เปลี่ยนพลาสติกกลับเป็นน้ำมันดิบ

อ่าน: 3916

เมื่อปีที่แล้ว มีข่าวนักประดิษฐ์ชาวญี่ปุ่น ประดิษฐ์เตาที่เปลี่ยนพลาสติกให้กลับเป็นน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ง่ายจนน่าทึ่ง

คลิปเรื่องนี้ กลับไปปรากฏอีกครั้งหนึ่งใน United Nations University ซึ่งได้รับความสนใจมากอีกครั้งหนึ่ง

อ่านต่อ »


พิพิธภัณฑ์ พุทธธรรม พระบรมสารีริกธาตุ

อ่าน: 4995

เป็นอะไรก็ไม่รู้ครับ เดี๋ยวนี้โอนเงินผ่านระบบธนาคารไม่ผ่านเลย ไปโอนที่ตู้เอทีเอ็มก็ไม่ผ่าน หรือธนาคารที่ใช้เล่นกลหว่า…

ได้เห็นพระพุทธรูปจำลอง ที่วัดป่าภูก้อนได้จัดสร้างขึ้นเพื่อระดมทุนมาตั้งสามเดือนแล้ว แต่ไม่เคยโอนเงินได้สำเร็จสักที (ถ้าสำเร็จเพียงครั้งเดียว ก็จะไม่โอนซ้ำอีก!) องค์พระงามมาก อยากบูชามาให้ตั้งไว้ในห้องนอนพ่อกับแม่ครับ วันนี้ก็เลยไปที่ “สำนักงานโครงการฯ” ในกรุงเทพ ที่อยู่ปากซอยเจริญกรุง 85/1 ตรงข้ามโรงแรมแม่น้ำริเวอร์ไซด์ เป็นร้าน Cockpit ขายยาง

องค์ขนาด 12 นิ้วก็งามมาก เห็นรายละเอียดเยอะเลย แต่ผมคิดว่าจะสร้างฐานและกล่องเอง (อาจจำได้ว่าคุณพ่อเกิดวันอังคาร มีพระปางไสยาสน์เป็นพระประจำวันเกิดซึ่งผมอยากทำให้ เคยแกะพระไม้ให้แม่ไปแล้วองค์หนึ่งเมื่อต้นปี) ส่วนพรุ่งนี้วันแม่ ให้พระสองท่านพร้อมกันเลยดีกว่าครับ แต่ว่าถ้าบูชาองค์ขนาดใหญ่มา พอรวมฐาน รวมกล่องแล้ว คงจะใหญ่โตมโหฬาร ก็เลยบูชาองค์ 9 นิ้วกลับมา

ผมไม่คุ้นเคยกับแถวนั้นหรอกครับ แต่เคยได้ยินแว่วๆ เกี่ยวกับ พิพิธภัณฑ์ พุทธธรรม พระบรมสาสีริกธาตุ เนื่องจากว่าเคยค้นข้อมูลมาก่อน จึงระลึกได้ว่าอยู่ไม่ไกลเลย ขับรถไปดูสถานที่สักหน่อย คิดว่าจะพาพ่อแม่มาเที่ยว แต่ต้องมาดูก่อนว่าเดินไหวหรือเปล่า

อ่านต่อ »


เขื่อนส่วนตัว

อ่าน: 5004

เขื่อนส่วนตัว ฟังดูมโหฬาร แต่ที่จริงแล้ว เป็นเรื่องที่แต่ละคนจัดการเองได้ครับ

ทุกพื้นที่ของเมืองไทย มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าปีละ 1000 มม. หรือ 1 เมตร (ซึ่งถ้าปริมาณฝนต่ำกว่า 250 มม./ปี ก็จะเรียกว่าทะเลทราย) –  ปริมาณน้ำฝนหมายถึงการวัดที่เอาภาชนะรูปทรงกระบอกทิ้งไว้ในที่โล่ง เมื่อฝนตกลงมาแต่ละครั้ง ก็วันความสูงของน้ำที่อยู่ในภาชนะทรงกระบอก เอาตัวเลขทั้งปีมาบวกกัน

ทีนี้ ถ้ามีที่ดินทำนา 5 ไร่ ก็เท่ากับ 8,000 ตารางเมตร ฝนตกมาปีละ 1 เมตร ก็ได้ปริมาณน้ำฝน 8,000 ลูกบาศก์เมตร หรือ 8,000 คิว ซึ่งนั่นเหลือเฟือสำหรับการเกษตรในพื้นที่ 5 ไร่ทั้งปี โดยไม่ต้องพึ่งน้ำจากระบบชลประทานเลย — แต่ปัญหาใหญ่ก็คือฝนตกลงมา เราก็บ่นๆๆๆๆ แล้วก็ปล่อยน้ำทิ้งไปเฉยๆ ไม่ทำอะไร — นั่นล่ะครับ จุดเริ่มต้นของปัญหา คือการไม่มีการจัดการน้ำ

วิธีการที่ง่ายที่สุด คือขุดสระ ปรับระดับเพื่อนำน้ำไปลงสระเก็บไว้ใช้เมื่อต้องการจะใช้ แต่วิธีการนี้มีปัญหาอย่างหนึ่ง คือเมืองไทยแดดจัด อากาศร้อน ทำให้น้ำในสระเปิดระเหยออกไปเร็ว ต่อให้สระน้ำเก็บน้ำได้ ระดับน้ำก็จะลดลงไปเรื่อยๆ ตามอัตราการระเหย ซึ่งถ้าฝนตกสม่ำเสมอก็ไม่มีปัญหาเพราะว่ามีน้ำเติม แต่ว่าฝนไม่ได้ตกอย่างสม่ำเสมอ ถ้าไม่ใช่ฤดูกาลหรือถ้าแล้งจัด ฝนก็ไม่ตก

ถ้าขุดสระในที่ร่ม จะช่วยได้ระดับหนึ่ง น้ำก็ยังระเหยได้จากลม (ไม่นับการที่จะหาที่ร่มขนาดใหญ่นั้น หาไม่ได้หรอกครับ เมืองไทยไม่ค่อยมีต้นไม้ใหญ่แล้ว + ต้นไม้ใกล้น้ำ รากเน่าหมด) สระใต้ดินอาจจะเหมาะกว่า

อ่านต่อ »


ทำนาโดยใช้น้ำน้อย

อ่าน: 8895

อย่าได้แปลกใจเลยครับ ที่คนไม่เคยทำนาจะ(ดัดจริต)มาเขียนเรื่องการทำนา สถานการณ์น้ำวิกฤติมาก น้ำในระบบชลประทานมีไม่พอที่จะทำอย่างที่เคยทำมาอีกแล้ว และคาดว่าจะมีวิกฤติการณ์น้ำรุนแรงต่อเนื่องไปอีกหลายปี ต่อให้อยู่ดีๆ มีปาฏิหารย์น้ำเต็มเขื่อนขึ้นมาได้ ถ้าเราไม่เปลี่ยนวิธีใช้น้ำ ก็จะยังเจอปัญหาแบบที่เคยเจอ แต่คราวนี้น้ำหมดเขื่อนแล้ว จะแก้ไขสถานการณ์ลำบาก — วันนี้ เขตเมืองยังมีน้ำประปา นอกเขตเมืองยังมีประปาชนบท ประปาภูเขา หรือน้ำบาดาล เราเพลิดเพลินกับการใช้ โดยไม่คิดจะเติมน้ำต้นทุน วันไหนน้ำหมด วันนี้มานั่งเสียใจก็สายไปแล้วนะครับ (บ่อบาดาลเติมน้ำได้แต่ก็ไม่ทำ อ่างเก็บน้ำก็เติมได้โดยทำร่องให้น้ำฝนไหลมารวมกัน ฯลฯ)

ทำนาเคยได้ 50-60 ถังต่อไร่ ถือว่าอยู่ได้ ถ้าไป 80-100 ถัง ก็เยี่ยมเลย ลือกันไปสามบาง แต่ถ้า 120 ถัง ได้ออกทีวีแหงๆ พอมีระบบชลประทาน ก็แห่กันทำนาปรัง แล้วพอราคาข้าวขึ้นสูง ทีนี้ทำนาปรังกันสองรอบเลย แต่ผลผลิต(ที่ไม่วายวอดไปจากภัยแล้ง) ตกลงมาเหลือ 25 ถัง แถมใช้น้ำเพิ่มขึ้น 3 เท่าเพราะทำนาสามรอบ เราไม่มีปริมาณน้ำสำรองเพิ่มขึ้นจากเดิมนะครับ แต่ใช้น้ำทำนามากกว่าเดิม มีประชากรที่ต้องการใช้น้ำมากกว่าเดิม

ไม่ได้โทษการทำนาปรังหรือนาปีหรอกครับ แต่อยากบอกว่ามีวิธีทำนาแบบที่ใช้น้ำน้อยลง และให้ผลผลิตมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ผมไม่ได้บอกให้เชื่อ แต่อยากให้ลองคิดดู ถ้าเห็นว่ามีเหตุผล ก็อาจลองทำดูในแปลงเล็กๆ ก่อน นาปีกำลังจะเริ่มแล้ว ต้องเตรียมการก่อน

อ่านต่อ »


สถานการณ์น้ำในเขื่อน

อ่าน: 3320

วันนี้ไปหาหมอมา ไม่มีอารมณ์เขียน จึงขอทดข้อมูลสั้นๆ แต่สำคัญแทนครับ คือปริมาณน้ำในเขื่อนที่ดูแลโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) ปรับปรุงข้อมูลทุกวัน

ควรดูปริมาณ “น้ำไหลเข้าอ่าง” ยกเว้นเขื่อน “ท่าทุ่งนา” ซึ่งเป็นเขื่อนท้ายเขื่อนศรีนครินทร์ ดังนั้นน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนท่าทุ่งนา ก็จะใกล้เคียงกับน้ำที่เขื่อนศรีนครินทร์ปล่อยออกมา

ถ้าน้ำไหลเข้าอ่าง น้อยกว่าน้ำที่ปล่อยออก ก็แปลว่าเขื่อนขาดทุนน้ำ


แล้งเพราะทำตัวเอง

อ่าน: 2549

เมื่อเช้านี้ ผมไปพบผู้ใหญ่ท่านหนึ่งซึ่งทำงานเรื่องน้ำ มีข้อมูลแปลกโผล่มาซึ่งไม่ได้ขอให้เชื่อหรอกนะครับ ให้ลองคิดดูเฉยๆ

  • ปีที่แล้วฝนไม่ได้น้อยเลย แต่ระบบชลประทานขาดทุนน้ำสองพันล้านลูกบาศก์เมตร เพราะพืชผลการเกษตรราคาสูง (โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าว) จึงต้องปล่อยน้ำออกไปช่วย
  • ปีนี้แล้งจัดและร้อนจัดมาตั้งแต่ต้นปี แต่เพราะราคาข้าวสูงเมื่อปีที่แล้ว จึงมีชาวนาทำนามาก ควรจะทำนาปรัง 6 ล้านไร่ กลับทำ 12 ล้านไร่ และทำสองครั้งด้วย จึงยิ่งมีความต้องการน้ำมหาศาล
  • ถึงตอนนี้ น้ำไม่พอ นาล่มอยู่ดี เงินที่คิดว่าจะได้ก็ไม่ได้ ทุนก็ลงไปแล้ว
  • ยังไงก็ไม่เปลี่ยนไปทำพืชผักอย่างอื่นที่ใช้น้ำน้อยกว่ามาก เช่น พริก
  • องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ใช้งบทำเรื่องการจัดการน้ำ (บ่อ สระ คลอง ร่องน้ำ) 2.15% แต่ใช้งบแก้ไขเรื่องน้ำ (ท่วม+แล้ง) 7.9%
  • ทางเหนือ มีพื้นที่ในเขตชลประทาน 15% อีสานเก็บน้ำฝนไว้เพียง 3% แต่ชุมชนไม่เตรียมตัวช่วยเหลือตัวเอง (ขุดบ่อเอง ฯลฯ) เพราะคิดว่าเป็นหน้าที่รัฐต้องมาช่วย — สงสัยว่าถ้าปริมาณมากมายอย่างนี้ รัฐจะช่วยไหวได้อย่างไร [เพิ่งเขียนบันทึกเรื่องน้ำไม่มี] ในพื้นที่อีสานยิ่งหนักไปกันใหญ่
  • อ่านต่อ »


น้ำไม่มี

อ่าน: 4094

ในเมื่อน้ำไม่มีก็ไม่มีครับ ไม่รู้จะมาคร่ำครวญอะไรกัน

ไม่อยากพูดเลยว่าเตือนมาสักครึ่งปีแล้ว ในบล็อกนี้นี่แหละ (เออนะ แล้วทำไมต้องฟังด้วยล่ะ) มาถึงตอนนี้ คงต้องรอฟ้ารอฝนอย่างเดียว ทำอะไรไม่ทันแล้ว

หากฝนตก ก็เก็บน้ำฝนไว้นะครับ หลังคาเล็กๆ ขนาด 25 ตารางเมตร ฝนตกหยุมหยิมขนาด 5 มม. เก็บน้ำจากหลังคาได้หนึ่งในแปดคิว คงประมาณสักค่อนตุ่ม ถ้าตกจริงจังขนาด 2 ซม. ได้น้ำครึ่งคิว จะอยู่ไปได้สองสามวัน

อย่าคิดว่าอยู่ในเมืองจะสบาย วันไหนที่น้ำประปาไม่ไหลแล้วจะรู้สึก ตอนนี้มีโอกาสเตรียมอะไรได้ ก็เตรียมเสียก่อนเถิดครับ

ส่วนไร่นา น่าจะสำรวจความลาดชันของพื้นที่ แล้วพยายามขุดร่องนำน้ำฝนไปรวมกันที่บ่อให้ได้มากที่สุด อย่าปล่อยให้น้ำหายไปเฉยๆ เลยครับ ต่อให้น้ำไปรวมกันที่ต่ำแล้วต้องสูบมาใช้ ก็ยังดีกว่าไม่มีน้ำจะสูบมาใช้ [ธนาคารน้ำ]

อ่านต่อ »


กระสุนข้าว

อ่าน: 3580

สักสองสัปดาห์ก่อน ผมได้รับอีเมลจากพี่ที่นับถือกัน ซึ่งรู้จักกันบน soc.culture.thai เมื่อสักยี่สิบปีที่แล้ว-ก่อนเมืองไทยมีอินเทอร์เน็ต ผมอยู่บริษัทฝรั่งจึงมีใช้ ในขณะนั้น พี่ทวิชเป็นวิศวกรนาซ่า ปัจจุบันท่านสอนอยู่ มทส.

พี่ทวิช เสนอวิธีการปลูกข้าว ที่

  1. ไม่เพาะกล้า ซึ่งต้องไปดำนา ไม่ค่อยเหมาะกับปัจจุบันเนื่องจากแรงงานเข้าไปอยู่ในโรงงานหมด
  2. ไม่หว่าน เนื่องจากดินนาไม่ได้สมบูรณ์

พี่แกว่าเอา’ดินดี’มาปั้นเป็นกระสุน ใส่เมล็ดข้าว 4 เมล็ด เอากระสุนนี้ไปดำด้วยเครื่อง การดำคือการฝังลงไปในดิน ด้วยความลึกและระยะห่างที่ได้ทดลองศึกษาบอกเล่ากันมาหลายชั่วอายุคน ใช้เครื่องดำทำเองได้ครับ (ไม่ใช้น้ำมัน เข็นเครื่องไป พอล้อหมุนไปได้ระยะ ก็ฝังกระสุนลงไปในดิน และดำแห้งๆ ได้ ปล่อยน้ำเข้าทีหลัง)

‘ดินดี’ที่เอามาปั้นกระสุน มีความหมาย เพราะเป็นสารอาหารแรกที่กล้าข้าวใช้สร้างโครงสร้างสำหรับการเติบโตต่อไป — ไม่ได้ใช้เยอะนะครับ

มีแปลงนาสาธิตอยู่โคราช พี่ทวิชรู้จัก อ.หลิน และรู้จักครูบาด้วย ปากเหมาะเคราะห์ดี จะไปขอความรู้เรื่องกังหันลมครับ

Posted by Wordmobi


ความเท่าเทียมในการเข้าถึงข้อมูล

อ่าน: 4325

เมื่อคืนฟังอดีตนายกฯ อานันท์ ปันยารชุน พูดถึงปัญหาความยากจน ว่าเป็นรากเหง้าของปัญหาต่างๆ มากมาย มีความบางตอนที่กรุงเทพธุรกิจสรุปมาว่า

ผมอยากจะเลิกพูดเรื่อง โรดแมพ 5 ข้อ เพราะอยู่บนโต๊ะแล้ว  ต้องถามว่าปัญหาคืออะไร การเมือง หรือสังคม  ถามว่าปัญหาอยู่ที่ไหน ผมว่ารากเหง้าของปัญหาอยู่ที่ความยากจน ที่พูดๆ กันเป็นปัญหาปลายเหตุ ปัญหาใหญ่คือความยากจน หากทำให้ความยากจนลดลงไป ถ้าปลดเปลื้องหนี้สิน ชีวิตก็จะดีขึ้น

คนยากจนคือ จนรายได้ หาเช้ากินค่ำ พวกไม่มีงานทำ ทุพพลภาพ พวกมีงานทำ แต่อยู่นอกระบบประกันสังคม นอกระบบประกันสุขภาพ แต่บางคนมีงานทำ อาจจะเป็นคนจนได้ พวกจนโอกาส หมายความว่า เกิดมาในครอบครัวที่มีรายได้ไม่ดี  ไม่สามารถไปหาหมอ เข้าถึงถึงระบบพยาบาล ขาดโอกาสเข้าถึงระบบการศึกษาที่ดี บางคนเรียนดีแต่ไม่มีเงินเรียนมัธยม หรือมหาวิทยาลัย

อีกพวกหนึ่งคือจนสิทธิ เช่น สิทธิมนุษยชน รัฐธรรมนูญเขียนไว้สวย แต่เขาเข้าไม่ถึง หรือระบบยุติธรรม และเป็นธรรม เขาขาดสิ่งเหล่านี้ อาจไม่มีความยุติธรรมในกฎหมายบางเรื่อง ความเสมอภาคในการบังคับใช้กฎหมาย กฎหมายฉบับเดียวกันคุณกับผมต้องได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน และมันก็มีเรื่องคอร์รัปชันตามมาด้วย

ปัญหาคนจนที่ผ่านมา เป็นการให้ทานมากกว่า คนไทยใจดี ขนาดเศรษฐกิจไม่ดียังให้วัด ให้โรงพยาบาล ซึ่งก็ไม่ผิด ดีด้วย แต่ต้องช่วยเสริมสร้างให้เขาดำรงชีวิตได้อย่างมีศักดิ์ศรี เขาเป็นมนุษย์แล้วเขามีสิทธิอะไรบ้าง

การแก้ไขปัญหายากจน ประเทศอื่นเขาผ่านมาแล้ว ของเราค่อนข้างลำบาก ใจผมอยากเห็นภาคประชาชนเป็นผู้ชี้นำรัฐบาล ผมไม่อยากเห็นการพึ่งรัฐบาลอย่างเดียว เวลาคนพูดอยากให้ปฏิรูปประเทศไทย ผมฟังแล้วผมยิ้ม ผมยิ้มด้วย 2 เหตุผล คือ ผมได้ยินมาตั้งแต่เด็ก แต่ก็ทำไม่สำเร็จสักที อันที่สองคือ ปฏิรูปอะไร ปฏิรูปเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สาธารณสุข สื่อ เอาเวลาจากไหนมา ในเมื่อขณะนี้เป็นปัญหาเฉพาะหน้า  อยากทำทำไปไม่ได้ขัดข้อง ดี แต่ต้องมองว่าปัญหาไหนสำคัญกว่า ระยะยาว กลาง สั้น  และใครเป็นคนทำ

แก้ปัญหาก็ต้องมองที่สาเหตุ จะแก้ให้เป็นอะไรก็ร่วมกันกำหนดที่เป้าหมาย นักบริหารก็จะมองอย่างนี้ล่ะนะครับ; ส่วนการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้านั้น ไม่ได้แก้อะไรที่สาเหตุเลย เป็นเพียงแต่เลื่อนปัญหาไปไว้ในอนาคตเท่านั้น

อ่านต่อ »


ปลูกมะเขือเทศกลับหัว

4 ความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 20 April 2010 เวลา 0:05 ในหมวดหมู่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม #
อ่าน: 13033

Topsy Turvy® tomato planter เป็นสินค้าขายไอเดีย ที่ปลูกมะเขือเทศโดยห้อยหัวลง รากและดินอยู่ด้านบน รดน้ำจากด้านบน แล้วให้มะเขือเทศ งอกลงข้างล่าง

ง ง ! !

ในประเทศที่อากาศหนาว รากต้องอาศัยความร้อนเพื่อเร่งการดูดซึมน้ำและสารอาหารจากดิน บ้านเราอากาศร้อน เรื่องนี้อาจไม่มีความจำเป็น แต่ก็มีข้อดีที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ Topsy Turvy tomato planter รดน้ำจากด้านบน ทำให้การลำเลียงน้ำและสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโต

สำหรับมะเขือเทศซึ่งเป็นผลไม้อุ้มน้ำ การที่ราก ลำต้น และกิ่ง สามารถลำเลียงน้ำมาได้ง่าย ก็น่าจะให้ผลที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักสูง และขายได้ราคาดี

อ่านต่อ »



Main: 0.12777304649353 sec
Sidebar: 0.25324010848999 sec