ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (5)

อ่าน: 3641

บันทึกที่แล้วเขียนทิ้งไว้เท่าที่นึกออกครับ บันทึกนี้จะพยายามเรียบเรียงความคิดว่าอะไรที่น่าจะมี เพราะอะไร

การพยากรณ์อากาศ

วิถีชีวิตคนไทยขึ้นกับลมฟ้าอากาศเป็นอย่างมาก เราจำเป็นต้องพยากรณ์อากาศล่วงหน้าให้ได้ระยะหนึ่ง กรมอุตุนิยมวิทยาทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในภูมิภาคขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ซึ่งไม่เพียงแต่รวบรวมข้อมูลจากประเทศต่างๆ เท่านั้น ยังเป็นแหล่งความรู้ทางอุตุนิยมวิทยาของภูมิภาคอีกด้วย

กรมอุตุฯ ทำการทำนายสภาวะอากาศวันละสองครั้ง คือเที่ยงคืนและเที่ยงวันตามเวลามาตรฐานสากล เราจึงเห็นกรมอุตุฯ ออกรายงานสภาพอากาศวันละสองครั้ง ตอนเจ็ดโมงเช้ากับหนึ่งทุ่ม เนื่องจากเวลาเมืองไทยเร็วกว่า UTC อยู่ 7 ชั่วโมง การพยากรณ์อากาศต้องอาศัยข้อมูลจากประเทศอื่นๆ ด้วยเช่นกัน การตรวจวัดอุณหภูมิ ความดัน ความชื้น อุณหภูมิของน้ำทะเล ในแต่ละประเทศโดยไม่สนใจบริเวณข้างเคียง ย่อมไม่แม่นยำเพราะว่าสภาวะอากาศเกี่ยวพันกันข้ามพรมแดนประเทศ

แต่ว่าการพยากรณ์อากาศวันละสองครั้งในภาวะที่อากาศแปรปรวนนั้น ไม่พอหรอกนะครับ ผมคิดว่ากรมอุตุฯ ก็ทราบดี จึงได้มีความพยายามจะพัฒนาสมรรถนะ แล้วก็ดันเกิดเป็นปัญหาการจัดซื้อซูเปอร์คอมพิวเตอร์อันลือลั่นเมื่อหลายปีก่อน จนปัจจุบันทางกรมก็ยังไม่มีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้งาน ยังใช้แผนที่อากาศเหมือนเมื่อสี่ห้าสิบปีก่อน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (4)

อ่าน: 3742

บันทึกนี้ ต่อจากตอนที่ 3

วันเสาร์-อาทิตย์ที่ 23-24 ที่จะถึงนี้ จะมีงาน BarCamp Bangkok ครั้งที่ 4 ที่มหาวิทยาลัยศรีปทุม บางเขน

งาน BarCamp เป็นงานชุมนุม geek จะมีผู้ที่มีความรู้ทางไอที มารวมกันเพื่อแลกเปลี่ยนแง่คิด มุมมอง ประสบการณ์ และเป็นโอกาสที่จะระดมสรรพกำลัง ไปร่วมกันทำงานที่มีประโยชน์

ในงานนี้ สปอนเซอร์รายหนึ่งบอกว่าจะจัด Crisis Camp ระดมคนทำงานเรื่องข้อมูลเชิงแผนที่ของวิกฤตการณ์ครั้งนี้

@thaiflood “ตลาดนัดจิตอาสาช่วยเหลือภัยพิบัติ” เสาร์-อาทิตย์ 23-24 นี้ (ข้ามคืน) ที่ม.ศรีปทุมบางเขน

ที่มา twitter

ผมคงไปร่วมไม่ได้หรอกครับ สวนป่ามีอบรมนักศึกษาจากคณะพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชนกันพอดี ก็ไปช่วยไม่ได้เลย ดังนั้นบันทึกนี้ ก็จะพยายามเรียบเรียงแง่คิดมุมมอง และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดการภัยพิบัติเอาไว้ หวังว่าจะมีใครได้ประโยชน์บ้าง ส่วนเกี่ยว-ไม่เกี่ยว ทำ-ไม่ทำ ใช่-ไม่ใช่ ขึ้นกับบริบทครับ

เรื่องระบบข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจนี้ คงไม่จบในบันทึกเดียว บันทึกนี้ จะพาขี่ม้าเลียบค่ายก่อน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (3)

อ่าน: 4656

บันทึกนี้เขียนต่อจาก ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 พูดถึงแนวทางในการฟื้นฟูครับ พื้นที่ไหนน้ำลดแล้ว เริ่มใช้ได้เลย

เมื่ออาทิตย์ก่อน ครูบาไปเป็น Igniter ในงาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 2 ที่หอประชุมจุฬาลงกรน์มหาวิทยาลัย [งาน Ignite Thailand++ ครั้งที่ 2] เกิดอุบัติเหตุทางเทคนิคขึ้น สไลด์ติดอยู่ที่สไลด์ที่สอง นานสองนาทีกว่า ที่เตรียมไป 20 สไลด์ พูดได้แค่ 8 สไลด์เท่านั้น หมดเวลาแล้ว

ในส่วนที่ไม่มีโอกาสได้พูดนั้น มีเรื่องน่าสนใจอีกหลายอย่าง แต่ผมยกมาเขียนเรื่องเดียวนะครับ

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (2)

อ่าน: 4491

เขียนต่อจากบันทึกที่แล้วครับ บันทึกนี้เป็นเรื่องของการชะลอน้ำหลาก/น้ำป่า/runoff ลองดูภาพเงินเขาที่ถูกถางจนเรียบนะครับ

บนเนินเขา เราจะเห็นพื้นที่สองแบบ คือบริเวณที่มีต้นไม้ และบริเวณที่ถูกถางจนเรียบ ทั้งสองพื้นที่อยู่บนเนินเดียวกัน มีความลาดเอียงพอๆ กัน

อ่านต่อ »


ฤๅจะถึงคราวกุลาร้องไห้ (1)

อ่าน: 5633

ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นอู่ข้าวสำคัญของไทย ตามการกำหนดขอบเขตของกรมพัฒนาที่ดิน ทุ่งกุลาร้องไห้มีพื้นที่ 2,107,690 ไร่ใน 5 จังหวัด 10 อำเภอ 79 ตำบล 1,048 หมู่บ้าน เป็นนาปลูกข้าวหอมมะลิอันเลื่องชื่อ 1,266,103 ไร่ ให้ผลผลิตปีละ 4 แสนกว่าตัน เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ 47,0961 ไร่ มีวัวควายอยู่ราว 270,000 ตัว มียูคาลิปตัสราว 60 ล้านต้น ให้ผลผลิตไม้ปีละราว 2 ล้านตัน มีแหล่งโบราณคดี 408 แห่ง มีคนอยู่อาศัยราว 620,000 คน — ข้อมูลจากวารสารสารคดี ฉบับเมษายน 2552

อีสานใต้ที่ท่วมหนักอยู่ในตอนนี้ เป็นขอบอ่างโคราช ซึ่งเป็นที่สูง น้ำไหลลงที่ต่ำไม่ได้เนื่องจากทางน้ำถูกขวางอยู่ อบต.ก็ชอบสร้าง+ซ่อมเหลือเกิน แต่โดยเฉลี่ยมีงบจัดการน้ำเพียง 2.15%

แผนที่ทางขวานี้ ต้องขอขอบคุณผู้จัดทำนะครับ ผมมองว่าให้ภาพหยาบๆ ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นที่ไหน (ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี) ทั้งนี้ตามรายงานข่าวในโทรทัศน์ซึ่งก็พูดกว้างๆ อยากเห็นสถานีโทรทัศน์ ใช้แผนที่สถานการณ์ให้มากกว่านี้ครับ

อย่างไรก็ตาม ทางส่วนของราชการ ผมยังไม่เห็นแผนที่สถานการณ์ตัวจริงเลยครับ ภาพถ่ายดาวเทียมก็ได้ หากทางราชการมีแผนที่ว่า ณ.เวลาหนึ่ง เกิดน้ำท่วมขึ้นที่ไหนบ้าง ระดับน้ำสูงเท่าไร จะได้เตรียมแผนช่วยเหลือได้เหมาะสม ตลอดจนเป็นการแจ้งให้ผู้ที่อยู่ปลายน้ำ ได้เข้าใจสถานการณ์ตามที่เกิดขึ้น

เป็นเรื่องฝืนธรรมชาติที่น้ำท่วมอยู่ในที่สูง ในที่สุดน้ำก็จะไหลลงไปตามร่องน้ำธรรมชาติครับ ซึ่งสำหรับอีสานใต้คือแม้น้ำมูล ซึ่งเป็นแม่น้ำขนาดไม่ใหญ่ มีอัตราไหลต่ำ และคดเคี้ยวไปมา ดังนั้นจำหวังให้น้ำปริมาณมหาศาลลดลงอย่างรวดเร็วนั้น คงจะยากเหมือนกัน

อ่านต่อ »


นักเศรษฐศาสตร์ถาม: เศรษฐกิจเพื่ออะไร

อ่าน: 5129

นักเศรษฐศาสตร์ Tim Jackson จากอังกฤษ ไปพูดเรื่อง Economic Reality Check ที่ TED เป็นการบรรยายที่ยาวยี่สิบนาที

อ่านต่อ »


การสำรวจวงปีของต้นไม้ เปิดเผยเรื่องน่ากลัว

อ่าน: 3591

Earth Institute แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบียในสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาวงปีของต้นไม้ทั่วเอเซีย

อาจจะดูเหมือนเป็นการศึกษาแบบเด็กๆ เพราะว่าเราก็รู้ว่าวงปีของต้นไม้เกิดขึ้นปีละวง เมื่อต้นไม้ได้รับน้ำมากในหน้าฝน ต้นไม้ก็จะเจริญเติบโตมาก ทำให้เนื้อไม้ในช่วงนั้นโตเร็ว ในขณะที่หน้าแล้ง ต้นไม้ไม่ได้น้ำก็โตช้าหน่อย จึงเห็นว่าหากตัดต้นไม้ทางขวาง ก็จะเห็นวงในเนื้อไม้หนึ่งวงสำหรับการเจริญเติบโตหนึ่งปี

ประเด็นอยู่ตรงนี้ล่ะครับ เมื่อฝนมาก ระยะห่างระหว่างวงก็มาก เมื่อเจาะเนื้อไม้มาศึกษาวงปี ก็พบความจริงที่น่าตกใจ ว่าในช่วงหกร้อยปีที่ผ่านมา เกิดความแห้งแล้วอย่างแสนสาหัสในหลายพื้นที่ของเอเซีย รวมถึงในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ที่เราอยู่ด้วย (ในสารคดีนี้บอกว่านครวัดล่มสลายเพราะความแห้งแล้ง ถึงจะจริงแต่ “ขอม” ผู้สร้างนครวัดคงไม่ยอมแห้งตายหรอกครับ ต้องอพยพไปที่ราบลุ่มที่มีน้ำจืดอุดมสมบูรณ์ที่อื่นแน่นอน เผอิญไปคาบกับช่วงที่อาณาจักรอยุธยาเกิดโผล่ขึ้นมาในประวัติศาสตร์อย่างกระทันหันพอดี)

ไม่ว่าเมืองไทยจะมีโทรศัพท์สามจีหรือไม่ เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของโลกเสมอ น้ำฝนมากับมรสุม ซึ่งมรสุมก็เป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิของน้ำในมหาสมุทรอินเดีย กับในมหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อมีปรากฏการณ์โลกร้อน อุณหภูมิของน้ำทะเลเปลี่ยนแปลง เสริมด้วยเอลนินโย ก็ทำให้เกิดความแห้งแล้วหนัก และมักเกิดเป็นรอบๆ บางรอบนานกว่าสิบปี หรืออาจเป็นหลายสิบปี

อ่านต่อ »


น้ำมาก ก็เป็นปัญหาอีก

อ่าน: 4780

ตอนแรกคิดว่าเขียนบันทึกที่แล้วเรื่องเดียวก็พอแล้ว แต่มาคิดอีกที เรื่องนี้มีประโยชน์เกินกว่าจะปล่อยผ่านไปเฉยๆ ครับ ซึ่งถ้าได้ฟังการนำเสนอแล้วจะรู้สึกสนุกมาก ตื่นเต้น-เร้าใจ-น่าติดตาม แม้เนื้อหาออกเชิงวิชาการ จึงขอย่อยมาเล่าให้ฟังนะครับ

ทีมงานของ ดร.สุทัศน์ วีสกุล AIT นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับระบบทำนายน้ำท่วม (มีการพยากรณ์ฝนซึ่งแปลความหมายจากเรดาร์ตรวจอากาศ ซึ่งจะไม่เล่าล่ะครับ)

งานชิ้นนี้เป็นการต่อยอดปรับปรุงขยายผลจาก AIT River Network Model ซึ่งเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์จากดุษฎีนิพนธ์ เพื่อทำนายปริมาณน้ำไหลในลุ่มเจ้าพระยา นำมาประยุกต์กับการปิดเปิดประตูระบายน้ำและปัมป์น้ำ เพื่อควบคุมระดับน้ำ งานชิ้นนี้มีประโยชน์มากเมื่อพิจารณาดูประโยคที่ว่า

ที่นาสามารถนำมาให้เป็นพื้นที่แก้มลิงได้ หากไม่ทำให้ข้าวเสียหาย

กรณีน้ำท่วมกรุงเทพซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจสำคัญ เก็บภาษีได้ครึ่งหนึ่งของภาษีทั้งประเทศ จะสร้างความเสียหายมหาศาล ตามสถิติ ก็มักจะมีน้ำท่วมใหญ่ทุก 5 ปี

อ่านต่อ »


นาโยน

16 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 9 September 2010 เวลา 0:10 ในหมวดหมู่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม #
อ่าน: 4914

เจอคลิปนาโยน จาก FMTV ในทวิตเตอร์ ถ่ายจากปฐมอโศกครับ ความยาว 25:11 นาที

ก็คนไม่เคยทำนาล่ะนะ ดูแล้วน่าสนุก

ข้อดีมีมากมายครับ เช่น

  • เพาะกล้าในกระบะ ใช้เวลาเพียง 10 วัน
  • ถอนกล้าง่าย ไม่ใช้แรง รากไม่ช้ำ — ถอนแล้วได้กล้า+ดิน
  • เอากล้าที่ถอนออกมาไปโยนขึ้นให้สูง ให้ตกลงในนา
  • ไม่ต้องดำนา ไม่ปวดหลังปวดเอว ประหยัดแรงงานมหาศาล
  • ต้นกล้าจะไม่ปักลงทางดิ่งอย่างสวยงามหรอกนะครับ แต่ต่อให้ล้มระเนระนาด ต้นกล้าก็ยืนขึ้นได้เอง (ขืนไม่ยืน ก็จมน้ำตาย)

อ่านต่อ »


ข้อสังเกตรัฐไทย

อ่าน: 2801

คำว่ารัฐนั้น สำหรับผมคือองค์กรที่ดูแลประชาชน จัดการ เตรียมการเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ดูแลทิศทาง ดูแลความมั่นคงปลอดภัย เรื่องการต่างประเทศ แก้ปัญหาข้อพิพาทด้วยความเป็นธรรม ตรงไปตรงมา จะไม่ตรงกับนิยามในวิชารัฐศาสตร์ ก็ช่างเถิดครับ รัฐมีรายได้จากภาษีอากร ซึ่งประชาชน และกิจการเสียให้ ตามกติกาของสังคม (กฏหมายและประมวลรัษฎากร)

รัฐ (ที่ไม่ใช่รัฐบาล) เป็นองค์กรขนาดใหญ่ มีงบประมาณประมาณร้อยละยี่สิบของรายได้ประชาชาติ จึงจัดได้ว่าเป็นผู้ที่แข็งแรงที่สุดในประเทศ เป็นเป้าหมายอันหอมหวลสำหรับผู้ที่ต้องการครอบงำ

ส่วนอีกร้อยละแปดสิบของรายได้ประชาชาตินั้น เกิดจากกิจการต่างๆ ในภาคเอกชน ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลาย แข่งขันกันอย่างอุตลุด โกง ติดสินบน เอาเปรียบ ฯลฯ แต่ก็ทำให้เราอยู่รอดได้จนวันนี้ แต่ว่าภาคเอกชน ก็แบ่งย่อยจนละเอียดเป็นเบี้ยหัวแตก จะทำอะไรก็ไม่มีกำลังพอ มีการรวมกลุ่มกันอย่างเข้มแข็ง แต่ก็เป็นไปเมื่อมีประโยชน์ร่วมกัน และมักเป็นไปในทางดิ่งตามผมประโยชน์ ส่วนการรวมกลุ่มในทางขวาง-ข้ามความรู้ความชำนาญเฉพาะทางนั้น กลับไม่ค่อยปรากฏ

อ่านต่อ »



Main: 0.24580693244934 sec
Sidebar: 1.4248759746552 sec