กระสอบทราย

อ่าน: 6932

เมื่อสักครู่ ผู้หลักผู้ใหญ่ที่นับถือกันมานานโทรมาขอความเห็น ได้เรียนท่านไปว่า thaiflood.com มีข้อมูลที่ดีที่สุดในเวลานี้ ส่วนทวิตเตอร์ ขอให้ตามอ่านใน #thaiflood (แต่ในนั้นก็น้ำท่วมเช่นกัน เนื่องจากมีปริมาณข้อความมากมาย); ให้ข้อมูลเรื่องเรือ และเครื่องเรือ+หางเสือ เล่าถึงสถานการณ์ในพื้นที่ที่มีการตัดไฟฟ้าเนื่องจากน้ำท่วมสูง ว่าโทรศัพท์มือถือน่าจะแบตหมดไปแล้ว การที่สามารติดต่อกับคนที่รักได้ จะช่วยลดความเครียด ความท้อแท้สิ้นหวังลงได้บ้าง แถมยังสามารถใช้ติดต่อขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉินได้อีก

จึงเสนอให้ส่งแบตเตอรี่รถยนต์ 12V เข้าไปตามหมู่บ้านที่ถูกตัดขาด และไม่มีไฟฟ้าส่งไปเช้า พอเย็นก็ตามไปเก็บกลับมาชาร์ต พรุ่งนี้ไปที่อื่นต่อชาวบ้านก็จะชาร์ตแบตมือถือได้ ท่านบอกว่างั้นส่งอินเวอร์เตอร์ปั่นไฟเป็น 220V ไปด้วย ให้ใช้เครื่องชาร์ตของตัวเอง ทุกคนที่มีมือถือชาร์ตไฟจากปลั๊กไฟบ้านได้ แต่ถ้าเอาแบตเตอร์รี่รถยนต์ชาร์ตเข้ามือถือ จะมีปัญหาทั้งเรื่องสายต่อและเรื่องแรงดันแบตมือถือแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อที่ไม่เท่ากัน เมื่อชาร์ตแบตมือถือแล้ว จะได้ส่งข่าวถึงผู้ที่ห่วงใยได้ ชาร์ตเสร็จแล้วแบ่งคนอื่นในหมู่บ้านชาร์ตบ้าง

ค น ห นึ่ ง ค น . . . จ ะ ท ำ อ ะ ไ ร ไ ด้

เมื่อคืนค้นข้อมูลเรื่องการควบคุมน้ำท่วม พบว่าในต่างประเทศมีวิธีการสร้างกำแพงกั้นน้ำแบบชั่วคราว ที่สร้างได้เร็ว ราคาถูก และขนส่งได้ง่ายกว่าการใช้กระสอบทรายมาก แทนที่จะใช้ทราย เขาใช้น้ำแทน เอาน้ำมาจากตรงที่ท่วมนั่นแหละ! สูบเข้าไปไว้ในถุง (ฝรั่งใช้พลาสติก แต่เราจะใช้ผ้าใบก็ได้) มีการคำนวณซึ่งผมยังไม่มีเวลาตรวจสอบ ได้แค่เปิดดูผ่านๆ พอเข้าใจ — ตอนนี้ยังไม่ได้เตรียมเรื่องที่จะพูดใน CrisisCamp พรุ่งนี้เลย

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองตัวอย่างที่จะแสดงไว้ข้างล่างนี้ แนะนำว่าไม่ให้ใช้กับระดับน้ำที่เกิน 2-3 ฟุต (1 เมตร) แต่สามารถวางไว้ในพื้นที่ใดก็ได้ ไม่ต้องการพื้นเรียบสำหรับวาง อาจใช้ร่วมกับถนน หรือตลิ่งได้

ก่อนอื่นต้องเข้าใจหลักการก่อนว่ากระสอบทราย กันน้ำได้อย่างไร

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (6)

อ่าน: 3634

บันทึกที่แล้วเขียนเรื่องที่เมืองไทยน่าจะมี(แต่ดันไม่มี) บันทึกนี้จะขยายสิ่งที่บางประเทศเขาทำกัน และคงเป็นบันทึกสุดท้ายในชุดนี้แล้วครับ

ที่เขียนลากยาวมาได้ถึงหกตอนนี้ ก็เพราะรู้สึกดีใจที่ประสบการณ์และแง่คิดที่พยายามเขียนอธิบายออกมานั้น ช่วยให้เครื่องมือที่ประสานเรื่องการจัดการบรรเทาทุกข์จากอุทกภัย ให้ข้อมูลที่มีความหมายขึ้น ขอขอบคุณอาสาสมัครทีมงาน thaiflood.com ที่อ่านแล้วไม่ปล่อยผ่านไปเฉยๆ ครับ

เมื่อสักสี่ปีก่อน ประเทศที่เป็นเกาะในแปซิฟิคใต้ โดนสึนามิเสียหายร้ายแรง สหประชาชาติโดย ITU/UNESCAP จัดประชุมถอดบทเรียนสึนามิ และเน้นย้ำความสำคัญเรื่อง Disaster Communications ที่หอประชุมสหประชาชาติในกรุงเทพ ตอนนั้นศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติก็ชวนพวกผมไปฟัง เพราะว่าเวลามีประชุมนานาชาติในเมืองไทย ผู้แทนจากประเทศเจ้าบ้านมักเปลี่ยนเป็นวาโยธาตุได้อย่างอัศจรรย์

การประชุมในคราวนั้น ผมได้เรียนอะไรหลายอย่าง อย่างผู้แทนอิหร่านเล่าให้ฟังว่าแผ่นดินไหวคนตายหลายแสน นับตั้งแต่เกิดเหตุจนยุติการค้นหาผู้รอดชีวิต ทุกวินาทีที่ผ่านไปมีคนตายเกือบ 4 คน ไม่ว่าจะหยุดกินข้าว นอนพัก หรือรอเครื่องมือ มีคนสองร้อยกว่าคนตายเพิ่มในแต่ละนาทีที่ผ่านไป ฟังแล้วก็อึ้งไปเลย ชีวิตคน(อื่น)สำคัญแค่ไหนสำหรับตัวเรา ความทุกข์ยากของคน(อื่น)สำคัญแค่ไหน เวลาเราบอกว่ารักเพื่อนมนุษย์นั้น มีความหมายอย่างไร

หลังจากงาน ได้คุยกับเจ้าหน้าที่ UNDP ซึ่งบอกว่า มีระบบงานที่พัฒนาโดยนักวิจัยในประเทศกลุ่มละตินอเมริกาและแคริเบียนน่าสนใจ ก็เลยลองศึกษาดู อืม น่าสนใจจริงๆ ครับ

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (5)

อ่าน: 3667

บันทึกที่แล้วเขียนทิ้งไว้เท่าที่นึกออกครับ บันทึกนี้จะพยายามเรียบเรียงความคิดว่าอะไรที่น่าจะมี เพราะอะไร

การพยากรณ์อากาศ

วิถีชีวิตคนไทยขึ้นกับลมฟ้าอากาศเป็นอย่างมาก เราจำเป็นต้องพยากรณ์อากาศล่วงหน้าให้ได้ระยะหนึ่ง กรมอุตุนิยมวิทยาทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งไม่เพียงแต่รวบรวมข้อมูลจากประเทศต่างๆ เท่านั้น ยังเป็นแหล่งความรู้ทางอุตุนิยมวิทยาของภูมิภาคอีกด้วย

กรมอุตุฯ ทำการทำนายสภาวะอากาศวันละสองครั้ง คือเที่ยงคืนและเที่ยงวันตามเวลามาตรฐานสากล เราจึงเห็นกรมอุตุฯ ออกรายงานสภาพอากาศวันละสองครั้ง ตอนเจ็ดโมงเช้ากับหนึ่งทุ่ม เนื่องจากเวลาเมืองไทยเร็วกว่า UTC อยู่ 7 ชั่วโมง การพยากรณ์อากาศต้องอาศัยข้อมูลจากประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน การตรวจวัดอุณหภูมิ ความดัน ความชื้น อุณหภูมิของน้ำทะเล ในแต่ละประเทศโดยไม่สนใจบริเวณข้างเคียง ย่อมไม่แม่นยำเพราะว่าสภาวะอากาศเกี่ยวพันกันข้ามพรมแดนประเทศ

แต่ว่าการพยากรณ์อากาศวันละสองครั้งในภาวะที่อากาศแปรปรวนนั้น ไม่พอหรอกนะครับ ผมคิดว่ากรมอุตุฯ ก็ทราบดี จึงได้มีความพยายามจะพัฒนาสมรรถนะ แล้วก็ดันเกิดเป็นปัญหาการจัดซื้อซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันลือลั่นเมื่อหลายปีก่อน จนปัจจุบันทางกรมก็ยังไม่มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้งาน ยังใช้แผนที่อากาศเหมือนเมื่อสี่ห้าสิบปีก่อน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (4)

อ่าน: 3776

บันทึกนี้ ต่อจากตอนที่ 3

วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 23-24 ที่จะถึงนี้ จะมีงาน BarCamp Bangkok ครั้งที่ 4 ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน

งาน BarCamp เป็นงานชุมนุม geek จะมีผู้ที่มีความรู้ทางไอที มารวมกันเพื่อแลกเปลี่ยนแง่คิด มุมมอง ประสบการณ์ และเป็นโอกาสที่จะระดมสรรพกำลัง ไปร่วมกันทำงานที่มีประโยชน์

ในงานนี้ สปอนเซอร์รายหนึ่งบอกว่าจะจัด Crisis Camp ระดมคนทำงานเรื่องข้อมูลเชิงแผนที่ของวิกฤตการณ์ครั้งนี้

@thaiflood “ตลาดนัดจิตอาสาช่วยเหลือภัยพิบัติ” เสาร์-อาทิตย์ 23-24 นี้ (ข้ามคืน) ที่ม.ศรีปทุมบางเขน

ที่มา twitter

ผมคงไปร่วมไม่ได้หรอกครับ สวนป่ามีอบรมนักศึกษาจากคณะพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชนกันพอดี ก็ไปช่วยไม่ได้เลย ดังนั้นบันทึกนี้ ก็จะพยายามเรียบเรียงแง่คิดมุมมอง และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติเอาไว้ หวังว่าจะมีใครได้ประโยชน์บ้าง ส่วนเกี่ยว-ไม่เกี่ยว ทำ-ไม่ทำ ใช่-ไม่ใช่ ขึ้นกับบริบทครับ

เรื่องระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจนี้ คงไม่จบในบันทึกเดียว บันทึกนี้ จะพาขี่ม้าเลียบค่ายก่อน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (3)

อ่าน: 4687

บันทึกนี้เขียนต่อจาก ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 พูดถึงแนวทางในการฟื้นฟูครับ พื้นที่ไหนน้ำลดแล้ว เริ่มใช้ได้เลย

เมื่ออาทิตย์ก่อน ครูบาไปเป็น Igniter ในงาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 2 ที่หอประชุมจุฬาลงกรน์มหาวิทยาลัย [งาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 2] เกิดอุบัติเหตุทางเทคนิคขึ้น สไลด์ติดอยู่ที่สไลด์ที่สอง นานสองนาทีกว่า ที่เตรียมไป 20 สไลด์ พูดได้แค่ 8 สไลด์เท่านั้น หมดเวลาแล้ว

ในส่วนที่ไม่มีโอกาสได้พูดนั้น มีเรื่องน่าสนใจอีกหลายอย่าง แต่ผมยกมาเขียนเรื่องเดียวนะครับ

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (2)

อ่าน: 4524

เขียนต่อจากบันทึกที่แล้วครับ บันทึกนี้เป็นเรื่องของการชะลอน้ำหลาก/น้ำป่า/runoff ลองดูภาพเงินเขาที่ถูกถางจนเรียบนะครับ

บนเนินเขา เราจะเห็นพื้นที่สองแบบ คือบริเวณที่มีต้นไม้ และบริเวณที่ถูกถางจนเรียบ ทั้งสองพื้นที่อยู่บนเนินเดียวกัน มีความลาดเอียงพอๆ กัน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (1)

อ่าน: 5664

ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นอู่ข้าวสำคัญของไทย ตามการกำหนดขอบเขตของกรมพัฒนาที่ดิน ทุ่งกุลาร้องไห้มีพื้นที่ 2,107,690 ไร่ใน 5 จังหวัด 10 อำเภอ 79 ตำบล 1,048 หมู่บ้าน เป็นนาปลูกข้าวหอมมะลิอันเลื่องชื่อ 1,266,103 ไร่ ให้ผลผลิตปีละ 4 แสนกว่าตัน เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 47,0961 ไร่ มีวัวควายอยู่ราว 270,000 ตัว มียูคาลิปตัสราว 60 ล้านต้น ให้ผลผลิตไม้ปีละราว 2 ล้านตัน มีแหล่งโบราณคดี 408 แห่ง มีคนอยู่อาศัยราว 620,000 คน — ข้อมูลจากวารสารสารคดี ฉบับเมษายน 2552

อีสานใต้ที่ท่วมหนักอยู่ในตอนนี้ เป็นขอบอ่างโคราช ซึ่งเป็นที่สูง น้ำไหลลงที่ต่ำไม่ได้เนื่องจากทางน้ำถูกขวางอยู่ อบต.ก็ชอบสร้าง+ซ่อมเหลือเกิน แต่โดยเฉลี่ยมีงบจัดการน้ำเพียง 2.15%

แผนที่ทางขวานี้ ต้องขอขอบคุณผู้จัดทำนะครับ ผมมองว่าให้ภาพหยาบๆ ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ไหน (ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี) ทั้งนี้ตามรายงานข่าวในโทรทัศน์ซึ่งก็พูดกว้างๆ อยากเห็นสถานีโทรทัศน์ ใช้แผนที่สถานการณ์ให้มากกว่านี้ครับ

อย่างไรก็ตาม ทางส่วนของราชการ ผมยังไม่เห็นแผนที่สถานการณ์ตัวจริงเลยครับ ภาพถ่ายดาวเทียมก็ได้ หากทางราชการมีแผนที่ว่า ณ.เวลาหนึ่ง เกิดน้ำท่วมขึ้นที่ไหนบ้าง ระดับน้ำสูงเท่าไร จะได้เตรียมแผนช่วยเหลือได้เหมาะสม ตลอดจนเป็นการแจ้งให้ผู้ที่อยู่ปลายน้ำ ได้เข้าใจสถานการณ์ตามที่เกิดขึ้น

เป็นเรื่องฝืนธรรมชาติที่น้ำท่วมอยู่ในที่สูง ในที่สุดน้ำก็จะไหลลงไปตามร่องน้ำธรรมชาติครับ ซึ่งสำหรับอีสานใต้คือแม้น้ำมูล ซึ่งเป็นแม่น้ำขนาดไม่ใหญ่ มีอัตราไหลต่ำ และคดเคี้ยวไปมา ดังนั้นจำหวังให้น้ำปริมาณมหาศาลลดลงอย่างรวดเร็วนั้น คงจะยากเหมือนกัน

อ่านต่อ »


เข้าถึงผู้ประสบอุทกภัย

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 19 October 2010 เวลา 0:02 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3401

เมื่อไม่กี่วันก่อน เกิดฝนตกหนักในพื้นที่เขตอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานแห่งชาติทับลาน เป็นวงกว้าง น้ำฝนที่ตกลงมา ถ้าไม่ถูกดินดูดซับไว้ ก็จะไหลลงที่ต่ำตามธรรมชาติ บ้านเรือนชาวบ้านเทือกสวนไร่นาที่ตั้งอยู่ใกล้น้ำ ก็มีความเสี่ยงแบบนี้อยู่เป็นธรรมดา

สำหรับปีนี้ อุทกภัยใหญ่ไม่ใช่ว่าเพิ่งเกิดขึ้น อ.บางระกำ พิษณุโลก ซึ่งรับน้ำจากอุทยานแห่งชาติศรีสัชนาลัย ก็ท่วมมาสองเดือนกว่าแล้ว! ในขณะที่เขียนนี้ ลุ่มน้ำป่าสักก็ล้นตลิ่ง บนลุ่มเจ้าพระยาน้ำเหนือกำลังไหลบ่าลงมาเช่นกัน

น้ำท่วมคราวนี้ มีผลกระทบมาก ข้าวอยู่ในช่วงเก็บเกี่ยว ที่นาซึ่งอาจใช้เป็นพื้นที่แก้มลิงได้ชั่วคราว คราวนี้ก็ใช้ไม่ได้ ขืนเอาน้ำเข้าไปเก็บในนา จะเก็บเกี่ยวพืฃผลได้อย่างไร ถึงเกี่ยวข้าวได้ ความชื้นจะสูงปรี๊ด ราคาตกหัวทิ่มอีกต่างหาก — ซึ่งถ้าน้ำท่วมนาเอง อาการยิ่งหนักเข้าไปใหญ่ นั่นหมายความว่าปริมาณน้ำมีมหาศาลจริงๆ

ถ้าจะให้น้ำลดเร็ว ก็ต้องทำสองอย่างครับ คือทำให้น้ำไหลออกจากพื้นที่เร็วขึ้น (คือมีแก้มลิงเฉลี่ยน้ำออกไป) และชะลออัตราที่น้ำฝนตกใหม่ไหลลงมา (เช่น ร่องดักน้ำฝน) ถ้าจะทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างหนึ่งนั้น ก็จะขึ้นกับธรรมชาติว่าจะปราณีขนาดไหนครับ

อ่านต่อ »


ข้อมูลน้ำจากระบบโทรมาตรของกรมชลประทาน

1 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 18 October 2010 เวลา 0:05 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้ #
อ่าน: 4618

กรมชลประทานได้ติดตั้งระบบโทรมาตร 200 แห่งกระจายกันอยู่ทั่วประเทศครับ ระบบโทรมาตร (telemetry) แปลว่าระบบวัดอะไรบางอย่าง แล้วส่งข้อมูลการวัดไปไกลๆได้ ไม่ต้องไปอ่านผลการวัดที่เครื่องวัด

ผมรู้สึกดีใจที่งบประมาณที่ลงไปนั้น ทำให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กลับมา ข้อมูลเหล่านี้เป็นข้อมูลของระดับน้ำเมื่อเทียบกับระดับตลิ่ง ดูแล้วเราก็รู้ได้ว่าน้ำท่วมในบริเวณนั้นหรือไม่ ถ้าระดับน้ำสูงกว่าระดับตลิ่งแปลว่าน้ำท่วมแล้ว เว็บนี้เขียนไว้ว่า “บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมรายงานผลของการวัดค่าทั้งระดับน้ำ ปริมาณน้ำฝน และคุณภาพอากาศ” หมายความว่าดูได้ ไม่ปิดบังครับ

ทีแรกผมคิดว่าบางทีอาจจะปรับปรุงได้ในแง่ที่ว่า แทนที่จะแสดงสถานะของเครื่องวัด ก็น่าจะแสดงสถานการณ์น้ำมากกว่า

ตอนนี้มีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ก็คิดว่าไม่รอดีกว่าครับ ยิ่งให้ข้อมูลแก่สาธารณชน ชาวบ้านก็ยิ่งเตรียมตัวได้ดี เพราะเห็นว่าทางต้นน้ำ(น้ำที่จะไหลมาเพิ่ม)/ปลายน้ำ(น้ำที่จะระบายออกไป)เป็นอย่างไร จะได้เตรียมตัวให้เหมาะสม

ข้อมูลที่วัด ส่วนใหญ่เป็นการวัดระดับน้ำ เป็นความสูงกว่าระดับน้ำทะเลปานกลาง (ย่อว่า รทก.) บางทีก็มีเครื่องวัดปริมาณฝน แต่ผมคิดว่ารูปในแต่ละหน้าของลานซักล้างนี้ (ซึ่งมาจากสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร) น่าจะดูได้ง่ายกว่านะครับ

สำหรับข้อมูลจากระบบโทรมาตรของกรมชลประทาน ดูได้ที่นี่ครับ ซูม/แพนดูบริเวณที่สนใจได้เองครับ


สุนทรพจน์วันจบการศึกษา

อ่าน: 7066

เมื่อสองวันที่ผ่านมา เพื่อนผมที่อยู่อเมริกาถามมาว่า ได้ฟังสุนทรพจน์ของ Steve Jobs ที่กล่าวแก่บัณฑิต Stanford เมื่อห้าปีก่อนหรือยัง อันนั้นผมฟังแล้วครับ ที่เขาบอกว่า Stay hungry, stay foolish ไง (อย่าหยุดนิ่ง อย่าหยุดแสวงหา) ถึงเคยดูแล้ว ย้อนกลับไปดูอีกทีก็ดีเหมือนกัน

สุนทรพจน์ต่างๆ ที่ผู้กล่าวเตรียมตัวมาเป็นอย่างดีนั้น มักจะมีแง่คิดให้ฟังเสมอ และสุนทรพจน์วันจบการศึกษา ก็มักจะเป็นสิ่งที่ไม่สอนในห้องเรียนหรอกนะครับ

ผมก็เลยค้นเน็ตต่อไปเรื่อยๆ หาว่ามีอะไรน่าสนใจอีกไหม ก็ไปพบว่า TIME จัดอันดับสุนทรพจน์วันจบการศึกษาเอาไว้ ของ Jobs เป็นที่สอง ส่วนที่หนึ่งเป็นของ David Foster Wallace ซึ่งกล่าวเอาไว้ที่ Kenyon เมื่อปี ค.ศ.2005

เอ๊ะ ผมไม่รู้จัก Wallace หรอกครับ ใครหว่า ไม่รู้จัก Kenyon ด้วย แต่ถ้า TIME จัดสุนทรพจน์ของ Wallace ซึ่งกล่าวไว้ที่ Kenyon ไว้ที่หนึ่ง เหนือสุนทรพจน์จากคนดัง+มหาวิทยาลัยดังอื่นๆ คงมีอะไรน่าสนใจเหมือนกัน

Wallace (1962-2008) เป็นนักเขียนซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนดาวรุ่ง แต่ในปี 2008 เขาฆ่าตัวตาย ก่อนหน้านั้น Wallace มีอาการซึมเศร้ามายี่สิบปี และต้องพึ่งยา phenelzine มาตลอด เมื่อยาเริ่มแสดงผลข้างเคียง ช่วงกลางปี 2007 เขาก็เลิกใช้ยา แต่ว่าอาการซึมเศร้ากลับมาอย่างรุนแรง เขาหันไปรักษาด้วยวิธีอื่นแต่ไม่ได้ผล และแม้กลับไปใช้ยาเดิมอีก แต่คราวนี้ยาไม่ได้ผลแล้ว จนหนึ่งเดือนก่อนฆ่าตัวตาย เขามีอาการซึมเศร้าขั้นรุนแรง และในที่สุดก็ตัดสินใจจบชีวิตตัวเอง

อ่านต่อ »



Main: 0.082918167114258 sec
Sidebar: 0.18768501281738 sec