หมู่บ้านโลก (2)

อ่าน: 2863

ปลายเดือนก่อน เขียนเรื่อง [หมู่บ้านโลก] ไป ปรากฏว่ามีผู้สนใจความคิดนี้คุยต่อหลังไมค์กันพอสมควรครับ

วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี (เดิมชื่อวิทยาลัยเกษตรกรรม) น่าจะเหมาะที่สุดเรื่องการใช้เทคโนโลยีชาวบ้าน สร้างเครื่องมือเอนกประสงค์สำหรับงานเกษตรกรรมและวิถีชีวิตของชาวบ้าน เพื่อให้มีเครื่องมือที่ใช้งานได้ในราคาที่ถูกมาก สร้าง ซ่อม และบำรุงรักษาได้เอง เลิกนิสัยซื้อแหลก อาจจะมีโอกาสตั้งตัวได้เสียที… แต่เอาเข้าจริง ไม่มีอะไรอย่างนั้นหรอกครับ

จากที่เคยไปเที่ยวดูที่แถวสะแกราช [คนเมืองแบบคนป่า คนป่าแบบคนเมือง] วันนี้มีโอกาสคุยกับคุณน้องคนที่พาไปเที่ยวอีก เขามีที่ดินที่ให้ชาวบ้านเช่าไปปลูกเป็นไร่มัน เป็นเนินเขา ¼ ลูกและเป็นที่ราบอีกส่วนหนึ่ง เป็นสัญญาเช่าปีต่อปี น่าเสียดายที่ดินนี้ แม้อยู่ในที่ที่อากาศดี มีลำธารไหลผ่านข้างที่ การคมนาคมสะดวก น้ำไฟหาได้ไม่ยาก และไม่ใช่โซนที่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือยาฆ่าหญ้า — แต่ถ้ามองแบบคนเมืองแล้ว คงคิดว่าน่าจะทำรีสอร์ตมากที่สุด ซึ่งผมเห็นด้วยบางส่วนครับ ว่าที่นี้สวยจริงๆ แต่ยังคิดไม่ออกว่าจะทำรีสอร์ตกันทั้งอำเภอได้อย่างไรเหมือนกัน เหมือนทำอะไรก็ทำตามกันไปหมด

คราวที่แล้ว ไปยุให้คุณน้องและคุณหน่อยทำโรงปลูกเห็ด รายได้ดี มีคนมารับซื้อถึงที่ แถมผลิตไม่พอด้วยซ้ำไป มีรายได้ประจำเพิ่มขึ้นเดือนละหลายหมื่น ก็เอามาโปะเป็นค่าใช้จ่ายประจำในกรณีที่เขาจะทำที่พักแถวโน้น (ซึ่งเหมาะกว่าแถวนี้)

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (2)

อ่าน: 7923

หลักการผลิตถ่าน Biochar นั้น เกี่ยวพันกับกระบวนการ Gasification กล่าวคือเราใช้ความร้อน ไปทำลายพันธะทางเคมีของ biomass ที่แห้ง เช่น เศษไม้ เศษหญ้า มูลไก่ มูลโค มูลหมู — ถ้า biomass แห้ง จะทำให้อุณหภูมิที่ต้องการให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนแปลงเป็นถ่าน (carbonization) ลดลงได้ เป็นการประหยัดเชื้อเพลิงและประหยัดเวลา

วิธีที่ง่ายที่สุด คือใช้ถังสองใบที่มีขนาดไม่เท่ากัน มีก้น ไม่มีฝา เป็นอุปกรณ์

ถังใบเล็ก ใส่ biomass แห้ง ที่ต้องการจะเปลี่ยนเป็นถ่าน Biochar คว่ำเอาไว้ในถังใบใหญ่ — ซึ่งถังใบใหญ่ เจารูอากาศรอบๆ ก้นถัง แล้วใส่เชื้อเพลิง จุดไฟ

เมื่อไฟร้อนขึ้น อุณหภูมิในถังเล็กก็ร้อนขึ้นด้วย จนได้ระดับ biomass แห้ง ก็จะเริ่มปล่อยก๊าซออกมา

ก๊าซที่ติดไฟได้นี้ จะค่อยๆ ซึมลงมาข้างล่าง ออกไปยังถังใหญ่ภายนอก เพราะว่าเราแค่เอาถังเล็กครอบ biomass ไว้เฉยๆ

เมื่อเกิดก๊าซขึ้น ทีนี้เชื้อเพลิงซึ่งใช้ให้ความร้อนในตอนแรก ต่อให้เผาไหม้หมดไป ก็ไม่มีความหมายแล้ว

ก๊าซเผาตัวเองระหว่างถังเล็กกับถังใหญ่ สร้างความร้อนหล่อเลี้ยงอุณหภูมิในถังเล็ก เกิด gasification ไปเรื่อยๆ จน biomass กลายเป็น biochar ไปหมด

ในตอนแรก ถ้าใช้เศษไม้เป็น biomass (ถ้าผ่าเอาไว้ก็จะดี เพราะเป็นการเพิ่มพื้นผิวของไม้ให้ก๊าซออกมาได้ดีกว่า) เราเรียงเศษไม้แห้งเอาไว้ในถังเล็ก แล้วเอาถังใหญ่ครอบ จากนั้นค่อยพลิกกลับหัวอีกที

อ่านต่อ »


ผลิต Biochar อย่างจริงจัง (1)

อ่าน: 6319

อินทรียสารในดิน (humus) สลายตัวโดยธรรมชาติที่อุณหภูมิสูงกว่า 25°C… ดินบ้านเรา ไม่มีต้นไม้ปกคลุม โดนแดดเผาชั่วนาตาปี ทำให้อุณหภูมิของผิวดินสูงได้กว่า 70°C และทำให้ดินปล่อยธาตุอาหารออกมาเป็นก๊าซเรือนกระจก (มีเทน และคาร์บอนไดออกไซด์) ชาวนาชาวไร่ใส่ปุ๋ยเคมีเท่าไหร่ก็ไม่พอ ยิ่งใส่ปุ๋ยก็ยิ่งจน เพราะกงเต็กปุ๋ยไปให้บรรพบุรุษโดยการเผาซากต้นไม้

ปุ๋ยคือสารอาหารของต้นไม้ จำเป็นต่อการเจริญเติบโตเพื่อออกดอกออกผล แต่ปุ๋ยเคมีนั้นเหมือนยาโด๊ป ใส่มากเกินไปยังไม่แน่ว่าจะดี… ธรรมชาติรักษาตัวเองได้ซึ่งอาจจะใช้เวลาบ้าง ไม่ทันอัตราที่มนุษย์ทำลายสมดุลย์ของธรรมชาติ

ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศที่โลกน่าจะปลอดภัย จากความปั่นป่วนของบรรยากาศคือระดับ 350 ppm แต่ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในขณะที่เขียนนี้ เป็น 393.18 ppm แถมยังสูงขึ้นเรื่อยๆ อีก… ก๊าซเรือนกระจก (ประกอบกับอย่างอื่น) ล้วนเป็นองค์ประกอบของปัญหาโลกร้อน ซึ่งทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น เกิดไอน้ำมากขึ้น กลายเป็นพายุที่มีความรุนแรง น้ำฝนมาเป็นปริมาณมาก เดือดร้อนกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า

แหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็คือมหาสมุทร จุลชีพปริมาณมหาศาลของมหาสมุทรในอดีต ดูดจับคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ แล้วเปลี่ยนเป็นหินปูนตกตะกอนลงพื้นทะเล จนบรรยากาศของโลกกลายเป็นบรรยากาศที่หายใจได้… ปัจจุบันนี้ ไม่มีจุลชีพยุคโบราณที่จะทำอย่างนั้นอีก โลกจึงไม่มีวิธีกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากบรรยากาศ และกิจกรรมของมนุษย์ ก็เร่งปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ ทำให้ก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ — แหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ที่ใหญ่รองลงมาคือแผ่นดิน แต่แผ่นดินนั่นแหละ ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมามาก!

อ่านต่อ »


น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (2)

อ่าน: 7775

บันทึกนี้เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ต่อจาก [น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (1)] ซึ่งใช้กระถางดินเผา ที่เรียกแบบโก้ว่า ceramic filter มาเป็นตัวกรองสารแขวนลอย แล้วใช้ silver colloid หรือซิลเวอร์นาโนในเครื่องซักผ้าบางยี่ห้อ มาฆ่าเชื้อโรค — วิธีการดังกล่าว ถึงดูดีมีสกุล แต่ก็ดูจะเกินเอื้อมของชาวบ้าน บันทึกนี้ จึงเสนอความคิดแบบง่ายๆ ชาวบ้านสร้างเองได้ เรียกในภาษาต่างประเทศว่า Biosand filter

Biosand filter เป็นเครื่องกรองน้ำชนิดกรองช้า ให้น้ำค่อยๆ ไหลผ่านเครื่องกรองซึ่งเป็นวัสดุธรรมชาติ ใช้ธรรมชาติเป็นตัวกรอง มีทราย กรวด ถ่าน เป็นเครื่องกรองสารแขวนลอย และใช้เมือกชีวภาพ Schmutzdecke ซึ่งเป็นเมือกของสิ่งมีชีวิตเล็กๆ (แบคทีเรีย รา โปรโตซัว โรติเฟอรา) คอยจับกินเชื้อโรคอื่นๆ ที่ปนเปื้อนมาในน้ำ

เมือกชีวภาพ biofilm ที่เรียกว่า Schmutzdecke ต้องอาศัยเวลา 20-30 วัน จึงจะเติบโตเป็นชั้นหนาพอที่จะกรองเชื้อได้ ดังนั้น หากต้องการน้ำดื่มในปัจจุบันทันด่วน ก็ต้องมีมาตรการอื่นมาเสริมด้วย เช่นเอาตากแดดไว้วันหนึ่ง [แสงแดดฆ่าเชื้อโรค] [อีกด้านหนึ่งของน้ำ]

อ่านต่อ »


รายได้ปี 2553 ของกรมสรรพากร

อ่าน: 3634

กรมสรรพากรได้จัดทำรายงานประจำปีสำหรับปีงบประมาณ 2553 บรรดาผู้ถือหุ้น (โดยเฉพาะผู้เสียภาษี) ก็ควรจะโหลดไปศึกษากันหน่อยครับ

กล่าวโดยย่อ ภาษีสรรพากรในปีงบประมาณ 2553 จัดเก็บได้ 1,264,845.28 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 11.1%

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 208,367.61 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 5.2%
  2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล 454,629.56 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 15.9%
  3. ภาษีปิโตรเลียม 67,599.00 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 25.5%
  4. ภาษีมูลค่าเพิ่ม 502,259.80 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 16.3%
  5. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 22,989.12 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 27.0%
  6. อากรแสตมป์ 8,757.39 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 16.9%
  7. รายได้อื่นๆ 242.80 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 8.9%

อ่านต่อ »


คนเมืองแบบคนป่า คนป่าแบบคนเมือง

อ่าน: 5549

เมื่อวานนี้ เนื๊อยเหนื่อย เพื่อนของน้องชายชื่อคุณน้องและคุณหน่อยสองสามีภรรยาที่ไม่มีลูก ชวนไปดูที่มาครับ เป็นที่แถววังน้ำเขียวและปักธงชัย ผมน่ะไม่ได้คิดจะอยู่ในเมืองอยู่แล้ว ยังติดขัดอยู่แต่พ่อแม่ที่แก่เฒ่า แม้น้องๆ ก็ดูแลครอบครัวของตัวเองกันได้ทุกคน แต่ก็ต้องเตรียมที่ทางเผื่อไว้ให้เหมือนกัน

นัดกันออกจากบ้านตีห้าครึ่ง เฮอะ…อย่างนี้ก็แปลว่าไม่ได้นอน เพราะว่าคงจะตื่นไม่ทันนะซิ แล้วก็ไม่ได้นอนจริงๆ แต่ไม่เป็นไรเนื่องจากไม่ได้ขับรถเอง ขาไปรถไม่ติดเพราะยังเช้าอยู่ แวะกินข้าวเช้าแถวหมูสี แล้วก็ผ่านไปดูที่สองแปลงของเพื่อนน้องแถวเขาแผงม้า ซึ่งเคยวิจารณ์ที่แถวนี้เอาไว้แล้วว่าชาวบ้านถางจนโกร๋นไปหมด เมื่อไม่มีต้นไม้ใหญ่ ไม่มีร่มเงาบังดิน ดินจะเสื่อมและเก็บความชุ่มชื้นไม่ได้ อีกหน่อยอากาศคงจะไม่เย็น เหมือนแถวน้ำหนาวในปัจจุบันซึ่งไม่หนาวเหมือนในอดีตแล้ว โชคดีที่เขาซื้อไว้ตั้งแต่ราคายังถูกอยู่ ที่ดินแถวนี้ราคาเพี้ยนไปมากแล้ว จนกลายเป็นราคาที่ดินที่ตั้งไว้สำหรับไปทำรีสอร์ตอย่างเดียว แต่จะเป็นรีสอร์ตกันทุกที่ไปได้อย่างไร มีอาการตีหัวเข้าบ้าน คือพัฒนาไปนิดหน่อยแล้วขายทิ้งเอากำไรซะมากกว่า ความยั่งยืนเป็นปัญหามาก แหล่งน้ำพอมีเป็นพวกลำธารลำคลองที่ไหลมาจากภูเขา แต่พวกน้ำซับนี่ผมสงสัยครับ เพราะแถวนี้มีการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าหญ้ากันเยอะมาก อาจจะเป็นปัญหากับคุณภาพน้ำก็ได้

จากนั้นก็ไปอีกฝั่งของวังน้ำเขียว ไปเยี่ยมผู้ใหญ่บ้านซึ่งรู้จักชอบพอกันมานาน อยู่แถวสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช เธอเป็นคนตรงแบบที่ไม่กลัวอิทธิพลที่จะมาเบียดบังประโยชน์ของชาวบ้านด้วย ผู้ใหญ่บ้านขอให้สามีพาบุกป่าขึ้นเขาไปดูเส้นทางท่องเที่ยวทางธรรมชาติอันใหม่ เป็นห้าเขา ห้าเขื่อน สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าธรรมชาติ บางส่วนก็ปลูกแต่ดูกลมกลืนดี มีเห็ดขึ้นในหน้าร้อนนี่แหละ (ยายฉิมไม่แห้วแน่) ยอดไม้สูงลิบ หินบนภูเขาเป็นหินตะกอนขนาดใหญ่ ชาวบ้านขี่มอเตอร์ไซค์ขึ้นมาหาของป่ากัน พอมีเสียงรถผ่านมา ก็ทำเนียนชมนกชมไม้ไปเรื่อย เมื่อเห็นว่าไม่ใช่เจ้าหน้าที่ ก็หาของป่ากันต่อไป

อ่านต่อ »


เก็บตกงานเสวนา สวทช. NAC2011

อ่าน: 4645

หลังจากเขียนบันทึกที่แล้ว เรื่องความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ผมก็ไปขึ้นเวทีเสวนาของ สวทช.ในฐานะผู้เชี่ยวชาญครับ พิลึกจริงๆ

มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญ 8 ท่าน คือ

  • รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ - มูลนิธิอุทยานสิ่งแวดล้อมสิรินธร ในพระบรมราชูปถัมป์ของสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
  • ผศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา - สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ
  • พลเรือตรีถาวร เจริญดี - ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ
  • ศ.เกียรติคุณ ดร.ชัยวัฒน์ ต่อสกุลแก้ว - สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
  • คุณวีระชัย ไชยสระแก้ว - การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
  • คุณมนตรี ชนะชัยวิบูลย์วัฒน์ - กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  • คุณปรเมศวร์ มินศิริ - ไม่รู้จะลงตำแหน่งอย่างไรเพราะทำเยอะแยะไปหมดเลย แต่เป็นงานในภาคประชาชนทั้งนั้น
  • ผม

การเสวนาครั้งนี้ เรื่องแผ่นดินไหวและสึนามิ ๑๑ มีนาคม ๒๐๑๑ - บทเรียนจากญี่ปุ่นสู่การเตรียมพร้อมของไทย มี ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช.เป็นผู้ดำเนินการเสวนาเอง มีผู้ฟังก็เต็มออดิทอเรียมของ สวทช. และมีผู้ฟังการถ่ายทอดสดทางอินเทอร์เน็ตอีกประมาณ 400 ท่าน

ด้วยความผูกพันกับ สวทช. ซึ่งกาลครั้งหนึ่งผมเคยเป็นอาสาสมัครที่เนคเทคอยู่หลายปี เมื่อชวนมายังไงผมก็ไปร่วมด้วยแน่นอนครับ แต่ยอมรับว่าหนักใจเรื่องเวลา ฮี่ฮี่ เพราะเวลาสามชั่วโมง วิทยากรสามท่าน-ท่านใดก็ได้ สามารถจะให้ได้ทั้งภาพกว้างและลึกได้อย่างถี่ถ้วน แถมยังเหลือเวลาตอบคำถามได้อีกนิดหน่อย ทีนี้พอมีวิทยากรอยู่แปดท่าน จึงเหลือเวลาสั้นมาก ผมตัดประเด็นที่เตรียมไปทิ้งไปประมาณสองในสาม แล้วต้องพูดที่เหลืออย่างเร็วจี๋ ก็เลยอาจจะปัญหาสำหรับผู้ที่ทำ Live tweet (ขออภัยเป็นอย่างยิ่งนะครับ)

อ่านต่อ »


สึนามิโลก

อ่าน: 5047

ความจริงเรื่องที่จะเขียนนี้ ได้รับฟังมาก่อนหน้านี้นานแล้ว แต่ไม่เคยคิดจะตรวจสอบ จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ ได้ดูคลิปอันหนึ่งจาก Timeline ของเพื่อนในทวิตเตอร์ จึงเริ่มตรวจสอบข้อมูล แล้วก็พบสิ่งที่น่าคิดจริงๆ … แต่เนื่องจากบันทึกในลักษณะนี้ อาจตีความได้ว่าเป็นลักษณะ Wishful thinking พยากรณ์ ทำนาย แช่งชัก หรืออยากจะโดน ดังนั้นก็จะเขียนเท่าที่ค้นมา โดยไม่อ้างอิงบุคคลใดให้อาจจะเสียหายนะครับ

“สึนามิโลก” ไม่ได้หมายถึงน้ำ แต่หมายถึงความปั่นป่วนทางการเงินที่รอเวลาอยู่

เรื่องเก่านมนานปี เริ่มต้นมาจาก “สถานะพิเศษ” ที่รัฐบาลสหรัฐออกกฏหมายว่ารัฐบาลพิมพ์ธนบัตรได้เอง โดยไม่ต้องนำทองไปสำรอง เงินสกุลดอลล่าร์เป็นสกุลหลักสำหรับการค้าขายระหว่างประเทศ ไปไหนมาไหน แลกเงินสกุลท้องถิ่นด้วยดอลล่าร์ได้ไม่ยาก และที่สำคัญคือน้ำมันดิบก็ซื้อขายเป็นดอลล่าร์

แต่ภาระหนี้สินของสหรัฐก็มากล้นพ้นตัว

ขณะที่เขียนนี้ หนี้ภาครัฐ+เอกชน คิดเป็นกว่า 96% ของ GDP แล้ว ภาระหนี้บานเบอะ ยังมีค่าใช้จ่ายทางการทหาร อัตราคนว่างงานสูง ทำให้ต้องจ่ายค่าสวัสดิการสูง

การที่อัตราการว่างงานดูเหมือนลดลง เป็นการเล่นกายกรรมทางบัญชี โดยเปลี่ยนไปนับจำนวนคนว่างงานจากจำนวนคนที่รัฐจ่ายสวัสดิการให้ (ซึ่งมีระยะจำกัด) ถ้าเลยจากระยะที่กำหนดไปแล้วยังหางานไม่ได้ นอกจากรัฐไม่จ่ายเงิน+สแตมป์อาหารให้อีกต่อไปแล้ว ก็ยังไม่นับว่าเป็นคนว่างงานอีกด้วย แม้ว่ายังจะหางานไม่ได้ก็ตาม

ภาระหนี้ของสหรัฐ เคยอยู่ในระดับที่สูงกว่านี้อีกครับ เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งต้องทุ่มทุกอย่างเพื่อชัยชนะ ชนะก็รอดตัวไปที แต่ถ้าแพ้ประเทศชาติก็ล่มจม

อ่านต่อ »


ปลูกผักในกระถางเพื่อการรีไซเคิลน้ำ

อ่าน: 5928

พืชผักที่เป็นอาหารมักเป็นพืชล้มลุก — ในเมื่อเป็นพืชล้มลุก รากก็ไม่ไชลงลึก แต่มักเป็นรากฝอยอยู่บริเวณผิวดิน แต่เพราะว่ารากแผ่อยู่ตื้น จึงหาน้ำได้น้อย ประกอบกับแดดเผาผิวดิน พืชผักจึงต้องการน้ำมากพอสมควร จึงจะเติบโต

เราเอาผักมาปลูกในกระถางก็ได้ น้ำส่วนเกินที่รดให้แก่ผัก ซึ่งซึมลงเกินความลึกของราก สามารถนำกลับมารดใหม่ผ่านทางรูก้นกระถางได้ แต่ว่ามูลค่ากระถาง ก็ดูจะไม่คุ้มราคาผักอยู่แล้ว

บันทึกนี้เสนอความคิดบ้าบอ ให้เอาแผ่นพลาสติก (มีขนาด 48- 54- และ 72 นิ้ว; ยาว 40 50 และ 60 หลา) — ยกตัวอย่างเช่น ขนาดกว้าง 4.5 ฟุต ยาว 120 ฟุต ราคา 110 บาท — แขวนปลายตามแนวยาว เป็นรางที่มีหน้าตัดเป็นรูปตัว V เอาดินใส่ตรงกลางเพื่อปลูกผัก ในที่สุด น้ำที่รดลงในราง จะไหลไปรวมกันที่ก้นตัว V ซึ่งถ้าเอียงเล็กน้อย เราก็ไปดักน้ำที่ปลาย แล้วนำน้ำมารดผักใหม่ได้

อ่านต่อ »


น้ำตาลลองกอง ได้หรือไม่

อ่าน: 3964

เมื่อปลายปี 2549 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ประกาศงานวิจัยเรื่องน้ำตาลลำไย [ผลไม้ราคาตกต่ำ (ลำไย)] เป็นการแปรรูปลำไยซึ่งขณะนั้นมีปริมาณล้นตลาด ไปเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงขึ้น

มีอีเมลแจ้งข่าวมาเมื่อคืน ว่าตอนนี้การฟื้นฟูจากอุทกภัยและวาตภัยทางใต้ยังไม่เสร็จสิ้น ชาวบ้านชายฝั่งที่ปัตตานีทำประมงไม่ได้มาสองเดือนกว่าแล้ว เพราะว่าเรือเสียหาย เมื่อไม่มีเรือ ก็ไม่มีรายได้มาซ่อมแซมบ้านซึ่งเสียหายเหมือนกัน ฝนก็ยังตกอยู่ ความช่วยเหลือก็เข้าไม่ถึง มีชาวบ้านที่ไม่ได้เป็นหัวคะแนนเป็นจำนวนมาก ตกสำรวจได้เป็นเอกฉันท์ซะทุกครั้ง ชาวบ้านเครียดจัดเพราะไม่มีอะไรทำ ไม่มีความหวัง ไม่มีอนาคต แล้วก็อาจจะเกิดเป็นเงื่อนไขแบบที่ไม่อยากให้เกิดขึ้นมา

ที่ปัตตานี มีการประกันราคาลองกอง โดยมีราคาประกัน เกรดเอ 24 บาท เกรดบี 16 บาท และเกรดซี 8 บาท/กก. ข่าวไม่ได้พูดถึงค่าเก็บซึ่งอยู่ที่ 3 บาท/กก. แบบนี้ชาวสวนที่มีลองกองเกรดต่ำก็คงไม่ได้อะไรเท่าไหร่หรอกนะครับ ตอนนี้ไม่ใช่หน้าลองกองเสียด้วยซิ

แต่ถึงอย่างไรก็ยังน่าคิด ว่าถ้าหากทดลองนำลองกองเกรดต่ำมา ปอกเปลือกลองกอง(เพราะมียาง) แล้วเอามาปั่นคั้นน้ำหวาน(ด้วยเครื่องปั่นน้ำผลไม้) กรองกากออก(กากผสมน้ำแล้วคั้นเอาความหวานได้อีก) ไล่น้ำ ตกตะกอน ด้วย yield สัก 50% — ตัวเลขสมมุตินะครับ — ลองกอง 1 กก. ได้น้ำตาลลองกอง 0.5 กก. ดังนั้นน้ำตาลลองกอง จะมีต้นทุน 16 บาท/กก. ในขณะที่น้ำตาลขาดตลาดและมีราคาแพงกว่านั้น กำไรที่อาจจะได้มา ก็เอามาแบ่งให้ชาวบ้านอีกเด้งหนึ่ง นอกเหนือจากค่าแรงที่ได้ไปก่อน

อ่านต่อ »



Main: 0.4226610660553 sec
Sidebar: 2.4266178607941 sec