หากเดินทางไปซื้อของไม่ได้…

อ่าน: 4121

ดีทรอยต์ เมืองใหญ่ที่สุดของมลรัฐมิชิแกน เป็นสัญลักษณ์ของอุตสาหกรรมรถยนต์ของสหรัฐ เกิดมีข่าวประหลาดว่าเมืองดีทรอยต์ทั้งเมือง ไม่มีร้านขายอาหารสด/ร้านขายของชำ/ซูเปอร์มาร์เก็ตมาสามปีแล้ว!!! ทั้งนี้ตั้งแต่อุตสาหกรรมรถยนต์เกิดตกต่ำ ตามด้วยวิกฤตทางการเงินครั้งร้ายแรง กิจการขนาดใหญ่ล้มละลายกันแทบทั้งหมด คนตกงาน

Detroit lost its last chain grocery store three years ago when the last two Farmer Jack’s groceries closed. This seems incredible—a city of nearly 1 million people without a supermarket—but it’s true. No A&P. No Meijer’s. Not even a Wal-Mart. Any Detroiters who want fresh store-bought fruits and vegetables or wrapped meats have to get in their car and drive to the suburbs. That is, if they have a car.

In this food desert, some Detroiters have taken to growing their own produce. This has received a great deal of good press from advocates of local food movements, opponents of factory farming, back-to-the-land activists and others who see urban and small-scale farming as the future of American agriculture.

ใครจะซื้ออาหารสด ก็ต้องขับรถไปเมืองใกล้ๆ; ชาวเมืองทางฝั่งใต้ (จน) ต้องหันมาปลูกพืชกินเอง ส่วนทางด้านเหนือ (รวย) ก็เรียกร้องซูเปอร์สโตร์

ทีนี้ลองคิดถึงเมืองไทยนะครับ จากการศึกษาขององค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) เมื่อหลายปีก่อน ร้อยละ 25 ของราคาสินค้าไทย เป็นค่าโลจิสติกส์! ในขณะที่สินค้าจากประเทศพัฒนาแล้ว มีสัดส่วนแค่ครึ่งเดียวหรือน้อยกว่าไทย… ถ้าขืนยังปล่อยให้เป็นอย่างนี้ ราคาสินค้าซึ่งถูกกำหนดโดยราคาตลาด ขายแพงนักก็ส่งออกไม่ได้ ส่วนค่าขนส่งก็ลดไม่ได้เหมือนกัน อย่างนี้อุตสาหกรรมต้นน้ำก็โดนกดราคา เหมือนกับที่เป็นมาน่ะซิครับ

อ่านต่อ »


ปลูกต้นไม้เท่าไรจึงพอ

อ่าน: 4363

คำตอบแบบรวดเร็วฉาบฉวย คือปลูกไปเรื่อยๆ ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ครับ ถ้าพอใจคำตอบนี้ ก็ไม่ต้องอ่านข้างล่างแล้ว บ๊าย บาย

เป็นที่รู้กันโดยทั่วไป ว่าระดับของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศขณะนี้ สูงกว่าระดับที่โลกเคยประสบมาตลอดประวัติศาสตร์ของโลก ตั้งแต่มีสิ่งมีชีวิตบนบกเป็นต้นมา

ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งมีปริมาณสูงขึ้นมากตามลำดับหลังจากยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน ระดับคาร์บอนไดออกไซต์ในบรรยากาศขณะที่เขียนนี้ อยู่ที่ 388.59 ส่วนในล้านส่วน ในขณะที่เมื่อยี่สิบสองปีก่อน อยู่ที่ 349.99 ส่วนในล้านส่วนเท่านั้น [รายละเอียด]

ตลอดยุค “ความก้าวหน้า” ของมนุษย์ เราขยันปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาอย่างต่อเนื่องและมากมาย ซึ่งน่าเชื่อได้ว่าจะทำให้โลกต้องปรับตัวอย่างรุนแรง เนื่องเพราะอุณหภูมิของโลกเพิ่มขึ้น ความชื้นก็เพิ่มตาม ทำให้พายุมีความรุนแรงขึ้น น้ำแข็งละลาย ปริมาณน้ำจืดสำรองมีน้อยลง ในขณะที่ประชากรของโลกเพิ่มขึ้นทุกวัน น้ำจะขาดแคลน อาหารจะไม่พอ (ไม่นับที่เสียหายจากความแปรปรวนของภูมิอากาศ)

เมืองไทยให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว แล้วว่ากันที่จริงก็มีความคืบหน้าที่น่ายินดีเหมือนกันครับ พิธีสารเกียวโตกำหนดขั้นตอนวิธีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกไว้หลายอย่าง เช่น JI ET และ CDM ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก./TGO อนุมัติโครงการ CDM 111 โครงการ ซึ่งช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในไทยได้ 6.95 ล้านตันต่อปี ทำให้เมืองไทยกระโดดขึ้นมาอยู่ใน Top 10 เรื่องการลดก๊าซเรือนกระจกผ่าน CDM [ข่าว] นานๆ ครั้ง จะเห็นหน่วยงานของรัฐทำอะไรที่ถูกใจนะครับ ขอปรบมือให้เลย

อ่านต่อ »


แก้มลิงใต้ดิน

อ่าน: 4696

ผมเขียนที่บล็อกลานซักล้างนี้มาเกือบหนึ่งพันบันทึกแล้ว ย้อนกลับไปดูบันทึกเก่าๆ เจอเรื่องราวที่เอามาผูกกันเป็นเรื่องใหม่แล้วอาจจะเวิร์คครับ

  1. แก้มลิงต้องการพื้นที่แปลงใหญ่ แต่ในหลายปีที่ผ่านมา พื้นที่มีราคาแพงขึ้นมากเนื่องจากมีนายทุน(ไทยและต่างชาติ)กว้านซื้อ องค์กรจัดการภัยพิบัติสหรัฐ​ FEMA ซึ่งบังคับให้ทุกชุมชนทำแก้มลิง ได้กำหนดความหมายของแก้มลิง (floodway) ไว้ว่า A “Regulatory Floodway” means the channel of a river or other watercourse and the adjacent land areas that must be reserved in order to discharge the base flood without cumulatively increasing the water surface elevation more than a designated height. Communities must regulate development in these floodways to ensure that there are no increases in upstream flood elevations. For streams and other watercourses where FEMA has provided Base Flood Elevations (BFEs), but no floodway has been designated, the community must review floodplain development on a case-by-case basis to ensure that increases in water surface elevations do not occur, or identify the need to adopt a floodway if adequate information is available.
  2. ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ปีนี้มีแล้งจัด ร้อนจัด จนน้ำเกือบหมดเขื่อน! จากนั้นต่อด้วยเปียกจัด เกิดอุทกภัยขึ้นใน 51 จังหวัด มีคนได้รับผลกระทบประมาณ 9 ล้านคน คิดเป็น 13.4% ของประชากรทั้งหมด และมีแนวโน้มว่าจะต่อด้วยหนาวจัดด้วย
  3. โดยสถิติ ถึงฝนจะมาไม่ตรงเวลา ปริมาณฝนเฉลี่ยก็ยังไม่เปลี่ยนแปลง — หมายความว่า เวลาฝนทิ้งช่วงจะเกิดการขาดแคลนน้ำ ส่วนเวลาฝนมาก็จะท่วม

อ่านต่อ »


การให้

อ่าน: 4023

การให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจนั้น ไม่สำคัญหรอกครับว่าจะเป็นข่าว ไม่จำเป็นว่าจะต้องได้รับการยกย่อง ถ้าจะให้ก็ไม่ต้องมีเหตุผลอะไร หรือแม้แต่ตั้งเงื่อนไขว่าผู้รับจะต้องสำนึกหรือจดจำชื่อของท่านได้ ความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น ท่านจะไปบังคับกะเกณฑ์ไม่ได้ แต่ท่านถามตัวเองได้เสมอว่าการให้ของท่านนั้น ได้ให้ไปจริงๆ แล้วหรือไม่

เมื่อให้ไปแล้ว สิ่งที่ให้ไปก็เป็นของผู้อื่นแล้ว — ถ้ายังติดใจอยู่ว่าอันนี้ฉันให้นะ กรณีอย่างนั้นเรียกได้ว่า ท่านยังไม่ได้ให้ไป เพราะยังคิดว่าเป็นของท่านอยู่ (แต่ท่านเก็บความภูมิใจ เก็บมิตรที่ได้พบปะไว้ในใจได้)

วันนี้ไปบ้านน้องก้อย [กำลังใจแก่ผู้ประสบอุทกภัย] สองครั้ง จะเอารูปหมวกไหมพรมไปให้ดู [ถักหมวกแบบง่าย] ว่าที่ขายให้ถูกๆ และบริจาคสมทบไปเมื่อเดือนก่อน ออกมาเป็นอย่างนี้; ครั้งแรกไปก่อนเที่ยง ปรากฏว่าไม่มีใครอยู่บ้านเลย ยังไม่กลับจากหัวหินกัน ไปอีกครั้งตอนบ่าย คุณแม่น้องก้อยบอกว่าเมื่อออกมาจากโรงเรียน(เนื่องจากป่วย)แล้วมาเรียนที่บ้านแล้วนั้น น้องก้อยมีความสุขขึ้นมาก ปีหน้าจะเรียนวิศวะธรรมศาสตร์ เร็วกว่าเพื่อนๆ หนึ่งปี ในเมื่อจะเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว คงไม่ค่อยมีเวลาจะทำร้านขายไหมพรม จึงอยากบริจาคไหมพรมไปถักให้เกิดประโยชน์ ผมขอว่าให้ผมได้ช่วยบ้างเถิด คุณแม่บอกว่าในเมื่อน้องก้อยอยากบริจาค ก็ขอให้เขาได้ทำตามความตั้งใจดีกว่า นัดกันว่าอีกสองสามวันจะโทรมาตาม เมื่อมีเวลาเช็คสต็อคก่อน

ผมบอกน้องก้อยไปว่าเขียนเรื่องของน้องก้อยเอาไว้บนบล็อกด้วย แล้วเปิดลานซักล้างให้ดู ในนั้นมีลิงก์ไปทวิตเตอร์อยู่ น้องก้อยก็ขอ follow แล้วก็คลิกไปที่ facebook ของผม ปรากฏว่ารู้จัก kaiwan.h เหมือนกัน โลกกลม!

อีกสองสามวัน ผมจะเอา DVD งาน Ignite Thailand++ ครั้งที่สองไปให้ด้วยครับ คราวนี้ไม่ได้ลืม แต่ไม่มีเวลาทำให้ ได้ชวนแล้วว่าถ้าเหงา ก็ให้มาสมัครที่ลานปัญญาได้ จะได้เห็นว่า สว.เค้าคุยอะไรกัน

การให้โดยช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ถึงใครจะไม่เห็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทอดพระเนตรเห็นครับ

อ่านต่อ »


ไร่นาหลังน้ำลด

อ่าน: 3350

น้ำท่วมนำความอุดมสมบูรณ์มา เมื่อน้ำลดแล้ว จะพบซากพืชเน่าอยู่เป็นจำนวนมาก เป็นงานหนักในการปรับสภาพดินเพื่อเพาะปลูกในรอบใหม่ แต่…

อย่าเผานา เผาไร่

เช่นเดียวกับคนที่ต้องการอาหาร พืชก็เติบโตได้ด้วยสารอาหาร ที่หลักๆ ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม (N P และ K ตามสูตรปุ๋ยนั่นแหละครับ) แต่ว่าปุ๋ยไม่มีธาตุตัวที่สำคัญที่สุด คือคาร์บอน (C) รากพืชดูดสารอาหารจากดิน แล้วใช้สารอาหารเหล่านี้ไปสร้างเซล แต่ทุกเซลห่อหุ้มด้วยเซลลูโลส ซึ่งเป็นไฮโดรคาร์บอน และแน่นอนว่าใช้ธาตุคาร์บอนเยอะมาก

เมื่อเผาพืชเซลลูโลสเปลี่ยนไปเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ ปล่อยออกไปในอากาศ เหลือเป็นเถ้าถ่านคืนคาร์บอนคืนสู่ดิน เมื่อคาร์บอนมีน้อยลง พืชก็เติบโตได้ยากเพราะไม่รู้จะเอาคาร์บอนมาจากไหนไปสร้างเซลเพื่อเจริญเติบโต

พอชาวไร่ชาวนาเห็นพืชไม่โต ทีนี้ก็ไปซื้อปุ๋ยมาเติม ยิ่งทำ ยิ่งจน เอากำไรของตัวเองที่ควรจะได้ ไปจ่ายเป็นค่าปุ๋ย (ช่วยได้เหมือนกัน พืชโตขึ้น แต่คนปลูกจนลง)

[เผาอ้อย] [ดิน]

การกำจัดพืชที่เน่าควรจะไถกลบให้ไปย่อยสลายในดินครับ เป็นการเพิ่มจุลินทรีย์ในดิน เอาคาร์บอนกลับคืนสู่ดิน

อ่านต่อ »


เหยียบเพื่อชาติ

อ่าน: 6395

เมื่อสองอาทิตย์ก่อน ผมเคยเขียนถึงปั๊มน้ำกู้ชาติ ความคิดตอนนั้นคือน้ำท่วมเป็นวงกว้างมาก มีหลายพื้นที่ที่ท่วมบ้านเรือนประชาชนแบบไม่ได้ตั้งตัว ตอนนั้นยังไม่รู้ว่าฝนจะหยุดตกหรือยัง ถ้าเกิดยืดเยื้อ ก็ต้องมีพื้นที่แห้งไว้อยู่กันบ้าง ผมคิดถึงบ้านเรือนตามริมน้ำ ที่เจอน้ำทะเลหนุนแถมมีน้ำหลากมาจากทางเหนือมาผสมแรง ตั้งตัวไม่ทัน อีกอย่างหนึ่งที่น่าจะใช้ได้ก็คือเอาไว้สูบน้ำหลังแนวกระสอบทราย ซึ่งมีการรั่วได้บ้าง ใช้ปั๊มมือก็เป็นทางออกในกรณีที่ไม่มีปั๊มน้ำ หรือไม่มีน้ำมัน/ไฟฟ้าสำหรับปั๊มน้ำ

สถานการณ์ในวันนี้ต่างออกไป ถึงแม้น้ำจะยังท่วมอยู่เหมือนเดิม

น้ำท่วมวันนี้เป็นน้ำท่วมขัง จะท่วมอยู่เป็นเวลานาน ถ้าหากไม่รีบเอาน้ำออกจากพื้นที่ ก็จะทำให้ชีวิตชาวบ้านทุกข์ยาก เครียดหนัก — น้ำท่วมขังเกิดขึ้นเพราะขอบแอ่งสูงกว่าพื้นที่อื่นของแอ่ง หลายครั้งทีเดียวที่ขอบแอ่งนั่นแหละ เป็นแนวป้องกันน้ำท่วม ดังนั้นหากสร้างปั๊มที่มี head ต่ำ กล่าวคือยกน้ำขึ้นสูงได้เพียงสองเมตร แค่ยกน้ำข้ามขอบแอ่ง (เช่นข้ามถนน) แล้วปล่อยให้ไหลไปตามภูมิประเทศ ก็จะบรรเทาความทุกข์ยากลงได้บ้าง ครั้งนี้เราไม่ต้องการปั๊มแรงดันสูง แต่ต้องการปั๊มที่สูบน้ำออกได้เป็นปริมาณมากๆ

ปั๊มน้ำกู้ชาติใช้กำลังแขน ด้วยสภาพร่างกายของคน แขนทำไม่ได้นานหรอกครับ ดังนั้นจึงเหมาะกับพื้นที่เล็กๆ เช่นห้องชั้นล่าง แต่กรณีน้ำท่วมขังนั้น น้ำท่วมเป็นบริเวณกว้าง จะต้องถ่ายน้ำออกเป็นปริมาณมาก

อ่านต่อ »


น้ำท่วมขัง (1)

อ่าน: 5613

เขียนเรื่องนี้มาหลายครั้งแล้วครับ เขียนอีกก็ไม่เป็นไร เป็นเหมือนสิทธิ์ของ สว.ที่บ่นได้โดยผู้คนไม่ถือสา (ถึงถือสาผมก็ไม่ได้ยินอยู่ดี แล้วผมเขียนไว้ในบล็อกของผมเฉยๆ มาอ่านกันเองนะ)

น้ำท่วมนั้น เกิดจากอัตราที่น้ำไหลเข้าพื้นที่มากกว่าน้ำไหลออก เมื่อเข้ามามากแล้วออกไปได้น้อย ปริมาตรของน้ำที่อยู่ในพื้นที่นั้น ก็ยกตัวเอ่อขึ้นพ้นตลิ่ง อปท.ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ ตลอดจนชาวบ้าน และหน่วยราชการ ไม่ยืนดูเฉยๆ หรอกนะครับ เขาก็พยายามป้องกันพื้นที่ไม่ให้น้ำท่วมเหมือนกัน มีถนนเป็นแนวป้องกันหลักเสมอ

เรื่องนี้มีผลข้างเคียง กล่าวคือเมื่อน้ำมีปริมาณมาก จนท่วมข้ามแนวป้องกันมาแล้ว ทีนี้น้ำไหลไปไหนไม่ได้ จะเห็นได้จากภาพข่าวโทรทัศน์ ว่าภาคเหนือตอนใต้กับที่ราบลุ่มภาคกลางที่ประสบอุทกภัยอยู่ในเวลานี้ น้ำไม่ค่อยไหลไปไหน พอน้ำไม่ไหลประกอบกับท่วมไร่นา พืชที่จมน้ำก็เน่า ทำให้น้ำเริ่มเน่าอีกต่อหนึ่ง

อ่านต่อ »


งานอาสาสมัครกับ Crowdsourcing

อ่าน: 4199

ในบางกรณี อาจจัดงานอาสาสมัครเป็น Crowdsourcing ได้ในแบบหนึ่ง

Crowdsourcing เป็นฝูงชนอิสระที่มีพลัง (แต่ตัวคนเดียวไม่มีพลังพอ) ที่ทำให้ความเห็นเล็กๆ การกระทำเล็กๆ กลายเป็นสิ่งที่มีค่า — ทั้งนี้เป็นเพราะคนแต่ละคนแตกต่างกัน จึงเลือกทำอย่างที่ตนทำได้ดี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน เช่น Wikipedia ซึ่งแต่ละคนเขียนสิ่งที่ตนรู้ และถูกตรวจสอบโดยคนอื่น ไม่มีใครเขียน Wikipedia ทุกเรื่อง ไม่มีใครทำทุกเรื่อง หรือพยักหน้าหงึกๆ กับทุกเรื่อง แต่ทั้งหมดร่วมกันสร้าง Wikipedia ให้เป็น Wikipedia; ในมุมหนึ่ง ก็เป็นการก้าวข้ามลักษณะพวกมากลากไป ทำอะไรเหมือนกันไปหมดทุกคน หรือมีขาใหญ่ที่รู้ไปหมดแล้วสั่งลูกเดียวไม่ฟังใคร

อ่านต่อ »


อย่ารอ: เครื่องอบแห้งข้าวเปลือกอนาถาเพื่อช่วยชาวนาที่น้ำท่วม

อ่าน: 3926

เทคโนโลยีชาวบ้าน ทำได้เองง่ายๆ ไม่ต้องพึ่งใคร ไม่ต้องรอใคร (ไม่ทำก็ไม่เป็นไรครับ)

อ่านต่อ »


อย่ารอ: การสร้างแพลอยน้ำเพื่อช่วยน้ำท่วมด้วยท่อพีวีซี…อีกหนึ่งทางเลือกที่ง่ายๆ

อ่าน: 6992

จดหมายส่งต่อครับ เมืองไทยมีคนที่คิดว่าตัวมีความรู้ตั้งมากมาย แต่ความรู้นั้นถ้าใช้ประโยชน์ไม่ได้ จะมีความหมายอะไรครับ มีความรู้แล้วควรช่วยคนอื่นด้วย

การสร้างแพลอยน้ำเพื่อช่วยน้ำท่วมด้วยท่อพีวีซี…อีกหนึ่งทางเลือกที่ง่ายๆ

อ่านต่อ »



Main: 0.14712691307068 sec
Sidebar: 0.34744596481323 sec