กระแสพระราชดำรัสพระราชทานหลังภัยธรรมชาติ

อ่าน: 5131

เมื่อคืนวันที่ 25 ต่อกับวันที่ 26 ตุลาคม 2505 ได้เกิดพายุโซนร้อนชื่อ “แฮเรียต” พัดผ่านทางตอนใต้ของประเทศไทย ยังความเสียหายให้เกิดแก่จังหวัดภาคใต้ถึง 12 จังหวัด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สถานีวิทยุ อส.พระราชวังดุสิต ประกาศโฆษณาเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ และสิ่งของ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยทรงรับและพระราชทานสิ่งของด้วยพระองค์เอง ความช่วยเหลือได้หลั่งไหลเข้าสู่สถานีวิทยุ อส. ชั่วระยะเวลา 1 เดือน มีผู้บริจาคทรัพย์ถึง 11 ล้านบาท และสิ่งของประมาณ 5 ล้านบาท นับเป็นเงินและสิ่งของบริจาคปริมาณมหาศาลเมื่อเทียบกับค่าของเงินในขณะนั้น

จังหวัดที่ได้รับความเสียหายมาก คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับ กรมประชาสงเคราะห์ได้แจกอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค จัดซ่อมแซมบ้าน ที่พัก และสร้างที่พักชั่วคราว ให้ผู้ประสบภัยอยู่อาศัยตลอดจนเครื่องมือประกอบอาชีพ ได้แก่ อวน และช่วยเหลือสิ่งสาธารณประโยชน์ คือ มอบเงินให้เป็นทุนประเดิมแก่วัดวาอาราม มัสยิด ศาลเจ้าและสถานสงเคราะห์เด็กที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อรับบุตรหลานของผู้ประสบภัย ที่กำพร้าบิดามารดาหรือผู้ปกครองเสียชีวิต โดยอยู่ในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์

นอกจากนี้ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเงินให้กระทรวงศึกษาธิการ สร้างโรงเรียนประชาบาลที่ถูกพายุพัดพัง รวม 12 โรงเรียน ใน 6 จังหวัดภาคใต้ และภายหลัง พระราชทานชื่อว่า โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1,2,3,4,5 ถึง 12 ตามลำดับ

เมื่อได้ช่วยเหลือประชาชนในระยะแรกแล้ว ยังเหลือเงินอีก 3 ล้านบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริว่า เงินสามล้านบาทนี้ ควรตั้งเป็นทุนเพื่อหาดอกผลสำหรับสงเคราะห์เด็ก ซึ่งครอบครัวต้องประสบวาตภัยภาคใต้ และขาดผู้อุปการะเลี้ยงดูประการหนึ่งและสำหรับสงเคราะห์ช่วยเหลือราษฎรผู้ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศอีกประการหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานเงิน 3 ล้านบาท ให้เป็นทุนประเดิมก่อตั้งมูลนิธิ และพระราชทานนามว่า “มูลนิธิราชประชานุเคราะห์” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อยู่ใน “พระบรมราชูปถัมภ์” กับทรงดำรงตำแหน่ง พระบรมราชูปถัมภกแห่งมูลนิธินี้ด้วย ชื่อของมูลนิธินี้หมายความว่า “พระราชา” และ “ประชาชน” อนุเคราะห์ซึ่งกันและกัน เป็นการแสดงน้ำพระทัยว่า เวลาทำงานควรจะได้ให้ประชาชนมีส่วนร่วมด้วย

อ่านต่อ »


ภาษาเป็นหน้าต่างมองธรรมชาติของมนุษย์

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 15 February 2011 เวลา 0:10 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 3174

ภาษาที่อ้อมไปอ้อมมา ทั้งที่ทั้งสองฝ่ายต่างก็รู้ความหมายนั้น บางทีเรียกมรรยาท บางทีก็เป็นส่วนของวัฒนธรรม บางทีเป็นความดัดจริต ลีลา หรืออะไรก็แล้วแต่… มันไม่สำคัญเท่ากับว่าทำให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกันหรือไม่หรอกครับ

อ่านต่อ »


สุนทรพจน์ของประธานาธิบดีที่ดีที่สุดในประวัติศาสตร์สหรัฐ

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 14 October 2010 เวลา 18:04 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 6782

สหรัฐมีระบบการปกครองแบบหนึ่ง ซึ่งเชื่อว่าผู้ปกครองสูงสุดที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน จะทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนด้วยความรับผิดชอบ ถูกทำนองคลองธรรม และถูกกฏหมาย เป็นประมุขของประเทศ

ประธานาธิบดีสหรัฐท่านปัจจุบันเป็นท่านที่ 44 ประธานาธิบดีแต่ละท่าน ต่างก็สื่อสารกับประชาชนเป็นประจำ ในบรรดาสุนทรพจน์ทั้งหลายจากประธานาธิบดีทุกท่านนั้น มีอยู่อันหนึ่งซึ่งคนอเมริกันเอง เป็นผู้เลือกว่าเป็นสุนทรพจน์ที่ดีที่สุดในบรรดาสุนทรพจน์ของประธานาธิบดีทั้งหมด

สุนทรพจน์นั้นคือ Lincoln’s Gettysberg Address ยาวเพียงสองนาที ซึ่งได้กล่าวในบ่ายวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2406 ที่สุสานทหารแห่งชาติเก็ตตี้ส์เบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวเนีย

เมืองเก็ตตี้ส์เบิร์กนั้นกล่าวได้ว่า เป็นสถานที่ของการสู้รบครั้งตัดสินของสงครามกลางเมืองของสหรัฐ

อ่านต่อ »


ไปขึ้นเรือใบ

อ่าน: 2781

ท่าเรือกรุงเทพเป็นสถานที่ที่ผมไม่ผ่านเข้าไปบ่อย ถ้าจะไปก็เป็นช่วงที่เรือห้องสมุดนานาชาติแวะเยี่ยมเมืองไทย

เมื่อคืนก็นอนดึกเสียด้วยสิ ล่อเอาซะ 7 โมงเช้าเลย ตื่นขึ้นมาบ่ายโมง เจอข่าวดีเข้า ด้วยความที่วันนี้ไม่ติดอะไร จึงไปรับครูบาไปเที่ยว

อ่านต่อ »


ศรีปราชญ์: แหวนนี้ท่านได้แต่ ใดมา

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 24 September 2010 เวลา 0:04 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 8040

บันทึกในลานซักล้างนี้ นำเอาข้อความจากหนังสือเก่ามาพิมพ์ใหม่ไว้หลายเรื่อง ที่ทำอย่างนี้แม้ว่ามีความร่วมมืออันน่ายกย่องจากหลายหน่วยงาน ซึ่งสแกนหนังสือเก่าๆ เก็บไว้เป็นรูปแบบดิจิตอล เพื่อให้อ่านได้บนเน็ต แต่เพราะว่าการสแกนหนังสือ เก็บไว้เป็นภาพดิจิตอล จึงไม่สามารถสืบค้นได้จากเครื่องมือค้นหา (search engine)

ข้อความเก่าๆ ที่นำมาพิมพ์ใหม่ในบล็อกนี้ ก็มักจะแทรกอยู่ในหมวดภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ของบล็อก ที่ผ่านมามักมาจากหอสมุดสาขาวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งตีความตามมาตรา 19 และ 78 แห่ง พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 น่าจะแปลได้ว่างานสร้างสรรค์เหล่านั้น ตกเป็นสาธารณสมบัติ (public domain) เนื่องจากผู้สร้างสรรค์ เสียชีวิตไปเกิน 50 ปีแล้วทั้งนั้น

คราวนี้ผมเลือกหน้า 3-9 จากหนังสือโคลงกวีโบราณ จากหมวดหนังสือหายาก สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาพิมพ์ เนื่องจากข้อความตอนนี้ ดูเหมือนจะตอบปัญหาคาใจจากอาขยานสมัยเป็นนักเรียน ที่ศรีปราชญ์ตอบนายประตูเรื่องที่ได้รับพระราชทานแหวนมาวงหนึ่ง ผมสงสัยว่าต่อโคลงอะไร แล้วต่ออย่างไร

หนังสือโคลงกวีโบราณนี้ ผมไม่รับรองว่าเรื่องที่ตีพิมพ์ไว้จะเป็นคำตอบสำหรับข้อสงสัยของผม ไม่อาจยืนยันได้เนื่องจากอายุไม่มากพอ ไม่ได้ยินว่าใครพูดอะไร แต่ดูจากเรื่องที่ตีพิมพ์แล้ว ก็รู้สึกว่าเป็นไปได้เหมือนกัน (แต่ไม่ได้สรุปว่าใช่แน่)

ผมยืนยันได้ว่าพิมพ์ตามตัวสะกดแบบที่พิมพ์ไว้ในหนังสือ ไม่ได้เปลี่ยนอะไร ยกเว้นเปลี่ยนไปยาลน้อย (ฯ) เป็นอังคั่นคู่ (๚) ตามที่ควรจะเป็น ซึ่งในช่วงร้อยกว่าปีที่ผ่านมา เครื่องพิมพ์แบบเรียงพิมพ์ พิมพ์อังคั่นคู่ไม่ได้ บางทีก็ใช้ไปยาลน้อยแทนซึ่งไม่ถูกหรอกครับ

อ่านต่อ »


ลายผ้าทอมือ

อ่าน: 4687

จบไปอีกงานหนึ่ง เมื่อวานไปประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณางานวิจัยชุดหนึ่ง ซึ่งเป็นการประชุมครั้งสุดท้าย เนื่องจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้การนำของผู้อำนวยการท่านใหม่ ได้ปรับเปลี่ยนทิศทางของงานวิจัยของ สวทช. ให้นำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากขึ้น จากเดิมที่วิจัยลึกลงไปในเรื่องที่นักวิจัยสนใจ แต่มักนำไปใช้หรือต่อยอดได้ยาก เพราะว่าลึก แคบ และไม่ตรงกับความต้องการของภาคเอกชน ผมดีใจที่ สวทช. ปรับเปลี่ยนไปในแนวนี้นะครับ

ในเมื่อมีการปรับแนวทาง ก็มีการปรับโครงสร้างให้สอดรับกัน งานของคณะอนุกรรมการชุดนี้ ก็จะกระจายไปเข้าตามคลัสเตอร์ที่แบ่งงานกันใหม่ ดังนั้น การประชุมในวันนี้ จึงมีเรื่องพิจารณาปิดโครงการเต็มไปหมด เยอะขนาดเลี้ยงข้างเย็นด้วย มีงานวิจัยมันๆ หลายอัน แต่ส่วนใหญ่คงไม่เหมาะสำหรับผู้อ่านบล็อกของผม จึงเลือกมาให้ดูเพียงอันเดียว

โครงการดิจิไทย (Digitized Thailand) เป็นโครงการซึ่งเป็นความพยายามที่จะเก็บรักษามรดกทางวัฒนธรรมไทยไว้ในรูปแบบดิจิตอล ภายใต้โครงการนี้ มีโครงการ Digitized Lanna : Lanna Wisdom Archive Project ซึ่งมีส่วนเล็กๆ ซึ่งพัฒนาโปรแกรมสำหรับถอดลายผ้าทอมือโบราณ เรียกว่าโปรแกรม JK-Weave ใช้งานบนระบบปฏิบัติการ Windows

JK-Weave ใช้ถอดแบบหรือออกแบบผ้าทอมือ หรือจะใช้เครื่องจักรอัตโนมัติก็ได้ ลองเปลี่ยนสีด้ายดูในจอก่อนได้ ใช้ได้ถึง 32 ตะกอ (ส่วนใหญ่ใช้ระหว่าง 2-8 ตะกอเท่านั้น) รองรับลักษณะลายขัดปกติ ลายยกดอก+ลายขิด และลายจก+ลายเกาะ/ล้วง

เมื่อถอดแบบหรือออกแบบเสร็จ เก็บไฟล์ไว้แลกเปลี่ยนได้

ทั้งโปรแกรมและลวดลายทอที่ผู้ใช้นำมาแบ่งปันกัน สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ครับ

อ่านต่อ »


ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ (2)

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 22 June 2010 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 5843

บันทึกนี้เป็นตอนต่อจากประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ (1) ซึ่งต้องแยกเรื่องพระอภัยมณีออกมาเพราะยาวมากครับ

อ่านต่อ »


ประชุมสุภาษิตสุนทรภู่ (1)

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 21 June 2010 เวลา 1:44 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 6248

วันที่ ๒๖ มิถุนายน เป็นวันสุนทรภู่ (2329-2398) กวีเอกของโลกซึ่ง UNESCO ได้ยกย่องไว้ตั้งแต่ปี 2529 แล้ว

ก็คุยกับป้าจุ๋มในลานปัญญานี้ แล้วพบเรื่องน่าแปลกใจที่ตรงกัน ว่าเดี๋ยวนี้หาซื้อหนังสืออันเป็นผลงานของท่านไม่ได้เลย มีแต่ที่ตัดตอนออกมาเป็นส่วนย่อยๆ เท่านั้นที่ยังพอหาได้บ้าง แต่ก็กระจัดกระจายอยู่มาก

ดังนั้น ผมจึงตัดสินใจพิมพ์ใหม่อีกที ให้อยู่ในรูปแบบของข้อความที่ค้นหาได้ด้วย search engine เพื่อประโยชน์แห่งการศึกษา โหลดต้นฉบับมาอ่านได้ที่นี่ครับ ตัวสะกดคงไว้ตามต้นฉบับซึ่งตีพิมพ์ในปี 2498 แต่ผมแยกหนังสือให้เห็นชัด และมีทั้งการสะกดแบบโบราณเช่น เปน และการสะกดสมัยใหม่เช่น เป็น

โดยเหตุที่หนังสือมีความยาวมาก จึงขอแยกสุภาษิตจากพระอภัยมณีออกไป

จะอ่านก็ได้นะครับ แต่เตือนว่ายาว ผมตั้งใจจะให้ใช้ search engine (และ control-F) ค้นหามากกว่า

ในภาษาโบราณนั้น ใช้ฟองมัน (๏) เป็นเครื่องหมายเริ่มบทกวี และใช้อังคั่นคู่ (๚) วางไว้ตรงท้ายเพื่อแสดงว่าจบบทกวี มีคำอธิบายเรื่องนี้ไว้บนเว็บของราชบัณฑิตยสถาน แต่น่าเสียดายที่เว็บนี้ติดไวรัสมานานแล้วครับ ไม่มีใครแก้ไข

อ่านต่อ »


คนดี มาจากไหน ?

อ่าน: 3661

คืนนี้อ่านหนังสือเก่าจากหอสมุดสาขาวังท่าพระ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร เจอหนังสือที่พระราชเวที วัดมกุฏกษัตริยาราม ตีพิมพ์แจกในปี 2480 ชื่อ “คติของนักพูด และคนดี มาจากไหน ?” เป็นหนังสือที่สแกนมา อ่านได้แต่ไม่อยู่ในรูปแบบข้อความดิจิตอล ผมคิดจะพิมพ์ แต่พิมพ์ทั้งหมดก็ไม่ไหว เลยเลือกเอาครึ่งหลัง คือเรื่องคนดี มาจากไหน ? ก็แล้วกันครับ ตัวสะกดโบราณ การแบ่งย่อหน้า เครื่องหมายวรรคตอน (อันอาจเกิดจากข้อจำกัดของการเรียงพิมพ์เมื่อ 73 ปีก่อน) คงไว้ตามที่ปรากฏในหนังสือ

อ่านต่อ »


ชี้นิ้วโดยนัย

อ่าน: 4193

วันนี้ค้นคำว่า”ชี้นิ้ว” ก็ได้ความหมายที่ตรงกันทั้งนั้นครับ

  • ไทย-อังกฤษ สอ เศรษฐบุตร: to tell other people to work
  • ไทย-อังกฤษ NECTEC’s Lexitron Dictionary: [v.] order [syn.] ออกคำสั่ง,บัญชา,บงการ,สั่ง
  • พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน: ได้แต่สั่งการให้ผู้อื่นทํา ไม่ลงมือทําเอง
  • พจนานุกรม ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร: ได้แต่สั่งการให้ผู้อื่นทำ ตนเองไม่ทำ

แม้ในเอกสารอื่นๆ ที่ค้นเจอ ต่างก็มีความหมายในลักษณะเดียวกัน และออกไปในด้านลบมากกว่าบวก

อย่างไรก็ตาม ถ้าอยู่ในฐานะที่ออกคำสั่งได้และจำเป็นต้องใช้คำสั่ง ก็ขอให้พิจารณาข้อคิดของคำสั่งด้วย ถ้าไม่จำเป็นต้องใช้คำสั่ง การให้คำแนะนำจะดีกว่าไหมครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.82339811325073 sec
Sidebar: 0.36783695220947 sec