สำเร็จ ล้มเหลว

อ่าน: 2928

พจนานุกรมแปลคำว่าสำเร็จไว้ว่า ว. ที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่แปลคำว่าล้มเหลวไว้ ถึงกระนัั้นก็อนุมาณได้ว่าความหมายตรงกันข้ามกับสำเร็จ

มีอยู่อย่างหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าคนไทยเราไม่ค่อยสังเกตเกี่ยวกับสองคำนี้ คือมันเป็นคำวิเศษณ์ที่ชี้บ่งถึงความเป็นอดีต คือว่าต้องมีเหตุการณ์เกิดขึ้นในอดีตแล้ว จึงจะบอกได้ว่าสำเร็จหรือล้มเหลว ซึ่งตัดสินได้ยากหากไม่มีเกณฑ์ที่ได้ตกลงกันไว้ก่อน ในกรณีหลังนี้ความสำเร็จหรือความล้มเหลว ขึ้นอยู่กับมุมมอง

แต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น คือไม่ว่าจะสำเร็จหรือล้มเหลว เรื่องก็ผ่านไปแล้ว จะไปเปลี่ยนแปลงอดีตไม่ได้แล้ว การที่เคยสำเร็จ ไม่ได้รับประกันว่าจะสำเร็จอีกในอนาคต จำเป็นต้องอ่านสถานการณ์ตามความเป็นจริง เตรียมตัว ปรับเปลี่ยนตามความจำเป็นเพื่อช่วยให้ประสบความสำเร็จอีกในอนาคต ส่วนความล้มเหลวที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่าจะล้มเหลวอีกตลอดไป หากรู้จักเรียนรู้ ปรับปรุง แก้ไขข้อผิดพลาด

ไม่มีใครจะสำเร็จหรือล้มเหลวตลอดไปหรอกนะครับ อย่าไปติดกับมันนานนัก หลังจากความสำเร็จ เรานำเอาความภูมิใจติดตัวไปได้ แต่ไม่ควรปลื้มกับความสำเร็จนานเกินไปจนไม่ทำอะไรใหม่ (จึงไม่มีความสำเร็จอันใหม่) แล้วหลังจากความล้มเหลว เราก็นำเอาบทเรียนติดตัวไปได้ อย่าทำผิดพลาดซ้ำสอง

อ่านต่อ »


สถานการณ์น้ำในเขื่อน

อ่าน: 3320

วันนี้ไปหาหมอมา ไม่มีอารมณ์เขียน จึงขอทดข้อมูลสั้นๆ แต่สำคัญแทนครับ คือปริมาณน้ำในเขื่อนที่ดูแลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ปรับปรุงข้อมูลทุกวัน

ควรดูปริมาณ “น้ำไหลเข้าอ่าง” ยกเว้นเขื่อน “ท่าทุ่งนา” ซึ่งเป็นเขื่อนท้ายเขื่อนศรีนครินทร์ ดังนั้นน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนท่าทุ่งนา ก็จะใกล้เคียงกับน้ำที่เขื่อนศรีนครินทร์ปล่อยออกมา

ถ้าน้ำไหลเข้าอ่าง น้อยกว่าน้ำที่ปล่อยออก ก็แปลว่าเขื่อนขาดทุนน้ำ


แล้งเพราะทำตัวเอง

อ่าน: 2549

เมื่อเช้านี้ ผมไปพบผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งทำงานเรื่องน้ำ มีข้อมูลแปลกโผล่มาซึ่งไม่ได้ขอให้เชื่อหรอกนะครับ ให้ลองคิดดูเฉยๆ

  • ปีที่แล้วฝนไม่ได้น้อยเลย แต่ระบบชลประทานขาดทุนน้ำสองพันล้านลูกบาศก์เมตร เพราะพืชผลการเกษตรราคาสูง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว) จึงต้องปล่อยน้ำออกไปช่วย
  • ปีนี้แล้งจัดและร้อนจัดมาตั้งแต่ต้นปี แต่เพราะราคาข้าวสูงเมื่อปีที่แล้ว จึงมีชาวนาทำนามาก ควรจะทำนาปรัง 6 ล้านไร่ กลับทำ 12 ล้านไร่ และทำสองครั้งด้วย จึงยิ่งมีความต้องการน้ำมหาศาล
  • ถึงตอนนี้ น้ำไม่พอ นาล่มอยู่ดี เงินที่คิดว่าจะได้ก็ไม่ได้ ทุนก็ลงไปแล้ว
  • ยังไงก็ไม่เปลี่ยนไปทำพืชผักอย่างอื่นที่ใช้น้ำน้อยกว่ามาก เช่น พริก
  • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ใช้งบทำเรื่องการจัดการน้ำ (บ่อ สระ คลอง ร่องน้ำ) 2.15% แต่ใช้งบแก้ไขเรื่องน้ำ (ท่วม+แล้ง) 7.9%
  • ทางเหนือ มีพื้นที่ในเขตชลประทาน 15% อีสานเก็บน้ำฝนไว้เพียง 3% แต่ชุมชนไม่เตรียมตัวช่วยเหลือตัวเอง (ขุดบ่อเอง ฯลฯ) เพราะคิดว่าเป็นหน้าที่รัฐต้องมาช่วย — สงสัยว่าถ้าปริมาณมากมายอย่างนี้ รัฐจะช่วยไหวได้อย่างไร [เพิ่งเขียนบันทึกเรื่องน้ำไม่มี] ในพื้นที่อีสานยิ่งหนักไปกันใหญ่
  • อ่านต่อ »


การเขียนหนังสือในฐานะการแสดงออกทางจิตวิญญาณ (ตอนจบ)

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 8 June 2010 เวลา 0:02 ในหมวดหมู่ ภาษา วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ #
อ่าน: 2989

เมื่อวาน คม-ชัด-ลึก ไม่เอาบทความขึ้นเว็บเหมือนกับสามตอนที่ผ่านมา (แต่ตีพิมพ์ในฉบับที่พิมพ์ขาย) อันนี้ไม่ว่าอะไรหรอกนะครับ เป็นสิทธิ์ของเขาจริงๆ

แต่ผมก็ไปเจอบทความฉบับเต็ม ใน thaiwriter.net จึงขอนำส่วนที่เหลือมาโพสต์ต่อนะครับ

อ่านต่อ »


น้ำไม่มี

อ่าน: 4094

ในเมื่อน้ำไม่มีก็ไม่มีครับ ไม่รู้จะมาคร่ำครวญอะไรกัน

ไม่อยากพูดเลยว่าเตือนมาสักครึ่งปีแล้ว ในบล็อกนี้นี่แหละ (เออนะ แล้วทำไมต้องฟังด้วยล่ะ) มาถึงตอนนี้ คงต้องรอฟ้ารอฝนอย่างเดียว ทำอะไรไม่ทันแล้ว

หากฝนตก ก็เก็บน้ำฝนไว้นะครับ หลังคาเล็กๆ ขนาด 25 ตารางเมตร ฝนตกหยุมหยิมขนาด 5 มม. เก็บน้ำจากหลังคาได้หนึ่งในแปดคิว คงประมาณสักค่อนตุ่ม ถ้าตกจริงจังขนาด 2 ซม. ได้น้ำครึ่งคิว จะอยู่ไปได้สองสามวัน

อย่าคิดว่าอยู่ในเมืองจะสบาย วันไหนที่น้ำประปาไม่ไหลแล้วจะรู้สึก ตอนนี้มีโอกาสเตรียมอะไรได้ ก็เตรียมเสียก่อนเถิดครับ

ส่วนไร่นา น่าจะสำรวจความลาดชันของพื้นที่ แล้วพยายามขุดร่องนำน้ำฝนไปรวมกันที่บ่อให้ได้มากที่สุด อย่าปล่อยให้น้ำหายไปเฉยๆ เลยครับ ต่อให้น้ำไปรวมกันที่ต่ำแล้วต้องสูบมาใช้ ก็ยังดีกว่าไม่มีน้ำจะสูบมาใช้ [ธนาคารน้ำ]

อ่านต่อ »


เชื่อเพราะเห็น ทำให้หลงได้ง่าย

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 June 2010 เวลา 12:44 ในหมวดหมู่ สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3588

มีวิดีโอคลิปมาให้ดูหลายชุดครับ

อันแรกเป็นรายการของญี่ปุ่นที่แกล้งกัน ดูปฏิกริยาของคนที่ทำอะไรแตกต่างกับคนจำนวนมาก ส่วนใหญ่ก็จะคล้อยตามคนหมู่มากไปโดยอัตโนมัติ; อันนี้ก็คือเราอยู่ในกลุ่มคนอย่างไร ก็มักจะเป็นคนแบบนั้นแหละ

อ่านต่อ »


ท่านพุทธทาสฝากไว้

อ่าน: 2872

ท่านพุทธทาสเขียนหนังสือ ฟ้าสางระหว่าง ๘๐ ปี อสีติสังวัจฉรายุศมานุสรณ์ พิมพ์ขึ้นเป็นอนุสรณ์ในโอกาสครบรอบอายุ ๘๐ ปี โดยมีมรดกธรรม ๑๘๙ ข้อ ที่ท่านฝากไว้ให้แก่ชาวพุทธสืบทอดต่อไป หนังสือแบ่งเป็นสองภาค คือมรดกที่เป็นเรื่องฝ่ายวัตถุธรรมและพิธีกรรม กับมรดกที่เป็นเรื่องฝ่ายนามธรรมและสติปัญญา

คำนำ

ข้าพเจ้าไม่มีมรดกอะไร ที่จะฝากไว้กับเพื่อนพุทธบริษัท ผู้เป็นเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย ทั้งหลาย นอกจากสิ่งที่ระบุไว้ในข้อความข้างล่างนี้ ด้วยความหวังว่า ถ้ายังมีการสืบมรดกนี้อยู่เพียงใด กิจกรรมสวนโมกขพลาราม ก็จะยังคงมีอยู่ตลอดกาลนานเพียงนั้น และ “พุทธทาส” ก็จะยังคงมีอยู่ในสถานที่นั้นๆ ตลอดกาล เพียงนั้นขอได้โปรดรับพิจารณากันเสียแต่บัดนี้ ซึ่งจะเป็นการง่ายในการสืบมรดก ดังกล่าวขอให้ถือว่า เป็นมรดกธรรมแก่บรรดาเพื่อน ผู้มอบกาย ถวายชีวิต ในการสืบอายุพระศาสนา เพื่อประโยชน์แก่คนทั้งโลกเถิด มิได้เป็นเรื่องส่วนบุคคลแต่ประการใด.

ข้างบนเป็นลิงก์ต้นทาง แต่ผมเอามา markup (format) ใหม่โดยไม่เปลี่ยนแปลงเนื้อหาตัวสะกดของภาษาโบราณนะครับ แต่พบว่ามีพิมพ์ผิดเยอะเหมือนกันซึ่งได้แก้ไขไปแล้ว หากจะดูต้นฉบับ ก็ขอให้คลิกลิงก์ข้างบน

อ่านต่อ »


วิธีปฏิบัติที่รวบรัด

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 5 June 2010 เวลา 15:54 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3076

บันทึกนี้คงจะจะรวบรัดมากครับ นำคำเทศนาของท่านพุทธทาสมาให้อ่าน

วิธีปฏิบัติที่รวบรัด

การปฏิบัติ จะทำอย่าง ค่อยทำ ค่อยไป นี้ มันจะตายเสียก่อน

ฉะนั้น ผมจึงถูกด่าถูกหา ถูกอะไรโดยคนทั่วไป จากผู้หลักผู้ใหญ่ว่าสอนนอกเรื่อง นอกแบบ เอาเรื่องโลกกุตตระ พ้นโลกเหนือโลกมาสอนประชาชน อย่างที่มีผู้ค้านอยู่เสมอ เขาเยาะเขาด่าอยู่เสมอ ว่าเอาเรื่องโลกุตตระมาสอนประชาชน นี้ไม่ใช่แต่ฆราวาสดอก พระเถระผู้ใหญ่ก็เคยดุผมอย่างมาก เรื่องเอาธรรมะ เรื่องหลุดพ้น มาสอนประชาชน หลายปีมาแล้ว เราก็ไม่ใช่คนดื้อดึง ใครพูดว่าอะไร เราฟังอย่างดี ฟังอย่างดีว่าเขาพูดนั้น ถูกหรือไม่ถูก จริงหรือไม่จริง มันก็เห็นว่ายังถูกอยู่ เห็นว่าทำอย่างนี้ มันยังถูกอยู่ ฉะนั้น จึงยังทำต่อไป ใครจะว่าอย่างไร จะด่าอย่างไร ก็ไม่สนใจเสีย

นี่มันเป็นการรวบรัด การปฏิบัติให้เร็วเข้า อย่าทำอะไร ให้มันมากเรื่องเลย ถือหลักว่าเป็นอยู่ด้วยจิตว่าง ทำงานด้วยจิตว่างกินอาหารของความว่าง เป็นอยู่เหมือนตายแล้ว นี้กระโดดมาทีเดียวอย่างนี้เลย แล้วขอให้ เป็นอยู่อย่างนี้ อยู่เรื่อยไป ผลสุดท้าย มันจะเหลือเหมือนที่พูดเมื่อตะกี้ ให้เหลือประโยคเดียวว่า ทำไปเพื่อโลก ทั้งเทวดา และมนุษย์ นี่เหลือทำเพื่อผู้อื่น ก็แล้วกัน ทำทุกอย่างเพื่อผู้อื่น เรื่องอื่นมันคิดตก หมดแล้ว ปัญหาอื่น มันตอบได้หมดแล้ว คิดตกหมดแล้ว ในที่สุด มันเหลือแต่ว่า ทำนี่ทำไป ทำเพื่อผู้อื่น อย่างนี้เป็น วิธีที่ดีที่สุด ที่ลัดที่สุด ที่ง่ายที่สุด ที่สะดวกที่สุด แต่ว่าทำเพื่อผู้อื่นของเรา ที่เราพูดกันนี้ มีความหมายมากกว่าที่คนอื่นพูด

ที่คนอื่นเขาพูด ก็มีเยอะแยะไป ทำเพื่อผู้อื่น เป็นเรื่องศีลธรรมเด็กๆ เด็กอมมือทำเพื่อผู้อื่น ลูกเสือก็มี แต่เราทำเพื่อผู้อื่นนี้ ทำเหมือนอย่าง ที่พระพุทธเจ้า ท่านว่า คือ ไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวเรา ศีลธรรมเด็กอมมือ ก็มีตัวกู กูทำเพื่อผู้อื่น จะได้อยู่เป็นสุขด้วยกัน หรือว่า เขาจะขอบใจเรา หรือว่า เราจะมีเกียรติ นั่นทำเพื่อผู้อื่น ของเด็กๆ แต่ทำเพื่อผู้อื่น ของพระพุทธเจ้า ของพระอรหันต์นั้น ก็คือว่า มันไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวกู แล้วจะทำเพื่อตัวกูได้อย่างไร มันทำไม่ได้ เพราะมันไม่มีตัวกู มันไม่มีตัวเรา ก็ทำเพื่อผู้อื่น เสียเรื่อยไปเลย กระดิกอะไรไปที่ไหน ก็เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เสียเรื่อย

นี้ก็เรียกว่า นี่คือการปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ที่สูงสุด จนเกินกว่า ที่จะเรียกว่าวิปัสสนา หรืออะไรๆ เสียอีก เพราะว่าคำว่า วิปัสสนา เดี๋ยวนี้มันแย่เต็มทีแล้ว เหมือนที่ผมเคยเล่าว่า ผมก็เคยถูกถาม ไปที่ไหนก็มักจะเคยถูกถามว่า ที่สวนโมกข์ทำวิปัสสนาไหม? นี่คุณคิดดูผมจะตอบอย่างไร? เขาถามว่าที่สวนโมกข์ทำวิปัสสนากันหรือเปล่า? มีคนกล้าถามถึงอย่างนี้ ถ้าเป็นวิปัสสนาตามแบบที่ผู้ถามว่า แล้วเราไม่มี เราไม่ทำด้วย ไม่อยากจะทำด้วย

วิปัสสนาตามความหมาย ที่ผู้ถามเขาถาม เราไม่อยากจะมี ไม่อยากจะทำ แต่ถ้าปฏิบัติอย่างนี้ อย่างที่ผมว่า ที่จะเป็นวิปัสสนา หรือยิ่งกว่าวิปัสสนานี้ มันเป็นการทำในขั้นผลของวิปัสสนาเสียอีก นี่เรามี แต่เขาไม่เรียกว่า วิปัสสนา ผู้ถามนั้นไม่เรียกว่า วิปัสสนา

เพราะว่า เขาเข้าใจว่า เป็นอย่างอื่น ต้องตั้งต้น ตั้งแต่พิธีขึ้นครู ขึ้นครูบาอาจารย์ มีระเบียบพิธีต่างๆ ทำท่าทาง ต่างๆ เดินจงกรม ยุบหนอพองหนอ อะไรก็ตาม มันมากมาย ก่ายกองเป็นระเบียบ เป็นแบบที่ ผู้อื่นเห็นได้ เข้าใจได้ เห็นได้อย่างนี้ก็ได้ ใครๆ จะทำก็ได้ มันก็วิปัสสนา แล้วก็ตามแบบนั้น วิปัสสนาตามแบบนั้น แล้วก็เป็นตามแบบของตัวกู เสียด้วยซ้ำไป คือ วิปัสสนา อวดคน วิปัสสนา ทำให้คนเห็น วิปัสสนาของตัวกู มันก็จะแย่ไปเหมือนกัน นี่มันเพิ่ม ตัวกู-ของกู เขายังไม่รู้

อ่านต่อ »


ประชา(ธิป)ตาย

อ่าน: 3850

มีเรื่องประหลาดเรื่องหนึ่งเผยแพร่อยู่บนอินเทอร์เน็ต ว่าจอมอสูร จอมเผด็จการ แอนตี้ไครส์ นามว่าอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาตามประบอบประชาธิปไตย… ตอบแบบง่ายและผิวเผิน ก็ต้องบอกว่าใช่ แต่ว่ายังมีเรื่องอื่นๆ อีกยาวเหยียดครับ คำว่า “เลือกตั้งมา” ไม่ได้ฟอกตัวให้ใครดีขึ้นมาได้ หากการกระทำยัง จุด จุด จุด (โดย จุด จุด จุด คืออาการที่ไม่อยากให้ลูกหลานประพฤติปฏิบัติให้เสื่อมเสียต่อวงศ์ตระกูล)

เมื่อปรัสเซีย(เยอรมัน)แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศผู้ชนะซึ่งถือว่าตนสูงส่ง ก็เข้ามาจัดการเยอรมันผ่านสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ปี 1919; ขนาดประเทศผู้ชนะ ต่างก็ประสบเศรษฐกิจตกต่ำ นับประสาอะไรกับเยอรมันที่ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามมหาศาล บ้านเมืองย่อยยับป่นปี้ ผู้คนบ้านแตกสาแหรกขาด

อย่างไรก็ตาม ระบบประชาธิปไตยของเยอรมันก็เดินไปตามกลไก จนในเดือนมีนาคม 1932 มีการเลือกตั้งประธานาธิบดี ตามรัฐธรรมนูญเยอรมันในเวลานั้น ประธานาธิบดีต้องได้รับคะแนนเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ซึ่งผลออกมาว่า Paul von Hindenburg ได้ 49.6% Adolf Hitler ได้ 30.1% Ernst Thaelmann ได้ 13.2% และ Theodore Duesterberg ได้ 6.8%

เนื่องจากไม่มีใครได้รับเสียงสนับสนุนเกินกึ่งหนึ่ง จึงต้องมีการเลือกตั้งรอบสอง โดยเอาผู้สมัครที่ได้คะแนนสูงสุดสามราย มาเลือกกันใหม่อีกทีหนึ่งในอีกเดือนหนึ่งต่อมา ซึ่งได้ผลเป็น Hindenburg 53.0%, Hitler 36.8% และ Thaelmann 10.2%

ประธานาธิบดี Hindenburg แต่งตั้ง Franz von Papen เป็นนายกรัฐมนตรี (Chancellor) แต่ว่า Papen ยุบสภาทันทีเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นการเลือกตั้งครั้งที่สามในเวลาห้าเดือน! คราวนี้ พรรค DAP (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นพรรค Nazi) กลายเป็นพรรคที่ใหญ่ที่สุดในสภา มี สส. 230 คนจาก 608 ที่นั่ง

ฮิตเลอร์ต้องการให้ฮินเดนเบิร์กแต่งตั้งตนเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ฮินเดนเบิร์กปฏิเสธ (ตามคำให้การของ Otto von Meissner ผู้ช่วยฮินเดนเบิร์กในศาลอาชญากรรมสงครามที่เมืองนูเรมเบิร์ก) ว่า

อ่านต่อ »


คนละเรื่องเดียวกันบนแกนเวลา

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 June 2010 เวลา 0:03 ในหมวดหมู่ ข้อคิดชีวิต ปรัชญา ศาสนา #
อ่าน: 3787

กลางคืนก็ไม่นอน วานซืนนอนแปดโมงเช้า แต่เมื่อวานนอนเที่ยง ที่ยืดออกมาเพราะไปเจอเรื่องน่าสนใจ เรื่อง Time perspective ของนักจิตวิทยาชื่อ Philip Zimbardo ซึ่งก็เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ

แต่นั่นไม่ได้ทำให้ผมชอบ ผมชอบเรื่องนี้ด้วยเหตุผลสองอย่าง คือ (1) ผมเดาไม่ออกว่าเรื่องจะไปต่ออย่างไร และ (2) แม้จะพูดต่อไปถึงเรื่องที่ผมแปลกใจแล้ว ก็ยังมีเรื่องที่เดาทางไม่ออกตามมาอีกหลายระลอก

อ่านต่อ »



Main: 0.053651094436646 sec
Sidebar: 0.1592390537262 sec