านทั้งหลาย ผู้ที่มีหน้าที่จะดูว่าใครเห็นแก่ตัวในทางวัตถุก็ตาม ในทางใจคืออยากได้ความพอใจในทฤษฎีของตัวก็ตาม ซึ่งอาจจะทำให้เสียหายต่อหน้าที่ของตน วันนี้ก็เลยมาพูดในหัวข้อทั้งหมดเพื่อวินิจฉัย แต่ว่าก็ไม่ได้วินิจฉัยแท้เพราะว่าเป็นการพูดทั่วๆ ไป …

อ่านต่อ »


การเขียนหนังสือในฐานะการแสดงออกทางจิตวิญญาณ (2)

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 25 May 2010 เวลา 0:09 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 2891

บันทึกนี้ เป็นตอนต่อจากการเขียนหนังสือในฐานะการแสดงออกทางจิตวิญญาณ (1) ซึ่งเสกสรรค์ ประเสริฐกุล แสดงปาฐกถาเนื่องใน “วันนักเขียน” เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2553 ตามที่กรุงเทพธุรกิจตีพิมพ์(ในลิงก์)

อ่านต่อ »


การเขียนหนังสือในฐานะการแสดงออกทางจิตวิญญาณ (1)

3 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 May 2010 เวลา 17:38 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 3732

เกิดอารมณ์สังเวชและสมเพช จนไม่มีอารมณ์เขียนบันทึกครับ และจะไม่เสแสร้งว่าจิตนิ่งจนไม่รู้สึกอะไร ดังนั้นวันนี้ก็จะนำเอาปาฐกถาเนื่องใน “วันนักเขียน” ของเสกสรรค์ ประเสริฐกุล เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2553 ตามที่กรุงเทพธุรกิจตีพิมพ์(ในลิงก์)มาฝาก

อ่านต่อ »


มองสื่อ

อ่าน: 2894

บล็อกนี้ไม่เกี่ยวกับการเมืองครับ ถ้ามีหลุดไปบ้างก็ไม่ได้ตั้งใจ เพราะผมมีช่องทางอื่นที่จะเขียนเรื่องอื่นครับ

ผมไม่ได้มีวิชาชีพสื่อสารมวลชน แต่เป็นผู้ที่บริโภคสื่อหลายทางหลายมุม จากเหตุการณ์ใหญ่ๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย มีข้อสังเกตดังนี้
อ่านต่อ »


ประวัติอย่างย่อของ ICT ในเมืองไทย พ.ศ.2511-2550

อ่าน: 4050

ประวัติอย่างย่อของ ICT ในเมืองไทย พ.ศ.2511-2550 โดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สามปีก่อน Tony Waltham บรรณาธิการของ Post Database ขอให้อาจารย์ทวีศักดิ์เขียนบทความในโอกาสที่ Database ซึ่งเป็น IT section ของหนังสือพิมพ์ Bangkok Post มีอายุครบรอบยี่สิบปี อาจารย์ก็เขียนให้

ทำไมต้องปี พ.ศ.2511 — ในปีนั้น มีการพัฒนาหัวพิมพ์ภาษาไทยสำหรับ band printer ทำให้เป็นครั้งแรกที่คอมพิวเตอร์พิมพ์ภาษาไทยได้ แถมเวลาพิมพ์ต้องใช้เนื่อที่ถึงสี่บรรทัด จึงจะได้ภาษาไทยหนึ่งบรรทัด

กว่าที่เราจะมายืนอยู่ในปัจจุบัน คนรุ่นก่อนต้องต่อสู้ ล้มลุกคลุกคลานกันมายาวนาน มีการแข่งขัน มีความเห็นไม่ตรงกัน แต่ทั้งหมดก็เพื่อพัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่า และสิ่งที่ดีกว่า ก็จะถูกคลื่นลูกหลังกวาด กลบ ทดแทน แปรเปลี่ยนไปตามบริบทของเศรษฐกิจสังคม เป็นสัจธรรม… ไม่ว่าจะชอบ/ไม่ชอบ ดี/ไม่ดี ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งที่เกิดขึ้นได้


แผน ICT2020

อ่าน: 4193

เมื่อวานไปร่วมแสดงความคิดเห็นใน ICT2020 : High-level Expert Roundtable เจอ อ.หมอวิจารณ์ อ.แหวว/สสสส.1 และคนคุ้นเคยในวงการไอทีที่ทำเรื่องทางสังคมอีกประมาณครึ่งโหล และที่ไม่รู้จักสองโหล

ด้วยความที่มีเรื่องอึดอัดใจที่เกี่ยวกับการใช้งานไอซีทีในการพัฒนา และในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป อยู่หลายเรื่อง ผมก็เลยล่อไปหลายดอกครับ อิอิ ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ความผิดของคนทำแผนหรอก คนทำแผนกับคนปฏิบัติเป็นคนละหน่วยงานกัน มีข้อจำกัดไม่เหมือนกัน

ประเด็นที่คุยกัน ก็น่าฟังทั้งนั้น จนสงสัยว่าจะใส่เข้าไปหมดได้ยังไง…

ไม่เป็นไร… ผมดีใจที่คนทำแผนเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไป โดยไม่เชื่อแต่ผู้เชี่ยวชาญ หรือคิดเอาเองนะครับ ในเมื่อเปิดโอกาสแล้ว ใครมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาไอซีทีของเมืองไทย ก็ขอให้ช่วยกันออกความเห็นหน่อยนะครับ อย่าเอาแต่บ่นเลย มีโอกาสแล้ว ใช้ให้คุ้มค่านะครับ

ในโอกาสที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จะจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2554-2563 (ICT 2020) คณะทำงานฯ เห็นความสำคัญของการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดทำ เอกสารดังกล่าว จึงได้เปิดเว็บไซต์นี้ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคณะทำงานฯ และประชาชนทั่วไปในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดทำ ICT2020 นี้…

ขอความคิดเห็นเพื่อกำหนดภาพ ICT ของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า


อัฐมีบูชา

อ่าน: 4076

เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ดูสารคดีท่องเที่ยวของ ททท. มีเรื่องการท่องเที่ยวจังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งที่วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง อ.ลับแล ยังรักษาประเพณีอัฐมีบูชา คือการถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า ซึ่งเกิดหลังจากได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานในวันวิสาขบูชาแล้ว 10 วัน

งานอัฐมีบูชา จัดว่าเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนาของชาวทุ่งยั้ง เป็นการจัดงานช่วงของวันวิสาขบูชา ซึ่งจะมีการจัดงานถวายพระเพลิงพระพุทธเจ้า หรือที่เรียกกันว่า “อัฐมีบูชา” ซึ่งถือได้ ว่าในปัจจุบันมีแห่งเดียวของประเทศ ซึ่งจะจัดหลังจากวันวิสาหกิจบูชา คือวันที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 10 วัน         การจัดงานมีมาตั้งแต่สมัยดั้งเดิม โดยชาวบ้านจะนำไม้ไผ่มาสานจำลองเป็นพระพุทธรูป เมื่อถึงวันวิสาขบูชาหลังจากที่มีการเวียนเทียนเสร็จเรียบร้อยแล้วก็จะมีเผา หรือถวายพระเพลิงพระบรมรูปจำลองที่ได้ร่วมกันทำนั้น ซึ่งก่อนที่จะมีการถวายพระเพลิงก็จะจัดให้มีการเทศน์และกล่าวสรุปประวัติวัน วิสาขบูชา ภายหลังได้เปลี่ยนให้มีการจัดงานทั้งหมด 10 วัน

ข้อมูลจากคลังปัญญาไทย

ถ้ามีวาสนา หวังว่าคงจะได้ไปร่วมสักครั้งหนึ่งครับ



Main: 0.40674591064453 sec
Sidebar: 0.85145092010498 sec