ท้าพิสูจน์ มะเขือเทศใหญ่และหวาน

อ่าน: 9587

เอามาจาก Get A Bigger, Sweeter, Earlier Crop Of Tomatos ครับ

ผมชอบกินมะเขือเทศเวลาเป็นส่วนของอาหารอื่น แต่ว่าที่บ้านไม่มีปลูกไว้ ก็น่าจะหามาปลูกบ้างเหมือนกัน จึงค้นเน็ตไปเรื่อยๆ เจอวิธีการที่อ้างว่าช่วยทำให้มะเขือเทศลูกใหญ่ หวาน และสามารถบ่มลูกที่ยังไม่สุกให้สุกได้

เร่งการเจริญเติบโต

เพื่อให้ได้มะเขือเทศลูกใหญ่ ให้เอาฟอล์ยอลูมิเนียมปูที่โคนต้น เอาด้านเงาขึ้นท้องฟ้า เอาหินวางทับไว้ไม่ให้ปลิว แสงแดดที่สะท้อนจากฟอล์ยจะเร่งการเจริญเติบโตของต้น ทำให้มะเขือเทศสุกจากโคนต้นขึ้นมา รบกวนนก(และแมลง)ที่อาจจะมากัดกินมะเขือเทศ

อ่านต่อ »


รดน้ำต้นไม้

อ่าน: 6770

ผมไม่รู้ว่าใครรดน้ำต้นไม้อย่างไรหรอกนะครับ ต่างคนก็ต่างจิตต่างใจ มีแบบอย่างที่ไม่เหมือนกัน

พืชรับน้ำและสารอาการจากระบบราก ซึ่งดูดเข้าได้มากผ่านรากฝอย แม้จะเป็นเส้นเล็กจิ๋วแต่มีปริมาณมาก เมื่อรวมกันแล้ว ก็สามารถหล่อเลี้ยงพืชให้เจริญเติบโตได้

รากที่ทะลวงไปในดิน มีปลายราก (root cap) เป็นเหมือนหัวเจาะ จะมีการออสโมซิสเอาน้ำและสารอาหารผ่านรากเข้าสู่แกนราก ซึ่งจะถูกส่งผ่านลำต้นไปสังเคราะห์แสงยังใบ

ดังนั้น รากแผ่ไปถึงไหน ก็ต้องรดน้ำถึงนั่นครับ — ไม่ใช่รดที่โคนต้นเฉยๆ

ปัญหาคือรากอยู่ในดิน จะไปรู้ได้อย่างไรว่าแผ่ไปถึงไหน ก็มีหลักประมาณการง่ายๆ คือกิ่งใบแผ่ไปถึงไหน รากก็แผ่ไปประมาณนั้น

แต่ยังมีปัญหาอีกอย่างหนึ่ง ในเมื่อเรารดน้ำที่ผิวดิน กว่าน้ำจะไปถึงราก ยังขึ้นกับว่าดินนั้นให้น้ำซึมลงไปมากน้อยแค่ไหน ดูดน้ำเอาไว้เท่าไร (เหลือให้รากและละลายสารอาหารในดินมากน้อยแค่ไหน)

เช่นเดียวกับการใส่ปุ๋ย แหงล่ะครับไม่ใช่ราดเอาไว้บนผิวดิน โดยปกติเราก็จะพรวนดินนำปุ๋ยลงไปหารากด้วย แต่ก็มีปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือการพรวนดินอาจไปโดนราก แทนที่จะช่วยกลับทำลาย

อ่านต่อ »


อากาศพลศาสตร์ สำหรับรถบัส

อ่าน: 3389

เช่นเดียวกับอากาศพลศาสตร์แบบชาวบ้าน สำหรับรถกระบะ รถเมล์ รถโค๊ช รถลาก ฯลฯ ที่มีรูปร่างตัน ต้านอากาศ ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานแม้แต่จะรักษาความเร็วให้คงที่ครับ

อาจจะทำอะไรมากมายนักกับรูปร่างก็ไม่ได้ แต่ไม่ใช่ว่าไม่สามารถจะทำอะไรได้

ส่วนหน้าของรถ ใช้ nose cone ผลักอากาศข้ามลำตัวไป ไม่ให้เกิดการปะทะตรงๆ หรือเกิดลมหมุนวน ด้านล่าง ก็เกิดลมวนได้เช่นกัน และเช่นเดียวกับรถกระบะ ส่วนด้านหลัง เกิดลมวนซึ่งฉุดรถเอาไว้ทำให้เปลืองน้ำมันมากกว่าที่ควรจะเป็น

อ่านต่อ »


การล่มสลายของประชาธิปไตย

อ่าน: 4471

ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เขียนบันทึกเอาไว้อันหนึ่ง ที่เอามารีไชเคิลเป็นบันทึกข้างล่างนะครับ แก้ไขนิดหน่อย:

มีผู้กล่าวว่า Alexander Fraser Tytler หรือ Lord Woodhouselee (1747-1813) เป็นผู้เขียนไว้ใน The Fall of Athenian Republic การล่มสลายของสาธารณรัฐเอเธนส์ (ต้นแบบประชาธิปไตย) ว่า

A democracy is always temporary in nature; it simply cannot exist as a permanent form of government. A democracy will continue to exist up until the time that voters discover that they can vote themselves generous gifts from the public treasury. From that moment on, the majority always votes for the candidates who promise the most benefits from the public treasury, with the result that every democracy will finally collapse due to loose fiscal policy, which is always followed by a dictatorship.

กล่าวโดยย่อคือประชาธิปไตยล่ม สลายด้วยประชานิยม ผู้ออกเสียงลงคะแนนเองนั่นแหละ ที่เลือกทำลายประชาธิปไตยโดยการโหวตให้กับคนที่สัญญาว่าจะให้สูงสุด สถานการณ์แบบนี้ มักจบลงด้วยการปกครองแบบเผด็จการอยู่เสมอๆ

อ่านต่อ »


อากาศพลศาสตร์แบบชาวบ้าน สำหรับรถกระบะ

อ่าน: 3706

อาจจะไม่มีประโยชน์ที่จะไปอธิบายอากาศพลศาสตร์ให้ชาวบ้านฟังครับ แต่ถ้าบอกว่ามีวิธีดัดแปลงรถให้ประหยัดน้ำมันได้มาก บางทีอาจถึง 11-12% อย่างนี้น่าสนใจกว่า

มีงานวิจัยมากมายในสหรัฐ บางอันทำโดยนาซ่า อีกหลายอันทำโดยมหาวิทยาลัย ทั้งหมดเท่าที่ตรวจสอบมา ให้ตัวเลขเดียวกันคือ 11-12% จากการบังคับอากาศที่มาปะทะกับรถยนต์ให้ไหลผ่านรถไปอย่างรวดเร็ว เมื่อไหลผ่านรถไปแล้ว บังคับไม่ให้เกิดลมวน ซึ่งจะดูดรถเอาไว้ทำให้ต้องใช้พลังงานในการขับเคลื่อนมากขึ้น

คลิปแรกเป็นกระแสอากาศ ซึ่งไหลผ่านกระบะปกติ สังเกตลมหมุนวน (turbulence) ทั้งด้านบนและด้านล่างของรถ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่ออากาศไหลผ่านเก๋งของคนขับไปแล้ว

อ่านต่อ »


ลมบก-ลมทะเล กับทฤษฎี Biotic Pump

อ่าน: 5843

ทฤษฎี Biotic Pump เริ่มต้นที่ต้นไม้บริเวณชายฝั่ง จะเหนี่ยวนำให้เกิดฝนตกบนฝั่ง เนื่องจากลมทะเลพัดพาเอาความชุ่มชื้นเข้ามาบนฝั่ง แต่หากไม่มีต้นไม้ชายฝั่ง แทนที่จะเกิดลมทะเลพัดพาเอาความชื้นเข้าฝั่งในตอนกลางวัน ลมกลับพัดในอีกทิศหนึ่งหอบเอาความชุ่มชื้นจากฝั่งลงไปในทะเลแทน

ดังนั้นหากมีป่าเป็นพื้นที่ติดกัน ก็จะนำความชุ่มชื้นจากทะเลเข้ามาสู่แผ่นดินลึกได้

(ทฤษฎีนี้เกิดในรัสเซีย แผนที่เขาเสนอในเอกสารทางวิชาการท้ายบันทึก แสดงแนวคิดในระดับทวีป)

ทฤษฎีนี้ไม่ใช่ว่าจะได้รับการยอมรับเสียทีเดียว มีนักอุตุนิยมวิทยาแย้งว่าขัดกับฟิสิกส์ของบรรยากาศ อย่างไรก็ตาม วารสาร New Scientist ก็ตีพิมพ์เรื่องนี้เมื่อปีที่แล้ว

จากการศึกษาไอน้ำในอากาศด้วยไมโครเวฟจากดาวเทียม โลกร้อนทำให้เกิดปริมาณไอน้ำเหนือทะเลมาก

ไอน้ำในอากาศ กรอง(และเก็บ)พลังงานแสงอาทิตย์เอาไว้ จึงมีผลเหมือนก๊าซโลกร้อนอื่นๆ เช่นกัน เมื่อมีปริมาณไอน้ำในอากาศมากขึ้น ก็ทำให้โลกร้อนมากขึ้น เป็นการป้อนกลับแบบบวก

สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อคนมากที่สุด คือนำไอน้ำในบรรยากาศไปสร้างเมฆ บังคับให้เมฆกลั่นตัวเป็นฝน เพิ่มปริมาณน้ำจืด และอุณหภูมิเย็นลงบ้าง


ลึกกว่าข้อความคือความคิด มีค่ากว่าความคิดคือการกระทำที่ถูกต้อง

อ่าน: 4326

ความสุข

ความสุข เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา  แต่ความปรารถนาเพียงอย่างเดียวจะไม่ทำให้สมหวังได้ หรือแม้แต่ลงมือกระทำเพื่อที่จะให้ได้มาซึ่งความสุข แต่ถ้าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องก็พบความสุขไม่ได้เช่นกัน

ท่านชาคโร ได้เล่าประสบการณ์ขณะที่ท่านปฏิบัติธรรมอยู่กับท่านอาจารย์ชา สุภัทโท ไว้ว่า

“หลวงพ่อชา เป็นตัวอย่างของผู้ที่มีความสุขมีความเบิกบานในทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่านทำ หลวงพ่อไม่หวังจะได้อะไรจากคนอื่น ไม่พยายามควบคุมอะไรหรือกำหนดเงื่อนไขใดๆ อาตมาเคยคาดหวังให้หลวงพ่อควบคุมดูแลทุกอย่างเข้มงวด คอยดูแลพระเณรให้รักษาวินัย แต่หลวงพ่อไม่เคยยึดติดกับมัน แล้วไม่เคยปฏิเสธใครด้วย พระเณรไม่มาทำวัตรนั่งสมาธิตามเสียงระฆัง หลวงพ่อก็ยินดีจะทำเองรูปเดียว”

ดังนั้นการที่จะทำให้ตนเองมีความสุข สิ่งสำคัญคือ ไม่หวังอะไรจากคนอื่น และไม่พยายามควบคุมอะไรเพื่อทำให้ตนเองมีความสุข

วิถี…แห่งปัญญา นิกายเซน โดย รศ.ดร.บุญชัย จงกลนี, หน้า 91

อ่านต่อ »


จากครรภ์มารดาถึงเชิงตะกอน จากมุมมองของมนุษย์ธรรมดา

อ่าน: 5364

สังคมมนุษย์เป็นสังคมของการพึ่งพากัน ไม่มีใครที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ (แบบที่มีคุณภาพชีวิตพอสมควร) ได้ด้วยตนเอง เมื่อคนอยู่รวมกลุ่มกัน ต่างก็พึ่งพาอาศัยกันและกัน

18 ต.ค. 2516 สี่วันหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ดำเนินไปถึงจุดไคลแม็กซ์ อ.ป๋วย เขียนบทความ The Quality of Life of a South East Asian : A Chronical of Hope from Womb to Tomb ตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ the Bangkok Post บทความนี้ ต่อมามีการแปลเป็นภาษาไทย และกล่าวกันว่าเป็นแรงผลักดันสำคัญของแนวคิดแบบรัฐสวัสดิการของไทย

คงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าบทความนี้ สร้างแรงบันดาลใจมหาศาล แต่ผมก็ขอตั้งข้อสังเกตว่ามันเป็นไปเช่นเดียวกับที่เคยเป็นมา คือคนเชื่อยังชี้นิ้วไปยังคนอื่น (รัฐ) ว่าจะต้องทำอย่างโน้น ทำอย่างนี้ ส่วนตัวเองนั้นขอพูด ขอวิจารณ์ ขอผลักด้นและกดดัน ประกาศความต้องการอย่างชัดแจ้ง ผมคิดว่ายังมีนัยอื่นในบทความนี้ ที่ระบุถึงหน้าที่ของทุกคนในรัฐสวัสดิการ — ถ้าหากว่าต้องการรัฐสวัสดิการจริง

หากว่าบทความนี้เป็น check-list ตามมาตรฐาน เราสอบตกไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานอะไรก็ตาม ทั้งรัฐที่ปกครองมาทุกยุคทุกสมัย และประชาชนที่ไม่ทำหน้าที่แต่เรียกร้องเอาเหมือนนับถือผี

อ่านต่อ »


สร้างหมอก น้ำค้าง และเมฆ

อ่าน: 5978

เอาน้ำใส่เข้าไปในอากาศ ไม่แน่ว่าน้ำจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน เป็นหมอก น้ำค้าง หรือเมฆ

ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นหยดน้ำหรือไม่ ขึ้นกับอุณหภูมิ ความดัน และความชื้นสัมพัทธ์ด้วย ตอนย่ำรุ่งซึ่งพื้นดินมีอุณหภูมิต่ำกว่าช่วงกลางวันหรือหัวค่ำ จะมีจุดดิวพอยท์ (Dew Point) ต่ำกว่า เพราะบรรยากาศมีอุณหภูมิต่ำกว่า เพราะว่าดินแผ่ความร้อนจากการที่โดนแดดเผามาทั้งวันออกไปแล้ว

มีเกณฑ์คร่าวๆ คือเมื่อระยะสูงขึ้นทุกพันฟุต อุณหภูมิจะลดลงประมาณสี่องศา และดิวพอยท์ลดลงสององศา เมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าดิวพอยท์ อากาศก็ไม่สามารถจะอุ้มความชื้นที่มีอยู่ไว้ได้ และน้ำจะรวมตัวกันเป็นละอองน้ำเล็กๆ ซึ่งโดยทั่วไปเราเรียกว่าเมฆ ถ้าอยู่ต่ำติดดินก็เป็นหมอก หรือน้ำค้าง

เมื่อใช้ Vortex นำละอองน้ำขึ้นไปในอากาศ จะทำให้ความชื้นสัมพัทธ์ในบริเวณนั้นขึ้นไปสูงมาก ทำให้ดิวพอยท์ขึ้นไปใกล้เคียงกับอุณหภูมิของบรรยากาศ ทำให้ความชื้นในบรรยากาศกลั่นตัว

ดังนั้น น้ำที่ส่งขึ้นไปกับ Vortex ซึ่งแม้มีปริมาณไม่มาก แต่ก็จะไปเหนี่ยวนำให้ไอน้ำในอากาศ (ที่มีอยู่แล้วแต่เรามองไม่เห็น) รวมตัวกันเป็นเมฆ หมอก หรือน้ำค้าง

ยิ่งกว่านั้น ความร้อนและลมหมุนที่นำละอองน้ำและความชื้นขึ้นไปในอากาศ ก็ขึ้นไปตรงๆ ซึ่งด้วยโครงสร้างนี้ อาจช่วยให้ก่อตัวเป็นเมฆ Cumulonimbus (Cb) ซึ่งคือเมฆที่จะก่อตัวเป็นเมฆฝนได้ง่าย

อ่านต่อ »


ถ้าเมืองไทยเป็นรัฐที่ล้มเหลว

อ่าน: 4917

วิกิพีเดีย ให้ความหมายของ “รัฐที่ล้มเหลว” ไว้ว่า

รัฐที่ล้มเหลว หรือ (ภาษาอังกฤษ:Failed State) หมายถึง รัฐ ที่ไม่สามารถบริหารการปกครองได้อย่างมีประสิทธิภาพ หรือไม่สามารถดำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายใน มีความขัดแย้งทางการเมืองและสังคมอย่างรุนแรง มีการเปลี่ยนรัฐบาลบ่อย รัฐบาลและกลไกรัฐขาดความมั่นคงและประสิทธิภาพ จนไม่สามารถบริหารประเทศและแก้ปัญหาต่างๆ ให้ประสบผลสำเร็จได้

คำว่า Failed State ถูกหยิบยกขึ้นมาใช้หลายครั้งโดยประเทศที่เรียกตัวเองว่า รัฐที่เจริญแล้ว (Enlightened State) เพื่อสร้างความชอบธรรมในการใช้ความรุนแรง โดยอ้างว่าทำไปเพื่อปกป้องประชาชนของรัฐที่ล้มละลาย รัฐอันธพาล (Rogue State) หรือรัฐก่อการร้าย (Terrorist State) โดยวิธีการที่อาจจะผิดกฎหมายแต่ก็มีความชอบธรรม (Illegal but Legitimate)

โดยมีตัวชีวัด 12 ข้อ ดังนี้

ตัวชี้วัดทางสังคม

1. แรงกดดันทางประชากรศาสตร์ 2. การย้ายถิ่นฐานของประชาชน 3. กรณีความขัดแย้งของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งเป็นผลจากความไม่พอใจในอดีต 4. ปัญหาการไหลออกของทุนมนุษย์ (สมองไหล)

ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ

5. ความไม่แน่นอนของการพัฒนาการทางเศรษฐกิจ : โดยพิจารณาถึงความไม่เสมอภาคของประชากร (ความเหลื่อมล้ำ) ซึ่งสามารถเห็นได้จากโอกาสทางการศึกษา การงาน และสถานะทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังสามารถวัดได้โดยตัวเลขกลุ่มคนยากจน อัตราการเกิดการตาย หรือระดับการศึกษา 6. ความชัดเจน และ/หรือ ความรุนของการถดถอยของเศรษฐกิจ

ตัวชี้วัดทางการเมือง

7. การปกครองของรัฐที่ไร้ความเป็นธรรม 8. ความเสื่อมถอยของการให้บริการสาธารณะ 9. การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่แพร่หลาย 10. การใช้เครื่องมือที่ใช้รักษาความมั่นคง ที่เรียกว่า ‘State within a state’: เป็นลักษณะการปรากฏตัวของกลุ่มอำนาจสูงสุดของรัฐ โดยอาศัยการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่คุกคามฝ่ายตรงข้าม หรือพลเรือนที่มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐ หรือมีความเห็นที่สนับสนุนกลุ่มตรงข้ามรัฐ เปรียบกับการสร้าง “กลุ่มกองกำลังภายในกองกำลังเดียวกัน” เพื่อรับใช้แสวงหาผลประโยชน์ให้กับกองทัพหรือกลุ่มการเมือง ซึ่งในที่สุดจะก่อให้เกิดกลุ่มต่อต้านทั้งในรูปของทหารพลเรือน กองโจร กองกำลังเอกชนติดอาวุธ หรือการใช้ปฏิบัติการต่างๆ ที่ทำให้ความรุนแรงแผ่ขยายออกไป เพื่อต่อต้านกับกองกำลังของรัฐ 11. การก่อตัวของกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิด 12. การแทรกแซงกิจการภายในจากรัฐอื่น หรือปัจจัยภายนอก

อ่านต่อ »



Main: 0.12252593040466 sec
Sidebar: 0.2068989276886 sec