การเขียนหนังสือในฐานะการแสดงออกทางจิตวิญญาณ (3)
อ่าน: 4661บันทึกนี้ เป็นตอนต่อจากการ เขียนหนังสือในฐานะการแสดงออกทางจิตวิญญาณ (1) ซึ่งเสกสรรค์ ประเสริฐกุล แสดงปาฐกถาเนื่องใน “วันนักเขียน” เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2553 ตามที่กรุงเทพธุรกิจตีพิมพ์(ในลิงก์)
ลานซักล้าง: ใจซักได้ ถ้ารู้ตัว / นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา / สุทธิ อสุทธิ ปจฺจตฺตํ นาญฺโญ อญฺญํ วิโสธเย / Improvement begins with I
บันทึกนี้ เป็นตอนต่อจากการ เขียนหนังสือในฐานะการแสดงออกทางจิตวิญญาณ (1) ซึ่งเสกสรรค์ ประเสริฐกุล แสดงปาฐกถาเนื่องใน “วันนักเขียน” เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2553 ตามที่กรุงเทพธุรกิจตีพิมพ์(ในลิงก์)
รายการน้ำค้าง เป็นรายการทางช่อง 13 ของฟุ๊คดุ๊ค ซึ่งคงต้องบอกว่าเป็นรายการคุณภาพ แต่อยู่นอกกระแสครับ
แม้ว่าเดี๋ยวนี้ กระแสการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจะมาแรง แต่ต้องไม่ลืมว่ามันยังเป็นเพียงแค่กระแสเท่านั้น รายการน้ำค้างเสนอความรู้และประสบการณ์สู่ผู้ชมอย่างไม่ฉาบฉวย มีรายละเอียดเพียงพอที่ผู้ชมจะทดลองได้ หรือหากว่ายังไม่แน่ใจ ก็ยังหาข้อมูลเพิ่มจากแหล่งข้อมูลที่เปิดเผยเอาไว้ด้วย
ขอยกย่องและให้กำลังใจผู้ผลิต พร้อมทั้งสปอนเซอร์ของรายการนะครับ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ข้าราชการในสังกัดกระทรวงมหาดไทย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันพุธที่ 17 พฤศจิกายน 2519 ความตอนท้ายว่า
… ขอย้อนไปในเรื่องที่เรียกว่าคนไม่ดี และผลประโยชน์ที่จะได้ คือคิดออกว่า ผลประโยชน์ที่จะได้นั้นมันมีอยู่ ๒ อย่างใหญ่ๆ แบ่งได้เป็นผลประโยชน์ในทางการเงิน คือทางกาย ทางกายหรือจะเรียกว่าทางวัตถุ ได้ผลประโยชน์เป็นเงิน เป็นสิ่งของ เป็นอิทธิพลเป็นผลประโยชน์ทางวัตถุ ซึ่งแปลออกมาเป็นเงินได้ แปลออกมาเป็นราคาได้ ผลประโยชน์อีกทางหนึ่ง เป็นผลประโยชน์ที่จะเรียกว่าทางใจก็ได้ คือความพอใจในอำนาจ พอใจในลัทธิ พอใจในทฤษฎี บางคนมีไม่ใช่เป็นเรื่องของลัทธิ มีเป็นเรื่องของทฤษฎีว่าต้องทำอย่างนี้ต้องทำอย่างโน้น ยังไม่ถึงลัทธิ แต่ทฤษฎีนั้นอาจจะไม่เหมาะสมกับส่วนรวมก็ได้ เพราะว่าเป็นทฤษฎีที่วางไว้บนก้อนเมฆ อาจจะวางไว้บนก้อนเมฆบ้าง หรือแม้จะวางบนก้อนเมฆได้ ก้อนเมฆนั่นมันบังเสา ซึ่งหมายความว่าทฤษฎีนั้นวางไว้บนลัทธิ ซึ่งลัทธิทั้งหลายก็เป็นทฤษฎีอยู่นั่นเอง แต่เป็นของคนอื่น ไม่ใช่ของตนเอง บางคนที่นึกว่าทำเพื่อลัทธิ หรือไม่ใช่เพื่อลัทธิ เพื่อทฤษฎีของตน ความพอใจของตน นี้ก็เป็นผลประโยชน์ทางใจ เป็นผลประโยชน์ส่วนตัวเหมือนกัน ที่จะได้รับความพอใจในลัทธิ หรือในทฤษฎีของตน แต่ไม่ได้นึกถึงว่า ทฤษฎีของตนนั้น ส่วนมากก็วางบนลัทธิซึ่งพราง เพราะมีก้อนเมฆพราง แล้วไม่ได้นึกว่า ลัทธินั้นความจริงไม่ได้เป็นของตน เป็นของคนอื่น จะเป็นของชาติอื่นหรือคำพูดของคนอื่นก็ไม่สำคัญ แต่ว่าเป็นสิ่งที่ในที่สุดถ้าดูดีๆ เอาก้อนเมฆออกแล้วจะเห็นว่านั่งบนทฤษฎีซึ่งมีคนเชิด มีเสาที่รองรับทฤษฎีของตน และตนเองไม่ได้เป็นคนเชิด ตนเองคิดว่าเป็นคนเชิด ตนเองคิดว่าเป็นคนทำ ตนเองนึกว่าเป็นผลประโยชน์ของตัว แต่แท้จริงเป็นคนที่ถูกเชิด อันนี้แหละที่เห็นภาพขึ้นมาอย่างนี้ ก็บรรยายออกมา อาจจะเห็นตลก อาจจะเห็นประหลาดก็ได้ที่พูดอย่างนี้ แต่ก็รู้สึกว่าเห็นภาพดีเหมือนกัน เพราะฉะนั้นก็ขอฝากความคิดนี้ให้แก่ท่านทั้งหลาย ผู้ที่มีหน้าที่จะดูว่าใครเห็นแก่ตัวในทางวัตถุก็ตาม ในทางใจคืออยากได้ความพอใจในทฤษฎีของตัวก็ตาม ซึ่งอาจจะทำให้เสียหายต่อหน้าที่ของตน วันนี้ก็เลยมาพูดในหัวข้อทั้งหมดเพื่อวินิจฉัย แต่ว่าก็ไม่ได้วินิจฉัยแท้เพราะว่าเป็นการพูดทั่วๆ ไป …
หากเรียกมนุษยชาติว่ามีความก้าวหน้า มีความรู้แล้วไซร้ เราควรเข้าใจและหาทางทำสิ่งต่างๆ ได้ดีกว่าปล่อยไปตามยถากรรม
การปลูกต้นไม้ก็เช่นกัน จะทำให้ดี ไม่ใช่เพียงแต่เพาะเมล็ด รดน้ำ แล้วรอ
ธรรมชาติสร้างสัตว์เป็นนักปลูกต้นไม้ โดยเมล็ดพืชที่สัตว์กินเข้าไป ผ่านระบบย่อยอาหารในลำไส้ของสัตว์ จะทำให้เปลือกแข็งของเมล็ดหลุดออก จะถูกถ่ายออกมาพร้อมกับมูลในที่ที่ไกลออกไปจากต้นแม่ มูลสัตว์ที่ถ่ายออกมาพร้อมเมล็ดทำหน้าที่ป้องกันความชื้นจากดินระเหย ทำให้อัตราการงอกสูงขึ้นโดยธรรมชาติ นอกจากนั้น เมล็ดพืชก็ใช้ความชื้นจากมูลสัตว์และจากดินช่วยในการงอก
ความกลัว มักนำไปสู่สถานการณ์ที่ไม่น่าปรารถนา แม้ในขณะที่พยายามจะหาทางออกที่ดีที่สุด
ก่อนจะเจรจา ก่อนจะสมานฉันท์ ก่อนจะให้ถอยกันคนละก้าว ก่อนจะเข้ากระบวนการปรองดอง หรือจะบอกให้ใครทำอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บอกแล้วตัวเองไม่ทำ เราลืมคำและความหมายของคำบางคำไปหรือเปล่าครับ
ในชีวิตหนึ่ง แต่ละคนคงไม่น่าจะเจอคำถามแบบนี้บ่อยหรอกนะครับ
ลูกน้องผมคนหนึ่ง มาสัมภาษณ์เมื่อสิบกว่าปีก่อน ผมเข้าไปนั่งสังเกตการณ์กับกรรมการสัมภาษณ์ด้วย แต่ไม่ได้แสดงตัวว่าเป็นอะไรในบริษัท ฟังคำถามสัมภาษณ์ก็เป็นคำถามพื้นๆ ทั่วไป เมื่อใกล้จบ กรรมการสัมภาษณ์หันมาถาม(ด้วยความเกรงใจ)ว่ามีอะไรจะเพิ่มไหม
เนื่องจากไม่รู้จักกันมาก่อน ทำให้ไม่รู้ว่าจะเหมาะกับบริษัทหรือไม่ เหมาะกับอะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร (ไม่ใช่เรื่องผิดที่รู้จักกันมาก่อน แต่ “เด็กเส้น” คืออาการที่รับเข้ามาทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่เหมาะ ซึ่งก็ไม่ใช่กรณีนี้) ผมก็ถามไปว่า นั่งคุยกันสิบห้านาทียังไม่รู้อะไรเลย ลองช่วยบอกกรรมการสัมภาษณ์หน่อย ว่าทำไมจึงควรรับเข้ามาทำงานในบริษัท
เธอตอบมาโดยควรคุมอารมณ์สุดๆ ซึ่งบริษัทก็รับเธอเข้าทำงาน และทำอยู่ต่อมาอีกสิบกว่าปี แต่เธอก็มาสารภาพในภายหลังว่าปรี๊ดแตกเหมือนกัน รู้สึกเหมือนโดนดูถูก (คิดไปเอง เป็นมานะ คือความถือตัว, ความสำคัญตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่) ซึ่งการควบคุมอารมณ์นั้นก็เป็นสิ่งที่ผมอยากดูครับ แถมยังได้เห็น self-perception อีกด้วย อันนี้เป็นคำถามโดนก้านคอครับ
คำตอบอะไรก็ตาม มักไม่หล่นอยู่ตามทางที่เราเดินไป ถ้ามันมีหล่นอยู่ตามรายทางแล้ว โลกนี้คงไม่เครียดเพราะว่าผู้คนคงสามารถหาคำตอบได้ง่ายๆ แล้วชีวิตก็จะมีความสุข
พระธรรมโกษาจารย์ (เงื่อม อินฺทปญฺโญ พุทธทาสภิกขุ) ใช้เวลาถึง 22 ปี ค้นคว้าพระไตรปิฎก เพื่อคัดกรองว่าสิ่งใดที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ สิ่งใดเป็นสิ่งที่ครูบาอาจารย์ให้อรรถาธิบายเพิ่มเติม ซึ่งในภายหลัง ได้มีหนังสือชุด -จากพระโอษฐ์ ตีพิมพ์ออกมาหลายชุด
แนวคิดนี้ พระอาจารย์คึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดป่านาพง ได้รับมาสานต่อ และวัดป่านาพงได้จัดทำเว็บเพื่อเผยแพร่ต่อสาธุชนผู้สนใจ
ท่านเน้นย้ำมากในเรื่องการศึกษา และปฏิบัติธรรมะว่า ควรศึกษาโดยตรงในธรรมะจากพระโอษฐ์เท่านั้น เพราะที่ทรงตรัสถึงขีดจำกัดของสาวกที่เป็นเพียงผู้เดินตามมรรค การแสดงความเห็นของสาวกย่อมมีข้อผิดเพี้ยน ซึ่งเป็นเหตุเสื่อมและเป็นความอันตรธานแห่งธรรมวินัยของตถาคตในกาลยืดยาวนาน ฝ่ายอนาคต และเป็นเหตุแห่งการนับถือศาสนาพุทธที่ผิดเพี้ยนไปด้วย รวมถึงการนำพระพุทธศาสนาไปใช้ในทางที่ไม่ถูกต้อง
ท่านแนะนำการศึกษาพระพุทธศาสนาจากพระโอษฐ์ จากหนังสือที่ท่านพุทธทาสได้รวบรวมเฉพาะคำพูดจากพระโอษฐ์ของพระผู้มีพระภาค เจ้าโดยตรง ไม่ปนความเห็นของผู้ใด มี ๕ เล่ม คือ ๑.อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาคต้น ๒.อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ปลาย ๓. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์ ๔.พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ และ ๕.ปฏิจฺจสมุปฺบาทจากพระโอษฐ์ ซึ่งทางธรรมสภาได้รวบรวมและจัดส่งให้โดยสะดวกแก่ผู้โทร สั่งซื้อ ท่านกล่าวว่า การที่พุทธบริษัทศึกษาและปฏิบัติจากคำสอนของพระพุทธเจ้าโดยตรงนี้ จะทำให้การภาวนาเจริญก้าวหน้า และเป็นทางเดียวที่จะช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ได้อย่างสมบูรณ์
อย่างไรก็ตามเมื่อเทคโนโลยีทางการสื่อสาร “ก้าวหน้า” ขึ้น คนก็มี “เครื่องมือ” ใหม่ๆ ที่จะติดต่อ สื่อสาร แลกเปลี่ยนกัน ในความก้าวหน้าช่องทางการสื่อสารนั้น มีอยู่สองอย่างที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง คือ
อย่างไรก็ตาม เรามักอ้างว่าข้อมูลข่าวสารมากมาย อ่านไม่หมด ย่อยไม่ไหว ก็แล้วทำไมจึงยังรับข่าวสารมากมายเหมือนเดิมล่ะครับ รับมาก็พิจารณาไม่ทัน ในที่สุดก็ปล่อยผ่านไปอยู่ดีใช่ไหม ถ้าทำเหมือนเดิม จะให้ผลแตกต่างออกไปได้อย่างไร
ข้อมูลในลักษณะเขาเล่าว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแบบที่สรุปฟันธงมาให้แล้ว คนที่มักเชื่อไปเลยนั้น เชื่อในสองแนวคือ เชื่อเพราะอยากจะเชื่อ(อคติ) และเชื่อเพราะเชื่อถือคนที่ส่งข้อมูลให้(อคติเช่นกัน) ผมมีบันทึกเกี่ยวเนื่องกับกาลามสูตรอยู่หลายบันทึก หากสนใจก็คลิกอ่านได้ครับ ในเมื่อความเชื่อนั้นเกิดจากอคติ จะเป็นการตัดสินใจที่ดีได้อย่างไร
บันทึกนี้ เป็นตอนต่อจากการเขียนหนังสือในฐานะการแสดงออกทางจิตวิญญาณ (1) ซึ่งเสกสรรค์ ประเสริฐกุล แสดงปาฐกถาเนื่องใน “วันนักเขียน” เมื่อวันที่ 5 พ.ค.2553 ตามที่กรุงเทพธุรกิจตีพิมพ์(ในลิงก์)
เมื่อวันที่ 10 พ.ค. มีรายการ Post Script รู้จริง รู้ทัน ทางช่อง TNN24 ทางรายการได้เชิญ ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล จากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแผ่นดินไหว
ผมดูแล้วก็ชอบใจ อาจารย์อธิบายง่ายๆ ตรงไปตรงมา จึงขอให้มูลนิธิโอเพ่นแคร์ ติดต่อทางรายการเพื่อขออนุญาตนำเทปรายการมาเผยแพร่ ซึ่งก็ได้รับอนุญาตเรียบร้อย แบ่งเป็น 3 ช่วง ช่วงละ 7 นาที ดังนี้ครับ