ปลูกพืชไม่กลัวน้ำท่วม

อ่าน: 5497

เมื่อตอนหัวค่ำ คุณปรีดา ลิ้มนนทกุล คนทุพพลภาพมืออาชีพ (ข้อมูลจาก google) โทรมาคุยเรื่องไผ่ คุณปรีดาประสบอุบัติเหตุทำให้ครึ่งตัวล่างขยับไม่ได้ มือก็ไม่สมบูรณ์ ถึงไม่ได้ประกอบอาชีพวิศวกรแล้ว ก็ยังไม่ยอมแพ้ ยังสร้างสรรค์งานศิลปะ ระดมเงินไปบริจาคช่วยเหลือผู้อื่น คนที่มีองคาพยพสมบูรณ์แต่ทำตัวเป็นกาฝาก ไม่ทำงานทำการ ควรดูไว้เป็นแบบอย่างนะครับ

ข้อมูลจากคุณปรีดาก็น่าสนใจ ผมไม่รู้ว่าจริงหรือไม่ และจะไม่ดัดจริตแสร้งทำเป็นรู้หรอกครับ

  1. โอกาสที่ไผ่จะจมน้ำตายนั้น อาจจะไม่มากนัก เพราะลำต้นสูง โตเร็ว เมื่อน้ำท่วม ยังมีใบที่โผล่พ้นน้ำ ยังหายใจและสังเคราะห์แสงต่อไปได้ แน่นอนว่าเรื่องนี้ไม่นับหน่อไผ่ซึ่งอาจจะเน่าตายไปได้เหมือนกัน
  2. พืชเช่นข้าวที่จมน้ำ ถ้าน้ำไม่ขุ่นจนแสงแดดส่องไม่ถึงใบ ก็อาจทนอยู่ได้สักสองสามวัน (เกินนั้นก็ไม่รอดเหมือนกัน)

พูดเรื่องนี้แล้ว ยังมีพืชน้ำ พืชอาหารขนาดลำต้นไม่ใหญ่โต (รากไม่ลึก) ที่เราอาจเอาใส่กระถางลอยน้ำไว้เก็บกินในช่วยน้ำท่วมได้

ถ้ากระถางลอยน้ำได้ ก็เอามาปลูกข้าวได้ จะใช้โฟม จะใช้อิฐมวลเบา หรืออะไรก็แล้วแต่ หนึ่งกระถาง ปลูกข้าวหนึ่งกอ ใช้น้ำน้อยด้วย เพราะว่าไม่ต้องไขน้ำให้ท่วมนา คือให้ท่วมในกระถางก็พอ กระถางป้องกันวัชพืชได้ ถ้ากระถางมีรูปทรงเหมาะ อาจกันหอยเชอรี่ได้ อาจวางกระถางชิดกันได้มากขึ้น เนื่องจากรากของกอข้าว ไม่แย่งอาหารกันเองระหว่างกอ เป็นการเพิ่มผลผลิตไปในตัว และที่สำคัญคือกระถางลอยน้ำ ดังนั้นเมื่อข้าวออกรวง ก็ไม่กลัวน้ำท่วม เวลาเก็บเกี่ยว ไขน้ำเข้านา แล้วเอาเชือกกวาดกระถางที่ลอยน้ำมารวมกัน เกี่ยวทีเดียวใกล้ๆ คันนา ไม่ต้องเอารถไถลงไปลุย คันนาจะได้ปลูกพืชอื่น บังลมไม่ให้ข้าวร่วงจากลมแรง — ทั้งหมดนี้ คิดเอาเองครับ ทำได้หรือไม่ได้ ต้องทดลองดู

อ่านต่อ »


ถ่านอัดแท่ง

อ่าน: 6741

ดูวิดีโอคลิปก่อนกันครับ

พ่ออยู่ แขมพลกรัง อยู่ที่ ต.ปรุใหญ่ อ.เมือง นครราชสีมา ประดิษฐ์แท่งเหล็กทรงกระบอก เอาไว้ใช้กระแทกลงไปบนเศษถ่าน (เดิมทีอาจจะเป็นเศษผงที่แตกหักจากการเผาถ่านขาย) จนกลายเป็นถ่านอัดแท่ง ซึ่งสูตรของพ่ออยู่นั้น ประกอบไปด้วย เศษถ่าน หรือถ่านป่นจากการเผาถ่านวัสดุเหลือใช้ 4 กก. แป้งมัน 2 ขีด กับน้ำ 4 ลิตร คลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาอัดด้วยกระบอก (หรือสกรูเพรสก็ได้) นำไปตากจนแห้งสนิท ก็จะได้ถ่านที่มีคุณภาพสูง ไร้ควัน

ถ่านอัดแท่งแบบนี้ ก็เป็นแนวทางที่ดีสำหรับการฟื้นฟูอาชีพสำหรับผู้ประสบภัย ชาวบ้านไม่ได้ปลื้มกับเงินชดเชยห้าพันบาท++ มันเทียบไม่ได้กับการหมดตัวหรอกครับ (ทำไมนักการเมืองถึงได้ภูมิใจเรื่องนี้กันนักนะ) ถ้าจะช่วยให้ชาวบ้านฟื้นตัวขึ้นมาได้ นอกจากวันนี้จะมีกินระหว่างรอน้ำลดแล้ว เมื่อน้ำลดก็จะต้องมีรายได้ พอที่จะปลดหนี้ปลดสิน หรืออย่างน้อยก็ไม่เป็นหนี้เพิ่ม

อ่านต่อ »


สวนครัวแนวตั้ง

อ่าน: 12396

… มีข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ ว่าแผลที่เกิดขึ้นตามมือและเท้านั้นยังไม่หาย จากกรณีดังกล่าว ได้ทำการปรึกษาคุณหมอแล้ว คุณหมอแจ้งว่าอาจมิได้เกิดจากน้ำกัดมือกัดเท้า แต่อาจเป็นแผลที่เกิดจาก สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร …

อืม…จริงหรือไม่ก็ไม่อาจตัดสินได้ครับ ไม่มีความรู้อย่าฟังธง ถึงมีความรู้มีประสบการณ์แต่ไม่ได้ตรวจก็อย่าฟันธง(จนกว่าจะเข้าใจบริบทก่อน) ข่าวคราวจะบอกต่อก็ไม่ต้องขยายความ — โมเดลการแก้น้ำท่วมก็เป็นไปในทำนองเดียวกัน ไม่มีคำตอบสำเร็จรูปสำหรับทุกพื้นที่หรอกครับ ทุกพื้นที่มีบริบทที่แตกต่างกัน ตั้งโมเดลทำไม ก่อนจะทำอะไร ถาม+ขอความรู้จากชาวบ้านซะหน่อยดีไหมครับ

สวนแนวตั้งเป็นความคิดของผู้ที่ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกตามห้องพักในมหานครที่อัดกันแน่น ที่จริงแล้วก็ไม่เชิงว่าคนที่อาศัยอยู่ตามมหานคร จะสิ้นไร้ไม้ตอกขนาดที่ไม่มีที่ทางปลูกอะไรหรอกครับ แต่เหตุผลเค้าเยอะไปเท่านั้นเอง ถ้าจะปลูกต้นไม้นั้น ปลูกได้เสมอ ไม่มีพื้นดิน->ปลูกในกระถางได้ ไม่มีที่วางกระถาง->แขวนก็ได้

ในกรณีอุทกภัยนั้น พื้นที่อยู่อาศัยลดลงมาก ที่ยังมีอยู่ ก็ไม่รู้จะรอดหรือไม่ เราลืมต้นไม้เล็กๆ กันไปหรือเปล่าครับ ต้นไม้เล็กพวกสวนครัวจมน้ำตายหมด ถ้าจะรอน้ำลดแล้วเริ่มปลูกใหม่ กว่าจะโตก็เสียเวลาไปเท่ากับระยะเวลาที่น้ำท่วมซึ่งคราวนี้สงสัยจะยาวครับ เป็นเดือนแน่เลย

อ่านต่อ »


เครื่องผลักดันน้ำ

อ่าน: 12785

เครื่องผลักดันน้ำนั้น เป็นเครื่องมือเร่งความเร็วของน้ำไหล เพื่อผลักเอาน้ำจากพื้นที่ตรงที่เครื่องตั้งอยู่ ให้ไหลไปยังพื้นที่อื่นอย่างรวดเร็ว เมื่อมีน้ำมากและไม่สามารถกักเก็บไว้ได้ ก็ต้องพยายามนำน้ำไปไว้ที่อื่นเพื่อเป็นการบรรเทาอุทกภัย

การผลักดันน้ำนั้น ต้องพยายามควบคุมไม่ให้ปริมาณน้ำที่ไหลไป เกินความจุของลำน้ำ ทั้งนี้เพราะหากปริมาณน้ำเกินจากความจุของลำน้ำ น้ำก็จะยกตัวขึ้นล้นตลิ่ง กลายเป็นน้ำท่วมที่ปลายน้ำ กล่าวคือย้ายอุทกภัยจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง

กลับมาเรื่องเครื่องผลักดันน้ำนั้น มองในแง่ฟิสิกส์แล้ว ก็เป็นการใส่พลังงานลงไป โดยใช้เครื่องกลเปลี่ยนพลังงานที่รับเข้ามา ให้เป็นพลังงานจลน์ของน้ำ โดยน้ำจะไหลไปตามความลาดเอียงเร็วขึ้น

ดูง่ายๆ ตัวเครื่องกล มีใบพัดซึ่งใช้กำลังจากเครื่องยนต์ ทำให้น้ำไหลผ่านเครื่องผลักดันน้ำได้เร็วขึ้น (ด้วยต้นทุนของพลังงานที่ใส่ลงไป) มีส่วนที่ชาวบ้านทำเอง ที่ใช้เครื่องและใบเรือหางยาวทำก็เป็นลักษณะเดียวกัน ถึงประสิทธิภาพน้อยจะหน่อย แต่ก็ยังทำเองได้โดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภายนอก ซึ่งไม่รู้ว่าจะมาเมื่อไหร่ หรือว่าจะมาหรือไม่

เรื่องอย่างนี้ ไม่ต้องรอให้น้ำท่วมเสียก่อน ก็ทำล่วงหน้าได้ ทำที่ปลายน้ำอย่างกรุงเทพก็ได้ เพราะหากน้ำไหลออกไปเร็วขึ้น น้ำเหนือก็ไหลลงมาได้เร็วขึ้น เป็นการช่วยบรรเทาอุทกภัยได้ส่วนหนึ่ง — แต่เครื่องผลักดันน้ำ ไม่มีกำลังพอจะสู้กับ “น้ำขึ้น” ไหว ถ้าน้ำทะเลขึ้นสูง ก็ต้องหยุดไว้ก่อนนะครับ

อ่านต่อ »


น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (3)

อ่าน: 3383

เขียนต่อจาก [น้ำท่วมกลับไม่มีน้ำดื่ม (2)] ครับ

รู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเศร้ามาก ที่ต้องขนน้ำดื่มไปหลายร้อยกิโลเมตรไป ช่วยคนที่ติดอยู่ในพื้นที่ประสบอุทกภัยซึ่งไม่มีน้ำดื่ม ในภาวะแบบนั้น น้ำประปามักหยุดให้บริการ จะเอาน้ำแถวนั้นมาดื่มประทังกันตาย ก็ยิ่งจะรู้สึกตะขิดตะขวงใจ จะต้มก็ติดไฟลำบาก ดื่มน้ำท่วมขัง เหมือนดื่มน้ำเน่า… “เหตุผล” เยอะแยะไปหมด

ถ้าฝนยังตกอยู่ รองน้ำฝนเอาไว้ดื่มครับ ถ้ายอมอพยพไปสู่พื้นที่ปลอดภัย (ซึ่งพื้นที่ไหนก็ที่นั้น ต่่างไม่ยอมอพยพกันทั้งนั้น) ก็อาจจะใช้แสงแดดกลั่นน้ำเอาไว้ดื่มได้ ถ้าน้ำท่วมไหลมาจากที่อื่น มาขังอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแอ่ง อันนี้ล่ะน่ากังวลที่สุดครับ

อ่านต่อ »


เสริมตลิ่ง

อ่าน: 4059

เรื่องเขื่อนเขียนไว้หลายบันทึกแล้วครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง [กระสอบทราย]

เนื่องจากวันนี้ จะต้องไปประชุมกับกลุ่ม CSR โคราชเรื่องแผนป้องกันน้ำป่าแถบเขาใหญ่ ก็ขอเอาตัวอย่างของเขื่อนผ้าใบ(แบบใหม่)มาเล่าอีกทีนะครับ หาเรื่องมาเขียนใหม่ทั้งหมดไม่ทันแล้ว

เขื่อนผ้าใบมีหลักการเหมือนกระสอบทราย ตือใช้น้ำหนักของสิ่งที่บรรจุอยู่ภายใน กดลงดิน ใช้ความเสียดทานกั้นน้ำไว้ไม่ให้แทรกเข้ามาหลังเขื่อน มีข้อดีคือใช้วางบนภูมิประเทศสูงๆ ต่ำๆ ได้ ไม่ต้องปรับฐานให้เรียบ ภายในแทนที่จะใส่ทราย ก็ใส่น้ำลงไปแทน เอาน้ำที่ท่วมนั่นแหละเติมครับ วางแนวต่อกันเป็นแถวยาวๆ ได้ การต่อระหว่างชุด เมื่อใสน้ำแล้ว ถึงจะปลิ้นออกเล็กน้อย ทำให้แนวสองชุดเบียดประกบ กั้นน้ำได้

ตามความเห็นที่ให้เอาไว้ในบันทึกกระสอบทราย ถ้าใช้สัณฐานสามเหลี่ยม ระดับน้ำหน้าเขื่อน ไม่ควรจะเกินครึ่งหนึ่งของความสูง แต่เมื่อใช้สัณฐานเป็นลูกซาละเปาแบบในบันทึกนี้ ก็อาจสูงขึ้นได้อีกครับ [รูปการใช้งาน]

อ่านต่อ »


เตรียมตัวเป็นไหม

อ่าน: 2898

ชื่อบันทึกนี้ เป็นคำถามที่ผมไม่ต้องการคำตอบ แต่มุ่งให้ผู้อ่านแต่ละท่าน ถามตัวเอง ตอบตัวเอง และกระทำสิ่งที่สมควร

รูปข้างบนเป็นหน้าแรกของหน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐ ชื่อ ready.gov ด้านล่าง ขึ้นแบนเนอร์ของสามเว็บไซต์ ซึ่งที่จริงแล้ว ทั้งสามก็เป็นเว็บของ FEMA (องค์กรจัดการภัยพิบัติของสหรัฐ) ทั้งหมด FEMA เองเคยล้มเหลวเรื่องการจัดการภัยพิบัติมาหลายครั้ง แต่เขาเรียนรู้และปรับปรุง คราวนี้ดูดีกว่าเก่าเยอะครับ

อ่านต่อ »


เตือนทำไม ซ้อมทำไม

อ่าน: 3315

ที่จริงใครจะทำอะไร คนอื่นจะไปอธิบายโดยไม่รู้เบื้องหลังนั้น เป็นเพียงการคาดเดาที่มีโอกาสผิดสูง

แต่มีเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเมื่อมาผสมกับความเชื่อถือส่วนตัวแล้ว ทำให้คนตีความไปในทางร้าย เหตุการณ์เหล่านี้ มีใหญ่ๆ อยู่หลายอัน เช่น

  • องค์กรจัดการภัยพิบัติ (FEMA) จัดการซ้อมรับมือภัยพิบัติทั่วประเทศ (National Level Exercise)
  • กลางเดือนตุลาคมปีที่แล้ว สำนักนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ทำเนียบขาว ออกจดหมายถึงประธานกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร แสดงความห่วงใยเรื่อง เทหวัตถุใกล้โลก (Near Earth Objects - NEOs) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดาวหาง Comet C/2010 X1 (หรือที่เรียกว่า Elenin) ในขณะที่ขนาดและวงโคจรยังวัดและคำนวณได้ไม่แน่นอน
  • ผู้ที่อ้างว่าติดต่อมนุษย์ต่างดาวได้ ทำนายถึงดวงอาทิตย์ดวงที่สอง (Nibiru) และการสิ้นสุดของโลก
  • นาซา ออกจดหมายเวียนถึงพนักงานทุกคน เรื่องการเตรียมพร้อมสำหรับเหตุฉุกเฉิน (ผมเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่ควรทำ ควรย้ำเตือนอยู่แล้ว แต่มีคนมากมายที่เห็นว่าเรื่องตื่นเต้น-เร้าใจ-น่าติดตามนี้ ไม่ปกติ)
  • ภาพยนตร์ “2012″; ปฏิทินชาวมายัน; นอสตราดามุส; ผู้พยากรณ์และผู้สวมรอยทั้งหลาย บอกว่า “โลกแตก”
  • สุริยจักรวาลจะโคจรผ่านระนาบของกาแลกซี่ทางช้างเผือก (จะมีรังสีมาทำลายล้างโลก)
  • ปรากฏการณ์ดาวเรียงตัว (ประมาณว่าทำให้แผ่นดินไหวใหญ่ทั่วโลก; ไม่กี่เดือนที่ผ่านมา เกิดซูเปอร์มูน หมอดูทำนายสึนามิซ้ำ โรงแรมฝั่งอันดามันช้ำ สึนามิไม่เกิด หมอดูทำเนียน ไม่เหมือนกับตอนที่ออกมาเตือนอย่างกระเส่าเร่าร้อน)
  • วัฏจักร Solar Maximum จะมีจุดดับบนดวงอาทิตย์มาก (CME พุ่งมายังโลกทำลายระบบไฟฟ้าและระบบสื่อสาร)
  • (Magnetic) Pole Shift ทำให้ เกราะแม่เหล็กที่ปกป้องโลกจากพายุสุริยะ บิดเบี้ยว/เป็นรู ในช่วงการสลับขั้ว

อ่านต่อ »


ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานทดแทน (1)

อ่าน: 3721

เมื่อดูแผนพัฒนากำลังไฟฟ้าของสำนักนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานแล้ว ก็รู้สึกหนักใจ

แผนนั้นเริ่มจากความเป็นจริงในปัจจุบัน แล้วขยายด้วยประมาณการการใช้ไฟฟ้าในอนาคต ซึ่งก็เชื่อได้ว่าไตร่ตรอง+สอบทานมาเป็นอย่างดีแล้ว แต่ก็เป็นที่รู้กันว่าการผลิตไฟฟ้าของเมืองไทยนั้น พึ่งพาก๊าซธรรมชาติถึงร้อยละ 70 จริงอยู่ที่ก๊าซในอ่าวไทยยังมีอยู่ ซึ่งเราก็ใช้มาหลายสิบปีแล้ว แถมไม่ว่าจะเป็นก๊าซจากแหล่งใด ก็ขายเป็นสกุลดอลล่าร์สหรัฐเสมอ หากอัตราแลกเปลี่ยนเปลี่ยนแปลงไป ราคาไฟฟ้าก็จะผันผวนมาก กระทบต่อเศรษฐกิจ

ในเอกสารแนบของแผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย 2553-2573 (PDP 2010) มีความพิลึกพิลั่นที่ทำให้ผมไม่สบายใจครับ

อันแรกก็คือ จากกำลังการจ่ายไฟฟ้า (ผลิตและซื้อ) ปี 2553 รวมทั้งสิ้น 23,249 MW เป็นพลังงานทดแทนเพียง 754 MW

อ่านต่อ »


ข้าวเปลือกกับความชื้น

อ่าน: 7975

ในเมื่อเมืองไทยมีคนทำเกษตรกรรมกันเป็นสิบล้านคน ทำไมระดับราคาสินค้าเกษตรจึงได้ต่ำเตี้ยขนาดนี้

ดูไปดูมาแล้ว สงสัยว่าสายป่านไม่ยาวพอ มีหนี้ค่าปุ๋ยอยู่ พอพืชผลออกมาก็ต้องรีบขาย ความชื้นก็ไม่ได้ ราคาจึกตกต่ำกว่าที่ควรจะขายได้ จะจำนำข้าวหรืออาศัยราคาประกัน ก็ต้องถูกหักค่าความชื้นอีก แล้วยิ่งฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล ฝนแล้วพืชผลเสียหาย ฝนหนักพืชผลก็เสียหายอีก — ค่าบริการอบข้าวลดความชื้นอยู่ที่ 200 บาท/ตัน แต่หากลดความชื้นจาก 25% ลงได้เป็น 15% ราคาข้าวเปลือกก็จะเพิ่มขึ้นได้ 1,000 บาท/ตัน

FAO และ IRRI ประมาณการว่าปริมาณข้าวในฤดูกาลนี้ จะไม่ตกลงจากฤดูกาลที่แล้ว (เนื่องจาก “อากาศดี”) แต่ก็จะไม่เพิ่มขึ้นเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกไม่ได้เพิ่มขึ้น — อากาศไม่ได้ดีหรอกนะครับ เมืองไทยน้ำท่วมใหญ่เมื่อปลายปีที่แล้ว เวียดนามก็น้ำท่วมเช่นกัน ดังนั้นปริมาณข้าวในตลาดโลกก็ไม่น่าจะคงระดับไว้เท่ากับปีที่แล้วได้ แต่ที่น่าเจ็บใจกว่านั้นคือราคาถูกกดเอาไว้ด้วย “มาตรฐาน” ความชื้น

มีโรงสีที่สามารถอบแห้งได้อยู่ไม่มาก ถ้าข้าวชื้นก็จะสีได้ข้าวสารน้อย ราคาจึงตก หากจะแก้ไขเรื่องราคาข้าว ก็ต้องแก้สองเรื่องคือความชื้นของข้าวเปลือก และค่าขนส่งซึ่งปัจจุบันเราใช้รถบรรทุกขนซึ่งแพงเพราะน้ำมันแพง เรื่องการขนส่งเก็บเอาไว้ก่อน เดี๋ยวยาวไปครับ

อ่านต่อ »



Main: 0.056252956390381 sec
Sidebar: 0.16270303726196 sec