เฮฯ หก: เบื้องหลังภาพถ่ายที่เอามาอวด

23 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 December 2008 เวลา 20:15 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต #
อ่าน: 5230

ก็ไม่เชิงเป็นภาพส่งประกวดหรอกนะครับ กล้องเก็บความทรงจำ กล้องใหญ่บางทีก็เก็บรายละเอียดได้มากกว่า (ปลอบใจตัวเองให้สมกับที่แบกไป) ไม่ได้ซีเรียสกับการประกวดภาพถ่ายหรอกครับ แต่อยากบันทึกเหตุการณ์ไว้กันลืมเท่านั้น

เหตุการณ์แรก “อุบัติเหตุน้ำมูกช้าง”

เช้าวันที่ 4 ธ.ค. เป็นโปรแกรมล่วงหน้าระหว่างรอพลพรรค มาพบกับทีมวงน้ำชาที่ห้องนั่งเล่น คุณเบิร์ด พาครูบา ป้าจุ๋ม พี่ตา น้องจิ กับผม ไปปางช้างกะเหรี่ยงสามัคคี; ไม่รู้ว่าสามัคคีอะไรเหมือนกัน อาจจะเป็นได้ว่าอยู่ร่วมกันหลายเผ่าพันธุ์

ป้าจุ๋ม น้องจิ ขึ้นช้างแก่ พี่ตาขึ้นช้างหนุ่ม ไปเที่ยวกัน ที่เหลือก็ซื้อกล้วยอ้อยเลี้ยงช้าง ดูงูเหลือม แล้วไปนั่งคุยกันริมน้ำ รออีกสามท่านจับตั๊กแตนเสร็จ

ตอนเลี้ยงช้าง ผมอยากได้ภาพช้างยื่นงวงมาหากล้อง ก็เลยยื่นอาหารให้ช้างยื่นงวงมาเอา พอกล้วยกับอ้อยหมด ช้างไม่รู้ หรือคิดว่ากล้องผมเป็นอาหารก็ไม่รู้ เลยยื่นงวงมาจะเอาอีก แล้วก็ แ-ผ-ล-ะ

งวงมาแปะอยู่ที่ฟิลเตอร์เลนส์ของผม แถมมีน้ำมูกเป็นเมือกๆ ด้วย รูปทางซ้ายเป็นเพียงเสี้ยววินาทีเดียว ก่อนที่เหตุการณ์สยดสยองนี้จะเกิดขึ้น

โมโหก็โมโห ขำก็ขำ แต่ไม่ได้โทษช้าง เป็นเพราะเราประมาทเอง ยืนใกล้เค้าเกินไปเอง

ครูบาถ่ายเบื้องหลังไว้ได้ด้วยเป็นภาพทางขวาครับ
1.เก็บกล้อง 2.หยิบกล้วย 3.ถ่ายรูป 4.เอาอีก 5.ภัยมาไม่รู้ตัว 6.เละ

จากปางช้างแล้ว ฝ่ายโภชนาการ รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์เลี้ยงข้าว จากนั้นไปพิพิธภัณฑ์อูบคำ บ้าน อ.ถวัลย์ ดัชนี แล้วก็ไปห้องนั่งเล่นในตอนเย็น

อ่านต่อ »


โลกร้อน (2.3.2)

อ่าน: 4204

จากที่กล่าวมาในบันทึกชุด โลกร้อน (2.*) มาทั้งหมด การปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ สร้างผลกระทบโดยอ้อมอย่างร้ายแรงจนเยียวยาได้ยาก สถานการณ์จะยิ่งหนักหากเรายังไม่เข้าใจสาเหตุ ซึ่งจะทำให้แก้ไขได้ไม่ตรงจุด เป็นเพียงการบรรเทา หรือยืดปัญหาออกไปในอนาคต ซึ่งผลร้ายจะตกอยู่กับลูกหลานของเราเอง

ผมอายุไม่ยืนพอที่จะยืนยัน แต่มีผู้รู้บรรยายไว้ว่าเมื่อโลกเกิดขึ้นนั้น บรรยากาศเต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นจุลชีพขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร มหาสมุทรมีพื้นผิวกว้างที่สุด จึงมีพื้นที่ให้คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศละลายน้ำได้กว้างใหญ่

จุลชีพเหล่านี้ ค่อย ๆ เปลี่ยนสารละลายคาร์บอนไดออกไซด์ (อนุมูลคาร์บอนเนต CO3) เป็นหินปูน CaCO3 ซึ่งกระบวนการนี้ ใช้เวลาหลายร้อยล้านปี จนความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเบาบางลง โลกสะท้อนความร้อนออกไปในอวกาศได้ดียิ่งขึ้น อุณหภูมิของบรรยากาศโลกลดลง เกิดสิ่งมีชีวิตขึ้นมากมาย

ตรงไหนมีหินปูน ตรงนั้นน่าจะเคยเป็นทะเลมาก่อน

โลกเก็บกักคาร์บอนไดออกไซด์ไว้ในรูปของสารประกอบ มนุษย์นำเอาสารประกอบนั้นออกมาใช้ เปลี่ยนแปลงพันธะทางเคมี ปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ โดยการกระทำอย่างนี้ หากไม่ทำ โลกก็จะไม่ “เจริญ” มาแบบนี้ และจะไม่สิ้นสุดลงในแบบนี้เช่นกัน

อ่านต่อ »



Main: 0.37760996818542 sec
Sidebar: 5.9294319152832 sec