มอง เฮฯ หก ผ่านเลนส์

อ่าน: 3530

คงเป็นหนังชุดสุดท้ายที่มาจากกล้องของผมนะครับ ผมเอาภาพถ่ายทั้งหมดมาเรียงกันตามเวลา ภาพที่เสีย (ความเร็วชัตเตอร์ไม่ถูกต้อง แสงไม่ดีพอ มือไม่นิ่งพอ) ก็ไม่ตัดออก นับได้ 459 ภาพ แต่ไม่รวมวิดีโอที่ถ่ายมา

จากนั้น นำมาเรียงเป็นสไลด์โชว์ด้วยโปรแกรม iPhoto ในแม็ค; หาเพลงมาก่อน ความยาวรวม 33.6 นาที จากที่ปกติชอบใช้ความเร็ว transition ประมาณ 100 ภาพต่อ 6-7 นาที ตอนนี้เป็น 100 ภาพต่อ 7.32 นาที (459 ภาพ)

ในทุกภาพมีหมายเลขกำกับอยู่ หากท่านใดอยากได้ภาพเบอร์ไหน จะได้ส่งให้ได้

สไลด์ชุดนี้ เหมาะสำหรับดูในวันหยุดเพราะว่ายาวกว่าครึ่งชั่วโมง (เท่าความยาวของเพลง)

Get the Flash Player to see this player.


วัฒนธรรมเฮ

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 13 December 2008 เวลา 0:08 ในหมวดหมู่ การบริหารจัดการ, สังคม ชุมชน ครอบครัว #
อ่าน: 3396

มีเพื่อนร่วมงาน ไปอ้างอิงบันทึกเก่าของผมที่เขียนไว้ตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว เรื่องทำไมองค์กรที่ดีจึงพังได้ เลยมีโอกาสไปอ่านบันทึกเก่าอีกครั้งหนึ่ง เจอความคิดเห็นที่ 41 ไม่รู้ว่าเขียนไปได้ยังไงเหมือนกัน อิอิ แต่อยากเอามาแก้ไขให้อ่านกันอีกทีครับ

วัฒนธรรมองค์กรประกอบไปด้วย:

  1. ทัศนคติในแนวเดียวกัน — คือแนวความคิดเห็นที่มีต่อสิ่งต่างๆ เหตุการณ์ต่างๆ
  2. ประสบการณ์ร่วมกัน — ความสำเร็จ ความผิดหวัง ความเป็นเพื่อน ความภูมิใจที่เกิดร่วมกัน
  3. ความเชื่อร่วมกัน — คือสิ่งที่อยู่ในอนาคต และเชื่อมใจคนไว้ด้วยกัน ความเชื่อเหมือนเป็นทัศนคติต่อเป้าหมายครับ
  4. คุณค่่าร่วมกัน — ความเห็นร่วมว่าสิ่งใดดีหรือไม่ดี (คำว่าดีหรือไม่ดีนั้น ใช้ประเมินเมื่อผลลัพท์เกิดขึ้นแล้ว หากยังไม่เกิดก็เป็นเพียงความเชื่อ)

ขนาดขององค์กรจะมีปัญหากับการเปลี่ยนแปลง หรือการสร้างวัฒนธรรมองค์กรขึ้นมาใหม่เสมอครับ; ในบางองค์กรที่ไม่ค่อยมีเรื่องหวือหวา ใช้วิธีการอบรมพวก team building เพื่อประสบการณ์ร่วมกัน

สำหรับผม คิดว่าประเด็นวัฒนธรรมองค์กร ทั้ง 4 ประเด็นเป็นเรื่องที่อยู่ในใจ ดังนั้นก็ต้องพูดคุยกันมากๆ หน่อย และต้องใช้เวลามากครับ อย่ารวบรัดใจร้อน; ถ้าวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องการ จะเป็นสิ่งที่คงอยู่ยืนยาวคู่กับองค์กร การทำอะไรครั้งเดียว-อย่างเดียว-ทำเสร็จในเทอมเดียว-โปรยเงินลงไปหวังให้จบ คงไม่ค่อยเข้ากับลักษณะของเป้าหมายการเปลี่ยนแปลงที่หวังให้เกิดขึ้นอย่าง ยาวนานเท่าไหร่หรอกนะครับ

เช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญๆ ครับ ควรจะหาแนวร่วม กระจายกันเป็น change agent (ซึ่งจะต้อง empower คนให้สามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงนั้นได้) แบ่งปัญหาให้เล็กลง ทำไปเป็นขั้นเล็กๆ แต่ทำหลายอย่างขนานกันไปในเวลาเดียวกันได้นะครับ

ลองหาอะไรทำร่วมกันที่มีโอกาสประสบผลสำเร็จสูงดีไหมครับ อย่างน้อยก็สร้างกำลังใจร่วมกัน

อ่านต่อ »


หมู่บ้านเฮ

อ่าน: 3162

เรื่องนี้ มีคนถามผมเยอะ แล้วผมก็เอาจริงนะเนี่ย

แต่มันมีปัญหาที่ต้องร่วมกันคิดหาทางเลือกกันหลายอย่าง ที่ถูกถามมากที่สุดคือจะตั้งอยู่ตรงไหน จะทำอะไร แล้วจะอยู่รอดได้ยังไง จะยั่งยืนไหม ฯลฯ แต่ว่าอยากตอบคำถามที่ไม่ได้ถามก่อนครับ

หมู่บ้านเฮ ไม่ใช่อะไร

  • หมู่บ้านเฮ ไม่ใช่ลัทธิ เมื่อตั้งเป้าหมาย อาจจะมีความเป็นอุดมคติอยู่บ้าง อันนี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดอะไร ไฝ่สูงก็ดีแล้ว ดีกว่ามุ่งไปอีกทางหนึ่ีง หึหึ
  • หมู่บ้านเฮ ไม่ใช่ของเล่นราคาแพง เป็นเรื่องที่ต้องทุ่มเทอย่างยาวนาน ความฝันจึงจะเป็นจริงได้
  • หมู่บ้านเฮ ไม่ได้เป็นคำตอบสำหรับทุกอย่าง ความคิดเรื่องหมู่บ้านเฮ พยายามตอบคำถามอย่างเดียว คือทำอย่างไรจึงจะมีชีวิตอย่างยั่งยืน กล่าวคือมีอาหาร มีการเรียนรู้ มีการดูแลสุขภาพ มีสาธารณูปโภคในระดับที่เหมาะสม
  • หมู่บ้านเฮ ไม่ได้ปฏิเสธสิ่งที่เป็นอยู่ เช่นเงิน ธุรกิจชุมชนหรือส่วนตัว ปฏิสัมพันธ์กับสังคมรอบข้าง กฏหมาย

จะเริ่มได้อย่างไร

เริ่มจากการหาที่ก่อนครับ อยากได้ที่ที่ไม่ไกลจากเมืองมากนัก ในระยะเริ่มต้น จะยังไม่มีความพร้อม หมู่บ้านเฮจะต้องยืนอยู่ให้ได้ ที่ที่ไม่ไกลเมือง มักจะมีราคาแพง ถ้ามีที่น้อย จะขยายตัวไม่ได้ แต่ถ้าเยอะมากนัก ก็แพงอีก สมาชิกหมู่บ้านเฮก็จะซื้อไม่ไหว ที่พูดเรื่องการซื้อที่ดินนี้ ไม่่อยากให้มองเป็นเรื่องการจัดสรรที่ดิน แต่เป็นการรวมกำลังกันสร้างความฝันให้เกิดขึ้น

เมื่อได้ที่ดินแล้ว ปลูกต้นไม้ทันที ต้องการพืชคลุมดินโดยด่วน อาจจะต้องใช้เวลานาน สวนป่ามหาชีวาลัยอีสานที่สตึกใช้เวลา 10 ปี แต่เมื่อเวลาผ่านไป จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างพื้นที่ของสวนป่า กับพื้นที่ข้างเคียง แม้แต่ภาพถ่ายดาวเทียมก็เห็นชัดระหว่างพื้นที่สวนป่าสีเขียว กับพื้นที่ภายนอกที่สีไม่เขียว ในระหว่างที่รอต้นไม้โต ต้องหากิจกรรมมาทำอย่างต่อเนื่อง

อ่านต่อ »


เมกะโปรเจ็ค

อ่าน: 2626

ผมพอเข้าใจที่ภาครัฐวางแผนกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการเริ่มทำโครงการขนส่งมวลชนขนาดใหญ่ในกรุงเทพ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมจึงทำในกรุงเทพ ทำแล้วปริมาณรถยนต์ ก็ไม่ได้ลดลง (ซื้อมาแล้ว จะให้จอดทิ้งไว้เฉยๆ หรือ)

ทำไมไม่ทำระบบรถไฟให้ดี ทำให้การเดินทาง และขนส่งสินค้าสะดวกกว่าปัจจุบัน และได้ประโยชน์โดยตรงกับชาวบ้านจริงๆ

จะเป็นรถไฟรางคู่ หรือจะเป็นเส้น มุกดาหาร-แม่สอด ยังน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าเลยครับ กระจายงบก่อสร้างออกไปในพื้นที่ตลอดแนวรางรถไฟ รองรับการว่างงานได้หลายปี สร้างเศรษฐกิจใหม่ๆ ขึ้นมา


โลกร้อน (2.3.3)

อ่าน: 7254

ที่ผ่านมา ผมเจตนาไม่แวะไปเรื่องการแก้ไขปัญหาโลกร้อนครับ มีหลายสาเหตุครับ

  1. ศึกนี้ใหญ่หลวงนัก ความคิดที่บอกว่าทำอย่างนี้ซิ แล้วหวังว่าจะแก้ไขได้ เป็นความคิดแบบที่ยังติดกับการทำข้อสอบ
  2. การเลื่อนปัญหาออกไปในอนาคต หรือการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ไม่ได้เป็นการแก้ไขอะไรเลย
  3. การแก้ปัญหาที่สาเหตุ มีโอกาสที่จะได้ผลลัพท์ตามประสงค์ที่ยั่งยืน มากกว่าการมั่วไปเรื่อยๆ เป็นครั้งคราว เหมือนไฟไหม้ฟาง

ปัญหา โลกร้อน เริ่มมาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ ก๊าซเรือนกระจกเป็นก๊าซที่ประกอบด้วยอะตอมของคาร์บอน ไฮโดรเจน และ/หรือออกซิเจน ก๊าซเหล่านี้ เพิ่มปริมาณขึ้นมากมาย เนื่องจากการเผาไหม้ เปลี่ยนองค์ประกอบทางเคมีของเชื้อเพลิงให้เป็นก๊าซ เพื่อให้เราเอาพลังงานไปใช้; การเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิลอันได้แก่น้ำมัน และการผลิตปิโตรเคมีต่างๆ

การแก้ไขภาวะโลกร้อน พูดง่าย แต่ทำยาก ในเมื่อต้นเหตุคือก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศ วิธีแก้ไขก็คือเอาก๊าซเรือนกระจกออกจากบรรยากาศ; การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนไปใช้พลังงานทดแทน ฯลฯ เป็นการบรรเทาปัญหาไม่ให้รุนแรงกว่าในปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศลงเลย แต่ทำให้อัตราการเพิ่มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกไปในบรรยากาศน้อยลง ถึงยังไงก็ยังดีกว่าทำเป็นไม่รู้เรื่อง ตั้งหน้าตั้งตาทำลายโลกต่อไป

อ่านต่อ »


เฮฯ หก: เบื้องหลังภาพถ่ายที่เอามาอวด

23 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 December 2008 เวลา 20:15 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5361

ก็ไม่เชิงเป็นภาพส่งประกวดหรอกนะครับ กล้องเก็บความทรงจำ กล้องใหญ่บางทีก็เก็บรายละเอียดได้มากกว่า (ปลอบใจตัวเองให้สมกับที่แบกไป) ไม่ได้ซีเรียสกับการประกวดภาพถ่ายหรอกครับ แต่อยากบันทึกเหตุการณ์ไว้กันลืมเท่านั้น

เหตุการณ์แรก “อุบัติเหตุน้ำมูกช้าง”

เช้าวันที่ 4 ธ.ค. เป็นโปรแกรมล่วงหน้าระหว่างรอพลพรรค มาพบกับทีมวงน้ำชาที่ห้องนั่งเล่น คุณเบิร์ด พาครูบา ป้าจุ๋ม พี่ตา น้องจิ กับผม ไปปางช้างกะเหรี่ยงสามัคคี; ไม่รู้ว่าสามัคคีอะไรเหมือนกัน อาจจะเป็นได้ว่าอยู่ร่วมกันหลายเผ่าพันธุ์

ป้าจุ๋ม น้องจิ ขึ้นช้างแก่ พี่ตาขึ้นช้างหนุ่ม ไปเที่ยวกัน ที่เหลือก็ซื้อกล้วยอ้อยเลี้ยงช้าง ดูงูเหลือม แล้วไปนั่งคุยกันริมน้ำ รออีกสามท่านจับตั๊กแตนเสร็จ

ตอนเลี้ยงช้าง ผมอยากได้ภาพช้างยื่นงวงมาหากล้อง ก็เลยยื่นอาหารให้ช้างยื่นงวงมาเอา พอกล้วยกับอ้อยหมด ช้างไม่รู้ หรือคิดว่ากล้องผมเป็นอาหารก็ไม่รู้ เลยยื่นงวงมาจะเอาอีก แล้วก็ แ-ผ-ล-ะ

งวงมาแปะอยู่ที่ฟิลเตอร์เลนส์ของผม แถมมีน้ำมูกเป็นเมือกๆ ด้วย รูปทางซ้ายเป็นเพียงเสี้ยววินาทีเดียว ก่อนที่เหตุการณ์สยดสยองนี้จะเกิดขึ้น

โมโหก็โมโห ขำก็ขำ แต่ไม่ได้โทษช้าง เป็นเพราะเราประมาทเอง ยืนใกล้เค้าเกินไปเอง

ครูบาถ่ายเบื้องหลังไว้ได้ด้วยเป็นภาพทางขวาครับ
1.เก็บกล้อง 2.หยิบกล้วย 3.ถ่ายรูป 4.เอาอีก 5.ภัยมาไม่รู้ตัว 6.เละ

จากปางช้างแล้ว ฝ่ายโภชนาการ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์เลี้ยงข้าว จากนั้นไปพิพิธภัณฑ์อูบคำ บ้าน อ.ถวัลย์ ดัชนี แล้วก็ไปห้องนั่งเล่นในตอนเย็น

อ่านต่อ »


โลกร้อน (2.3.2)

อ่าน: 4335

จากที่กล่าวมาในบันทึกชุด โลกร้อน (2.*) มาทั้งหมด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ สร้างผลกระทบโดยอ้อมอย่างร้ายแรงจนเยียวยาได้ยาก สถานการณ์จะยิ่งหนักหากเรายังไม่เข้าใจสาเหตุ ซึ่งจะทำให้แก้ไขได้ไม่ตรงจุด เป็นเพียงการบรรเทา หรือยืดปัญหาออกไปในอนาคต ซึ่งผลร้ายจะตกอยู่กับลูกหลานของเราเอง

ผมอายุไม่ยืนพอที่จะยืนยัน แต่มีผู้รู้บรรยายไว้ว่าเมื่อโลกเกิดขึ้นนั้น บรรยากาศเต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นจุลชีพขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรมีพื้นผิวกว้างที่สุด จึงมีพื้นที่ให้คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศละลายน้ำได้กว้างใหญ่

จุลชีพเหล่านี้ ค่อย ๆ เปลี่ยนสารละลายคาร์บอนไดออกไซด์ (อนุมูลคาร์บอนเนต CO3) เป็นหินปูน CaCO3 ซึ่งกระบวนการนี้ ใช้เวลาหลายร้อยล้านปี จนความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเบาบางลง โลกสะท้อนความร้อนออกไปในอวกาศได้ดียิ่งขึ้น อุณหภูมิของบรรยากาศโลกลดลง เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นมากมาย

ตรงไหนมีหินปูน ตรงนั้นน่าจะเคยเป็นทะเลมาก่อน

โลกเก็บกักคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในรูปของสารประกอบ มนุษย์นำเอาสารประกอบนั้นออกมาใช้ เปลี่ยนแปลงพันธะทางเคมี ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ โดยการกระทำอย่างนี้ หากไม่ทำ โลกก็จะไม่ “เจริญ” มาแบบนี้ และจะไม่สิ้นสุดลงในแบบนี้เช่นกัน

อ่านต่อ »


โลกร้อน (2.3.1)

อ่าน: 6027

ตั้งใจไว้ว่า โลกร้อน (2.3.*) นี้อยากจะเขียนเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่บรรเทาปัญหาโลกร้อนได้ แต่ไปเจอเรื่องใหญ่เสียก่อน คือเรื่องกรอบพิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ซึ่งประเทศไทยได้ให้สัตยาบันแล้วในวันที่ 28 สิงหาคม 2545 แต่ยังมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติอีกมากมาย โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการรับรู้ของประชาชน

ดังนั้นเขียนไปเขียนมาจนบันทึกยาวมาก จำเป็นต้องตัดออกเป็นตอนย่อยๆ เพื่อที่จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจในรายละเอียดของกระบวนการอันซับซ้อน+ดูเป็น เรื่องเหลือวิสัยเกินกว่าจะแก้ไข

อย่างไรก็ดี ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่เสนอไว้ในปี 2546 แสดงให้เห็นว่ามีการเตรียมพร้อมเป็นอย่างดี (เสียดายแต่ว่าวันนี้ก็ยังเตรียมอยู่ ไม่ทำเสียที) เอกสารนี้ มำคำย่อ/ศัพท์เฉพาะอยู่เยอะครับ

UNFCCC United Nations Framework Convention on Climate Change KP Kyoto Protocol
Tg Teragram = 1012 grams = ล้านตัน Gg Gigagram = 109 grams  = พันตัน
CDM Clean Development Mechanism CER Certified Emission Reduction

พิธีสารเกียวโต มีรายละเอียดมากเกินกว่าจะนำมาเขียนในบันทึกนี้

อ่านต่อ »


โลกร้อน (2.3)

อ่าน: 5355

เพราะว่าสถานการณ์โลกร้อนที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เกิดมาจากเหตุในอดีต

…ถ้าอพยพคนทั้งหมดไปไว้โลกอื่นทันทีเดี๋ยวนี้ โลกร้อนก็ยังมีปัญหาอยู่ อธิบายด้วยกฏการอนุรักษ์พลังงาน ว่ายังมีพลังงานของดวงอาทิตย์ที่แผ่ให้กับโลกสะสมเพิ่มขึ้นทุกวันๆ

ดังนั้น หากจะย้อนผลกลับไปสู่จุดสมดุลย์อีกที เรากลับต้อง “ทำ” มากกว่าแค่ “หยุด” แล้วนะครับ

เพื่อย้อนกระบวนการโลกร้อนกลับ นอกจากจะต้องหยุดสร้างก๊าซเรือนกระจกแล้ว ก็ยังจะต้องพยายามกำจัดก๊าซเรือนกระจกออกจากบรรยากาศด้วย ก่อนที่โลกจะเดินไปสู่หายนะแบบดาวศุกร์

อ่านต่อ »


โลกร้อน (2.2)

อ่าน: 3128

เมื่อเดือนที่แล้ว อัลกอร์แสดงปาฐกถาที่ TED (ซึ่งเคยนำปาฐกถาดีๆมาให้ดูหลายครั้งแล้วนะครับ) เรื่อง New thinking on the climate crisis ความยาวทั้งสิ้น 27 นาที 54 วินาที

ปาฐกถาเรื่อง an Inconvenient Truth ที่เขาได้รับรางวัลต่างๆทั่วโลกนั้น แสดงมาแล้วประมาณสองพันครั้ง แต่ New thinking on the climate crisis อันนี้ แสดงต่อโลกเป็นครั้งแรกที่ TED และเพิ่งมีวิดีทัศน์บนอินเทอร์เน็ตในคืนนี้เอง

อยากให้ดูแม้เป็นภาษาอังกฤษ​ (ซึ่งสมาชิกหลายท่านอาจไม่ชอบ) แต่แค่ดูเขาพูด ดูภาพบนจอ ก็คงจะจับประเด็นสำคัญได้บ้าง

ข้อมูลชุดใหม่นี้ น่ากลัวมากครับ น้ำแข็งขั้วโลกเหนือละลายไปแล้วมหาศาล (นาทีที่ 6) อาจจะละลายหมดขั้วโลกในอีก 5 ปี สาเหตุมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (เข้ากับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ในบันทึก โลกร้อน (2.1))

ในนาทีที่ 7:25 มีข้อมูลเปรียบเทียบโลกกับดาวศุกร์ซึ่งมีขนาดเท่าๆกัน (เส้นผ่าศูนย์กลางของโลก โตกว่าของศุกร์ 400 กม.) ดาวทั้งสองดวนจึงมีปริมาณคาร์บอนพอๆกัน แต่คาร์บอนในโลกเก็บไว้ในรูปแบบของฟอสซิลทำให้บรรยากาศของโลกมีอุณหภูมิ เฉลี่ย 59 °F (15 °C) ในขณะที่คาร์บอนของดาวศุกร์ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศเกือบหมด ทำให้ดาวศุกร์ร้อนถึง 855 °F (457 °C) — ท่านอาจจะคิดว่าดาวศุกร์ร้อนกว่าโลกเพราะอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่า ที่จริงแล้วดาวพุธซึ่งอยู่ใกล้กว่าดาวศุกร์มาก กลับมีอุณหภูมิเฉลี่ยเพียง 300 °F (149 °C) เท่านั้น

ดังนั้นตัวอันตรายคือก๊าซเรือนกระจกครับ เราเผา เราปลดปล่อยคาร์บอน (ที่โลกสะสมไว้ในรูปของฟอสซิล) ออกไปในบรรยากาศ

สงครามครั้งนี้จึงหนักหนาและยาวนานแน่นอนครับ มีเดิมพันเป็นความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์

เดิมทีคิดว่าผลร้ายแรงอาจจะเริ่มเห็นในรุ่นลูก แต่ด้วยข้อมูลที่เห็นเชื่อได้ว่าผลร้ายแรงจะเกิดในคนรุ่นเรานี่เอง

…บันทึกนี้ไม่มีการ์ตูนหรือการหักมุมครับ…



Main: 0.05388617515564 sec
Sidebar: 0.15813779830933 sec