เมื่อมองไม่เห็นปัญหา ย่อมแก้ไขไม่ได้

อ่าน: 2919

ไม่ได้เขียนบันทึกหลายวัน แต่ไม่ได้แป้กหรอกนะครับ

ผมร่วมกับบรรณาธิการชาวเฮ ตรวจแก้หนังสือเจ้าเป็นไผ ๑ อีกครั้งหนึ่งเพื่อจัดพิมพ์ครั้งที่สอง… ไม่อยากคุยเลย ของเค้าดีจริงๆ ครับ… หนังสือชุดนี้เป็นบทเรียนชีวิต ถึงแม้ผู้อ่านจะไม่ได้ผ่านประสบการณ์นั้นโดยตรง แต่ก็สามารถเรียน (อย่างแห้งๆ) ได้บ้างว่า กว่าที่คนแต่ละคนจะมายืนอยู่ตรงที่เขายืน ผ่านอะไรต่างๆ มามากมาย ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง “ถูกทาง” บ้าง ไม่ถูกบ้าง แต่ก็ไม่มีใครที่อยู่ดีๆ ก็เป็นแบบที่เป็นอยู่ การจะเป็นอย่างที่เป็น ต้องฝ่าฟันกันทั้งนั้น… ให้นักศึกษาอ่าน สร้างแรงบันดาลใจได้อย่างมหาศาล… ให้ผู้ต้องขังในทัณฑสถานอ่าน ครอบครัวรายงานว่าพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ทำงานทำการมากขึ้น

ที่อยากบอกในบันทึกนี้คือ ภัยแล้งครั้งนี้ หนักหนาสาหัสแน่นอน แต่เราก็ยังมองน้ำเป็นแต่เรื่องน้ำผิวดิน เมืองไทยไม่มีภูเขาสูงพอที่จะดักจับความชื้นในอากาศ หรือมีหิมะตก เรายังพึ่งฝน แต่ก็ทำลายป่าซึ่งดูดความชื้นในอากาศ เอาน้ำจากแม่น้ำนานานชาติมาใช้ก็ไม่ได้ แล้วเราก็บ่นๆๆๆ ชี้นิ้วไปเรื่อยๆ

เรายังคิดเหมือนเดิม (รอฝน) ทำเหมือนเดิม (รอน้ำ) ผลย่อมเหมือนเดิมครับ (รอต่อไป)

มีวิธีเติมความชื้นในอากาศโดยใช้น้ำทะเลสร้าง “เชื้อเมฆ” แก้โลกร้อน และปั่นไฟฟ้าไปในขณะเดียวกัน

บันทึกเก่าๆ เรื่องน้ำนี้ น่าอ่านทุกอันครับ หวังว่าจะได้แง่คิดอะไรบ้าง


เติมน้ำในอากาศ

อ่าน: 4644

สงสัยว่าบันทึกนี้ จะอ่านยากนะครับ

ช่วงวันหยุดยาวปีใหม่ ผมไม่ได้ไปไหน ก็นั่งอ่านสิทธิบัตรของสหรัฐไปเรื่อย ไปเจอสิทธิบัตรอันหนึ่งน่าสนใจมาก เรื่อง Atmospheric Vortex Engine เป็นวงจรเทอร์โมไดนามิกส์ที่มีขนาดยักษ์ ระหว่างระดับน้ำทะเลกับบรรยากาศชั้น tropopause (11-17 กม.) โดยเขาใช้ลมหมุน (vortex) ส่งความร้อนขึ้นไปในบรรยากาศให้ไปเย็นและเบาบางลงข้างบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับพลังงาน แล้วดักจับเอาพลังงานนี้มาใช้ มีประสิทธิภาพประมาณ 20% (ดูเป็นไปได้เหมือน Carnot Cycle)

ในการกระทำอย่างนี้ ใช้หลักการง่ายๆ ว่าความร้อนลอยขึ้นสูงเสมอ และในบรรยากาศเมื่อลอยขึ้นสูงแล้ว ความหนาแน่นความดันยังต่ำลงด้วย เมื่อมี waste heat เช่นความร้อนจากกระบวนการอุตสาหกรรม ซึ่งแม้หลังจาก co-generation แล้ว ก็ยังมีความร้อนเหลือ เขาเอาความร้อนนี้มาปั่นไฟฟ้าด้วย AVE อีกรอบหนึ่ง มีการพิสูจน์การคำนวณทางเทอร์โมไดนามิกส์ยาวเหยียด โดยประมาณการว่าความร้อนเหลือทิ้งขนาด 1000 MW สามารถนำมาปั่นไฟฟ้าได้อีก 200 MW — แต่จะต้องสร้างเครื่องทำลมหมุนในเขตห้ามบิน เพราะคงไม่เหมาะที่จะให้เครื่องบิน บินผ่านลมหมุนแบบนี้ ซึ่งดูจะเป็นเรื่องใหญ่

อย่างไรก็ตาม เรื่องน่าสนใจในสิทธิบัตรนี้ คือการจงใจบังคับความร้อนให้ลอยขึ้นสูงในลักษณะที่ก่อให้เกิดลมหมุน เช่นเดียวกับลมบ้าหมู นาคเล่นน้ำ หรือพายุใต้ฝุ่น ฯลฯ เดิมที ผมสนใจเรื่อง Vortex เพื่อเอาไปใช้เพิ่มความเร็วลมในกังหันลมแบบ VAWT ซึ่งมีสเกลการลงทุนและเทคโนโลยีต่ำพอที่ชาวบ้านจะลงทุนและสร้างเองได้

เรื่อง Vortex นี้ เอามาประยุกต์เป็นเครื่องมือเติมความชื้นให้อากาศได้ โดยให้ใบพัดตีน้ำให้เป็นละอองเล็กๆ (เหมือนบันทึกสร้างเมฆ) ให้ความร้อนพาละอองน้ำขึ้นไปบนฟ้า การใช้ใบพัดตีน้ำให้เป็นละอองน้ำ จะใช้พลังงานน้อยกว่าการใช้ไอน้ำ

ความคิดเรื่องการนำความร้อนมาใช้เพื่อการถ่ายเทอากาศ (และปั่นกำลังกล) นี้ ฝรั่งเรียก Solar Chimney ซึ่งประสิทธิภาพขึ้นกับความสูงของปล่อง — ถ้าอยากดูภูมิปัญญาชาวบ้าน ก็คงดูได้ที่สวนป่าของครูบาครับ ตอนผมไปเดือนที่แล้ว กำลังทำหลังคาอยู่ (ห้องอบสมุนไพรเดิม) — ซึ่งถ้าจะเอามาปั่นไฟฟ้า ก็ต้องให้ปล่องสูงมาก (200 เมตรในสเปน และ 1 กม.ในออสเตรเลีย) แต่ถ้าใช้ Vortex ปล่องไม่ต้องสูงมาก ทำให้ประหยัดค่าก่อสร้าง

ยิ่งกว่านั้น ถ้าการปั่นไฟฟ้าไม่ใช่เป้าหมายสูงสุด เราก็ไม่ต้องการลมหมุนขึ้นไปสูงลิบ แค่ความสูงระดับครึ่งหนึ่งของความสูงของเมฆชั้นต่ำก็อาจจะพอแล้ว เราไม่ได้ต้องการสร้างเมฆขึ้นเอง หวังเพียงแต่ส่งความชื้นจำนวนมากขึ้นสูง ให้ความชื้นในบรรยากาศรวมตัวกับน้ำที่เราส่งขึ้นไปกลายเป็นก้อนเมฆ ลดความร้อนที่ตกกระทบพื้นดิน ก่อให้เกิดเมฆมากขึ้น (เพื่อทำฝนเทียมหรืออะไรก็แล้วแต่)

ถึงจะไม่ทำในขนาดที่มีผู้เสนอไว้ ถ้าเกิด Vortex ขึ้นได้จริง ก็ยังปั่นไฟฟ้าได้ แม้จะไม่ได้กำลังสูงสุดตามการคำนวณ


หนาวก็ไม่หนาว ยังไม่ทันไร จะแล้งอีกแล้ว

อ่าน: 4110

ทำอย่างไรจึงจะสร้างเมฆได้ ไม่มีเมฆก็ไม่มีฝน ไม่มีฝน คนเดือดร้อน

น้ำ 97% เป็นน้ำทะเล ที่เหลือเป็นน้ำจืด 3%
ในปริมาณน้ำจืดทั้งหมด เป็นหิมะ 68.7% เป็นน้ำใต้ดิน 30.1% น้ำผิวดิน 0.3% และอื่นๆอีก 0.9%
ในบรรดาน้ำผิวดินทั้งหมด อยู่ในทะเลสาบ 87% ในบีงชุ่มน้ำ 11% และในแม่น้ำ 2%

แล้วเวลาแล้ง เราพึ่งอะไรครับ เมืองไทยจัดหาน้ำจืดกันอย่างไร? ผมเพิ่งกลับมาจากเมืองท่องเที่ยว มีทะเลล้อมรอบ แต่ไม่มีน้ำ บางทีแล้งจัดๆ ขายน้ำจืดกันคิวละร้อยบาท!


แผน ICT2020

อ่าน: 4160

เมื่อวานไปร่วมแสดงความคิดเห็นใน ICT2020 : High-level Expert Roundtable เจอ อ.หมอวิจารณ์ อ.แหวว/สสสส.1 และคนคุ้นเคยในวงการไอทีที่ทำเรื่องทางสังคมอีกประมาณครึ่งโหล และที่ไม่รู้จักสองโหล

ด้วยความที่มีเรื่องอึดอัดใจที่เกี่ยวกับการใช้งานไอซีทีในการพัฒนา และในชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป อยู่หลายเรื่อง ผมก็เลยล่อไปหลายดอกครับ อิอิ ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ความผิดของคนทำแผนหรอก คนทำแผนกับคนปฏิบัติเป็นคนละหน่วยงานกัน มีข้อจำกัดไม่เหมือนกัน

ประเด็นที่คุยกัน ก็น่าฟังทั้งนั้น จนสงสัยว่าจะใส่เข้าไปหมดได้ยังไง…

ไม่เป็นไร… ผมดีใจที่คนทำแผนเปิดรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไป โดยไม่เชื่อแต่ผู้เชี่ยวชาญ หรือคิดเอาเองนะครับ ในเมื่อเปิดโอกาสแล้ว ใครมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาไอซีทีของเมืองไทย ก็ขอให้ช่วยกันออกความเห็นหน่อยนะครับ อย่าเอาแต่บ่นเลย มีโอกาสแล้ว ใช้ให้คุ้มค่านะครับ

ในโอกาสที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) จะจัดทำกรอบนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศไทย พ.ศ. 2554-2563 (ICT 2020) คณะทำงานฯ เห็นความสำคัญของการเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงประชาชนทั่วไป ได้มีส่วนร่วมให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดทำ เอกสารดังกล่าว จึงได้เปิดเว็บไซต์นี้ขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งการสื่อสารระหว่างคณะทำงานฯ และประชาชนทั่วไปในประเด็นที่เกี่ยวกับการจัดทำ ICT2020 นี้…

ขอความคิดเห็นเพื่อกำหนดภาพ ICT ของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า


เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน

อ่าน: 4420

ตามประกาศของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ค่า Adder (อัตราส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า) ซึ่งผลิตจากชีวมวลอาจจะดูมีค่าต่ำ แต่ผมคิดว่าน่าสนใจอยู่ดี

ประเด็นคืออย่างนี้ครับ ยางพาราตอนนี้ราคาประมาณ 75 บาท (ราคาจาก AFET) แต่ว่าทั้งจีนและเวียดนาม ได้มีการส่งเสริมการปลูกยางพาราอย่างเป็นระบบ ดังนั้นในอนาคต เมื่อจีนและเวียดนามเริ่มกรีดยางได้ ราคาจะไม่อยู่ในระดับนี้ เราจึงควรรีบหาวิธีการที่นำยางมาเพิ่มมูลค่า… ซึ่งในบันทึกนี้ ใช้วิธีเลียนแบบธรรมชาติ เปลี่ยนไฮโดรคาร์บอนเป็นน้ำมัน

การบวนการนี้ เรียกว่า thermal depolymerization ซึ่งเพิ่มความร้อนและความกดดันให้กับ polymer จนสลายออกเป็น monomer ในกระบวนการนี้ ได้ “ของ” สามอย่าง คือของแข็ง (activated carbon) ของเหลว และก๊าซ​ (ซึ่งเอาไปเผาให้ความร้อน)

ในส่วนของของเหลว ก็เป็นน้ำมันในเกรดของดีเซล กับน้ำซึ่งแม้ไม่บริสุทธิ์ แต่รีไซเคิ้ลกลับไปใช้ในกระบวนการผลิตได้ เทคโนโลยีนี้ (ของ CWT เรียกว่าเทคโนโลยีแบบ TCP) ได้รับการคุ้มครองโดยสิทธิบัตรสหรัฐในปี 1996 ซึ่งจะคุ้มครองจนถึงปี 2011 ดังนั้นเริ่มคิดตั้งแต่ตอนนี้ยังทันครับ

“เศษ” จากโรงงานแปรรูปไก่วันละ 200 ตัน สามารถแปรเป็นดีเซลได้วันละแปดหมื่นลิตรได้ทุกวัน


ความล้มเหลวของการใช้เว็บเพื่อการค้าของไทย

ไม่มีความคิดเห็น โดย Logos เมื่อ 6 November 2009 เวลา 1:00 ในหมวดหมู่ เกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม #
อ่าน: 3795

สองสามวันมานี้ ผมไปหมกมุ่นอยู่กับความคิดเรื่องพลังงานจากธรรมชาติ ค้นเว็บต่างๆ มากมาย แต่ไม่ได้ข้อมูลที่ต้องการครับ

ผมไม่ได้คิดว่าของที่ต้องการใช้จะไม่มีขายในเมืองไทยหรอก แต่คิดว่าทัศนคติของการทำเว็บนั้น ยังทำเหมือนเป็นการขายของที่หน้าร้าน กล่าวคือ

  1. ไม่ให้ข้อมูลที่จำเป็นในเว็บ ไม่มีสเป็คอย่างละเอียด ไม่มีราคา แต่ไปให้ความสำคัญกับรูปภาพ
  2. การไม่บอกราคา น่ารำคาญมาก ทำเหมือนขายสินค้าที่ไม่มีมาตรฐาน ต่อรองราคาได้ (หรือกะจะฟันลูกค้า)
  3. เว็บต่างๆ ของผู้ขาย พยายามจะให้ติดต่อทางโทรศัพท์ แต่การให้ข้อมูลทางโทรศัพท์นั้น ยิ่งมีโอกาสจะผิดพลาดมาก
  4. ในเมื่อเว็บไม่สามารถจะให้ข้อมูลที่จำเป็น จึงไม่มีการทดลองใช้ แล้วอย่างนี้จะหวังให้มีการซื้อของล็อตใหญ่ได้อย่างไร
  5. การขายของผ่านเว็บด้วยทัศนคติแบบนี้ อาจใช้ได้กับของมูลค่าต่ำ และมีโอกาสที่หมู(ลูกค้าใหม่)วิ่งชนปังตอน้อยมาก ซึ่งไม่ดีกับผู้ขายเอง
  6. ไม่มีระบบชำระเงิน
  7. ไม่มีการคำนวณค่าขนส่ง
  8. น่าเสียดายที่แบบสำรวจเกี่ยวกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของไทย ไม่เคยมีคำตอบว่า “ผู้ขาย ขายไม่เป็น” ให้เลือกบ้าง

สำหรับเจ้าของ/ผู้บริหารของกิจการทางการค้าต่างๆ ท่านเคยดูเว็บของกิจการของท่านบ้างหรือเปล่าครับ


ถอดบทเรียนการทำหนังสือ เจ้าเป็นไผ ๑ และ ๒

อ่าน: 5757

เขียนหนังสือมาหลายเล่ม แต่ไม่เคยต้อง “ทำ” หมดทุกขั้นตอนแบบหนังสือเจ้าเป็นไผ ก็นับว่าเป็นโอกาสดีที่ได้ลองครับ ทั้งหมดนี้ เป็นการถอดบทเรียนสิ่งต่างๆ ที่ไม่อยากให้เกิด แต่ดันเกิดขึ้น เพื่อจะเป็นบทเรียนเผื่อว่ามีการทำหนังสือในครั้งต่อไป

เจ้าเป็นไผ ๑

การมาทำหนังสือเจ้าเป็นไผ ๑ จะเรียกว่าเป็นอุบัติเหตุก็ได้ครับ เกิดความสับสนขึ้น จนมีทีท่าว่าหนังสือจะไม่เสร็จทันกำหนด ซึ่งครูบาได้บอกผู้ใหญ่ไปหลายท่านแล้ว; ผมไม่ได้อยากจะมา “ทำ” แบบนี้เลยนะครับ ไม่เคยทำมาก่อน — แต่หนังสือเจ้าเป็นไผ เป็นความฝันของครูบา จะใจดำเพิกเฉย ปล่อยให้เป็นฝันค้างอย่างนั้นหรือครับ

ทั้งกระทุ้ง ทั้งแขวะมาหลายต่อหลายที ยาวนานมาตั้งแต่ยังไม่ตั้งลานปัญญา จนพอครูบาเขียนอีกครั้งหนึ่งในลานสวนป่า เมื่อปลายปี 2551 ผมก็ตัดสินใจเขียนเจ้าเป็นไผภาคพิสดารในทันที ไม่ต้องปรุงแต่งอะไรมาก ส่งการบ้านในคืนนั้นเลยเป็นคนแรกครับ…พร้อมทั้งเอารูปตัวเองที่แม่ถ่ายให้แปะไว้ด้วย ก่อนหน้านั้นไม่เคยแสดงรูปตัวเองเลย ไม่อยากให้ใครรู้ว่าเป็นใคร… เพราะว่าเขียนก่อนใคร สงสัยว่านั่นจะเป็นเหตุที่น้าแป๊ด+น้าอึ่งซึ่งทำหนังสือในเวลานั้น เรียงเรื่องของผมไว้ก่อนใคร (หรือจะเรียงมั่วก็ไม่รู้) ได้ทราบมาภายหลังอีกว่าจะเรียงชายหญิงสลับกันไป

เรื่องหนังสือ เจ้าเป็นไผ ​๑ นี้ น้าอึ่งตีปี๊บขอความร่วมมือล่วงหน้ามาระยะหนึ่งแล้ว แต่พวกเราก็ต่างไป เฮ8 ที่กระบี่กัน มีคนส่งรูปให้รวบรวมไปทำหนังสือน้อยมาก สองน้าคงรู้สึกอึดอัดเหมือนกัน แต่ก็ไม่รู้จะทำอย่างไร

อ่านต่อ »


คำนวณปริมาณพลังงานไฟฟ้าที่เก็บได้บนหลังคา

อ่าน: 3224
  1. คลิก Roofray
  2. เลื่อนหาลังคาบ้านของเราครับ
  3. คลิก “จุด” ที่เป็นขอบของหลังคาไปจนครบ (คลิกที่ “จุด” แรกเพื่อจบ)
  4. ลากเส้นตั้งฉากกับหลังคา

นี่คือการเข้าใจศักยภาพของตนเองครับ


ดัชนีบิ๊กแม็ค

อ่าน: 4632

เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าแฮมเบอร์เกอร์ McDonald’s แพร่หลายไปทั่วโลกนั้น มีองค์ประกอบเหมือนกันตามสูตรการผลิต กล่าวคือมี 540 กิโลแคลอรี่ มีผัก เนย และเครื่องปรุงรสแบบเดียวกัน จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นผลิตภัณฑ์เดียวกันทั่วโลก ในเมื่อเป็นอย่างนั้น บิ๊กแม็ค ควรจะมีคุณค่าเท่ากันในทุกตลาด ไม่ว่าจะขายในสกุลเงินอะไร

แต่การณ์กลับไม่เป็นอย่างนั้น กำลังซื้อในแต่ละตลาด (PPP) ไม่เท่ากัน ดังนั้นราคาของบิ๊กแม็คในแต่ละประเทศ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว จึงถูก-แพง (ในความรู้สึกของผู้ซื้อ) ไม่เท่ากันแม้จะปรับด้วยอัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบันและกำลังซื้อแล้ว

The Economist’s Big Mac index, a lighthearted guide to valuing currencies, provides some clues. It is based on the theory of purchasing-power parity (PPP), which says that exchange rates should equalise the price of a basket of goods in each country. In place of a range of products we use just one item, a Big Mac hamburger, which is sold worldwide. The exchange rate that leaves a Big Mac costing the same in dollars everywhere is our fair-value benchmark.

The dollar buys the most burger in Asia. A Big Mac costs 12.5 yuan in China, which is $1.83 at today’s exchange rate, around half its price in America. Other Asian currencies, such as the Malaysian ringgit and Thai baht, look similarly undervalued. Businesses based in continental Europe have most to be cheesed off about. The Swiss franc remains one of the world’s dearest currencies. The euro is almost 30% overvalued on the burger gauge. Denmark and Sweden look even less competitive.

อ่านต่อ »


ผลไม้ราคาตกต่ำ (ลำไย)

อ่าน: 5307

จากข้อความในบันทึกของครูบาว่า

…เมื่อเช้านี้ฟังทีวีรายการข่าวเรื่องลำไย

ลำไยเกรดA ราคา 9 บาท

ลำไยเกรดB ราคา 6 บาท

ลำไยเกรดC ราคา 2-3 บาท…

อย่างนี้ตายหยังเขียดครับ กิโลละไม่ถึงสิบบาท จะไม่เจ๊งชัยได้อย่างไร

ในขณะเดียวกัน ผมก็ไม่คิดว่าการเรียกร้องให้รับจำนำหรือประกันราคา จะเป็นการแก้ไขปัญหาอะไร (การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้แก้อะไรเลย แต่เลื่อนปัญหาไปไว้ในอนาคตเท่านั้น)

การแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำในกรณีของลำไยนี้ งานวิจัยของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ น่าสนใจที่สุดครับ คือทำไมจะต้องขายลำไยในรูปผลิตภัณฑ์ลำไยด้วย

ข้อเสนอนี้ ให้บดลำไยเกรดต่ำ(ไม่ต้องปอกเปลือก)จนละเอียด กลายเป็นน้ำ กรองเอาน้ำหวานๆ ออกมา ผสมกับน้ำปูนใส หรือ Calcium Hydroxide Ca(OH)2 {ซึ่งคือการเอาปูนแดงหรือปูนขาวมาละลายน้ำ}

เมื่อผสมน้ำหวานกับน้ำปูนใส ทิ้งไว้สามชั่วโมงให้ตกตะกอน แยกตะกอนออกไป นำเอาน้ำเชื่อมเข้มข้นสีใสๆ มาปรับความเป็นกรดด่าง แล้วอุ่นให้น้ำเชื่อมเข้มข้นให้น้ำระเหยออกไปที่อุณหภูมิ 60°C (ซึ่งอุณหภูมิขนาดนี้ ไม่ต้องตั้งเตาไฟ แต่สามารถใช้แสงอาทิตย์อุ่นได้) น้ำตาลในน้ำเชื่อมก็จะตกผลึกเป็นก้อนนำมาบริโภคได้ ขายเป็นน้ำตาลสุขภาพได้ ประมาณดูต้นทุนคร่าวๆ น่าจะมีราคาดีกว่าขายเป็นลำไยครับ น้ำเชื่อมที่ไม่ตกตะกอน คือกากน้ำตาล (โมลาส) เอาไปทำอะไรอีกมากมาย — (1)

น้ำเชื่อมที่เอามาตกตะกอน เป็นน้ำตาลสุขภาพเพราะ น้ำเชื่อมนั้น มีน้ำตาลสามชนิดคือ กลูโคส : ซูโครส : ฟรุกโตส ในอัตราส่วน 1 : 4 : 1

น้ำตาลกลูโคส (C6H12O6) และน้ำตาลฟรุกโตส (C6H12O6 เช่นกันแต่โครงสร้างโมเลกุลต่างกัน) เป็นน้ำตาลเชิงเดี่ยว ร่างกายดูดซึมเอาไปใช้ได้เลย ส่วนน้ำตาลที่ขายกันอยู่ทั่วไปในตลาดนั้น เป็นน้ำตาลเชิงซ้อน คือน้ำตาลซูโครส (C12H22O11)

ในน้ำเชื่อมเข้มข้นนั้น มีกลูโคสกับฟรุกโตสอยู่ครึ่งหนึ่ง ตรงนี้ใส่ยีสต์ลงไปหมัก ก็จะได้เอทานอล น้ำตาลอีกครึ่งหนึ่ง ยีสต์หมักไม่ได้ ถ้าจะแปลงซูโครสเป็นกลูโคสและฟรุกโตส ทำได้ด้วยกระบวนการเคมี ซึ่งมีสิทธิบัตรที่จดทะเบียนในของสหรัฐรองรับอยู่ (หมดอายุวันที่ 4 มิ.ย. 2021) กระบวนการนี้ ต้องอาศัยนักเคมีช่วย แต่ก็เป็นวิธีเพิ่มมูลค่าลำไยแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น — (2)

ส่วนกระบวนการใน (1) เป็นสิ่งที่ชาวบ้านทำได้เอง ไม่ต้องใช้ความรู้อะไรมาก แต่ต้องระวังเรื่องความสะอาดในกระบวนการผลิตครับ

เอ๊ะ ถ้าจะลองทำดู ก็ไม่เห็นเป็นไรเลย จะได้รู้เรื่องกันไปว่าเวิร์คหรือไม่



Main: 0.083518028259277 sec
Sidebar: 0.12795615196228 sec