แล้งซ้ำซาก คิดซ้ำซาก แก้ปัญหาซ้ำซาก (ไม่ได้แก้อะไรเลย)
ปีนี้ เอลนินโญ่รุนแรง ร้อนจัด หน้าร้อนมาเร็ว น้ำแห้ง อย่าว่าแต่น้ำไม่พอสำหรับข้าวนาปรังเลยครับ น้ำสำหรับจะใช้ ยังทำท่าจะไม่พอ
เมืองไทย ไม่มีภูเขาที่สูงพอจะดักจับความชุ่มชื้นในเมฆ (มีแต่น้อยมาก) ป่าก็หัวโกร๋นไปหมด แถมน้ำที่ใช้ ยังเป็นน้ำผิวดินซะเป็นส่วนใหญ่
รอฟ้า รอฝน แห่นางแมว จุดบั้งไฟ… จะทำอะไรก็ทำไปเถิดนะครับ
จะทำฝนเทียมหรือว่าฝนจะตกเอง ก็ต้องมีเมฆ… จะมีเมฆ ต้องมีความชื้นในอากาศ… จะมีความชื้นในอากาศ ต้องมีปริมาณน้ำลอยอยู่ในอากาศสูง
แล้วจะเอาน้ำขึ้นไปในอากาศได้อย่างไร
ต้มน้ำแล้วปล่อยไอน้ำขึ้นไป -> วิธีนี้ใช้พลังงานมากเกินไป แล้วยังมีปัญหากับสารแขวนลอยที่อยู่ในน้ำที่เอามาต้มอีก
ใช้ Rotor Ship -> น่าสนใจเหมือนกัน เคยเขียนบันทึกเรื่องสร้างเมฆเอาไว้เมื่อปีที่แล้ว แต่เหมาะกับทะเลที่มีลมแรงครับ วัตถุประสงค์จริงๆ คือสร้างเมฆให้สะท้อนแสงอาทิตย์ ลดความร้อนของผิวโลก และ/หรือผิวน้ำ แต่ก็มีประเด็นน่าสนใจเรื่อง Cloud condensation nuclei หรือเชื้อเมฆ
ทางออกที่ดีที่สุดในตอนนี้ - Vortex
ใช้ Vortex ส่งละอองน้ำขึ้นไปในอากาศ -> เรื่องนี้ก็เช่นกัน เคยเขียนบันทึกเรื่องเติมน้ำในอากาศไว้เมื่อต้นปีนะครับ หลักการคือสร้างเครื่องทำลมหมุนขึ้น โดยการบังคับกระแสอากาศให้ไหลวน แรงขึ้นจนเป็นลมหมุน แล้วเติมความร้อนให้กระแส Vortex (อาจใช้ความร้อนที่ปล่อยทิ้งจากโรงงาน) เมื่ออากาศร้อนก็จะลอยขึ้น ทำให้ Vortex สูงขึ้นกว่าปกติ(นิดหน่อย) แต่เนื่องจากเราเติมละอองน้าให้กับ Vortex ดังนั้น น้ำก็ขึ้นไปกับ Vortex ร้อน อาจไปได้ถึงระดับ สองสามพันฟุต โดยไม่ต้องใช้ปล่องสูงมาก
เมื่อน้ำขึ้นไปที่ระดับของเมฆชั้นต่ำ สูงไม่กี่พันฟุต (เช่นเมฆฝน) มันมีโอกาสไปรวมความชื้นในอากาศซึ่งมีอยู่ทั่วไปแต่อาจจะไม่ถึงระดับที่รวมกันเป็นเมฆ ให้กลายเป็นเมฆ ทีนี้จะทำฝนเทียม ก็ทำได้ ถ้ารวมกันเป็นเมฆ ปล่อยให้ลอยตามลม ก็คือการเคลื่อนย้ายมวลน้ำโดยพลังธรรมชาติ แล้วถ้าเมฆลอยขึ้นสูง มันก็ยังเป็นเมฆ บังแสงอาทิตย์ ลดความร้อนที่ผิวดิน ลดการระเหยของแหล่งน้ำผิวดิน
ถ้า CCN ที่ขึ้นไปกับ Vortex ไม่รวมตัวกันเป็นเมฆ ก็ตกลงสู่พื้นในรูปของความชื้น และน้ำค้าง ซึ่งพืชเอาไปใช้ได้
ในรูปแบบหลัง อาจเรียกความชุ่มชื้นคืนมาสู่ดิน (พึ่งต้นไม้ก็โกร๋นไปหมดแล้ว)
แล้งอย่างนี้ จะเอาน้ำอะไร
เราไม่ได้เอาน้ำไปสร้างเมฆนะครับ เครื่องสร้างลมหมุนนำน้ำไปเป็นเชื้อเมฆ (CCN) เพื่อให้ดูดความชุ่มชื้นในอากาศที่มีอยู่ทั่วไป มารวมกัน
ดังนั้น จะเป็นน้ำทิ้งจากเมือง หรือน้ำทะเลก็ได้ทั้งนั้นครับ ขอให้เป็นละอองเล็กๆ ซึ่งเทียบปริมาตรกับหยดน้ำฝนแล้ว เล็กจนไม่มีนัยสำคัญ
« « Prev : เจ้าเป็นไผ ๑ พิมพ์ครั้งใหม่มาแล้วครับ
4 ความคิดเห็น
ไม่รู้จะทดลองแบบไหนได้บ้าง
แต่ถ้าทำสเกลเล็ก ไว้สร้างน้ำค้างเทียมช่วงย่ำรุ่ง วิธีการนี้น่าสนใจครับ ที่ไปสวนป่าคราวที่แล้ว ผมปลีกวิเวกไปดูที่ปลาย “เล้านกกระจอกเทศ” ตรงที่บอกว่าลมแรงเพราะมี “กำแพงต้นไม้” นั่นล่ะครับ น่าสนใจ จุดที่ตั้ง Vortex engine ต้องเป็นที่โล่งพอสมควร เพื่อที่ลมจะพัดเข้าเครื่องได้ แต่คงต้องคำนวณดูอีกทีนะครับ
เท่าที่ดูมา เครื่องนี้ เหมาะกับกระบี่(ทะเล) ภูเก็ต(ทะเล) และหล่มสัก(แม่น้ำ) ครับ
ถ้าสนใจอยากทดลองกับทะเล บอกคำเดียวแล้วมาเลยน้องเอ๋ย
อยากรู้ผลเรื่อง ULEM ว่าติดตั้งไว้ที่สวนป่าแล้ว ช่วยฟื้นความชื้นใกล้บ้านได้แค่ไหนค่ะ
ULEM ที่สวนป่า คงไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไหร่เลยครับ เพราะว่าไม่ได้เปิดเลย (ฮา) แต่ที่บ้านป้าจุ๋ม ซึ่งป้าจุ๋มอุดหนุนพี่ Handy เวิร์คกว่าเยอะครับ