ถ้าเมืองไทยเป็นรัฐที่ล้มเหลว

อ่าน: 4918

วิกิพีเดีย ให้ความหมายของ “รัฐที่ล้มเหลว” ไว้ว่า

รัฐที่ล้มเหลว หรือ (ภาษาอังกฤษ:Failed State) หมายถึง รัฐ ที่ไม่สามารถบริหารการปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถดำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายใน มีความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมอย่างรุนแรง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย รัฐบาลและกลไกรัฐขาดความมั่นคงและประสิทธิภาพ จนไม่สามารถบริหารประเทศและแก้ปัญหาต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จได้

คำว่า Failed State ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้หลายครั้งโดยประเทศที่เรียกตัวเองว่า รัฐที่เจริญแล้ว (Enlightened State) เพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรง โดยอ้างว่าทำไปเพื่อปกป้องประชาชนของรัฐที่ล้มละลาย รัฐอันธพาล (Rogue State) หรือรัฐก่อการร้าย (Terrorist State) โดยวิธีการที่อาจจะผิดกฎหมายแต่ก็มีความชอบธรรม (Illegal but Legitimate)

โดยมีตัวชีวัด 12 ข้อ ดังนี้

ตัวชี้วัดทางสังคม

1. แรงกดดันทางประชากรศาสตร์ 2. การย้ายถิ่นฐานของประชาชน 3. กรณีความขัดแย้งของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งเป็นผลจากความไม่พอใจในอดีต 4. ปัญหาการไหลออกของทุนมนุษย์ (สมองไหล)

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

5. ความไม่แน่นอนของการพัฒนาการทางเศรษฐกิจ : โดยพิจารณาถึงความไม่เสมอภาคของประชากร (ความเหลื่อมล้ำ) ซึ่งสามารถเห็นได้จากโอกาสทางการศึกษา การงาน และสถานะทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังสามารถวัดได้โดยตัวเลขกลุ่มคนยากจน อัตราการเกิดการตาย หรือระดับการศึกษา 6. ความชัดเจน และ/หรือ ความรุนของการถดถอยของเศรษฐกิจ

ตัวชี้วัดทางการเมือง

7. การปกครองของรัฐที่ไร้ความเป็นธรรม 8. ความเสื่อมถอยของการให้บริการสาธารณะ 9. การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่แพร่หลาย 10. การใช้เครื่องมือที่ใช้รักษาความมั่นคง ที่เรียกว่า ‘State within a state’: เป็นลักษณะการปรากฏตัวของกลุ่มอำนาจสูงสุดของรัฐ โดยอาศัยการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่คุกคามฝ่ายตรงข้าม หรือพลเรือนที่มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐ หรือมีความเห็นที่สนับสนุนกลุ่มตรงข้ามรัฐ เปรียบกับการสร้าง “กลุ่มกองกำลังภายในกองกำลังเดียวกัน” เพื่อรับใช้แสวงหาผลประโยชน์ให้กับกองทัพหรือกลุ่มการเมือง ซึ่งในที่สุดจะก่อให้เกิดกลุ่มต่อต้านทั้งในรูปของทหารพลเรือน กองโจร กองกำลังเอกชนติดอาวุธ หรือการใช้ปฏิบัติการต่างๆ ที่ทำให้ความรุนแรงแผ่ขยายออกไป เพื่อต่อต้านกับกองกำลังของรัฐ 11. การก่อตัวของกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิด 12. การแทรกแซงกิจการภายในจากรัฐอื่น หรือปัจจัยภายนอก

อ่านต่อ »


เมื่อไหร่จะคิดเปลี่ยนระบบโทรทัศน์กันเสียที

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 February 2010 เวลา 1:51 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 4739

ตลาดโทรทัศน์ใหญ่ที่สุดในโลกนั้น คือตลาดสหรัฐ​ซึ่งได้เปลี่ยนไปใช้ HDTV และเปลี่ยนเป็นระบบดิจิตอลไปแล้ว โรงงานผลิตโทรทัศน์ในเมืองไทย ก็ไม่ผลิดโทรทัศน์แบบเก่าแล้ว เพราะผลิตมา จะขายได้ในตลาดโบราณเท่านั้น ถ้าจะส่งออก ต้องเป็นจอแบบใหม่หมดแล้ว

แต่ผลข้างเคียงที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงก็คือ ความถี่ที่เดิมเคยกันไว้ให้สถานีโทรทัศน์ (แบบอนาลอก) ก็ว่างลง มีช่วงกว้างเป็นหลายๆ ร้อยเมกะเฮิร์สเลยทีเดียว เครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่ใช้ๆ กันอยู่นั้น รับสัมปทานมา แต่ก็มีช่วงกว้างไม่กี่เมกะเฮิร์สเท่านั้น

เมื่อสถานีโทรทัศน์ไม่ใช้ความถี่ตรงที่เคยใช้ ก็สามารถนำช่วงความถี่นี้ มาทำระบบ video-on-demand/e-learning การส่งราคา+ปริมาณ+ความต้องการผลิตผล (โลจิสติกส์) หรือทำเป็นอินเทอร์เน็ตให้ใช้ในประเทศ ฟรีทั่วประเทศก็ได้

การเปลี่ยนระบบโทรทัศน์เป็นเรื่องใหญ่ครับ ต้องเตรียมการล่วงหน้ากันหลายปี ต้องรอจนผู้บริโภคพร้อม (ผู้ผลิตโทรทัศน์พร้อมแล้ว) สถานีโทรทัศน์ และผู้ผลิตรายการ ก็ต้องใช้เวลาเตรียมตัวเช่นกัน… แต่ถึงวันนี้ ยังไม่เห็นแผน ไม่มีการประกาศอะไรเลยนะครับ เลยไม่รู้ว่าว่างพอจะวางแผนพัฒนาให้เมืองไทยหรือยัง


ภูเขาไฟใกล้ตัว

อ่าน: 7667

เมืองไทยก็มีภูเขาไฟครับ มี 8 ลูก แต่ดับไปหมดแล้ว ถึงภูเขาไฟดับแล้ว แต่ก็ยังมีบ่อน้ำร้อนที่กระจายกันอยู่ในหลายพื้นที่ เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงกิจกรรมใต้พื้นแผ่นดิน

นอกจากนั้น บริเวณรอบๆ เมืองไทย ก็ไม่ใช่ว่าจะปราศจากภูเขาไฟเลยนะครับ ภูเขาไฟระเบิดจะมีอิทธิฤทธิ์ทำลายล้างขนาดไหน ขึ้นกับหลายปัจจัย แต่ไม่ใช่ว่าปลอดภัยเหมือนครั้งหนึ่งที่เราเคยเข้าใจว่าฝั่งทะเลอันดามันอยู่ในเขตสงบทางธรณีวิทยา (จนกระทั่งเกิดสึนามิปี 2547 ขึ้น)

ดัชนีความแรงของภูเขาไฟระเบิด (Volcanic Explosivity Index หรือ VEI)

ดัชนี VEI เป็นดัชนีวัดความแรงของภูเขาไฟระเบิด มีตั้งแต่ระดับ 0 ชิลชิล ไปจนระดับ 8 ซึ่งเป็นระดับที่เกิดการทำลายล้างขนานใหญ่ทั่วโลก เรียกว่า VEI 8 เป็นระดับล้างโลกก็ได้ครับ

ในอดีต ในประเทศอาเซียน มีการระเบิดแบบ VEI 6 สองครั้งซึ่งทุกคนคงรู้จักดี คือ

  • การระเบิดของภูเขาไฟกรากะตัวในอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ.2426 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ยินมาถึงกรุงเทพ เถ้าถ่านจากกรากะตัว บดบังแสงอาทิตย์ทั่วโลก ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลก ลดลงถึง 1.2 °C และปั่นป่วนต่อไปถึงห้าปี
  • การระเบิดของภูเขาไฟพีนาทูโบในฟิลลิปปินส์ เมื่อปี พ.ศ.2534 มีเถ้าถ่านปลิวมาถึงกัมพูชา และในบางฤดู ก็มาถึงจังหวัดทางภาคตะวันออกของไทย พีนาทูโบ ทำให้อุณหภูมิที่ผิวโลกซีกเหลือ ลดลง 0.5-0.6 °C ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกลดลง 0.4 °C แต่เพิ่มระดับอุณหภูมิของบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียขึ้นอีกหลายองศา

ในเขตเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เคยมีภูเขาไฟระเบิด ในระดับทำลายล้างสูง VEI 7 และ 8 มาแล้วอย่างน้อยสองครั้งในเวลา ไม่เกินหนึ่งแสนปี และอยู่ในอินโดนีเซียทั้งคู่ ภัยจากภูเขาไฟ ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ภัยจากเถ้าร้อน (ไพโรคลาสติค)

แต่เถ้าภูเขาไฟปริมาณมหาศาล ถูกพ่นขึ้นสู่บรรยากาศ เปลี่ยนแปลสภาพอากาศ ตลอดจนสร้างมลพิษในอากาศ การหายใจเอาเถ้าภูเขาไฟเข้าไป ก็เหมือนการหายใจเอาใยแก้วเข้าไป จะไปรบกวนการทำงานของปอด สูดมากตายเร็ว สูดน้อยตายช้า แต่ตายเหมือนกัน

ไม่แต่เฉพาะคน สัตว์และพืชที่ต้องหายใจ ก็ตกอยู่ในอาการเดียวกัน ดังนั้น ห่วงโช่อาหาร จึงถูกรบกวนอย่างหนักจากเถ้าภูเขาไฟ แหล่งน้ำผิวดินจะไม่สะอาด น้ำฝนก็กินไม่ได้…

อ่านต่อ »


เที่ยวงานเกษตรแฟร์ ปี ๒๕๕๓ (2)

5 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 4 February 2010 เวลา 15:58 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 6922

เวลางานเข้านี่ มันยุ่งจริงๆ นะครับ นัดคุยกันเรื่องงานในมูลนิธิ เสร็จหลังเที่ยงนิดหน่อย ก็เลยแวะไปงานเกษตรแฟร์อีกที ไปหาข้อมูลเรื่องเครื่องตัดย่อยกิ่งไม้เพิ่มให้ครูบา

รูปซ้ายเป็นเครื่องที่บอกไว้ในบันทึกก่อนนะครับ สับกิ่งไม้ได้ไม่เกินสี่นิ้ว ราคาในงานหมื่นแปด รวมค่าส่ง; ถ้าไม่เอามอเตอร์ ก็หักออกไปสี่พัน; รูปกลาง อ้อมไปถ่ายด้านหลัง เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า ส่งกำลังผ่านสายพาน มาหมุนเพลาซึ่งติดอยู่กับจานตัด (ซึ่งมีใบมีดขนาด 4 นิ้วติดอยู่สองใบ); รูปขวา เศษไม้ (ไม่ละเอียดนัก) พ่นออกมาด้านล่างข้างหน้า ฮัดช้า มีล้อด้วย แต่ครึ่งๆ กลางๆ เพราะสายไฟก็เป็นตัวกำหนดว่าจะไปได้ไกลแค่ไหนอยู่ดี

อ่านต่อ »


เที่ยวงานเกษตรแฟร์ ปี ๒๕๕๓

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 February 2010 เวลา 16:05 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5155

ไปเที่ยงงานเกษตรแฟร์ปีนี้ ต่างกับปีที่แล้วสองอย่าง คือเมื่อปีที่แล้ว ผมไปกับครูบา แต่ปีนี้ครูบาลงเครื่องบินมาจากเชียงใหม่เมื่อวานแล้วนั่งรถกลับสวนป่าเลย อีกอย่างหนึ่งคือปีที่แล้วมีคนขับรถ  แต่ปีนี้ขับเองครับ ฮาๆๆๆ หัวเราะอย่างไม่มีเหตุผล

จอดรถแถวปัมป์ ปตท. ใกล้ศูนย์ผลิตนมเกษตร (ฝั่งถนนพหลโยธิน) แล้วก็เดินไปฝั่งถนนวิภาวดี แล้วกลับ คนเยอะ อากาศร้อน ไม่ได้ซื้ออะไรมาก และยังไปไม่ถึงโซนต้นไม้หรอกครับ — เดินผ่านโซนเครื่องจักรทางการเกษตร นึกถึงครูบา เลยรีบกลับมาเขียนบันทึกนี้

อ่านต่อ »


ภาวะฉุกเฉินกับป้ายสัญญลักษณ์

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 3 February 2010 เวลา 2:26 ในหมวดหมู่ การจัดการความรู้, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3484

ไม่รู้เป็นอะไร ผมย้อนกลับมานึกถึงภาวะสับสนอลหม่านในการจัดการวิกฤติสึนามิครับ ตอนนั้นไม่รู้เลยว่าอะไรอยู่ที่ไหน โรงพยาบาลสนาม คนหลง คนหายระบบโทรคมนาคม อาหาร/น้ำสะอาด อยู่ตรงไหน ไม่รู้เลย

มาคิดดูอย่างง่ายๆ ว่าสถานที่ที่มีบริการแบบนี้ และยังให้บริการได้ น่าจะประกาศให้คนเห็นได้ในระยะไกล ก็ใช้บัลลูนส่งป้ายสัญลักษณ์ ลอยขึ้นไปในอากาศสัก 50 เมตรก็คงพอนะครับ แต่ดูอย่าอยู่ใกล้สายไฟ

บัลลูนใช้ก๊าซที่เบากว่าอากาศ ซึ่งน่าจะเป็นฮีเลียม แต่ถ้าฉุกเฉินจริงๆ หาฮีเลียมไม่ได้ ก็อาจใช้ไฮโดรเจนหรือมีเทน (ก๊าซธรรมชาติหรือ NGV) ได้ แต่จะต้องระวังให้มากเพราะก๊าซพวกหลังนี้ติดไฟได้

ทีนี้ เมื่อเอาบัลลูนขึ้นอากาศแล้ว ก็อาจใช้บัลลูนนั้นเป็นสถานีทวนสัญญาณโทรคมนาคมได้ ซึ่งไม่น่าจะหนักเกิน 2 กก. รวมแบตเตอรี่แล้ว

ที่ payload 2 กก. จะต้องใช้บัลลูนทรงกลม ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางดังนี้

บัลลูนฮีเลียม: เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ฟุตครึ่ง
บัลลูนไฮโดรเจน: เส้นผ่าศูนย์กลาง 5 ฟุต
บัลลูน NGV: เส้นผ่าศูนย์กลาง 6 ฟุตครึ่ง

สำหรับโรงพยาบาลสนาม อาจจะใส่ LED ลงไปในบัลลูน เพื่อให้มองเห็นได้ในเวลากลางคืนด้วย


เที่ยวงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี ๒๕๕๓

อ่าน: 7501

วันนี้ไปส่งหนังสือ เจ้าเป็นไผ ๑​ ที่โรงพิมพ์อีกครั้ง เพราะมีคนแก้หนังสือหลังปิดฉบับไปแล้ว เพราะว่าทำงานดึกมาหลายคืน วันนี้ตื่นซะเที่ยงเลย แล้วก็อ้อยอิ่งทำโน่นทำนี่ ออกไปโรงพิมพ์เอาบ่ายสองโมง กว่าจะเสร็จขับรถมาถึงอนุสาวรีย์หลักสี่ก็บ่ายสามโมงแล้ว

ไหนๆ ออกมานอกบ้านแล้ว ไม่ต้องรีบร้อนกลับบ้าน มีทางเลือกสองทางคือไปเที่ยวงานเกษตรแฟร์ หรือไปเที่ยงงานวันนักประดิษฐ์

อยากไปทั้งสองงานล่ะครับ คิดว่าเดินเที่ยวเกษตรแฟร์ น่าจะมีเวลามากกว่านี้ ก็เลยไปเที่ยวงานวันนักประดิษฐ์ ที่ฮอล 9 อิมแพ็ค

อ่านต่อ »


คุ้นเคยจนนึกว่ารู้ แต่ที่จริงไม่ได้ตระหนักเลย

2 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 2 February 2010 เวลา 2:10 ในหมวดหมู่ พลังงาน #
อ่าน: 4494

ไฟฟ้า… บ้านไหนก็มีไฟฟ้า

ไฟฟ้าที่เราใช้อยู่ เป็นเทคโนโลยีของศตวรรษที่ 19 ใช้ power plant ขนาดใหญ่ ผลิตไฟฟ้าจากเขื่อน ถ่านหิน และฟอสซิล จ่ายกำลังไปตามสายส่งไฟฟ้า ซึ่งเกิดการสูญเสียมากกว่าจะไปถึงปลายทาง

โลกใช้เวลานานหลายร้อยล้านปี กว่าที่จะเก็บสะสมพลังานแสงอาทิตย์ ภายใต้ความร้อน ความกดดัน เปลี่ยนซากพืชซากสัตว์เป็นฟอสซิล แต่มนุษย์เผาฟอสซิลกลับเป็นไฮโดรคาร์บอน และความร้อนอย่างรวดเร็วในช่วงร้อยกว่าปีนี้เอง เร็วกว่าที่ธรรมชาติทำกว่าล้านเท่า แล้วอย่างนี้ จะไม่ร้อนรุ่มได้ยังไง??

อ่านต่อ »


ส่ง เจ้าเป็นไผ ๑ พิมพ์ครั้งที่ ๒ ไปโรงพิมพ์แล้ว

6 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 1 February 2010 เวลา 15:51 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 4095

ส่งแล้วครับ ขอบคุณบรรณาธิการคุณหนูละเอียดทั้งสองเป็นอย่างยิ่ง เมื่อคืนแก้จนคิดว่าหมดแล้ว คิดว่าคุณภาพดีกว่าการพิมพ์ครั้งแรกมาก เนื่องจากครั้งแรกนั้น เดิมมีกำหนดการจัดงานวันระพีเสวนา ซึ่งเป็นวันที่จะนำหนังสือไปให้ผู้หลักผู้ใหญ่ เป็นตัวกำหนด แต่เมื่อดำเนินการปลดล็อควันนั้นไป กองบรรณาธิการซึ่งไม่เคยทำหนังสือทั้งกระบวนการอย่างนี้มาก่อน ใช้เวลาอีกสักอาทิตย์กว่าตรวจแก้ และส่งโรงพิมพ์

เจ้าเป็นไผ ๑ ขายหมดในเวลาสามสี่เดือน โดยขายกระจายออกไปในวงกว้าง ได้รับคำชมมากมาย คำแนะนำที่ได้รับมามากที่สุดสองอันคือ น่าจะพิมพ์ราคาลงไปด้วย และไม่รู้วิธีการสั่งซื้อ

จนเมื่อ เจ้าเป็นไผ ๒ ตีพิมพ์ ก็มีผู้อ่านถามหาเล่มแรกอีก ผมคิดว่าทั้งสองเล่ม ดีกันคนละแบบครับ เล่มแรกมีบทเรียนชีวิต 10 เรื่อง ตลอดจนอธิบายกระบวนการเฮฮาศาสตร์อย่างชัดเจน สังคมเฮ ไม่ค่อยเหมือนชุมชนเสมือนโดยทั่วไป เป็นสังคมที่มีความหลากหลายแต่อยู่ร่วมกันได้ เราใช้ประโยชน์จากความแตกต่างนั้นได้ดี จึงไม่ต้องสร้างภาพลักษณ์อะไร ใครเป็นอย่างไร ทำอะไรได้หรือไม่ได้นั้น รู้(ใส้)กันทั้งนั้น ส่วนเล่มสองมีบทเรียนชีวิต 7+1 เรื่องและหนากว่า จึงเจาะลงลึกกว่า

เมื่อจะนำ เจ้าเป็นไผ ๑ มาตีพิมพ์ใหม่ กองบรรณาธิการจึงได้โอกาสตรวจแก้อีกครั้งหนึ่ง แล้วเลยถือโอกาสตรวจแก้หนังสืออีกครั้งหนึ่ง เชื่อว่าคุณภาพของ เจ้าเป็นไผ ๑ ดีขึ้นกว่าการพิมพ์ครั้งแรกเป็นอย่างมากครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.040676116943359 sec
Sidebar: 0.14596390724182 sec